เมื่อกรมธนารักษ์มีนโยบายขยายงานการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ในภูมิภาค โดยการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการเหรียญกษาปณ์จังหวัดสงขลาและโอนภารกิจด้านการรับจ่าย-แลกเหรียญกษาปณ์สังกัดสำนักบริหารเงินตราไปสังกัดสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สงขลา รวมทั้งย้ายที่ทำการไปตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันที่ศูนย์บริหารจัดการเหรียญกษาปณ์จังหวัดสงขลาแห่งใหม่ สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินจึงมีโครงการที่จะปรับปรุงพื้นที่บริเวณศาลาธนารักษ์ 2 และสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สงขลาเดิม เพื่อจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินเพิ่มเติม รวมทั้งมีการคัดเลือกทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินพร้อมเหรียญกษาปณ์และเงินตราไทยโดยเฉพาะที่พบในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ออกมาหมุนเวียนจัดแสดง ณ ศาลาธนารักษ์ 2 เพื่อให้เยาวชนและประชาชนที่อยู่ในส่วนภูมิภาคได้มีโอกาสเข้าชม รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์เงินตรา เหรียญกษาปณ์ และทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยพิพิธภัณฑ์จะพาย้อนกลับไปสู่เรื่องราวของผู้คนบนคาบสมุทรภาคใต้ ตั้งแต่เมื่อครั้งดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ของไทยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าโบราณสำคัญเมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว ที่เรียกว่า "เส้นทางสายไหมทางทะเล" เป็นจุดเชื่อมเส้นทางการค้าของซีกโลกตะวันตกและตะวันออก ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกกันว่า "สุวรรณภูมิ" พัฒนาการต่อเนื่องมาถึงยุคที่มีการผลิตเงินตราท้องถิ่นขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ก่อนจะยกเลิกเงินตราท้องถิ่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเปลี่ยนมาใช้เงินตราที่ผลิตจากส่วนกลาง ซึ่งมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และเป็นเงินตราซึ่งมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระบบสากล
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เหรียญที่ระลึก เหรียญตรา เหรียญกษาปณ์ เงินตรา เหรียญ
พิพิธภัณฑ์ระโนด
จ. สงขลา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
จ. สงขลา
พิพิธภัณฑ์วัดคลองแห
จ. สงขลา