ศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต จะนะ


 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือกฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงาน โดยมีหน้าที่ผลิต จัดหา และส่งไฟฟ้าไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จะนะ(พลังคิด) เป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานแก่ประชาชน และประชาสัมพันธ์หน่วยงานประจำพื้นที่ภาคใต้ วัตถุประสงค์สำคัญคือ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจด้านพลังงานและการผลิตไฟฟ้า โดยเน้นรูปแบบนิทรรศการที่น่าตื่นตาตื่นใจ ประทับใจ และน่าจดจำ มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่สนุกสนาน และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เกิดความตระหนักในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า โดยเริ่มจากตัวเองเป็นสำคัญ นิทรรศการของ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จะนะ นำเสนอประวัติความเป็นมาและวิทยาการของเทคโนโลยีพลังงานทั้งของโลกและประเทศไทย ความรู้ด้านการผลิตไฟฟ้า พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมรวมถึงเรื่องราวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายความคิดแก่ผู้เข้าชมนิทรรศการโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน (KID) ให้เป็นกำลังสำคัญอีกส่วนหนึ่งของการใช้ “พลังคิด” ในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เหมาะสม ยั่งยืน

ชื่อเรียกอื่น:
ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จะนะ
ที่อยู่:
ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จะนะ 124/5 ม.1 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา 90130
โทรศัพท์:
074-536-600
วันและเวลาทำการ:
จันทร์ – วันศุกร์ 08:00-16:00 น. หยุดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เข้าชมเป็นหมู่คณะมีรอบการเข้าชม 6 รอบต่อวัน (รอบละ 60 นาที) เริ่มรอบแรก 9.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
learningcenter_chana@egat.co.th
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต จะนะ

 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงาน โดยมีหน้าที่ผลิต จัดหา และส่งไฟฟ้าไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย พร้อมทั้งธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้จัดสร้าง ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.จะนะขึ้น  เพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานแก่ประชาชน และประชาสัมพันธ์หน่วยงานประจำพื้นที่ภาคใต้ เป็นหนึ่งในภารกิจของ กฟผ. ที่ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นพัฒนาผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ด้วยการจัดศูนย์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกเพศทุกวัย 

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.จะนะ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจด้านพลังงานและการผลิตไฟฟ้า โดยเน้นรูปแบบนิทรรศการที่น่าตื่นตาตื่นใจ ประทับใจ และน่าจดจำในระยะยาว มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่สนุกสนาน และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เกิดความตระหนักในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า โดยเริ่มจากตัวเองเป็นสำคัญ 

นิทรรศการของ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.จะนะ จะนำเสนอประวัติความเป็นมาและวิทยาการของเทคโนโลยีพลังงานทั้งของโลกและประเทศไทยความรู้ด้านการผลิตไฟฟ้า พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมรวมถึงเรื่องราวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายความคิดแก่ผู้เข้าชมนิทรรศการโดยเฉพาะเด็ก และเยาวชน (KID) ให้เป็นกำลังสำคัญอีกส่วนหนึ่งของการใช้ พลังคิดในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เหมาะสม ยั่งยืน 

การจัดแสดงแบ่งเป็นโซนได้แก่

โซน ประชาสัมพันธ์เป็นจุดต้อนรับผู้มาเยือนด้วย พลังรอบตัวคุณที่พบเจอได้ในแต่ละวัน โดยใช้เทคนิค Augmented Reality (AR) ที่ผสานโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือนในการจัดแสดง 

โซน 1 “พลังนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอภาพยนตร์ 4 มิติ ก่อนออกเดินทางไปสัมผัสประสบการณ์ด้วยตนเอง

โซน 2 “เส้นทางกาลเวลาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของไฟฟ้า วิวัฒนาการของโลก จากยุคมืด ยุคดึกดำบรรพ์ จนมีการก่อตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

โซน 3 “ไฟฟ้ามาจากไหนโรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ในการดูแลของ กฟผ. รวมไปถึงข้อดี ข้อจำกัด เช่น การทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ ที่เราได้พลังงานไฟฟ้ามาโดยปลอดมลพิษ แต่มีข้อจำกัดเรื่องต้นทุน และอุปกรณ์จัดเก็บไฟฟ้า และเรียนรู้กระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าจะนะ ผ่าน เทคนิคการนำเสนอ Model Mapping 

โซน 4 “แหล่งพลังงานทดแทนพลังงานทดแทนต่าง ๆ ที่มาจากแหล่งพลังงานธรรมชาติ พลังงานชีวมวล พลังงานสังเคราะห์ พลังงานจากการอนุรักษ์ และข้อมูลการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ร่วมสนุกเล่นเกมที่จำลองให้ผู้เข้าชมเป็นวิศวกรสร้างโรงไฟฟ้า

โซน 5 “สะพานแห่งความเข้าใจ”    เรื่องราวของชุมชน ท้องถิ่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม
และ โรงไฟฟ้าจะนะกับชุมชน

โซนที่ 6 “จุดเปลี่ยนโลกและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน” บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชนผ่านการ์ดต่าง ๆ กว่า 60 ใบ

 ข้อมูลจาก:

https://www.egat.co.th/learningcenter/

 

ชื่อผู้แต่ง:
ปณิตา สระวาสี