พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่สูงบ้านพระบาทห้วยต้ม


ชุมชนพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม เป็นชุมชนชาวปกาเกอะญอที่อพยพมาจากแม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 เพื่อต้องการมาอยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา(ครูบาวงศ์) เพื่อจะได้ทําบุญถือศีลปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ เรียกได้ว่าเป็นชุมชนปกาเกอะญอที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่ถือมังสวิรัติ มีภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรมหลายอย่าง อาทิ การทอผ้า การทำเครื่องเงิน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่สูงบ้านพระบาทห้วยต้ม  ริเริ่มโดยศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดลำพูน เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชน ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการชุมชนบนพื้นที่สูง ประจำปี พ.ศ. 2559 เพื่อให้ครบวงจรการท่องเที่ยวคือเยี่ยมชมวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม สักการะพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์  ชมการสาธิตงานหัตถกรรม  เลือกซื้อผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกงานฝีมือของคนในชุมชน  ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดง เครื่องแต่งกาย  ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางการเกษตร ของชาวปกาเกอะญอ

ที่อยู่:
375 หมู่ที่ 12 ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
โทรศัพท์:
053 525 628 (ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดลำพูน), 098 7905935 (ณัฐพร รักศักดิ์ตระกูล)
วันและเวลาทำการ:
กรุณานัดหมายล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
sdc52_lp@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2558
ของเด่น:
กระบวนการทอผ้ากะเหรี่ยง, แหล่งข้อมูลประวัติความเป็นมาบ้านพระบาทห้วยต้ม ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิต และข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญบ้านพระบาทห้วยต้ม
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่สูงบ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้มเป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นในเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม มีการสืบสานประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน และมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ที่นักท่องเที่ยวรู้จัก ได้แก่ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย หมู่บ้านกะเหรี่ยงโบราณ น้ำบ่อน้อยฯลฯ โดยองค์ประกอบต่างเหล่านี้ ทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด จึงสมควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์วิถีชุมชน ศิลปวัฒนธรรมประเพณี สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดลำพูน จึงปรับปรุงอาคารโรงฝึกอาชีพเก่าซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ เขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงลี้ ตำบลทราย อำเภอลี้ จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่สูงบ้านพระบาทห้วยต้ม เพื่อใช้เป็นแหล่งจัดสถานที่ที่แสดงวัตถุศิลป์ ข้อมูลประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน วัฒนธรรมประเพณีและแหล่งรวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านห้วยต้ม โดยเชื่อมโยงกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้ มิติแห่งการเรียนรู้ เชิงวัฒนธรรมชุมชนพระบาทห้วยต้มภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

ภายในจัดแสดงนิทรรศการ บนฐานชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านพระบาทห้วยต้ม เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชนได้เข้ามาศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น จนเกิดความภาคภูมิใจในวิถีของตนและร่วมอนุรักษ์สืบสานสู่รุ่นต่อไป นอกจากนั้นแล้วยังใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนไปพร้อมๆ กับการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพ และส่งเสริมความมั่นคงให้ตั้งอยู่ในถิ่นฐานถาวร

ชื่อผู้แต่ง:
สิทธิเดช สิทธิศักดิ์

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่สูงบ้านพระบาทห้วยต้ม

ชุมชนปกาเกะญอพระบาทห้วยต้ม

ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม เป็นชุมชนชาวปกาเกอะญอที่อพยพมาจากแม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514  เข้ามาอาศัยอยู่ ใกล้วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จํานวน 13 ครอบครัว เพื่อต้องการมาอยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา(ครูบาวงศ์) เพื่อจะได้ทําบุญถือศีลปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ หลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวปกาเกอะญอได้อพยพเข้ามาเพิ่มเติมทั้งจากตาก เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันชุมชนปกาเกอะญอบ้านพระบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน มีจำนวน 11 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านห้วยต้ม บ้านหนองปู บ้านหนองบอน บ้านเด่นยางมูล บ้านหนองนา บ้านเด่นทรายมูล บ้านแม่หละ บ้านหนองเกี๋ยง บ้านศรีเวียงชัย  บ้านชัยวงษา และบ้านพระบาทพัฒนา

แม้ว่าหลวงปู่ครูบาวงศ์จะมรณภาพไปแล้ว ทุกวันนี้ชาวปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในชุมชนก็ยังนับถือและยึดถือปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา และเป็นหมู่บ้านมังสวิรัติตามความเชื่อที่ไม่ต้องการเบียดเบียนชีวิตสัตว์  ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มประกอบด้วยชาวปกาเกอะญอ 2 กลุ่มคือ “ปกาเกอะญอโป” ที่ ย้ายมาจากแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และ “ปกาเกอะญอสะกอ” ย้ายมาจากตาก ชาวปกาเกอะญอที่นี่มีภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่โดดเด่น อาทิ การทอผ้าด้วยกี่เอว การทำเครื่องเงิน  การทำศิลาแลง มีประเพณีที่โดดเด่นคือประเพณีการเปลี่ยนผ้าครูบา เป็นงานใหญ่ทําที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ระหว่างวันที่ 15-17 เดือนพฤษภาคม ของทุกปี และประเพณีสรงน้ำรอยพระพุทธบาทในช่วงวันสงกรานต์

ปัจจุบันชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม ได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว เพื่อทำความรู้จักวิถีชีวิตและวัฒนธรรม และงานหัตถกรรมของชาวปกาเกอะญอ ซึ่งชาวปกาเกอะญอส่วนใหญ่มีอาชีพทําไร่นา เมื่อมีเวลาว่างจากการทําไร่นาก็มักจะทำงานหัตถกรรม อาทิ ทอผ้า ทำเครื่องเงิน จนกลายเป็นสินค้า OTOP ที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านชุมชนพระบาทห้วยต้ม

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่สูงบ้านพระบาทห้วยต้ม

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่สูงบ้านพระบาทห้วยต้ม  ริเริ่มโดยศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดลำพูน กองกิจการนิคมสร้างตนเองและพัฒนาชาวเขา กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ตามภารกิจและการประสานงานด้านการพัฒนาสังคมบนพื้นที่สูง เพื่อนำบริการและสวัสดิการสังคมเข้าสู่พื้นที่สูงและมุ่งหวังให้ราษฎรบนพื้นที่สูงมีการพัฒนาที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้บนฐานวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการนำวิถีชีวิตดั้งเดิมมาใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพวิถีชุมชนบนพื้นที่สูง นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพและส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์

การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชน  ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการชุมชนบนพื้นที่สูง ประจำปี พ.ศ. 2559 เพื่อให้ครบวงจรการท่องเที่ยวคือเยี่ยมชมวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม สักการะพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย ซึ่งเป็นสถานที่ ประกอบพิธีทางศาสนาที่สำคัญของชาวตำบลนาทราย  เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์  ชมการสาธิตงานหัตถกรรม  เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ เครื่องเงิน และของที่ระลึกงานฝีมือของคนในชุมชน  ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดง เครื่องแต่งกาย  ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางการเกษตร ของชาวปกาเกอะญอ   

ที่มาจาก:

การวิจัยเรื่อง เครือข่ายความร่วมมือการผลิตสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ภาคเหนือของ ประเทศไทย. http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2558/Weerapon_Thongma_2557/chapter4.pdf

https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/510231/

ชื่อผู้แต่ง:
ปณิตา สระวาสี