พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง


ที่อยู่:
วัดพรหมรังษี 24/1 หมู่ 5 ซอยศิริสุข ถ.ช่างอากาศอุทิศ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ
โทรศัพท์:
0-2565-2653
วันและเวลาทำการ:
เปิดพุธ-อาทิตย์ 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2548

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ที่ระลึกผูกพัทธสีมาวัดพรหมรังษี 28 มกราคม-3 กุมภาพันธ์ 2539

ชื่อผู้แต่ง: รังศรี ศรีไชยยันต์ | ปีที่พิมพ์: 2539

ที่มา: กรุงเทพฯ:วัดพรหมรังษี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง ตั้งอยู่ในวัดพรหมรังสี การเดินทางไม่ได้อยากแต่อย่างใด สามารถนั่งรถเมล์สายใดก็ได้ที่วิ่งบนถนนวิภาวดีรังสิต เช่นสาย ปอ.29 มาลงที่หน้าสำนักงานเขตดอนเมือง และนั่งมอเตอร์ไซด์หรือรถเมล์สองแถวเล็กๆ สีแดงเข้าไปจนสุดทาง ก่อนที่รถจะเลี้ยวซ้าย จะมีป้ายบอกทางไปวัดพรหมรังสี เดินเข้าไปอีกประมาณ 100 เมตรเท่านั้นก็จะเข้าเขตวัดพรหมรังษีแล้ว 

เขตดอนเมืองในช่วง 30 ปีก่อนนั้นเรียกได้ว่าเขตชนบท ของกรุงเพทฯมหานครเหมือนที่ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค บางนา และอีกหลายๆ เขตของกรุงเทพฯ ก่อนหน้าที่ดอนเมืองจะได้ชื่อว่าเขตดอนเมืองนั้น ชื่อว่า “ดอนอีเหยี่ยว” และ “ดอนอีแร้ง” แต่เมื่อมีท่าอากาศยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ก็เปลี่ยนชื่อเขตนี้ว่า “เขตดอนเมือง” หลังจากนั้นความเจริญก็ค่อยๆ ก้าวตามสนามบิน ถนนวิภาวดีรังสิตที่ชาวบ้านแถวนี้เรียกว่า “ซุปเปอร์ไฮเวย์” ตอนนั้นมีแค่เส้นทาง 4 เลน ก็ถือว่า หรูสุดๆสำหรับประเทศไทยแล้ว ต่อมาราชการจึงตั้งชี่ออย่างเป็นทางการให้กับทางหลวงสายหลักแห่งนี้ว่าวิภาวดีรังสิต ตามชื่อของหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต หรือ ว.ณ.ประมวณมารค ผู้ประพันธ์ นวนิยายชื่อดังอย่างปริศนา รัตนาวดี เจ้าสาวของอานนท์ ฯ การตั้งชื่อถนนสายนี้ ว่า ถนนวิภาวดีรังสิต ในช่วงแรกนั้นความเข้าใจของเด็กบ้านนอกอย่างผู้เขียน เข้าใจว่า ถนนสายนี้ชื่อ “วิภาวดี” มุ่งหน้าไปรังสิต แต่ก็ได้มาเข้าใจว่า เมื่อได้เรียนประวัติศาสตร์และทราบว่าถนนสายนี้ตั้งชื่อตาม หม่อมเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งซึ่งมีคุณความดี แต่ต้องสิ้นชีพิตักษัย จากการลอบสังหารเมื่อปี พ.ศ.2520 ที่ภาคใต้ของเรา 

บริเวณวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาพรรณ สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นฯ นั้นอยู่ใต้ฐานของมหาเจดีย์ บุโรพุทธโธจำลอง เมื่อได้เดินเข้าในส่วนจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ จะมีเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวของเรา หากเราเดินตามลูกศรที่ทางพิพิธภัณฑ์ทำไว้ ก็จะได้ยินเสียงบรรยายตามจุดต่างๆ ดังนี้ 

ตรงทางเข้านั้นก็จะมีรูปแผนผังของพิพิธภัณฑ์ แสดงให้เราเห็นเส้นทางที่แนะนำให้เราเดินขวาไปก่อน จะมีป้ายนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของเขตดอนเมือง เริ่มตั้งแต่ประวัติของเขตและท้องถิ่น จากนั้นเล่าเรื่องสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของเขตดอนเมือง ได้แก่ งาดำคั่วป่น ที่สามารถโรยเป็นเหมือนพริกไทยกินกับข้าวได้อย่างอร่อยและมีคุณค่าต่อร่างกาย โคมไฟจากไม้ยางพาราในรูปทรงต่างๆ ไม้แขวนเสื้อที่มีกลิ่นหอม และงานประดิษฐ์ของประดับตกแต่งจากกิ่งไม้ นอกจากนี้ทางท่านเจ้าอาวาส ยังได้ทำตู้ใส่ตัวอย่างสมุนไพรไทย มาวางให้ชมเป็นความรู้เพิ่มขึ้นไปอีก 

ในส่วนต่อมา จัดแสดงสถานที่ท่องเที่ยวภายในเขตดอนเมืองนี้ไว้ เช่น สนามบินเครื่องบินเล็ก พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศที่จัดแสดงเครื่องบินประเภทต่างๆไว้มากมายสำหรับคนที่หลงใหลในเรื่องการบิน และบ่อตกปลาเทพนคร สถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับคนรักการตกปลา จากนั้นก็มาหาของกินด้วยอาหารขึ้นชื่อของเขตดอนเมืองช่วยคลายร้อนได้อย่างดี คือ เฉาก๊วยดอนเมือง ที่ทั้งเหนียวนุ่ม แหนมขึ้นชื่อของเขต และขนมกรุบกรอบที่ร้านเจ๊เล้ง ร้านค้าขนาดใหญ่ที่ค้าขายเครื่องสำอาง ขนมหวานจากต่างประเทศมานานเป็นสิบปี

หลังจากที่เที่ยวชมและชิมของอร่อยกันทั่วเขตดอนเมืองแล้ว เทศกาลสำคัญต่างๆ เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา วิสาขบูชา สามารถเลือกที่จะไปทำบุญทางศาสนาได้หลายวัดในเขตดอนเมืองนี้ ทั้งที่วัดพรหมรังสี วัดสีกัน หรือจะไปวัดที่ใหญ่กว่า คือวัดดอนเมือง ในงานเทศกาลออกพรรษานั้น โดยทั่วไปมีการตักบาตรเทโว แต่ที่เขตดอนเมืองมีการตักบาตรน้ำผึ้ง ถามจากเจ้าหน้าที่อาสาว่าทำไมถึงใช้น้ำผึ้งตักบาตร เจ้าหน้าที่บอกว่า น้ำผึ้งนั้นสารพัดประโยชน์ โดยเฉพาะเป็นเครื่องประกอบการทำยาสมุนไพร เพราะนำผึ้งจะมีคุณสมบัติพิเศษที่เหนียวและ สามารถทำละลายยาสมุนไพรได้ดี ก็พอดีจบเส้นทางท่องเที่ยวในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตดอนเมือง 

เพื่อไม่ให้มาแล้วเสียเที่ยว เจ้าหน้าที่อาสาสมัครของพิพิธภัณฑ์เชิญชวนให้ลองเดินสำรวจและเยี่ยมชมภายในวัดพรหมรังสีเสียก่อนที่จะกลับ เนื่องจากท่านเจ้าอาวาสของวัดได้บวชเรียนศึกษาพระธรรมอยู่ที่อินเดียอยู่เป็นเวลานาน เมื่อกลับมาจำพรรษาและมีโอกาสก่อสร้างวัดพรหมรังษี (ซึ่งชื่อของวัดนั้น นำมาจากฉายาของ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีนั่นเองที่ท่านเจ้าอาวาสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง) มีความคิดที่จะสร้างวัดที่ต่างออกไป จากวัดอื่นๆ โดยมีแนวคิดในการก่อสร้างอาคารต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ ทั้งสถานที่ประสูติ บำเพ็ญ ทุกรกิริยา ตรัสรู้ เผยแพร่ศาสนาสร้างพระอรหันต์และพระภิกษุองค์แรกของพระพุทธศาสนา และปรินิพาน นอกเหนือจากสถานที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ บรรยากาศภายในวัดเหมาะที่จะมานั่งสมาธิ หาความสงบ และยังแอบเห็นอีกว่า มีนักมวยสมัครเล่นมาแอบซ้อมมวยในเขตวัดด้วย ถือว่าวัดนี้เปิดพื้นที่ให้ชุมชนเข้ามาใช้ทำประโยชน์ได้เป็นอย่างดี

เมธินีย์ ชอุ่มผล เรื่องและภาพ

สำรวจวันที่ 3 สิงหาคม

ชื่อผู้แต่ง:
-