พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ


พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ บริหารจัดการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี และเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นสถานที่อนุรักษ์และจัดแสดงตัวอย่างอัญมณีและเครื่องประดับ ภายในจัดแสดงนิทรรศถาวร ประกอบด้วย การทำเหมืองอัญมณี ขั้นตอน การผลิตอัญมณี ตัวอย่างแร่และพลอย มีทั้งที่เป็นยังผลึกฝังอยู่ในหิน ที่นำออกมาขัดแต่งหรือเจียระไนแล้ว และที่ทำเป็นเครื่องประดับ แบ่งเป็นกลุ่มตามชนิด โลหะมีค่าเช่น ทองคำในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังแสดงเครื่องทองสุโขทัย เครื่องประดับของไทยที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในด้านของความละเอียดอ่อนงดงาม

ที่อยู่:
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี และเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ชั้น 2 อาคารไอทีเอฟ-ทาวเวอร์ ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 (หมายเหตุ:ย้ายมาจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
โทรศัพท์:
02-6344999 ต่อ 312
โทรสาร:
02-6344999 ต่อ 304
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 9.30 - 17.00 น. เว้นวันเสาร์ - อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศของสถาบัน
ค่าเข้าชม:
ค่าเข้าชม นักเรียน/นักศึกษา 20 บาท บุคคลทั่วไป 80 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท,ผู้สูงอายุและเด็กเล็กอายุไม่เกิน 6 ปี ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
jewelry@git.or.th,jthawatchai@git.or.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2547
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ แหล่งความรู้ที่อยู่ในซอกหลืบ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 23/5/2548

ที่มา: คม ชัด ลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ

ชื่อผู้แต่ง: ชนิดา สืบพานิชย์ | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หนังสือแนะนำพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ

ชื่อผู้แต่ง: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์อัญมณีแสงสีขาววับจับใจ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15-08-2550(หน้า15)

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เข้าจุฬาฯ เที่ยวพิพิธภัณฑ์อัญมณี ชมคริสตัลใหญ่ที่สุดในโลก

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 14 ส.ค. 2550;14-08-2007

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 05 สิงหาคม 2557

เข้าจุฬาฯ เที่ยวพิพิธภัณฑ์อัญมณี ชมคริสตัลใหญ่ที่สุดในโลก

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 14 ส.ค. 2550;14-08-2007

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 05 สิงหาคม 2557


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ

พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมและจัดแสดงตัวอย่างของอัญมณีไว้อย่างค่อนข้างครบถ้วนน่าเข้าไปชมแห่งหนึ่งคือพิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่บนชั้น 3 อาคารวิจัยและตรวจสอบอัญมณี ในบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใกล้กับประตูคณะบัญชีด้านถนนพญาไท หน่วยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์

ห้องจัดแสดงแบ่งเป็นสองส่วน มีโถงกลางเชื่อม การออกแบบภายในดูสวยงาม เดินชมได้อย่างต่อเนื่อง การให้แสงโดยรวมไม่สว่างจนเกินไป แต่จัดแสงแบบสว่างเป็นจุดๆ ช่วยเน้นวัตถุซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัญมณีและเครื่องประดับให้ส่องประกายแวววาว เนื้อหาการจัดแสดงเริ่มตั้งแต่การกำเนิดของอัญมณี การทำเหมืองอัญมณี ตัวอย่างแร่อัญมณี โลหะมีค่า และเครื่องประดับ วิธีการผลิตและอุปกรณ์ในการเจียระไนและตกแต่ง สำหรับตัวอย่างแร่และอัญมณีมีทั้งของไทยและมาจากต่างประเทศ มีข้อมูลอธิบายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ผู้เข้าชมสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้ามีคำถามหรือต้องการให้นำชม ก็มีเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์คอยดูแลประจำอยู่

ห้องด้านซ้ายแบ่งผนังเป็นช่องๆ จัดแสดงแร่และพลอยสีสวยสดใสหลากหลายประเภท มีทั้งที่เป็นยังผลึกฝังอยู่ในหิน ที่นำออกมาขัดแต่งหรือเจียระไนแล้ว และที่ทำเป็นเครื่องประดับ แบ่งเป็นกลุ่มตามชนิด เช่น ผลึกเซเลสไทต์ ทับทิม อะความารีน แอเมทิสต์ โทแพซ ผลึกควอทซ์ ไข่มุก และอำพัน เป็นต้น ต่อเนื่องมาทางห้องกลางเข้าสู่ห้องทางขวามีโต๊ะและเครื่องมือในการเจียระไน ช่องติดผนังจัดแสดงโลหะมีค่า เช่น ทองคำในรูปแบบต่างๆ ทั้งมีเป็นก้อน เป็นแท่ง เป็นเกล็ด เป็นเส้น อีกช่องหนึ่งเป็นแพลทินัม โลหะที่ใช้ในการทำเครื่องประดับและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมีจุดหลอมละลายสูงมาก ช่องหนึ่งแสดงเครื่องมือต่างๆที่ใช้ตกแต่งให้เป็นไปตามรูปร่างที่ต้องการ ต่อมาเป็นตัวอย่างเพชร และอัญมณีสังเคราะห์ รวมถึงการนำโลหะมีค่าไปใช้ เช่น เครื่องทองสุโขทัย การนำทองคำไปทำรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูปและวัตถุมงคล แม้แต่เรื่องราวความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับดวงดาวและอัญมณีก็มีให้ศึกษาได้ตามรสนิยม

กลางห้องด้านขวามีตู้กระจกที่เดินดูได้รอบ ตู้หนึ่งแสดงแบบจำลองที่ดูคล้ายภูเขาไฟ เป็นการแสดงกำเนิดของเพชร ที่ฝังตัวอยู่ในหินอัคนีชนิดหนึ่ง(Kimberlite) มักเกิดเป็นปล่องเพราะความดันที่สูงมากดันหินขึ้นมา ทำให้ธาตุคาร์บอนหลอมเป็นเพชร สำหรับประเทศไทย พบที่จังหวัดภูเก็ต และ พังงา อีกตู้หนึ่งเป็นอัญมณีเลียนแบบรูปร่างเหมือนเพชรขนาดใหญ่อยู่บนแป้นหมุน ฝีมือของสวารอฟสกี(Swarovski)

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างแร่และอัญมณีมากมายที่จัดแสดง อาทิ ทับทิม พลอยชนิดนี้อยู่ในตระกูลคอรันดัม สีแดงเกิดจากโครเมียมที่เจือปนอยู่ พลอยที่อยู่ตระกูลเดียวกันแต่มีสีเหลืองคือบุษราคัม และที่มีสีน้ำเงินคือไพลิน ทับทิมคุณภาพดีมาจากเมียนมาร์ ส่วนแหล่งทับทิมในไทยอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีและตราด แต่นำมาใช้แทบจะหมดแล้ว

รสนิยมที่มีต่ออัญมณีของชาวเอเชียและชาวตะวันตกบางครั้งก็แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง อะความารีน(aquamarine) เป็นพลอยโทนสีฟ้าน้ำเงินที่ฝรั่งนิยมมากชนิดหนึ่ง มีความเชื่อว่า กลาสีเรือสมัยโบราณพกเป็นเครื่องราง เพื่อให้เดินทางโดยปลอดภัย อะความารีนที่มีคุณภาพสูงมาจากประเทศรัสเซีย พลอยที่อยู่ในความนิยมของฝรั่งอีกประเภทหนึ่งคือโทแพซ(topaz) เป็นอัญมณีที่มีหลากหลายสี ตั้งแต่ น้ำตาล เขียว น้ำเงิน ฟ้า แดง ชมพู และสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่พบมากที่สุด ชาวตะวันตกรู้จักพลอยชนิดนี้มากว่าสองพันปี เชื่อกันว่านำความสงบ และช่วยกำจัดความโกรธ ความเศร้าให้แก่ผู้สวมใส่ แถมยังเพิ่มพลังให้อีกด้วย แหล่งสำคัญอยู่ในประเทศบราซิล 

อัญมณีบางชนิดที่ไม่ได้มาจากแร่ธาตุแต่เป็นสารอินทรีย์ ชนิดที่ได้รับความนิยมสูงเป็นที่รู้จักกันดีคือ ไข่มุก และอำพัน ปัจจุบันไข่มุกส่วนใหญ่เป็นมุกเลี้ยง มีทั้งที่เลี้ยงในน้ำจืดและน้ำเค็ม แหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย เมียนมาร์ และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต นอกจากนำไปประดับแล้ว มุกที่ป่นเป็นผงยังนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ยา และสีได้ด้วย ส่วนอำพันเกิดจากยางของต้นสน ส่วนใหญ่สีออกโทนเหลือง ใช้เป็นเครื่องประดับมาตั้งแต่ยุคโบราณ บริเวณที่พบมากอยู่แถวชายฝั่งทะเลบอลติคและทะเลเหนือ แซมเบีย ลิธัวเนีย และ ยูเครน 

นอกจากนี้ยังแสดงเครื่องประดับของไทยที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในด้านของความละเอียดอ่อนงดงาม ความประณีตบรรจงอันดับต้นๆคงหนีไม่พ้นเครื่องทองสุโขทัย จุดเด่นของเครื่องทองสุโขทัย อยู่ที่การถักเส้นทอง การลงยา และลูกปัดทอง ส่วนลวดลายมีแรงบันดาลใจจากโบราณสถานและโบราณวัตถุ สำหรับแหล่งแร่ทองคำในอดีตอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี นราธิวาส และประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีการทำเหมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีเหมืองทองคำอยู่ที่จังหวัดพิจิตร

แม้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะจัดแสดงได้อย่างสวยงาม ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และทำเลก็อยู่ใกล้ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ แต่กลับมีคนเข้าชมไม่มากนัก คุณดาลิน วรรณศิริโชค เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ให้ข้อมูลว่าผู้ชมมีทั้งนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และชาวต่างชาติ ผู้เข้าชมที่เป็นคนไทยบางส่วนคือผู้ที่มาเรียนหลักสูตรและอบรมกับทางศูนย์วิจัยอัญมณีฯ และผู้ที่นำอัญมณีมาตรวจสอบประเมินและคุณภาพ ส่วนกิจกรรมทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดประกวดเครื่องประดับครั้งแรกเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา และมีการออกบูธในงานแสดงอัญมณีเป็นครั้งคราว

ผู้เขียน: เกสรา จาติกวณิช

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550

หมาย เหตุ: พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ ได้ย้ายที่ตั้งจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปยังสถานจัดแสดงใหม่คือ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี และเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ชั้น 2 อาคารไอทีเอฟ-ทาวเวอร์ ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
ชื่อผู้แต่ง:
-

เข้าจุฬาฯ เที่ยวพิพิธภัณฑ์อัญมณี ชมคริสตัลใหญ่ที่สุดในโลก

แสงแวบวับแวววาวสะท้อนเข้าตายามต้องไฟ…นั่นคือคุณสมบัติอย่างหนึ่งของอัญมณี ที่ฉันได้เห็นเมื่อได้มีโอกาสเข้าไปเยือนใน“พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไทย”ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่คนมักไม่ค่อยรู้กันว่าในจุฬานั้นจะมีอัญมณีทรงคุณค่าระดับโลกซุกซ่อนอยู่ งานนี้คุณผู้หญิงหลายๆ ท่านที่ชื่นชอบในแสงสีวาววับของเครื่องประดับเพชรพลอยและอัญมณีต่างๆ ก็ไม่ต้องนึกอิจฉาฉันหรอก เพราะหากมีเวลาก็สามารถไปเที่ยวชมกันได้ โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้...
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-