พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ จัดตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในฐานะผู้ให้กำเนิดการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ภายในจัดแสดงนิทรรศการถาวร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ของบรรดาลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด ส่วนที่สอง จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อาทิ โต๊ะทำงาน เครื่องมือปั้น เครื่องใช้ส่วนตัว นอกจากนั้น ยังมีหนังสือหายากซึ่งเป็นหนังสือที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ใช้สำหรับค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตก

ที่อยู่:
กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์:
0-2223-6162
วันและเวลาทำการ:
เปิดบริการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2527
ของเด่น:
ผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ของลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด และข้าวของเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

“ศิลป์ พีระศรี” 122 ปี ไม่มีลืมเลือน

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 15 ก.ย. 2557;15-09-2013

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 21 เมษายน 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์

อาคารโบราณทรง สูงชั้นเดียว มีหน้าต่างใหญ่ 3 บาน เป็นกระจกใส สามารถเปิดรับแสงและลมจากธรรมชาติได้ตลอดวันโดยไม่ต้องใช้แสงสว่างจากไฟฟ้า ที่ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2467 โดยการออกแบบของศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ผู้สำเร็จการศึกษาจากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (The Royal Academy of Art of Florence) ที่เดินทางจากนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง ได้รับการวินิจฉัยจากสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ คัดเลือกจากศิลปินอิตาเลียนจำนวนมากที่ต้องการเพียงหนึ่งเดียว ก็นับว่าเป็นเรื่องดีของประเทศและของประชาชนชาวสยาม ที่ได้ท่านมาไว้ในประเทศสยาม

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา โดยใช้อาคารนี้เป็นสถานที่ทำงานเรื่อยมาจนตลอดอายุขัยของท่าน วันที่ 12 ตุลาคม 2486 เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรก "คณบดีปฏิมากรรม" ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้วางรากฐานการเรียนการสอนในบททฤษฏีและปฏิบัติของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ด้านศิลปร่วมสมัยในประเทศไทยตั้งแต่นั้นมา

ในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตร ชาวอิตาเลียนในประเทศไทยตกเป็นเชลยของประเทศเยอรมันกับญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และหลวงวิจิตรวาทการได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็น สัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญๆ ของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชนุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล การปั้นต้นแบบของงานอนุสาวรีย์ ท่านจะใช้อาคารที่ทำงานของท่านในตึกสูงทรงโบราณที่เป็นประวัติศาสตร์ในอดีต ในปัจจุบันนี้ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2505

กรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้สูญเสียท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งสถาบันและวงการศิลปร่วมสมัยของไทยไปอย่างสิ้นเชิง คงทิ้งไว้แต่ความทรงจำต่อความดี ความจริงใจ และความรักอันลึกซึ้งของท่าน ที่ไม่ยอมกลับไปฝังร่างกายของท่านที่บ้านเกิดเมืองนอน แต่ได้มาอุทิศร่างกายและจิตใจไว้ให้กับคนไทยและประเทศไทย อาคารหลังนี้เมื่อท่านสิ้นอายุขัยลงแล้ว ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่ามาจนถึง พ.ศ. 2527 จากรอย จารึกในคุณงามความดี ความเสียสละ มีคุณธรรม และความรู้ ความสามารถที่ท่านได้เมตตามาตลอดชีวิตของท่านในประเทศไทย ดุจบิดาแห่งศิลปสมัยใหม่ของประเทศไทย (The Father of Modern Arts in Thailand) จึงกำเนิดโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ขึ้น ณ อาคารประวัติศาสตร์ที่ท่านใช้ชีวิตการทำงานศิลป และสอนศิษย์พร้อมกันไป ดำเนินการโดยคณะกรรมการชุดต่างๆ หาทุนทรัพย์ในการซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ให้กับท่าน

วันที่ 15 กันยายน 2527 เป็นวาระวันคล้ายวันเกิดของท่านครบรอบ 92 ปี ได้มีพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น (ฯพณฯ ชวน หลีกภัย) เป็นประธานในการเปิดงานครั้งนี้ เพื่อการเผยแพร่งานศิลปร่วมสมัย ศิลปสมัยใหม่ของบรรดาศิษย์อาวุโสที่เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมให้ประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เข้าชมศึกษาหาความรู้เรื่อยมา วันที่ 27 มีนาคม 2530 กระทรวงศึกษาธิการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณกรมศิลปากร 


การจัดแสดง

จัดแสดง นิทรรศการถาวร ศิลปร่วมสมัยประเภทงานจิตรกรรม (รูปเขียน) งานประติมากรรม (รูปปั้น) ของท่านศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี งานศิลปที่เป็นรูปสเก๊ต รูปปั้น ต้นแบบที่ท่านปั้นไว้และหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ อุปกรณ์ วัสดุ เครื่องใช้สอยประจำตัวท่านในอดีต พร้อมด้วยงานจิตรกรรมและประติมากรรมของศิษย์อาวุโส ที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของประเทศไทย ได้รับรางวัลเหรียญเงินและเหรียญทองแดงจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2492 - 2511 ห้องจัด แสดงนิทรรศการถาวรมีจำนวน 2 ห้อง ห้องแรกที่เข้าชมจะพบงานประติมากรรมและจิตรกรรมชิ้นสำคัญ รูปปั้น 9 รูป รูปเขียน 23 รูป ส่วนห้องที่สองมีรูปปั้น 15 รูป รูปเขียน 20 รูป 

ข้อมูลจาก: http://www.nationalmuseums.finearts.go.th/silpa_bhirasri/history.htm(accessed 20110627)
ชื่อผู้แต่ง:
-

“ศิลป์ พีระศรี” 122 ปี ไม่มีลืมเลือน

การไปทำงานต่างบ้านต่างเมืองต่างประเทศโดยลำพัง อาจไม่ใช่เรื่องยากลำบากหรือโลดโผนนักในยุคนี้ แต่หากย้อนกลับไปในราวร้อยปีก่อนคงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งความกล้า ความสามารถ และความอดทนไม่น้อยเลย นั่นคือความคิดที่เกิดขึ้นเมื่อฉันได้ทราบประวัติชีวิตของ “ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” หรือ คอร์ราโด เฟโรจี ศิลปินและอาจารย์สอนศิลปะชาวอิตาเลียนที่เดินทางมารับราชการในเมืองไทยเมื่อปี 2466 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระราชประสงค์จะได้ช่างปั้นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างอนุสาวรีย์ นายคอร์ราโด
ชื่อผู้แต่ง:
-