พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพญาไท


ที่อยู่:
ภายในกรมประชาสัมพันธ์ ซ.อารีย์สัมพันธ์ ถ.พระราม6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์:
0-2298-8579
วันและเวลาทำการ:
จันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00 - 16.30 น. หยุดวันเสาร์-อาทิตย์
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2546

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 27 พฤษภาคม 2557

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

คู่มือท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพญาไท

ชื่อผู้แต่ง: กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร | ปีที่พิมพ์: มปป.

ที่มา: กรุงเทพฯ:กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพญาไท

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพญาไทจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 ตั้งอยู่ภายในกรมประชาสัมพันธ์ บนถนนพระรามที่ 6 โดยจัดแสดงในรูปแบบของนิทรรศการ รวบรวมข้อมูล ประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น โดยเน้นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในเขตพญาไท

ณัฐวุฒิ พงษ์ลำใย อาสาสมัครดูแลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพญาไทแห่งนี้ ได้พาเราชมภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งจัดแสดงเป็นทั้งหมด 4 ซุ้มด้วยกัน ภายในซุ้มแรก จัดแสดงเรื่องราว “ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของท้องถิ่น” จัดแสดงภาพและข้อมูลของพญาไทในอดีต ประวัติความเป็นมาของชื่อเขตพญาไท ซึ่งมาจากการเป็นที่ตั้งของ “พระราชวังพญาไท” แต่ในปัจจุบันพระราชวังพญาไทขึ้นอยู่กับเขตราชเทวี ลำคลองในเขตพญาไท ก็คือ คลองประปา ซึ่งก่อสร้างตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจำหน่ายน้ำไปที่ต่างๆ ตามสมควรแก่ท้องที่ของเขตพระนคร และคลองซื่อ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นคลองธรรมชาติที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายในชุมชน

ในซุ้มที่สอง “ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น” ชุมชนในเขตพญาไท หลังจากที่กรุงเทพมหานครขยายตัว พื้นที่ของพญาไทก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่กลายเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวต่างจังหวัด และมีความหนาแน่นมากๆ 

ทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ในเขตพญาไท มีศูนย์รวมของผู้รักดนตรีไทยอย่าง “บ้านดนตรีไทย” ซึ่งริเริ่มโดย นายสังเวียน เชยนิ่ม ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของจางวางทั่ว พาทยโกศล ฝั่งธนบุรี นอกจากนี้ยังจัดแสดงภาพของ “วัดไผ่ตัน” วัดแห่งเดียวในพื้นที่เขตพญาไทแห่งนี้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเจ้าหญิงลาวเป็นผู้สร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2931 วัดไผ่ตันเป็นสถานที่จัดกิจกรรมงานประเพณีประจำปี เช่น งานปิดทองหลวงพ่อพุทธโสธรจำลอง งานสงกรานต์ พิธีแห่เทียนจำนำพรรษา ประเพณีตักบาตรเทโว และประเพณีลอยกระทง ภาพของชุมชนวัดไผ่ตัน ที่ยังมีอาคารบ้านเรือนแต่ดั้งเดิมยังปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง อาคารกุ่มชนวัดไผ่ตันมีอายุประมาณ 200 ปีทีเดียว

ซุ้มที่สาม “ของดีและแหล่งท่องเที่ยวในเขตพญาไท” จัดแสดงภาพบรรยากาศของแหล่งท่องเที่ยวในเขตพญาไท ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาการของสังคมไทย เช่น พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรไทย แหล่งสะสมตราไปรษณียากรที่ระลึกตั้งแต่ชุดแรกจนถึงปัจจุบัน, พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสถาบันแพทย์แผนไทย หรือโรงเรียนอายุรเวท ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการนวดเพื่อบำบัดโรคเคล็ดขัดยอก ตามแบบฉบับแพทย์แผนโบราณ โดยการใช้สมุนไพรลูกประคบ ซึ่งมีสรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย เส้นตึง ฟกช้ำ และปวดหลังได้ดี

ของดีเขตพญาไท โดยมีกลุ่มอาชีพ การทำการบูรและพิมเสนน้ำ ของชุมชนลับแล, กลุ่มสตรีเขตพญาไท ผลิตไส้อั่ว แหนม และไส้กรอก และกลุ่มถักผลิตภัณฑ์ ชุมชนอาเซียน นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เปเปอร์มาเช่ ที่ริเริ่มโดยคุณกวี ณ ลำปางให้เราได้ชมอีกด้วย

ซุ้มสุดท้าย คือ “บุคคลสำคัญของเขตพญาไท” ได้จัดแสดงภาพของบุคคลสำคัญ และบุคคลที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยของเขตพญาไท เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา นักคิดนักเขียนคนสำคัญของไทย ผู้ที่มีส่วนที่ทำให้เกิดวลีประจำสถาบันอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน” นั่นเอง นอกจากนี้ยังมี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัน อดีตนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ นักร้องและนักชิมคนดัง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพญาไท ตั้งอยู่ในอาคารเดียวกับพิพิธภัณฑ์กระจายเสียง ของกรมประชาสัมพันธ์ ดังนั้นเมื่อเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งนี้แล้ว เรายังได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของการกระจายเสียงในอดีตอีกด้วย

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

สำรวจ : 6 พฤษภาคม 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-