ด้วยประวัติอันยาวนานของการกระจายเสียงและการประชาสัมพันธ์ในยุคแรก พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงกรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งการอนุรักษ์เครื่องมือเครื่องใช้ด้านการกระจายเสียงและการประชาสัมพันธ์ จัดแสดงประวัติวิวัฒนาการของเครื่องมือทางการสื่อสารมวลชนตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของไทย และวิวัฒนาการของกรมประชาสัมพันธ์ ผ่านวัตถุต่างๆ ที่เป็นข้าวของเครื่องใช้กรมประชาสัมพันธ์แต่เดิม โดยเชื่อมโยงให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมจากอิทธิพลของการสื่อสารมวลชนในแต่ละยุคแต่ละสมัย พิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นวันที่กรมประชาสัมพันธ์ครบรอบ 72 ปี
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19/5/2548
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์:
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงและหอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์
ด้วยประวัติอันยาวนานของการกระจายเสียงและการประชาสัมพันธ์ในยุคแรก พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงกรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งการอนุรักษ์เครื่องมือเครื่องใช้ด้านการกระจายเสียงและการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติวิวัฒนาการของเครื่องมือทางการสื่อสารมวลชน และเชื่อมโยงภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมจากอิทธิพลของการสื่อสารมวลชนในแต่ละยุคแต่ละสมัยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เป็นนโยบายของกรมประชาสัมพันธ์มาตั้งแต่เริ่มดำเนินการก่อตั้งเมื่อปี 2476 โดยจัดตั้งแผนกส่งเสริมความรู้มหาชนขึ้นเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนเผยแพร่ความรู้ของพลเมืองโดยวิธีต่าง ๆ เช่นปาฐกถา ภาพยนตร์ และพิพิธภัณฑ์
ในอนาคตหอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์จะเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าที่เข้ามาเติมเต็มมิติการศึกษาประวัติการสื่อสารมวลชน ด้วยข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการกระจายเสียงและการประชาสัมพันธ์ เช่น ประวัติกำเนิดวิทยุ-โทรทัศน์ ประวัติผู้จัดรายการยุคแรก ตลอดจนรายการกระจายเสียงที่มีคุณค่าต่อเนื่องทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้ที่สนใจประวัติของกรมประชาสัมพันธ์ยังสามารถสืบค้นประวัติหน่วยงาน ผลงานดีเด่นที่เกิดจากการทำงานของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงสิ่งของที่เกี่ยวเนื่อง เช่น หนังสือครบรอบวันสำคัญ ภาพถ่าย สไลด์ โปสการ์ด บัตรเชิญ ของที่ระลึก สมุดลงนาม เพื่อให้ภาพความเป็นไปที่เกิดขึ้นในหน่วยงานหนึ่งได้บอกเล่าส่วนเสี้ยวของสังคมใหญ่ซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงเปิดประตูต้อนรับผู้เข้าชมครั้งแรกอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นวันที่กรมประชาสัมพันธ์ครบรอบ 72 ปี ส่วนหอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์จะให้บริการกับสาธารณชนในระยะต่อไป
ข้อมูลจาก:
1. เอกสารประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง
2. สัมภาษณ์คุณกรรณิกา ชีวภักดี
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง
พิพิธภัณฑ์น้องใหม่อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ - พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง (Broadcasting Museum) ในสังกัดของกรมประชาสัมพันธ์ เพิ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันครบรอบ ๗๒ ปีของกรมประชาสัมพันธ์แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี สื่อสารมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ การกระจายเสียง การประชาสัมพันธ์
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ บางกระดี่
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์เรือไทย โรงเรียนมีนประสาทวิทยา
จ. กรุงเทพมหานคร