พิพิธภัณฑ์พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ


ที่อยู่:
อาคารบางกอกสแคว์ 762/2 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์:
02-295-3398, 02-295-4233, 081-889-8221
โทรสาร:
02-295-1433
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
royaldzi@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2552
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 09 มกราคม 2556

ไม่มีข้อมูล

อัศจรรย์พระบรมสารีริกธาตุ ที่ “พิพิธภัณฑ์พุทธธรรมฯ”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 6 กันยายน 2554

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ

หากกล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ด้านศาสนา เราจะนึกถึงวัดวาอาราม หากแต่มีพิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่จัดแสดงเรื่องราวของพระพุทธศาสนาทั้งนิกายหินยาน มหายาน วาจารญาณ(ธิเบต) เต๋า พราหมณ์ ฮินดู

ที่นี่คือ พิพิธภัณฑ์พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ สถานที่รวบรวมพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ มากกว่า 600 พระองค์ที่มีอายุยาวนานกว่า 2500 ปี พระบรมสารีริกธาตุที่รวบรวมมีพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า รวมถึง พระเขี้ยวแก้ว พระเกศาธาตุ พระอุรังคธาตุ (ส่วนกล้ามเนื้อหน้าอกของพระพุทธเจ้า) พิพิธภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากพิพิธภัณฑ์พระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย เนปาล ธิเบต จีน พม่า ไต้หวัน ศรีลังกา สิงคโปร์ 

เทวรูปที่โดดเด่นของที่นี่คือ Rinpoche Guru Padmasambawa ที่ใหญ่ที่สุดเป็น 1 ใน 3 ของโลก การสร้างมีการปลุกเสกมหาพิธีตามแบบชาวทิเบต โดยได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เอกขององค์ดาไลลามะ และยังมีเทวรูปพระโพธิสัตว์ปาราณามิตา(Prajna Paramita) สร้างจากไม้จันทร์หอมองค์ใหญ่ที่สุดในโลก โดยทางพิพิธภัณฑ์ใช้เวลาสร้างมานานถึง 2 ปี 

คุณนิธินนท์ ภัทร์หิรัญชัย ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ ด้วยวัยเพียง 30 ปี เขาคือเจ้าของพิพิธภัณฑ์ที่กล้าเอ่ยว่าที่นี่คือ Relics Museum ใหญ่ที่สุดในโลก การมีสถานที่เช่นนี้ได้เกิดมาจากกัลยาณมิตรที่ศรัทธาในพุทธศาสนา ประกอบกับการมีทีมงานที่ดี

แรงบันดาลใจต่อพุทธศาสนา เริ่มมาตั้งแต่คุณนิธินนท์ยังเป็นเด็กเริ่มจำความได้ ตอนนั้นผู้ใหญ่ได้ขอให้ช่วยเปลี่ยนจีวรให้กับพระสงฆ์ที่นอนอยู่ ในตอนนั้นรู้สึกแปลกใจว่าทำไมท่านไม่เปลี่ยนจีวรเอง ทำไมท่านนอนไม่ยอมตื่น ต่อมาจึงรู้ว่าท่านคือหลวงปู่สี ฉันทศิริ วัดถ้ำเขาบุญนาค จังหวัดนครสวรรค์ ขณะนั้นท่านมรณภาพไปแล้ว เนื่องจากตอนนั้นคุณนิธินนท์เป็นผู้ชายเพียงคนเดียวจึงรับหน้าที่นี้ นั่นจึงเป็นความทรงจำแรกๆ กับการได้สัมผัสกับพระเกจิอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่าน ทำให้รู้สึกว่าชีวิตตนเองอยู่ใกล้ทางนี้มาตลอด ประกอบกับทางครอบครัวของคุณนิธินนท์ ต่างให้ความสนใจต่อพระบรมสารีริกธาตุและพระเครื่องอยู่แต่เดิมแล้ว

จุดเริ่มต้นการศึกษารวบรวมพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุคือ ประเทศอินเดีย จากการเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพราหมณ์และพุทธ ต่อมาจึงเป็นเนปาล ศรีลังกา เรื่อยมา กล่าวกันว่าพระบรมสารีริกธาตุหนึ่งองค์ มีเทวดาเป็นหมื่นองค์คอยดูแลรักษา การแบ่งพระบรมสารีริกธาตุโดยทั่วไปมีสามส่วนคือ ส่วนแรกได้จากการถวายพระเพลิง ส่วนที่สองคือส่วนที่เพิ่มจากการถวายพระเพลิง ส่วนที่สามคือส่วนที่เรียกว่าพระเสด็จ 

ในจุดเริ่มต้นของพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น น่าจะเริ่มต้นนับตั้งแต่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เนื่องด้วยเพราะธาตุขันธุ์ทั้งหลายนั้นถึงควรแก่การบริสุทธิ์ทั้งสิ้นแล้ว สิ่งที่น่าสนับสนุนประเด็นนี้คือ หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ 45 วัน ได้มีอุบาสกคู่แรกของโลกคือท่านตะปุสสะ และท่านภัลลิกะ ได้นำอาหารมาถวายพระพุทธองค์ พระองค์ทรงประทานเส้นพระเกศาธาตุจำนวน 8 องค์(เส้น)ให้ท่านทั้งสอง ต่อมาได้มีการสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุไว้คือ เจดีย์ชเวดากอง 

ความหมายของ "พระบรมสารีริกธาตุ" คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีอาจใช้คำว่า "พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" แทนได้)

.คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับ มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุเปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้ ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับขนาด 

การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์นี้แบ่งออกเป็น 7 ห้อง ได้แก่ ห้องเขมร ห้องวัฒนธรรมเอเชีย ห้อง 18 อรหันต์ หอทิเบต หอพระราชวัง วงมณี หอเกศาพระพุทธเจ้า 

เวลาเดินเข้าไปในห้องเขมร ด้วยบรรยากาศผู้เข้าชมจะรู้สึกว่าเหมือนเดินเข้าไปในปราสาทหินหรือเทวาลัย ทางเดินเสมือนระเบียงคตในเวลากลางคืน มีแสงไฟสีและควัน มีพระพุทธรูป

มีเทวรูป บนผนังสลักภาพนางอัปสรา มีภาพจำลองการกวนเกษียรสมุทร การจัดทำห้องเขมรขึ้นมา คุณนิธินนท์บอกว่าเหมือนกับให้เราได้เรียนรู้ว่ามีการขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุในประเทศเขมรมีบริเวณตรงจุดไหนบ้าง แถบนี้เคยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมีการรับอารยธรรมแบบพราหมณ์ฮินดูเข้ามาตั้งแต่ยุคแรกๆ มีการใช้คำราชาศัพท์ต่างๆ การยึดถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ นั่นก็คือตามหลักของคัมภีร์รามายณะ 

เมื่อเดินต่อมายังห้องวัฒนธรรมเอเชีย ห้องนี้มีลักษณะแบบอินเดีย มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเทวรูปแบบฮินดูมากมาย อาทิเช่น พระตรีมูรติ พระศิวะปางต่างๆ เจ้าแม่กาลี ศิวลึงค์ นาคมณี ในห้องนี้มีพราหมณ์จากอินเดียมานั่งประจำสำหรับทำพิธีพราหมณ์ให้กับผู้ศรัทธา ดังนั้นในห้องนี้จึงมีเสียงสวดมนต์ อบอวลไปด้วยกลิ่นธูปกำยาน 

จากการที่คุณนิธินนท์เป็นผู้สนใจในการศึกษาหาความรู้ ในการนำชมจึงกระตือรือร้นต่อการตอบคำถามและสามารถให้รายละเอียดในเชิงวิชาการ ทั้งตำนานและข้อเท็จจริงที่มีการศึกษากัน ไม่ว่าจะเป็นเทวรูปเจ้าแม่กาลีที่แลบลิ้นยาวเพื่อเลียเลือดของอสูรไม่ให้เลือดตกถึงพื้นเกิดเป็นอสูรตนใหม่ เจ้าแม่กาลีจัดอยู่ในกลุ่มเทวรูปปกป้องคุ้มครองผู้ที่บูชา การบูชาพระพิฆเนศ ตามหลักคนอินเดียวางบูชาไว้กับพื้น นั่นเพราะเขามีความเชื่อเรื่องธาตุ มีการแบ่งเทพแต่ละองค์ในแต่ละธาตุ พระพิฆเนศคือธาตุดินก็ต้องไว้กับดิน หรือเรื่องการเกิดนาคมณีของงูที่จำศีลในถ้ำ งูที่เกิดนาคมณีได้จะมีอายุเป็นร้อยๆปี กินเฉพาะแมลง การเกิดเป็นนาคมณีเรืองแสงมาจากงูตายแล้วคายออกมา 

เมื่อผ่านบุษบกไปจากนั้นเป็นห้อง 18 อรหันต์มีการตกแต่งแบบจีน มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนจีนให้ความเคารพนับถือ พระแม่กวนอิมพันมือทำจากไม้จันก็อยู่ที่นี่ พร้อมทั้งพระธาตุของ 18 อรหันต์ ตรงสะพานเชื่อมไปยังหอทิเบตมีพระบรมสารีริกธาตุของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ถัดไปจัดแสดงพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันธาตุ พระมหาธาตุ ในภาชนะวิจิตรงดงามมากกว่า 600 พระองค์ เป็นต้นว่า พระสุมานะเถระ พระจุลินะ พระอุบลวรรณาเถรี พระเวยยากัปปะ เป็นต้น และยังมีพระปัสมาซัมบาวา ซึ่งเป็นร่างอวตารของพระสมณโคดม 

ส่วนของหอพระราชวังเป็นห้องโถงใหญ่ มีการจำลองห้องพระของคนกรุงเทพฯ ในทัศนคติของคุณนิธินนท์คือ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว ซึ่งมีพระแก้วมรกต 3 ฤดู ในการสร้างพระทรงเครื่องนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามความเชื่ออย่างที่เนปาลหรือทิเบต การสร้างพระทรงเครื่องก็คือพระศรีอาริยเมตไตรนั่นเอง ใกล้กันมีรอยพระพุทธบาท เราจะเห็นลวดลายที่ปรากฏอยู่ตรงรอยพระพุทธบาทอย่างชัดเจนพร้อมทั้งความหมาย 

ส่วนของโถงห้องนี้ในวันพระจะมีคนเข้ามาสวดมนต์นั่งสมาธิ โดยมีพระสงฆ์จากวัดมาเป็นผู้นำสวด ในวันอื่นๆ ก็มีคนเข้ามาไหว้พระ ทำบุญเติมตะเกียงน้ำมันตามปีเกิด บ้างก็เข้ามาเดินเวียนเทียน

และที่มองเห็นโดดเด่นถัดไปจากหอพระราชวังคือ วงมณี จำลองมาจากทิเบต การหมุนวงมณีตามความเชื่อทางโลกคือให้ชีวิตก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง

อีกห้องหนึ่งที่แยกออกมาคือ หอพระเกศา ห้องนี้ตกแต่งเป็นศิลปะแบบพม่าที่วิจิตรสวยงามขรึมขลัง สองข้างทางเดินตรงไปยังพระเกศาของพระพุทธเจ้าในห้องกระจก มีพระพุทธรูปยืน มีพระบรมสารีริกธาตุ มีภาพจิตรกรรม

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่สนับสนุน การที่ผู้ชมเข้ามาเข้าทรงภายในพิพิธภัณฑ์ เพราะจุดประสงค์ของการสร้างที่นี่คือการให้ความรู้และการเก็บรักษาสิ่งดีดีเอาไว้ ทั้งนี้ในบริเวณพิพิธภัณฑ์มีสิ่งอำนวยความสะดวกค่อนข้างครบครัน อาทิ ที่จอดรถ ร้านเครื่องดื่ม และที่กำลังก่อสร้างคือร้านอาหารและห้องประชุมสำหรับจัดแสดงงานต่างๆ การที่พิพิธภัณฑ์นี้มีการก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลาน่าจะมาจากประโยคหนึ่งที่คุณนิธินนท์กล่าว “ผมรักสิ่งที่ทำอยู่ มีความเคารพและศรัทธา มีเจตนาที่ดี ผมจะทำจนกว่าไม่มีแรงทำหรือหมดลมหายใจ” 


สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ

ข้อมูลจาก : 
สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 7 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554
แผ่นพับประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ
http://www.relicsofbuddha.com/page2.htm [Accessed 15/04/2011]
http://jedeethai.igetweb.com/index.php?mo=14&newsid=9836 [Accessed 21/04/2011]

การเดินทาง : พิพิธภัณฑ์พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ อยู่ในบริเวณของบางกอกสแคว์ สามารถเดินทางได้ด้วยทางด่วนขั้นที่ 2 ลงด่านสาธุประดิษฐ์ ถ้ามาจากถนนฝั่งธน สามารถใช้เส้นทางสะพานกรุงเทพ หรือ ถ้ามาจากถนนพระราม 4 สามารถใช้ถนนเส้นคลองเตยมุ่งตรงสู่ถนนพระราม 3 ติดกับวัดปริวาส (พิพิธภัณฑ์ พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ มีพื้นที่บริการจอดรถฟรีมากกว่า 200 คัน)
ชื่อผู้แต่ง:
-

อัศจรรย์พระบรมสารีริกธาตุ ที่ “พิพิธภัณฑ์พุทธธรรมฯ”

คนไทยเราส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพุทธบริษัทเป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระศาสดา และเพื่อสืบทอดพระธรรมแห่งพุทธศาสนา โดยก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระองค์ได้อธิษฐานให้เหลือพระอัฐิไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระสรีระ ณ เมืองกุสินารา ซึ่งพระอัฐิตามส่วนต่างๆของร่างกายเรียกว่า “พระบรมสารีริกธาตุ” ส่วนอัฐิของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า “พระธาตุ”
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-