พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย


ประวัติศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไทยมิอาจแยกออกจากประวัติศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์ของมวลผู้ใช้แรงงานไทยได้ แต่เรื่องราวของพวกเขากลับมีพื้นที่เพียงน้อยนิดบนหน้าประวัติศาสตร์ไทย ด้วยเหตุนี้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างหลายฝ่าย อาทิ กลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวนหนึ่ง องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการด้านแรงงาน นักประวัติศาสตร์ และนักจดหมายเหตุ โดยใช้อาคารเก่าแก่ชั้นเดียวที่เคยมีประวัติเป็นสถานีตำรวจรถไฟและที่ทำการสหภาพแรงงานรถไฟ มักกะสัน ซึ่งอาคารแห่งนี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ผู้ใช้แรงงานไทย เนื่องจากสหภาพแรงงานรถไฟเป็นองค์กรแรงงานที่มีบทบาทอันสำคัญในขบวนการแรงงานและในการต่อสู้คัดค้านเผด็จการ อาคารแห่งนี้จึงมักถูกคุกคามจากฝ่ายเผด็จการ เกือบทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร อาคารแห่งนี้จะถูกควบคุมไว้ ประตูห้องที่ฉีกหักเพราะถูกจามด้วยขวานคือหลักฐานและร่องรอยที่หลงเหลือจากอดีต หน้าอาคารด้านทิศตะวันตกติดถนน มีอนุสาวรีย์ที่ทำจากปูนปั้นฝีมือศิลปินเพื่อชีวิต นายสุรพล ปรีชาวชิระ และคณะ ขนานนามว่า ”อนุสาวรีย์ศักดิ์ศรีแรงงาน” ถือกันว่าเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของผู้ใช้แรงงาน อนุสาวรีย์เป็นรูปปั้นคนงานหญิงชายกำลังผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้าใต้กงล้อมีรถถังถูกบดขยี้ อันบ่งบอกความหมายถึงการคัดค้านเผด็จการ

ที่อยู่:
503/20 ถ.มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์:
0-2251-3173
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เว้นวันจันทร์และอังคาร 10.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2536
ของเด่น:
นิทรรศการประวัติศาสตร์แรงงานไทย ตุ๊กตาจากโรงงานเคเดอร์ที่ถูกไฟไหม้

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ประวัติศาสตร์ของหยาดเหงื่อพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่18ฉบับที่ 3 ม.ค. 2540

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ผ่านพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 4/29/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ผ่านพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 30/11/2551

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

15 ปีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับภารกิจกู้ศักดิ์ศรีชนชั้นแรงงาน

ชื่อผู้แต่ง: ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา | ปีที่พิมพ์: 17/10/2551

ที่มา: สำนักข่าวประชาไท

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย แหล่งตำนานการต่อสู้

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22/10/36

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เปิดตำนานสะท้านสังคม การประท้วง บน เสื้อยืด ครั้งแรกในไทย!!

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13/10/38

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

15 ปีพิพิธภัณฑ์แรงงานกับภารกิจ กู้ศักดิ์ศรีของชนชั้น

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19/10/2551

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เรียนรู้การก่อร่างสร้างชาติที่ "พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย"

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 27 เมษายน 2553;27-04-2010

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 06 ธันวาคม 2556


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

การทำงานร่วมกันเพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 เมื่อนักวิชาการกลุ่มองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรและนักประวัติศาสตร์ได้ระดมสมองร่วมกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานวางรากฐานของพิพิธภัณฑ์ ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 จึงได้ทำเรื่องขออนุญาตใช้สถานที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในช่วงนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการบริจาควัตถุเพื่อใช้ในการจัดแสดง พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมในปีเดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยตั้งอยู่บนที่ดินที่ได้รับอนุมัติจากการทางรถไฟแห่งประเทศไทยในเขตชุมชนมักกะสัน ซึ่งมีความสำคัญในแง่ของความเป็นชุมชนประวัติศาสตร์ อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารชั้นเดียว ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ ผู้มาเยี่ยมชมจะเห็นประติมากรรมรูปชายหญิงกำลังช่วยกันประคองวงล้อ ประติมากรรมชิ้นนี้มีชื่อว่า "อนุสาวรีย์ศักดิ์ศรีแรงงาน" สื่อถึงความเท่าเทียมกันของทั้งสองเพศในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเจริญให้ประเทศชาติ พื้นที่จัดแสดงมีพื้นที่สำคัญ 6 ห้อง ดังนี้

ห้องที่ 1 ประวัติศาสตร์แรงงานไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ในยุคที่สังคมไทยมีแรงงานบังคับ คือ ไพร่และทาส สิ่งของที่จัดแสดงในห้องนี้เป็นการจำลองวิถีชีวิตของแรงงานในสมัยก่อน 

ห้องที่ 2 เรื่องแรงงานในกระบวนการปฏิรูปประเทศ ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวการมีส่วนร่วมของแรงงานไทยต่อกระบวนการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังมีการรวบรวมกฎหมายแรงงานทั้งใหม่และเก่าด้วย

ห้องที่ 3 สะท้อนปัญหาของผู้ใช้แรงงานไทยในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมีหลักฐานเป็นใบปลิว หนังสือพิมพ์กรรมกรและเอกสารหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงความพยายามของผู้ใช้แรงงานไทยที่จะรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรในรูปของสมาคม

ห้องที่ 4 เรื่องของผู้ใช้แรงงานภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถึงการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ห้องที่ 5 นิทรรศการภาพถ่ายและเรื่องราวชีวิตของผู้นำแรงงานหลายคน เช่น คุณศุภชัย ศรีสติ ที่เผชิญชะตากรรมอันน่าสลดระหว่างการปกครองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งมุ่งเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ และมองว่าขบวนการสหภาพแรงงานเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการลงทุน

ห้องที่ 6 นิทรรศการประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของแรงงานไทย เช่น การต่อสู้เพื่อเรียกร้องกฎหมายประกันสังคม การขอสิทธิในการลาคลอด 90 วัน เรื่องราวของ ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานที่ต่อสู้กับเผด็จการและหายสาบสูญไปอย่างลึกลับ นิทรรศการเกี่ยวกับเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ และบทบาทของแรงงานไทยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

นอกจากนี้ยังมีการให้บริการในส่วนของห้องสมุด ศ.นิคม จันทรวิฑูร อดีตอธิบดีกรมแรงงานและบุคคลสำคัญผู้มีส่วนผลักดันให้เกิดกฎหมายประกันสังคม ห้องจิตร ภูมิศักดิ์ ผู้ให้กำเนิดบทเพลงผู้ใช้แรงงานและเพลงเพื่อชีวิต ในพื้นที่ส่วนนี้จะมีการรวบรวมเพลงเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงาน อันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของดนตรีกับผู้ใช้แรงงาน และห้องศุภชัย ศรีสติ ผู้ช่วยเหลือผลักดันด้านกฎหมายและวิชาการแก่แรงงานในสมัยนั้น จนถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์และถูกยิงเป้าในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รวมถึงนิทรรศการเคลื่อนที่เรื่องแรงงานเด็ก สตรีและความปลอดภัยในการทำงานด้วย

ในแง่ของการบริหารจัดการ ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อการบริหารขึ้นในนามของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2539 เงินทุนสนับสนุนบางส่วนได้มาจากมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (Friedrich-Ebert-Stiftung Foundation) หรือ เอฟอีเอส ประเทศเยอรมนี เงินบริจาคจากสมาชิก และรายได้ของพิพิธภัณฑ์จากการขายของที่ระลึก การให้เช่าห้องประชุม การรับจ้างผลิตภาพยนตร์ การรับแสดงนิทรรศการนอกสถานที่

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้รับความสนใจอย่างมากจากกระทรวงและหน่วยงานต่างประเทศซึ่งเคยได้มาศึกษาดูงานหลายครั้ง แต่ในทางตรงกันข้าม กลับไม่ได้รับความสนใจจากคนในประเทศเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้ ทางพิพิธภัณฑ์กำลังประสบปัญหาการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางเชื่อมไปสนามบินหนองงูเห่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพิพิธภัณฑ์กำลังเจรจาหาหนทางแก้ไขเพื่อให้แหล่งเรียนรู้อันทรงคุณค่าของชุมชนสามารถฝ่าฟันวิกฤตการณ์ไปได้

ข้อมูลจาก: การบรรยายที่ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปาฟา) วันที่ 15 มีนาคม 2549 เรื่อง พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย: ประวัติศาสตร์ขบวนการแรงงานไทย โดยทวีป กาญจนวงศ์ และวิชัย นราไพบูลย์

ชื่อผู้แต่ง:
-

เรียนรู้การก่อร่างสร้างชาติที่ "พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย"

เราๆท่านๆ รวมถึงฉัน ส่วนมากต่างก็เป็นแรงงาน อ่ะ..อ่ะ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าฉันไปดูถูกดูแคลนท่านๆ เพราะแรงงานไม่ได้หมายถึงเฉพาะกรรมกรอย่างเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่ยังรวมถึงผู้ที่ใช้พลังงานทางร่างกายและสติปัญญาในกระบวนการผลิตต่างๆซึ่งก็คือคนส่วนใหญ่ของประเทศ และเนื่องในโอกาสวันแรงงานที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 ให้วันที่ " 1 พฤษภาคม"ของทุกปี เป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตามสากล เพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงาน
ชื่อผู้แต่ง:
-

15 ปีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับภารกิจกู้ศักดิ์ศรีชนชั้นแรงงาน

เป็นปริศนาที่พยายามค้นหาคำตอบกันมานานปีว่าเหตุใดแรงงานจึงมีสถานภาพต่ำต้อยถูกมองเป็นคนไร้ค่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมไทย คนงานไทยต้องหลบเลี่ยงที่จะบอกกับคนอื่นว่าเป็นกรรมกรเพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับการยอมรับและอาจถูกดูถูกเหยียดหยาม ขณะที่ผู้ใช้แรงงานในประเทศอื่นๆ จะบอกกับคนอื่นๆ ได้อย่างภาคภูมิใจว่าเป็นคนใช้แรงงาน
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-