พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งอยู่ภายในวังสระปทุม จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า รวมถึงเป็นการอนุรักษ์พระตำหนักที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เคยประทับ และให้บริการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศพระราชประวัติสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขึ้น เพื่อสนองพระราชดำริ เป็นแหล่งศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พิพิธภัณฑ์มีอาคารจัดแสดง 2 หลัง คือ “พระตำหนักใหญ่” ใช้เป็นอาคารจัดแสดงองค์สำคัญ และอาคารหอนิทรรศการ สำหรับจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับการบูรณะซ่อมแซมพระตำหนักใหญ่ และนิทรรศการชั่วคราว ในพระตำหนักใหญ่ ภายในแบ่งการจัดแสดงแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลาตามห้องต่างๆ ได้แก่ 1.ห้องพิธีและห้องรับแขก 2.ห้องเทาและห้องทรงพระอักษร 3.ห้องทรงพระสำราญ ห้องทรงนมัสการ และห้องพระบรรทม ส่วนสุดท้ายคือ ห้องนิทรรศการบริเวณชั้นล่างของพระตำหนักใหญ่ จัดแสดงเอกสารและของใช้ส่วนพระองค์
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: USNISA SUKHSVASTI and YINGYONG UN-ANONGRAK | ปีที่พิมพ์: 18-12-2008
ที่มา: Bangkok Post
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 23-12-2551
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 18-12-2551
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พรชัย จันทโสก | ปีที่พิมพ์: 22-12-2551
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19-12-2551
ที่มา: คม ชัด ลึก
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16-12-2551
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 26 ก.พ. 2559;26-02-2016
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 29 กุมภาพันธ์ 2559
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ย้อนประวัติศาสตร์ ณ วังสระปทุม
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งอยู่ภายในวังสระปทุม จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า รวมถึงเป็นการอนุรักษ์พระตำหนักที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เคยประทับ และให้บริการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศพระราชประวัติสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอีกด้วยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตาเป็นสมเด็จพระชนนี พระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้า มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 8 พระองค์ สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ 3 พระองค์ และทรงสูญเสียพระราชโอรส และพระราชธิดาอีก 3 พระองค์ในเวลาใกล้เคียงกัน
ทรงมีพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์ต่อสาธารณะ อาทิ กิจการด้านสภากาชาด พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 ทรงส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษา พระราชทานทรัพย์บำรุงโรงเรียนต่างๆ ทั้งในพระนครและภูมิภาค ทรงช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ขาดแคลนโดยทั่วไป ทั้งยามปกติและเมื่อประสบภัย และทรงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ทั้งวัด โรงพยาบาล โรงเรียนอยู่เสมอ
วังสระปทุม และพิพิธภัณฑ์
วังสระปทุมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างเพื่อเป็นวังที่ประทับร่วมกับพระราชโอรส คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงประทับตั้งแต่ พ.ศ. 2459 ตราบจนสวรรคตใน พ.ศ. 2498 และทรงเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสระปทุมให้เป็นที่ประทับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขึ้น เพื่อสนองพระราชดำริ เป็นแหล่งศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2548 เพื่อการบริหารจัดการ และกิจการงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
พิพิธภัณฑ์มีอาคารจัดแสดง 2 หลัง คือ “พระตำหนักใหญ่” ใช้เป็นอาคารจัดแสดงองค์สำคัญ และอาคารหอนิทรรศการ สำหรับจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับการบูรณะซ่อมแซมพระตำหนักใหญ่และนิทรรศการชั่วคราวในหัวข้อต่างๆ
อาคารหอนิทรรศการ เป็นอาคารชั้นเดียว เดิมเป็นโรงแต่งแร่ แบ่งการนำเสนอเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นห้องชมสารคดีเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และนิทรรศการเกี่ยวกับการบูรณะพระตำหนักใหญ่ ส่วนที่สองเป็นนิทรรศการชั่วคราวในหัวเรื่องต่างๆ อาทิ ช่วงเดือนมีนาคม 2557 นี้ ว่าด้วยเรื่อง” สยาม-อเมริกัน พันวัสสาอัยยิกาเจ้า” เนื่องในโอกาส 120 ปี งานเวิลด์โคลัมเบียนเอ็กซโปชิชัน ค.ส. 1893 ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เมื่อครั้งทรงอำนวยการจัดส่งงานศิลปหัตถกรรมของสตรีสยามไปร่วมจัดแสดงในงานดังกล่าว
วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงประกอบนิทรรศการอาทิ สมุดภาพเกี่ยวกับประเทศไทย ปกสมุดเป็นฝีพระหัตถ์ทรงปักด้วยไหม เงิน ลวดลายดอกบัวและใบบัว หน้าหมอนทรงสี่เหลี่ยมปักตราประทับของสมเด็จฯ ผ้าทรงพระพักตร์ส่วนพระองค์ โต๊ะประดับอักษณพระนามาภิไธยย่อ “สว” และภาพปักโรงเรียนราชนิทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จฯ ของจำลองที่เคยนำไปจัดแสดงที่ชิคาโก
พระตำหนักใหญ่ เป็นอาคารคอนกรีตก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น มีห้องใต้ดินอีก 1 ชั้น ประวัติความเป็นมาของพระตำหนักใหญ่ทั้งปีที่สร้าง และสถาปนิกผู้ออกแบบนั้นไม่ชัดเจน คาดกันว่าน่าจะสร้างเสร็จราวปี พ.ศ. 2457-2458 ผู้ออกแบบน่าจะเป็นฝีมือขงอนายมิโอ ตามานโญ นายช่างชาวอิตาเลียน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี ทาสีเหลืองเข้ม มีลวดลายปูนปั้นประดับเป็นลายดอกไม้สวยงาม
การเข้าชมพระตำหนักใหญ่ ทางพิพิธภัณฑ์มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นำชมพร้อมหูฟัง ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ภายในแบ่งการจัดแสดงแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา โดยใช้ห้องต่างๆ ของพระตำหนักเล่าเรื่อง โดยผู้เข้าชมจะได้รับอนุญาตให้ชมห้องจากพื้นที่เฉพาะที่จัดเอาไว้ตามส่วนจัดแสดงต่างๆ ซึ่งจะสามารถมองเห็นลักษณะการตกแต่ง บรรยากาศ ภาพถ่ายเก่า และเครื่องเรือนต่างๆ อย่างชัดเจน
ช่วงแรก – ห้องพิธีและห้องรับแขกความสำคัญของห้องดังกล่าว คือ เป็นห้องที่จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ กับ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสังข์ เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงยกตำหนักเขียวให้เป็นพระตำหนักหอ ส่วนพระองค์ประทับอยู่ที่พระตำหนักใหญ่
ห้องรับแขกเป็นห้องที่โปรดให้จัดไว้สำหรับเป็นที่รับแขกหรือผู้มารอเฝ้าฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อพระราชโอรส สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงใช้รับแขกส่วนพระองค์ ในปลายพระพระชนม์ชีพ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าไม่ค่อยได้ทรงใช้ห้องนี้ จนเมื่อมีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ห้องนี้เป็นที่รับรองเจ้านาย นายกรัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เครื่องเรือนต่างๆ เป็นแบบสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สั่งจากห้างเมเปิลแอนด์โค ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ พยายามจัดเหมือนกับในอดีตทุกประการ โดยอาศัยคำสัมภาษณ์จากผู้ที่เคยอาศัยและรับใช้ใกล้ชิด และจากภาพถ่ายเก่า เช่นภาพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ทรงประทับยืนบนพระเก้าอี้ ทำให้ทราบว่าลวดลายผ้าบุเก้าอี้เป็นอย่างไร
ช่วงที่ 2 – ห้องเทาและห้องทรงพระอักษร เป็นช่วงที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเสกสมรสแล้วและมีพระราชธิดาหนึ่งพระองค์ ทรงพาครอบครัวเสด็จฯ กลับมาจากประเทศอังกฤษ และมาประทับที่วังสระปทุม อีกวาระหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดทรงยกพระตำหนักใหญ่ให้ประทับ ส่วนพระองค์เสด็จไปประทับ ณ ตำหนักเขียว
บริเวณหน้าห้องทรงพระอักษร จัดแสดงโมเดลจำลองเรือหลวงศรีอยุธยา เรือพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ครั้งเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481รวมถึงจัดแสดงรูปจำลองพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อยังทรงพระเยาว์ ทำจากแผ่นไม้ขนาดเท่าตัวจริง ซึ่งเป็นของส่วนพระองค์
ช่วงที่ 3 – ห้องทรงพระสำราญ ห้องทรงนมัสการ และห้องพระบรรทมเป็นช่วงเวลาที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์มีพระราชโอรสเพิ่มขึ้นอีก 2 พระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์ เสด็จฯ กลับจากสหรัฐอเมริกาพร้อมครอบครัว
ห้องทรงพระสำราญ ใช้สำหรับทรงรับแขกฝ่ายในส่วนพระองค์ โต๊ะกลางจัดทำไว้เป็นแบบโต๊ะเล่นไพ่ เครื่องเรือนต่างๆ เป็นของเดิมหลายสมัยปะปนกัน มุมหนึ่งจัดแสดงโต๊ะทรงพระอักษร มีพระรูป เอกสารและสิ่งของที่สื่อถึงพระราชกรณียกิจโดยเฉพาะกิจการด้านสภากาชาด นอกจากนี้ผนังและบนหลังตู้จะจัดแสดงพระรูปพระราชวงศ์และเจ้านายที่ทรงผูกพัน เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณรวดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระโอรสบุญธรรม พระรูปเจ้านายสายราชสกุลบริพัตร เป็นต้น
บริเวณสำคัญคือ “เฉลียงชั้นบน” ในช่วงปลายพระชนม์ชีพ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดที่จะประทับตรงเฉลียงชั้นบนหน้าห้องพระบรรทม ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นห้องทรงนมัสการ เมื่อทรงตื่นบรรทมแล้วจะเสด็จออกมาประทับที่เฉลียงตลอดทั้งวัน เสวยพระกระยาหาร ณ ที่นี้ด้วย ที่สำคัญบริเวณนี้ยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชีนีนาถ โดยพระองค์ทรงเป็นประธานในพิธี
สุดท้าย ห้องนิทรรศการ จัดแสดงเอกสารและของใช้ส่วนพระองค์ ดาวเด่นคือเอกสารลายพระหัตถ์ ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเขียนถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกา เล่าชีวิตความเป็นอยู่ในต่างประเทศ และกราบบังคมทูลพบสตรีที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม ซึ่งก็คือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือนางสาวสังวาลย์ ในเวลานั้น และจัดแสดง “เจ๊กตู้” ซึ่งเป็นตู้ขายของที่เจ๊กตู้หาบมาขายในวัง โดยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้เข้าไปขายในวังสระปทุมเป็นปกติ เพราะมีข้าวของต่างๆ ให้พระราชนัดดาทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงเลือกซื้อ
ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า กรุณาติดต่อล่วงหน้า เนื่องจากมีการจัดรอบเข้าชมตามช่วงเวลา
ปณิตา สระวาสี :เขียน
ข้อมูลจาก:สำรวจภาคสนามวันที่ 14 มีนาคม 2557
หนังสือเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปในการเปิดพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551.
รีวิวของพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งอยู่ที่พระตำหนักใหญ่ ภายในวังสระปทุม อดีตเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ และยังเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์สำคัญของไทยอีกแห่ง คือเคยเป็นสถานที่จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นสถานที่จัดพิธีอภิเษกสมรสของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระตำหนักแห่งนี้ถือว่ามีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ดังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงระลึกถึงพระราชปรารภแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์สมควรจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงมีพระราชบัญชาให้มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาฯ จัดพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขึ้น เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ พระราชประวัติ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ และแสดงพระราชกรณียกิจอันเป็นแบบอย่างอันดี แห่งการดำรงชีวิตแก่ประชาชน และเป็นการอนุรักษ์สถานที่สำคัญแห่งนี้ด้วย
คุณชวลี อมาตยกุล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิฯ กล่าวว่า ในพิพิธภัณฑ์ได้จัดห้องต่างๆ ไว้ 3 ช่วงด้วยกันคือ ช่วงที่ 1 เป็นช่วงของการสร้างพระตำหนักเสร็จ และสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จกลับจากต่างประเทศมาประทับอยู่ ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่พระบรมราชชนกทรงอภิเษกสมรสแล้ว และมีพระราชธิดาจึงทรงพาครอบครัวมาอยู่ที่นี้ และช่วงที่ 3 คือช่วงที่สมเด็จพระบรมราชชนกมีพระราชโอรสอีก 2 พระองค์ และเสด็จกลับจากสหรัฐอเมริกา สมเด็จพระพันวัสสาฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักใหม่ขึ้นในวังสระปทุม
คุณชวลี เล่าต่อว่า หลังจากที่ได้มีการบูรณะพระตำหนักเสร็จสิ้นแล้ว ทางคณะกรรมการจึงได้นำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ โดยสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีรับสั่งว่า หลังจากที่พระองค์ท่านได้นำเรื่องพระตำหนักขึ้นกราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานคำแนะนำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานคำแนะนำว่า บนพระตำหนักใหญ่ควรมี “เจ๊กตู้” เพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะสมเด็จพระพันวัสสาฯ โปรดให้เจ๊กหาบตู้ที่ขายของเล่นแปลกๆ ให้เข้าไปขายในวังสระปทุมเพื่อให้พระราชนัดดาทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงเลือกซื้อ
หลังจากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาฯ อย่าเป็นทางการในวันที่ 17 ธ.ค.51 แล้ว จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ติดต่อขอพระราชทานพระราชานุญาตเข้าชมพิพิธภัณฑ์อันทรงคุณค่าแห่งแผ่นดินต่อไป
ข้อมูลจาก: ผู้จัดการ วันที่ 16 ธันวาคม 2551
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ยลสถานที่ประวัติศาสตร์ เปิดประตูวังสระปทุม ที่ “พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาฯ”
ในย่านใจกลางเมือง ที่เต็มไปด้วยศูนย์การค้าและโรงแรมในเขตปทุมวันนั้น มีผู้คนมากหน้าหลากตาเดินขวักไขว่กันอยู่นั้น ใครจะรู้ว่ายังมีสถานที่แห่งหนึ่งที่เงียบสงบ ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่นานาชนิด ตั้งอยู่ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของ “วังสระปทุม” วังในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ ซึ่งบางส่วนในวังสระปทุมนั้น ได้ก่อตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” เปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมชมได้ เมื่อฉันได้ยินดังนั้นฉันจึงไม่สามารถที่จะพลาดโอกาสนี้ขอเข้าเยี่ยมชมสักครั้งในชีวิตเข้าวังสระปทุม ยลมรดกประวัติศาสตร์ที่ “พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาฯ”
ท่ามกลางย่านเศรษฐกิจที่คึกคัก มากด้วยศูนย์การค้าและโรงแรมในเขตปทุมวัน มีสถานที่แห่งหนึ่งที่สงบเงียบ ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่นานาชนิด สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของ “วังสระปทุม” วังในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ โดยวังสระปทุมนั้น เริ่มมาจากที่ ร.5 มีพระราชดำริจะพระราชทานที่ดินบริเวณถนนปทุมวันหรือถนนพระรามที่ 1 ให้เป็นสถานที่สร้างวังของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (ในขณะนั้นดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์) พระราชโอรสซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า แต่เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา จึงยังไม่มีการสร้างพระตำหนักขึ้นตราบกระทั่งร.5เสด็จสวรรคต ร.6จึงได้พระราชทานสิทธิ์ในที่ดินให้เป็นของพระบรมราชชนกในเวลาต่อมาแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
บุคคลสำคัญ บ้านประวัติศาสตร์ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วังสระปทุม สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก
จ. กรุงเทพมหานคร
แบทแคทมิวเซียม แอนด์ ทอยส์ไทยแลนด์
จ. กรุงเทพมหานคร