พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย


พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย จัดตั้งขึ้นโดยเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติการแพทย์แผนไทยจนถึงปัจจุบัน จัดแสดงเรื่องราวตามหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ ต้นกำเนิดวิชาชีพเภสัชกรรม วิวัฒนาการเภสัชกรรมแผนตะวันออกและภูมิปัญญาพื้นบ้าน วิวัฒนาการเภสัชกรรมไทยแผนตะวันตก วิวัฒนาการสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ประวัติการศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย  วิวัฒนาการวิชาชีพและบทบาทของเภสัชกร รวมถึงกำเนิดและบทบาทของเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ที่อยู่:
ชั้น 3 อาคารเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 40 ซ.สันติสุข(สุขุมวิท 38) เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์:
0-2712-1627-8
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 10.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2525
ของเด่น:
ประวัติการแพทย์แผนไทยจนถึงปัจจุบัน
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย ย้อนตำนานยาจนถึงปัจจุบัน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 3/20/2544

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์เภสัชกรไทย

ชื่อผู้แต่ง: ภญ.สดใส อัศววิไล | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ครบเครื่องเรื่องเภสัชกรรม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22,7 (พ.ค.44)หน้า131-132

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย

พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2525 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2544 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 72 ปี ของการก่อตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย

เนื้อหาจัดแสดงประกอบด้วย 7 หัวข้อ ได้แก่ ต้นกำเนิดวิชาชีพเภสัชกรรม วิวัฒนาการเภสัชกรรมแผนตะวันออก และภูมิปัญญาพื้นบ้าน วิวัฒนาการเภสัชกรรมตะวันตกประวัติการศึกษาเภสัชศาสตร์ วิวัฒนาการสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วิวัฒนาการวิชาชีพและบทบาทของเภสัชกร กำเนิดและบทบาทของเภสัชกรรมสมาคมฯ นอกจากนั้น ยังจัดแสดงเครื่องเวชภัณฑ์โบราณสมุนไพรผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ร้านยาโบราณ 

ข้อมูลจาก : แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 75.

ชื่อผู้แต่ง:
-