พิพิธภัณฑ์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา


ที่อยู่:
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ซ.อิสรภาพ 15 ถ.อิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
โทรศัพท์:
0-2473-7000, 0-2466-6539
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ทีทัศน์วัฒนธรรม

ชื่อผู้แต่ง: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 6 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ยลบ้านเก่า เยือนอดีตราชธานี ที่"พิพิธภัณฑ์ศูนย์กรุงธนบุรีฯ"

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 16 ก.ย. 2551;16-09-2008

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 03 มกราคม 2557


รีวิวของพิพิธภัณฑ์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

เมื่อได้ฟังชื่อพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลายคนคงจะคิดว่าต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ต้องบอกก่อนล่วงหน้าว่าไม่เกี่ยวข้องกันสักทีเดียวนัก

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นอาคารทรงไทยกึ่งยุโรปหรือที่เรียกว่าเรือนทรงปั้นหยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยพระยาประสงค์เอกะนาค ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจในสมัยรัชกาลที่ 6 ถือว่าเป็นขุนนางใหญ่ในสมัยนั้น ตัวบ้านเป็นตึกสองชั้นที่มีความสวยงาม มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม 

การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ในห้องจัดแสดงห้องแรก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับของดีในฝั่งธนบุรี ตั้งแต่การทำขลุ่ยของลาวบางไส้ไก่ มีทั้งขลุ่ยของจริงและอุปกรณ์การทำ ซึ่งชุมชนลาวบางไส้ไก่นี้อยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัย เดินออกไปเพียง 5 นาที ก็ถึงแหล่งทำขลุ่ยที่ดีที่สุดในประเทศไทยแล้ว ส่วนต่อมาเป็นเรื่องบ้านขันลงหินและบ้านบุ มีเครื่องมือการทำให้ดูครบครัน นอกจากนี้ยังมีบ้านทำหัวโขนหรือบ้านศิลปะไทย อุปกรณ์การทำขนมฝรั่งกุฎีจีน จำลองเครื่องมือเครื่องไม้การทำขนมมาให้ได้ดูด้วย อาจารย์พิษณุบอกว่า ความตั้งใจของการจัดพิพิธภัณฑ์ชั้นล่างนี้ ต้องการนำของดีและวิถีชีวิตของชาวฝั่งธนบุรีมารวบรวมไว้ให้หมด แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ

ห้องต่อมามีรูปภาพเก่าของฝั่งกรุงธนบุรี และมีเรือพายซึ่งเป็นของน้องสาวพระยาประสงค์เอกะนาคซึ่งเป็นพยาบาลใช้พายเรือไปทำงานทุกวันจนปลดเกษียณ และโกฐกระดูกของท่านเจ้าของบ้านท่านสุดท้ายคือ คุณประยูร เอกะนาค บุตรสาวของท่านพระยาฯซึ่งมีความผูกพันธ์กับบ้านหลังนี้มาก และได้ทำพินัยกรรมยกบ้านหลังนี้ให้เป็นสมบัติของมหาวิยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีสิ่งของชิ้นสำคัญที่อยู่คู่มหาวิทยาลัยแห่งนี้คือนาฬิกาโบราณซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 มีตรา ภปร ซึ่งยังสามารถใช้งานได้ตามปกติถ้าตั้งเวลาและไขลานใหม่ ชั้นล่างตัวอาคารสวยงามด้วยลายของกระเบื้อง และลายปูนประดับของเพดาน เมื่อขึ้นไปชั้นที่สองก็ต้องตะลึงกับความงามของสถาปัตยกรรม

อาจารย์เล่าว่าหน้าบ้านหลังนี้อยู่ด้านคลองบางไส้ไก่ เวลาแขกไปใครมาหาท่านพระยาประสงค์เอกะนากใช้วิธีการเดินทางมาทางเรือ บนระเบียงแห่งนี้สามารถมองลงไปเห็นชั้นล่างได้หมด อาคารหลังนี้นอกจากความสวยงามแล้วยังแสดงออกถึงความฉลาดของนักออกแบบด้วย คือไม่ทิ้งเรื่องของช่องระบายลมเพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อนจะทำเป็นตึกทึบก็ไม่ได้ บ้านหลังนี้จึงออกแบบให้รับลมได้ทุกด้านโดยทำบานหน้าต่างบานประตูเป็นบานเฟี้ยมทั้งหมด แม้แต่ฝาผนังระเบียงก็สามารถเปิดออกเป็นบานเฟี้ยมรับลมได้ด้วย เมื่อเปิดช่องเหล่านี้ทั้งหมด ลมก็พัดเข้ามาในอาคาร เย็นสบายไม่ต้องเปิดพัดลมหรือแอร์ให้โลกร้อน อาจารย์เล่าว่าเครื่องไม้ทั้งหมด กระเบื้องปูพื้น และกระจกหน้าต่างที่เป็นสีนี้เป็นของเก่าทั้งหมด ถ้าแตกหักเสียหายไปก็ยากที่จะหาของใหม่มาซ่อมแซมให้เหมือนเดิมเพราะเป็นของหายาก จึงต้องช่วยกันบำรุงรักษาอย่างดี

สิ่งที่เป็นจุดเด่นของชั้นสองคือช่องลมที่เป็นลายไม้ฉลุทั้งหมด และเป็นลายชื่อเดิมของท่านพระยาประสงค์เอกะนาคเจ้าของบ้าน คือ ยวง เอกะนาค ตัวหนังสือ 3 ตัว ย ว ง ทำเป็นลวดลายสอดคล้องเกี่ยวกันไปมาดูสวยงามและแฝงความหมาย ยิ่งทำให้บ้านนี้เย็นสบายมากขึ้นเพราะลมสามารถผ่านช่องเหล่านี้ได้อย่างสะดวก

ด้านในสุดเป็นห้องนอนของท่านเจ้าของบ้านคนสุดท้าย ที่ไม่ค่อยเห็นเฟอร์นิเจอร์เพราะเจ้าของได้มอบให้วัดไปหมดแล้ว เหลือแค่เพียงเตียงนอนและรูปถ่ายเท่านั้นที่เป็นของเก่า นอกนั้นเป็นของที่นำมาจัดแสดงใหม่เพื่อให้ได้บรรยากาศความเป็นบ้าน

ห้องด้านขวามือจัดแสดงรูปเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมยุคกรุงธนบุรี เช่นพระราชวังกรุงธนบุรี และวัดต่างๆ ที่อยู่ฝั่งธนบุรี ส่วนห้องทางด้านซ้าย จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลสำคัญของฝั่งธนบุรีทั้งเชื้อพระวงศ์ และขุนนางราชการ

อาจารย์พิษณุ บางเขียว เล่าว่าชั้นบนนี้มีเจตนาจะให้บ้านเล่าเรื่องของตัวเองมากกว่าที่จะนำสิ่งของมาจัดแสดง เพราะกลัวจะไปบดบังความงามของตัวบ้านหลังนี้ ซึ่งเมื่อได้ฟังเรื่องราวของตัวบ้านและความสวยงามแล้ว ก็เข้าใจเจตนารมณ์ของอาจารย์ว่าพิพิธภัณฑ์บางแห่งไม่จำเป็นต้องมีสิ่งของจัดแสดงมากมาย แต่ก็สามารถบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองได้อย่างเช่นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ การชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ต้องมีผู้บรรยายหรือเตรียมข้อมูลความรู้มาก่อนมิเช่นนั้นอาจจะแค่มาเดินดูเฉยๆและไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

มัณฑนา ชอุ่มผล : เขียน
วิรวรรณ์ คำดาวเรือง: ถ่ายภาพ


ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม 22 มกราคม 2551
ชื่อผู้แต่ง:
-

ยลบ้านเก่า เยือนอดีตราชธานี ที่"พิพิธภัณฑ์ศูนย์กรุงธนบุรีฯ"

พิพิธภัณฑ์ศูนย์กรุงธนบุรีศึกษานั้น ตั้งอยู่ในบ้านเก่าแก่ที่มีชื่อเรียกว่า "บ้านเอกะนาค" ที่แม้จะไม่ได้เก่าแก่ถึงสมัยกรุงธนบุรี แต่ก็สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2462 หรือในสมัยรัชกาลที่ 6 มีอายุเกือบ 90 ปีแล้ว บ้านหลังนี้ก็มีเรื่องเล่าด้วยเช่นเดียวกัน โดยบ้านเรือนโบราณทรงปั้นหยานี้ เป็นบ้านของ พ.ต.อ.พระยาประสงค์สรรพการ (ยวง เอกะนาค) ซึ่งมีตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น และต่อมา บ้านหลังนี้ก็ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรสาว คือ คุณประยูร เอกะนาค แต่คุณประยูรไม่มีทายาทสืบสกุล จึงได้ยกบ้านหลังนี้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ชื่อผู้แต่ง:
-