พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก


พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของเอกชน ก่อตั้งโดยอาจารย์วราพร สุรวดี โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ อิน-สารท-สอางค์ โดยอาจารย์ต้องการนำเสนอชีวิตคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ในช่วงทศวรรษที่ 2480 โดยใช้พื้นที่บ้านพักอาศัยของอาจารย์เป็นสถานที่จัดแสดง พิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง อาคารหลังแรกเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น มีสถาปัตยกรรมที่รับอิทธิพลตะวันตก ข้าวของในห้องหับส่วนใหญ่ยังคงตกแต่งจัดวางเหมือนเมื่อครั้งที่คุณสอางค์ คุณแม่ของ อ.วราพร ยังมีชีวิตอยู่ หลังที่ 2 เป็นบ้านไม้สองชั้นสร้างในปี พ.ศ. 2472 เป็นบ้านเดิมของคุณหมอฟรานซิส คริสเตียน สามีคุณสอางค์ ที่ทำคลินิกรักษาคนไข้ที่ชั้นล่างและใช้ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย และอาคารหลังที่ 3 เป็น จัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก นำเสนอประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในเขตบางรัก ต่อมาอาจารย์วราพร ได้มอบพิพิธภัณฑ์ให้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรุงเทพมหานคร

ที่อยู่:
ซ.เจริญกรุง 43 ตรงข้ามไปรษณีย์กลาง เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์:
0-2233-7027, 0-2231-6930
วันและเวลาทำการ:
เปิดพุธ - อาทิตย์ เวลา 10.00 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2535
ของเด่น:
รูปแบบการใช้ชีวิตชาวกรุงในอดีต

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

One for the culture aficionados

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/8/2547

ที่มา: The Nation

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกเปิดบ้านย้อนอดีตใจกลางกรุง

ชื่อผู้แต่ง: วีวา | ปีที่พิมพ์: 10/7/2547

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ย้อนอดีตเมืองกรุงฯที่ "พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก"

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 5/4/2548 หน้า 36

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เสน่ห์วิถีชิวิตไทยที่ซุกซ่อนใน Bangkok Folk's Museum

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชั่วโมงสงบสุข ณ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

ชื่อผู้แต่ง: อินทรชัย พาณิชกุล | ปีที่พิมพ์: 17 พ.ย. 2556;17-11-2013

ที่มา: โพสต์ทูเดย์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 18 พฤศจิกายน 2556

“พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ของดีที่ถูกละเลย

ชื่อผู้แต่ง: นัธมน กวีศรศักดิ์ และ พาทินธิดา เจริญสวัสดิ์ | ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2556;October 2013

ที่มา: จุลสารลูกศิลป์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 22 มกราคม 2557

ตะลุยอดีต เที่ยวย่านบางรัก ใน “พพ.ชาวบางกอก”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 8 พ.ย. 2556;08-11-2013

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 14 สิงหาคม 2557

“พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” มรดกทรงคุณค่า จาก “รศ.วราพร” ผู้ล่วงลับ

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 26 ม.ค. 2560;26-01-2017

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 30 มกราคม 2560


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

เมื่อเอ่ยถึงบางรัก ชวนให้นึกถึงย่านธุรกิจการค้า ที่ที่ผู้คนต่างชาติต่างภาษา ทั้งไทย จีน แขก ฝรั่ง เข้ามาตั้งชุมชนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันดังสะท้อนให้เห็นได้จากรูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนาไม่ว่าจะเป็นโบสถ์คริสต์หรือวัดแขก จวบจนปัจจุบันบางรักยังไม่คลายเสน่ห์ คงคลาคล่ำด้วยผู้คนมากน่าหลายตาจากนานาอารยะประเทศ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกชวนให้ลองไปค้นหาเรื่องราวของชาวบางรัก และสัมผัสชีวิตชาวบางกอกเมื่อ พ.ศ. 2480

"จุดเริ่มของการทำพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก คือ อยากให้มีพื้นที่สีเขียวอยู่ในกรุงเทพฯ ความที่เป็นคนรักต้นไม้ เป็นนักปลูกต้นไม้" อ.วราพร สุรวดี ผู้ริเริ่มพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกบอกกล่าวถึงที่มาที่ไปของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ อีกทั้งได้สั่งสมประสบการณ์จากการไปชมพิพิธภัณฑ์กับคุณแม่เมื่อครั้งเยาว์วัย จึงทำให้คุ้นเคยกับพิพิธภัณฑ์เป็นอย่างดีผนวกกับความชอบไปชมแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่เนืองๆ เมื่อมีโอกาสได้ไปเห็นบ้านเห็นเมืองในที่ต่างๆ ทำให้ย้อนคิดว่าเราก็มีเช่นที่คนอื่นมี แต่ทำไมบ้านเรามีแต่เรื่อง "เจ้ากับชาวสลัม" "ชนชั้นกลาง" อย่างเราขาดหายไป จึงเกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะเล่าเรื่องของชาวบ้าน เรื่องครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งซึ่งสะท้อนประวัติศาสตร์สังคมในยุคนั้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มดำเนินการเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ อิน-สารท-สอาง

ในพื้นที่ขนาด 300 ตารางวา ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง หลบเร้นในหมู่แมกไม้ อาคารหลังแรกเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ทรงปั้นหยาหลังคามุงกระเบื้องว่าวสีแดง ฝีมือช่างชาวจีน อายุกว่า 60 ปี มีเค้าโครงทางสถาปัตยกรรมที่รับอิทธิพลตะวันตก ข้าวของในห้องหับส่วนใหญ่ยังคงตกแต่งจัดวางเหมือนเมื่อครั้งที่คุณสอางค์ คุณแม่ของ อ.วราพร ยังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่โดดเด่น คือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ทั้งตู้โต๊ะตั่งเตียง ที่มีสไตล์การออกแบบได้ประณีตและมีความล้ำสมัยอยู่เสมอ
อาคารไม้ 2 ชั้นหลังที่ 2 สร้างในปี พ.ศ. 2472 เดิมนั้นตั้งอยู่ที่บริเวณทุ่งมหาเมฆ คุณหมอฟรานซิส คริสเตียน ชาวอินเดียซึ่งจบวิชาการแพทย์จากประเทศอังกฤษ สามีคุณสอางค์มีดำริจะทำคลีนิครักษาคนไข้ที่ชั้นล่างและใช้ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย แต่ต้องมาเสียชีวิตก่อนเข้าอยู่ จึงได้เปิดเป็นบ้านให้เช่า ต่อมาได้ผาติกรรมมาอยู่บริเวณเดียวกันแต่ลดส่วนลง ความน่าสนใจของอาคารหลังนี้อยู่ที่เครื่องมือเครื่องใช้ในการรักษาพยาบาลเพราะนอกจากอรรถประโยชน์แล้วยังแฝงความงามไว้ด้วย

และอาคารหลังที่ 3 เดิมเป็นตึกแถวเปิดให้เช่าขนาด 8 คูหา ต่อมาได้ยกเลิกสัญญาปรับปรุงเป็นอาคารจัดแสดง 2 ชั้น และมีโครงการที่จะจัดทำห้องสมุดไว้ให้บริการแก่คนในชุมชนอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2546 กรุงเทพมหานครมีแผนจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครโดยมีโครงการนำร่อง 4 แห่ง และ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ก็ได้ถูกผนวกเข้ามาเป็นที่หนึ่งในโครงการนำร่องนี้ เรียกว่า พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก

เมื่อได้โอนย้ายให้กรุงเทพมหานครดูแลรับผิดชอบแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นคือ ส่วนนิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวชาวบางรักซึ่งจัดแสดงอยู่ที่ชั้นบนของอาคารหลังที่ 3 โดยมีเนื้อหาการจัดแสดง 9 หัวข้อ คือ 1. ภาพรวมกรุงเทพมหานคร 2. ลักษณะทางกายภาพเขตบางรัก 3. สายสัมพันธ์ไทย-ตะวันตก 4. อิทธิพลสนธิสัญญาเบาว์ริงต่อประเทศไทย 5. ชุมชนนาชาติ 6. บทบาทบทบาทของชุมชนตะวันตกที่มีต่อการปฏิรูปประเทศ 7. สถานที่สำคัญของบางรัก 8.แรกมีในสยาม แรกมีในบางรัก และ 9. คนเด่นบางรัก

ชั้นล่างเป็นการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน มีทั้งเครื่องครัว เครื่องเขียน เครื่องมือช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ในงานหัตถกรรม ฯลฯ

อ.วราพร บอกกล่าวกับเราว่าวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นของใช้ที่ได้รับตกทอดกันมาไม่ได้เกิดจากเจตนาในการสะสม อาจจะมีบ้างบางช่วงที่เก็บอย่างเช่นแสตมป์แต่พอระยะหนึ่งก็เลิกไป และสำหรับคนทำพิพิธภัณฑ์แล้วคงจะละเลยเรื่องการทำทะเบียนวัตถุไปไม่ได้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีระบบการทำทะเบียนวัตถุได้น่าสนใจ การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดทำระบบฐานข้อมูลวัตถุทำให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ง่าย และความสนุกสนานน่าประทับใจก็อยู่ที่เนื้อหาส่วนของประวัติวัตถุ ซึ่งอ.วราพรได้บอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้นด้วยสำนวนภาษาที่สื่อให้เห็นภาพ เห็นความทรงจำของผู้ที่เคยอาศัยอยู่ ณ บ้านแห่งนี้ ประหนึ่งว่าเรากำลังนั่งชมละครย้อนยุคเสียนี่กระไร

หากไปเยี่ยมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้วพบว่าปิดประตูไว้นั่นเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ผู้ดำเนินการเลือกใช้ให้สอดคล้องกับบุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แม้ประตูบ้านจะปิดงับไว้แต่เต็มใจให้ทุกท่านไปเยือน

ข้อมูลจาก: 
1. การสำรวจพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
2.เอกสารประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก
ชื่อผู้แต่ง:
-

“พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” มรดกทรงคุณค่า จาก “รศ.วราพร” ผู้ล่วงลับ

รศ.วราพร สุรวดี เป็นประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง ผู้ก่อตั้ง“พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ย่านบางรัก และผู้ดูแลสนับสนุนกิจการด้านต่างๆของพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกเคยประสบปัญหาจากการความล้มเหลวของภาครัฐ เนื่องจากที่ดินด้านข้างพิพิธภัณฑ์ที่กำลังจะดำเนินการก่อสร้างตึกสูง 8 ชั้น ให้เป็นสถานที่ทำการค้าและที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบพิพิธภัณฑ์ถูกบดบังทัศนียภาพและเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของตัวอาคารอันเก่าแก่
ชื่อผู้แต่ง:
-

ตะลุยอดีต เที่ยวย่านบางรัก ใน “พพ.ชาวบางกอก”

ตัวฉันเองเพิ่งเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ก็ตอนโตแล้ว เลยไม่เคยเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรุงเมื่อสมัยหลายสิบปีก่อน แต่เพื่อนบางคนก็บอกว่า ถึงจะเป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด ก็ยังไม่เคยสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบนั้นเหมือนกัน เพราะว่าเกิดไม่ทัน ได้ยินแต่พ่อแม่ปู่ย่าตายายเล่าให้ฟังเท่านั้น แต่มาถึงตอนนี้ฉันอยากจะบอกว่า ภาพวิถีชีวิตเก่าๆ แบบนั้นก็ได้กลับมาให้เราได้สัมผัสกันอีกครั้ง ผ่านตัวอาคารสถานที่ ข้าวของเครื่องใช้ และภาพถ่ายต่างๆ ที่อยู่ภายใน “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” หรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก”
ชื่อผู้แต่ง:
-

เสน่ห์วิถีชีวิตไทยที่ซุกซ่อนใน...Bangkok Folk’s Museum

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ ภายใต้ชื่อของ ‘พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก’ ชื่อ ‘บางกอก’ ซึ่งถูกเรียกตามทัศนะของฝรั่งในที่ดินบริเวณนี้ บ้านโบราณที่ไม่ยอมถูกขายไปเป็นตึกแถวเหมือนอย่างในละแวกเดียวกัน ตามความประสงค์ของ รศ.วราพร สุรวดี พิพิธภัณฑ์นี้เป็นเสมือนตัวแทนในสมัยที่ยังไม่เฟื่องฟู จึงหลงเหลือสิ่งที่บอกถึงความเป็นมาของคนที่นี่ได้เป็นอย่างดีราวกับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ราวกับว่ามีคนอาศัยอยู่จริง...
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชั่วโมงสงบสุข ณ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ควรค่าแก่การคารวะของผู้หญิงตัวเล็กๆ วราพร สุรวดี คือการมอบมรดกตกทอดส่วนตัวให้เป็นสมบัติของชาติ หมายถึงบ้านไม้โบราณกลางสวนเขียวขจี เลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 เขตบางรัก หรือที่ปัจจุบันทุกคนรู้จักกันดีในนาม “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” หรือ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร” แหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อ สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นกลางชาวบางกอก ช่วงก่อนและหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2480-2500) ผ่านบ้านเรือนบนที่ดินผืนเล็ก กลางแมกไม้ร่มรื่นของครอบครัวสุรวดี โดยทายาท วราพร สุรวดี
ชื่อผู้แต่ง:
-

ทัศนาสถาปัตย์ : พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

เคยได้ยินชื่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก หรือในอีกชื่อคือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กทม. เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2550 จากการที่มีผู้เสนอชื่อเข้ารับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จากนั้นทีมที่เข้าไปถ่ายทำภาพนิ่งก็เล่าย้ำอีกครั้งว่าที่นี่ดีจริง ๆ น่าจะพาเด็กเรียนอนุรักษ์มาดูสักครั้ง แต่ด้วยความที่เห็นว่าอยู่ใกล้แค่นี้ทำให้หาเวลามาดูไม่ได้สักที จนเมื่อมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้ขอให้เข้ามาช่วยประเมินเพื่อขอรับรางวัลอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมจาก UNESCO Asia-Pacific Awards จึงมีโอกาสเข้ามาพิสูจน์ด้วยตาตนเองหลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์มาร่วม 5 ปี
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

ขณะที่พิพิธภัณฑสถานของทางราชการส่วนใหญ่มุ่งเน้นเรื่องศิลปะในพระศาสนา และบรรดาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นก็มักเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวบ้านในชนบทเป็นหลัก พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกกลับเป็นหนึ่งไม่กี่แห่งที่มุ่งเสนอเรื่องของชนชั้นกลาง หรือ “คนเมือง” ในอดีต พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นด้วยความมุ่งมั่นของอาจารย์วราพร สุรวดี ในอันที่จะอุทิศทั้งบ้าน ที่ดิน และข้าวของอันเป็นมรดกตกทอด จัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อประโยชน์แก่เยาวชนและผู้สนใจ อาจารย์วราพรเริ่มต้นจากการดำเนินงานด้วยตนเองตั้งแต่เมื่อสิบกว่าปีก่อน ผ่านความพยายามเสาะหา “เจ้าภาพร่วม” อยู่หลายราย จนในท้ายที่สุดจึงได้รับการสนับสนุนจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้เป็นหนึ่งในสี่ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามโครงการนำร่อง
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก - พิพิธภัณฑ์หินแปลก

วันนี้เบื่อๆอยากออกไปเดินเที่ยว หลังจากอยู่บ้านมาหลายสัปดาห์แล้ว ตอนแรกตั้งใจว่าจะไปตั้งแต่เมื่อวาน แต่เนื่องจากวันก่อนไปเที่ยวงานสัปดาห์หนังสือมา เจ้ารองเท้าใหม่ กัดเท้า lunar ซะแผลผุพอง ทำให้ออกไปไหนไม่ได้ วันนี้ค่อยยังชั่วขึ้นละ ก็เลยว่าวันนี้จะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกกับพิพิธภัณฑ์หินแปลก ดีกว่า เห็นว่าอยู่ใกล้ๆกันแถวเจริญกรุง ก็ไปซะทีเดียว
ชื่อผู้แต่ง:
-

The Museum : การเดินทางของเวลา ในพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ณ บางรัก ภาค lll

ที่อาคาร 3 เช่นเดิม ถ้าเราเดินขึ้นไปชั้นสอง ก็จะพบนิทรรศการที่จัดแสดงโดยทางกทม. ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมสร้างในพิพิธภัณฑ์นี้ตั้งแต่ปี 2547 อัลบั้มนี้มีน้อยค่ะ เพราะมีอะไรให้ถ่ายน้อย ก็เก็บมาได้เท่าที่เห็นนี่แหละค่ะ ก็ขอให้ภาพเล่าเรื่องแทนเลยนะคะ
ชื่อผู้แต่ง:
-

The Museum : การเดินทางของเวลา ในพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ณ บางรัก ll

อาคารที่ 3 นี้ มีความเป็นมาที่ค่อนข้างจะน่าสนใจอยู่ไม่น้อย คุณหมูเล่าว่า แต่เดิมอาคารนี้คือห้องแถวขนาด 8 หลัง ที่ให้คนเช่า ไม่นานนักสัญญาเช่าได้หมดลง คุณยายสอางค์จึงสั่งให้คนมาออกแบบใหม่ทั้งหมด รวมกันจนเป็นอาคารหลังเดียว และแบ่งเป็นห้องต่างๆ ตามสภาพที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ ชั้นล่างของอาคารจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่คุณยายสอางค์เคยใช้
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

สังคมไทยในทุกวันนี้กำลังประสบปัญหาอันเนื่องมาจากสภาวะโลกไร้พรมแดน ทำให้กระแสวัฒนธรรมตะวันตกและกระแสเทคโนโลยีหลั่งไหลมาสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก ในขณะที่คนไทยยังขาดจุดยึดเหนี่ยวทางค่านิยมและเอกลักษณ์ของตนเองพร้อมที่จะเปิดรับอารยะธรรมใหม่ๆ โดยขาดการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและวิถีชีวิตของตน การชื่นชมยินดีกับนวัตกรรมใหม่ตามแบบชาวต่างชาติทำให้คนไทยขาดสำนึกของความเป็นไทยขาดความภาคภูมิใจในค่านิยมไทยและที่สำคัญทำให้ขาดความเชื่อถือในภูมิปัญญาตามวิถีไทย
ชื่อผู้แต่ง:
-

The Museum : การเดินทางของเวลา ในพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ณ บางรัก ภาค l

ได้ยินข่าวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์นี้ทางเวปไซต์แล้วรู้สึกว่าน่าไป คือเราเคยประทับใจพิพิธภัณฑ์แนวนี้มาแล้วจากการที่ได้ไปบ้านพิพิธภัณฑ์ บ้านจักรยาน หรือถ้าจะย้อนหลังกลับไป 8-9 ปี ก็เคยได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในเชียงใหม่ที่ชื่อว่า ร้อยอันพันอย่าง(ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดแสดงเกี่ยวกับงานแกะสลักไม้เก่าๆ และของเก่าสะสมต่างๆ) ซึ่งพิพิธภัณฑ์เหล่านี้เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคล คือไม่มีรัฐหรือองค์กรใดๆมาเป็นสปอนเซอร์ให้ ส่วนใหญ่แล้วค่าเข้าชมก็จะไม่เก็บ เพราะเขาถือว่าเขาอยากจะแสดงให้ผ้มาเยี่ยมชมได้เห็นถึงสิ่งของที่เขาเก็บสะสมมาด้วยใจรักจริงๆ
ชื่อผู้แต่ง:
-