พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์


พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ตั้งอยู่ภายในสวนรมณีนารถ เดิมคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 พิพิธภัณฑ์จัดทำโดยกรมราชทัณฑ์ รวบรวมวัตถุเกี่ยวกับการลงโทษและวัตถุโบราณจากเรือจำ ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ประวัติและวิวัฒนาการงานราชทัณฑ์ การลงโทษและการประหารชีวิตของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จัดแสดงเครื่องพันธนาการ เครื่องลงทัณฑ์สมัยโบราณ เอกสารวัตถุโบราณ เช่น วิธรการทรมาน สมัยโบราณ,ภายถ่ายเรือนจำ,การประหารชีวิต,ภาพเพชฌฆาต อาวุธปืนที่ใช้ในการประหารชีวิตนักโทษหุ่นจำลองแสดงการประหารชีวิตหลักประหารที่เคยใช้งานจริง จำลองการประหารชีวิตสมัยโบราณ ทั้งตัดคอและยิงเป้า เครื่องแบบผู้คุมและนักโทษสมัยก่อน ฯลฯ

ที่อยู่:
พิพิธภัณฑ์เดิมในสวนรมณียนาถปิดทำการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำในสถานที่แห่งใหม่ในจ.นนทบุรี จะเปิดอย่างเป็นทางการปลายปี 2565
วันและเวลาทำการ:
ย้ายสถานที่ตั้งไปยังจ.นนทบุรี
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
ของเด่น:
คุก การลงโทษ และการประหารวิธีต่างๆ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์เรียนรู้ไม่เลียนแบบ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16/5/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: บรรหาร ชลสินธุ์ และ จุฑามาศ เศรษฐบุตร เรียบเรียง | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา: กรุงเทพฯ:พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วาีรสารราชทัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 54 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2549

ที่มา: กรุงเทพฯ:กรมราชทัณฑ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วาีรสารราชทัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 53 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2548

ที่มา: กรุงเทพฯ:กรมราชทัณฑ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เที่ยวท่องส่องคุกที่พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 26-10-2548(หน้า36)

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เที่ยวคุกเก่าใต้ร่มเงา “สวนรมณีนาถ”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 31 พ.ค. 2554;31-05-20111

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 16 กรกฎาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

พูดถึงคุก หลายๆ คนคงกลัวและไม่อยากจะย่างกรายเข้าไปใกล้แม้แต่ครั้งเดียวในชีวิต แต่วันนี้จะขอแนะนำคุกที่น่าเข้าไปเรียนรู้มากที่สุด คือพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์นั่นเอง

ท่ามกลางบรรยากาศที่ร่มรื่นของสวนรมณีนารถ สวนสาธารณะที่สวยติดอันดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ ใครจะนึกว่าที่นี่เคยเป็นคุกแห่งแรกของประเทศไทยมาก่อน จากคุกกลายมาเป็นสวนสาธารณะได้อย่างไรต้องเข้าไปชมเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

ถ้าเดินเข้ามาจากทางด้านหน้าบริเวณถนนมหาไชย จะเห็นอาคารพิพิธภัณฑ์ที่เป็นตึกเก่าแก่ที่สวยงาม แต่ถ้าเข้าจากด้านสวนสาธารณะ จะเห็นกำแพงคุกเก่าที่เหลือไว้เป็นประวัติศาสตร์หนึ่งด้าน และหอคอยที่เอาไว้คอยสอดส่องนักโทษไม่ให้หลบหนี 

เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ ความน่ากลัวของคุกก็เริ่มแสดงตัว จุดที่ถอดและวางรองเท้ามีภาพวาดการลงโทษสมัยโบราณที่โหดร้ายและทารุณ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เริ่มนำชมตั้งแต่ส่วนแรกที่เป็นโถงทางเดิน มีภาพข่าวของนักโทษพม่าแหกคุกที่เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร จับผู้บัญชาการเรือนจำเป็นตัวประกันและถูกฆ่าตายทั้งหมด ทำให้เห็นว่างานพัศดีเป็นงานที่เสี่ยงชีวิตมาก มีโครงกระดูกของลุงโถ นักโทษผู้อุทิศร่างกายไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้อื่นที่พบเห็นได้ปลงสังขาร มีกะโหลกที่ไม่ทราบว่าเป็นใครซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชาวต่างชาติที่ถูกจับเป็นเชลยในสมัยสงครามโลกแล้วเสียชีวิตถูกฝังไว้ในคุก เริ่มต้นนิทรรศการด้วยโครงกระดูกอย่างนี้ยังถือว่าเป็นแค่จุดเริ่มต้นเพราะห้องต่อๆ ไปจะยิ่งเพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาขึ้นเรื่อยๆ 

ห้องที่สอง เป็นห้องที่ใช้เปิดวีดีโอเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และการทำงานของกรมราชทัณฑ์ให้คณะที่มาดูงานดูก่อน แล้วจึงพาไปชมห้องต่างๆ ห้องที่ 3 เป็นห้องที่แสดงแบบจำลองของคุกแห่งนี้ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสยุโรปทรงได้ดูต้นแบบคุกจากประเทศอังกฤษและนำกลับมาพัฒนาคุกในประเทศไทยจากที่เป็นโรงเรือนที่อนาถา ให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น จึงได้มาสร้างคุกแห่งนี้ขึ้นในพื้นที่ 29 ไร่และต่อมาเมื่อเมืองเริ่มขยาย คุกแห่งนี้จากที่เคยอยู่ชานเมืองกลายเป็นอยู่กลางเมือง นักโทษก็เพิ่มมากขึ้นจึงย้ายไปปลูกสร้างใหม่เป็นเรือนจำลาดยาว ยุคต่อมาได้ปรับปรุงพัฒนาพื้นที่เป็นสวนสาธารณะและใช้อาคารทำการเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์

เมื่อขึ้นไปชั้นสองห้องโถงระเบียงมีขันโลหะใบใหญ่วางอยู่ เจ้าหน้าที่เล่าว่าเป็นขันน้ำมนต์ที่เพชฌฆาตทุกคนจะต้องมาอาบทำพิธีก่อนและหลังประหารชีวิตทุกครั้ง ขันใบนี้ใหญ่มาก คนสามารถลงไปยืนข้างในได้สบาย และใกล้ๆ กันก็มีปืนโบราณวางเรียงรายอยู่มากมายไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเอาไว้ใช้คุมนักโทษนั่นเอง

ห้องจัดแสดงห้องแรกของชั้นสอง เป็นห้องแสดงการประหารชีวิตแบบโบราณคือการตัดคอ มีหุ่นจำลองของเพชฌฆาตสองคนกำลังทำท่าเงื้อดาบ มีนักโทษนั่งกับพื้นถูกมัดกับหลัก ผูกตาและนั่งพนมมืออยู่ เป็นหุ่นจำลองที่สมจริงจนแทบจะได้ยินเสียงลมหายใจของเพชฌฆาตเลยทีเดียว ข้างๆ มีศาลเพียงตาที่เพชฌฆาตใช้ทำพิธีก่อนประหารชีวิต รอบๆ ห้องมีดาบประหารชีวิตแสดงอยู่ เจ้าหน้าที่เล่าว่าเป็นดาบของจริงทั้งหมดที่ผ่านการประหารชีวิตคนมาแล้ว ไม่เชื่อให้ดูที่รอยบิ่นของมีด ที่ต้องมีดาบหลากหลายแบบนั้นเพราะแล้วแต่ความถนัดของเพชฌฆาตแต่ละคน เมื่อถามว่า เวลาประหารนั้นฟันทีเดียวคอขาดหรือไม่ เจ้าหน้าที่บอกว่าครั้งเดียวไม่ขาดแน่นอนเมื่อเพชฌฆาตมือ 1 ลงดาบแล้ว มือสองต้องช่วยตามทันทีเพื่อให้คอขาด เมื่อตายแล้วก็จะใช้มีดตัดมือตัดเท้าเพื่อเอาโซ่ตรวนออกและนำไปใช้กับคนต่อไป ฟังแล้วชวนเสียวสยองและตื่นเต้น ทำให้รู้สึกไม่อยากทำผิดอะไรจนต้องเข้าคุกเข้าตะรางเลยในชาตินี้ 

อีกด้านหนึ่งของห้องมีรูปของ นายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง เพชฌฆาตดาบคนสุดท้ายของประเทศไทย พร้อมดาบคู่ใจของเขาแสดงไว้ด้วย การประหารชีวิตด้วยดาบได้ยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2477 เปลี่ยนมาใช้วิธียิงเป้าด้วยปืนแทน เจ้าหน้าที่เล่าว่านายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง นี่เองที่เป็นเพชรฆาตด้วยปืนคนแรกของประเทศไทยเพราะแม้จะยกเลิกการใช้ดาบไปแล้วแต่ก็ยังต้องกลับมารับหน้าที่เดิมอยู่ดี ถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่บรรยายให้ฟังตามห้องจัดแสดงจะมีเครื่องเล่นเทปทำหน้าที่เล่าให้ฟังแทน ซึ่งก็ได้เรื่องราวครบครันและตื่นเต้นมากพอๆกันเพราะจะได้ยินเสียงเอฟเฟ็กต์ เช่นตอนเพชฌฆาตลงดาบ นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายการประหารชีวิตและเสียบหัวประจานในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ชมด้วย

ห้องที่สองเป็นเรื่องการประหารชีวิตด้วยปืน ซึ่งมีหุ่นจำลองที่สมจริงอีกเช่นกัน มีเสียงเล่าขั้นตอนการประหารชีวิต ตั้งแต่อ่านหมายศาลให้นักโทษทราบและลงชื่อรับทราบ และอีกหลายขั้นตอน เหมือนที่เราเห็นในภาพยนตร์คือจะจัดอาหารมื้อสุดท้ายให้กับนักโทษ จากนั้นจะนำเข้าหลักประหารยืนหันหลังมัดกับหลักให้หัวใจตรงกับเป้าพอดี และระหว่างผู้ประหารกับนักโทษก็จะมีผ้ากั้นและมีเป้าให้เพชฌฆาตเล็งปืนให้ตรงกับหัวใจของนักโทษ จากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนต่างๆ และยิงปืนในที่สุด ขั้นตอนรายละเอียดมากมาย แถมเครื่องเล่นเทปที่เปิดประกอบก็มีเสียงสมจริงเสียจน ยืนฟังไปถึงตอนยิงปืนประหารก็จะพาลเข่าอ่อนไปด้วย ปืนที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการก็เป็นของจริงทุกกระบอกเช่นกัน โดยเฉพาะกระบอกที่ใช้ประหารชีวิตจะมีพวงมาลัยแขวนอยู่ การประหารด้วยปืนถูกยกเลิกไปใน พ.ศ. 2546

ห้องที่สามเป็นห้องเกี่ยวกับวิธีประหารล่าสุดก็คือการฉีดยาพิษให้ตายวิธีการนี้นำมาจากสหรัฐอเมริกา ในห้องนี้มีการอธิบายขั้นตอนต่างๆ อย่างชัดเจน โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในวันที่ 12 ธ.ค.2546 ประหารนักโทษจำนวน 4 คน และหลังจากนั้นยังไม่มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยวิธีนี้อีกเลยในประเทศไทย เพราะตรงกับปีมงคลของพระสมเด็จเจ้าอยู่หัวฯ หรือพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่นๆ นักโทษประหารจึงได้รับอภัยโทษทุกปี

อาคารที่สอง เรียกว่าแดน 9 เป็นคุกที่เคยคุมขังนักโทษจริง จำลองแบบมาจากประเทศอังกฤษเครื่องมือต่างๆ มีตราบ่งบอกว่ามาจากอังกฤษจริงๆ ตั้งแต่บานประตูจนถึงขั้นบันได ประตูทางเข้าจะเป็นระบบเปิดครั้งเดียวประตูนักโทษทุกบานจะเปิดพร้อมกันหมด ในห้องขังแสดงวิธีการทรมานแบบต่างๆ แบบโบราณเรียกว่าโทษทวะดึงษ์กรรมกรณ์ 32 ประการ คือทรมาน 11 วิธี และฆ่าให้ตาย 21 วิธี เช่นการใส่นักโทษไว้ในตะกร้อที่ตอกตะปูแล้วให้ช้างเตะ วิธีนี้เป็นวิธีทรมานรวมถึงการใช้เบ็ดเหล็กเกี่ยวคางและดึงให้เกี่ยวขึ้นไปเรื่อยๆ หรือการทรมานให้สารภาพเช่นการตอกเล็บ บีบขมับ บีบเล็บ ให้เจ็บจนสารภาพออกมา การใช้โซ่ตรวนต่างๆ เรียกว่ามีทั้งวิธีการทรมาน การจองจำ และประจาน 

เจ้าหน้าที่เล่าว่าวิธีการเหล่านี้เป็นยุคแห่งการลงโทษด้วยวิธีการแก้แค้นให้สาสมกับโทษที่ทำ แต่ในยุคปัจจุบันคือยุคแห่งการแก้ไขคือนำนักโทษมาปรับพฤติกรรมให้เป็นคนดี แต่ละห้องขังมีสิ่งของจัดแสดงทุกห้อง บางห้องก็จัดแสดงอุปกรณ์เมื่อครั้งประหารด้วยดาบ เช่นหวายสำหรับเฆี่ยนนักโทษ 90 ครั้งก่อนประหาร ธงแดงสำหรับให้สัญญาณประหาร มีดอีโต้ที่ใช้สับข้อมือข้อเท้าเพื่อเอาตรวนออกหลังจากประหารแล้ว ซึ่งรวบรวมจากเรือนจำทั่วประเทศไทยมาจัดแสดงไว้

เมื่อเดินไปสุดทางจะมีห้องน้ำของนักโทษที่มีฝาผนังแค่ครึ่งล่างเตี้ยๆ เพื่อให้ผู้คุมเห็นตลอดเวลา เรียกว่าเป็นสถานที่แห่งการขาดอิสรภาพตั้งแต่ตื่นจนนอนหลับเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันทุกห้องขังจะมีห้องน้ำในตัวหมด ระหว่างทางเดินด้านหลังจะมีหุ่นแสดงชุดนักโทษ และชุดของพัศดีแบบต่างๆ โชว์ไว้ด้วย อีกด้านของห้องขังจะแสดงสภาพความเป็นอยู่ของนักโทษทั้งเรื่องการกิน นอน ห้องขังเดี่ยว การลักลอบเสพยาในเรือนจำ วิธีการหลบหนีของนักโทษ ชุดอาหารมื้อสุดท้ายของนักโทษ ที่เราเคยได้ยินมาว่าอาหารมื้อสุดท้ายนักโทษจะขออะไรก็ได้นั้นไม่เป็นความจริงเพราะผู้คุมจะหาอาหารเท่าที่หาได้ตามสมควรเท่านั้น และที่น่าตื่นเต้นเป็นจุดสุดท้ายก็คือแท่นประหารด้วยปืนของจริงซึ่งมีเรื่องราวลี้ลับแฝงอยู่แต่ไม่ขอนำมาเล่าในที่นี้ ใครอยากทราบต้องไปชมที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เอง

การมาชมพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้ถือว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดตั้งเพราะสามารถทำให้ผู้เข้าชมกลัวการกระทำผิด และไม่อยากติดคุก สมควรที่จะให้เยาวชนและคนทั่วไปได้เข้ามาดูพิพิธภัณฑ์แห่งนี้กันมากๆ สังคมไทยจะได้มีแต่คนอยากทำความดี

มัณฑนา ชอุ่มผล : เขียน
สิริลักษณ์ กัณฑศรี : ถ่ายภาพ 


ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม 26 มิถุนายน 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-

เที่ยวคุกเก่าใต้ร่มเงา “สวนรมณีนาถ”

สำหรับ “พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์” อยู่ด้านถนนมหาไชยประกอบด้วยอาคาร 4 หลังคือ ตึกศาลอาญา ตึกรักษาการณ์ ตึกร้านค้ากรมราชทัณฑ์ และอาคารแดน 9 ภายในจัดแสดงเครื่องมือลงฑัณฑ์และวิวัฒนาการของการราชทัณฑ์ไทย โดย “อาคารศาลอาญา” แสดงเครื่องมือลงทัณฑ์ และวิธีประหารชีวิตสมัยโบราณ รวมทั้งแสดงการประหารชีวิตในปัจจุบัน อุปกรณ์เกี่ยวกับเรือนจำและการหลบหนีของนักโทษ “อาคารรักษาการณ์” แสดงภาพประวัติและอุปกรณ์เครื่องใช้ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และเอกสารเกี่ยวกับประวัติการราชทัณฑ์ในอดีต “อาคารร้านค้ากรมราชทัณฑ์” จัดจำหน่ายสินค้าราชทัณฑ์และของที่ระลึก
ชื่อผู้แต่ง:
-