โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: มปป.
ที่มา:
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 29 มี.ค. 2554;29-03-2011
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 20 สิงหาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง
เขตดินแดงกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตที่มีผู้คนพลุกพล่าน และเป็นที่รวมของคนหลายภูมิภาคทั้งเหนือ กลาง อีสาน ใต้ เพราะเป็นที่ตั้งของแฟลตดินแดง วัฒนธรรมหลายๆ อย่างและกลุ่มผู้คนจึงค่อนข้างแตกต่างกันแต่ท่ามกลางความหลากหลายในกรุงเทพฯ ก็มีความพยายามของภาครัฐที่ต้องการจะจัดตั้งศูนย์รวมความหลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียวโดยถ่ายทอดผ่านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในหลายๆ เขต พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตดินแดงก็เป็นอีกแห่งหนึ่งในนั้น
พิพิธภัณฑ์ฯ เขตดินแดง ตั้งอยู่ในโรงเรียนวิชากร โรงเรียนระดับประถมศึกษา บริเวณใกล้ๆ กับที่ตั้งของสำนักงานเขตดินแดง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีขนาด 2 ห้องเรียน เปิดปิดเวลาเดียวกับโรงเรียน ใครที่ต้องการเข้าชมก็ต้องดูเวลาโรงเรียนปิดด้วย ผู้ดูแลเป็นเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางกรุงเทพมหานคร
ส่วนจัดแสดงส่วนแรกหรือห้องเรียนห้องแรก มีภาพชุมชนเก่าของเขตดินแดง บอกเล่าเรื่องราวในอดีตว่าเดิมเขตดินแดงเป็นชุมชนในกองขยะ เพราะสมัยก่อนเป็นที่ทิ้งขยะของกรุงเทพฯ ชุมชนชาวบ้านที่อยู่อาศัยค่อนข้างแออัดและสกปรกมีสภาพเหมือนสลัมคลองเตยในปัจจุบัน ถนนที่เข้ามาในชุมชนก็มีแต่ฝุ่นควันสีแดงจากถนนลูกรังจึงกลายเป็นที่มาของชื่อเขตดินแดง ต่อมาได้มีการสร้างแฟลตอาคารสงเคราะห์ให้ชาวสลัมมาอยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่จึงได้ดีขึ้น
ส่วนต่อมาเป็นประวัติความเป็นมาของถนนวิภาวดีรังสิตหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ซึ่งได้ตั้งชื่อตามพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ที่ถึงชีพิตักษัยจากการที่ผู้ก่อการร้ายระดมยิงปืนใส่เฮลิคอปเตอร์ เมื่อปี 2520 ขณะพระองค์ได้เสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่ จ. สุราษฎร์ธาณี
ห้องเรียนห้องที่สองหรือส่วนจัดแสดงห้องที่สองเริ่มด้วยชีวระวัติของบุคคลสำคัญของเขตดินแดง เป็นครูภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงคือ นายเหว่า บุหรี่ทอง หรือ กาเหว่าเสียงทอง ผู้ขับร้องเพลงหนุ่มเรือนแพที่โด่งดัง นอกจากจะเป็นนักร้องแล้วยังเป็นหมอทำขวัญนาค และหมอกวาดยาด้วย ท่านได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมาด้วยโรคชรา
นอกจากประวัติบุคคลสำคัญหลายท่านแล้ว ยังมีส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมในเขตดินแดง เช่นประเพณีบุญเดือน 10 ประเพณีของชาวปักษ์ใต้ ที่วัดพรหมวงศาราม เนื่องจากบริเวณแฟลตดินแดง มีคนภาคใต้มาอาศัยอยู่จำนวนมากวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ เหล่านี้ก็ตามมาด้วย ถ้าใครอยากเห็นงานบุญเดือน 10 แต่ไม่อยากไปไกลถึงภาคใต้ ก็มาดูที่วัดพรหมวงศารามหรือวัดหลวงพ่อเณรเขตดินแดงได้ เจ้าหน้าที่เล่าว่าที่นี่ก็มีประเพณีชิงเปรตและขนมพื้นบ้านเหมือนทางภาคใต้ทุกประการ หรือถ้าใครอยากรู้ว่าสถานที่สำคัญในเขตดินแดงมีอะไรบ้าง ในพิพิธภัณฑ์ก็มีแผนที่เขตดินแดงจัดแสดงอยู่ด้วย
ตู้จัดแสดงส่วนใหญ่จะเป็นข้าวของเครื่องใช้ยุคเก่าที่ชาวบ้านช่วยกันบริจาคมาจัดแสดง มีทั้งเตารีดเก่าที่ยังต้องใส่ถ่านหุงต้มอยู่ ตั๋วหนังยุคเก่า ตุ๊กตากระดาษที่เด็กๆ สมัยก่อนใช้เล่นกัน หรือคันไถเก่าที่ชาวบ้านช่วยกันบริจาคมา จะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนของไปเรื่อยๆ เนื่องจากของที่ชาวบ้านบริจาคมามีจำนวนมาก แต่พิพิธภัณฑ์มีขนาดเล็กจึงต้องทยอยนำมาจัดแสดง นอกจากของเก่าก็จะมีสินค้าจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ในเขตดินแดง เช่น การทำหัวโขนจิ๋วเป็นสินค้าส่งออก และสินค้าอีกหลายๆ ประเภท
สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครทุกแห่งก็คือส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เป็นกังหันน้ำชัยพัฒนาจำลองในตู้โชว์ เพื่อใช้เยาวชนและผู้ที่เข้าชมได้ซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจของพระองค์
การได้มาชมพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กอย่างพิพิธภัณฑ์เขตดินแดง ทำให้เห็นถึงความตั้งใจของกรุงเทพมหานครที่ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเขตและขอความร่วมไม้ร่วมมือจากชาวบ้านเพื่อนำสิ่งของมาจัดแสดง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี การตั้งอยู่ในสถานศึกษาก็มั่นใจได้ว่าต้องมีเด็กๆ นักเรียนแวะเวียนมาดูและได้รู้เรื่องราวในบ้านตัวเองบ้างไม่มากก็น้อย แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของที่นี่ก็คือการตั้งอยู่ในโรงเรียนซึ่งเป็นสถานที่ที่ค่อนข้างปิด ทำให้ผู้สนใจไม่สามารถเข้าชมได้อย่างเต็มที่ จึงน่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักมากกว่านี้
ผู้เขียน: มัณฑนา ชอุ่มผล,วิรวรรณ คำดาวเรือง /ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 13 ธันวาคม 2550
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
เที่ยวท้องถิ่น “ย่านดินแดง” ตื่นตากับศาสนสถาน 3 ศาสนา
ชื่อของแต่ละเขตในบ้านเรานั้นล้วนมีที่มาที่ไปทั้งสิ้น อย่างเขตดินแดง แค่ฟังชื่อก็พอจะรู้แล้วว่าเหตุใดย่านนี้จึงได้ชื่อว่า“ดินแดง” ตำนานความเป็นมาของเขตดินแดงมีอยู่ว่า แต่เดิมพื้นที่เขตดินแดงส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งนา ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูล-สงคราม ได้มีการสร้างทางด้วยดินลูกรังจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อรถวิ่งผ่านจึงเกิดฝุ่นสีแดงกระจายไปทั่ว ประชาชนจึงเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนดินแดง”แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
บุคคลสำคัญ วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา สถานที่สำคัญ ประวัติเขตดินแดง
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก
จ. กรุงเทพมหานคร
ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช (มหามณฑปหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม)
จ. กรุงเทพมหานคร