จัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้แก่ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เงินตรา และเหรียญกษาปณ์ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยกรมธนารักษ์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ วัตถุชิ้นสำคัญอาทิ เสื้อครุยปฐมจุลจอมเกล้า ของรัชกาลที่ 5 เครื่องอุปโภคสำหรับฝ่ายหน้า เครื่องอุปโภคสำหรับฝ่ายใน เครื่องประกอบพระอิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัตดามาตุ ทรัพย์สินอันมีค่าของแผ่นดินที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เช่น พระชฎากลีบ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ฉบับที่13 ประจำเดือนตุลาคม 2550-มีนาคม 2551
ที่มา: กรุงเทพฯ:สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พนิดา สงวนเสรีวานิช | ปีที่พิมพ์: 11 สิงหาคม 2552
ที่มา: มติชน
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ไทย
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้แก่ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เงินตรา และเหรียญกษาปณ์ โดยจัดแสดง ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งกรมธนารักษ์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบคุณจริญญา บุญอมรวิทย์ ภัณฑารักษ์ 6. ได้ให้การต้อนรับ โดยมีคุณเบญจมาศ จันทมาศ พนักงานต้อนรับ เป็นผู้นำชมและบรรยาย คุณเบญจมาศได้บอกกับเราว่าพิพิธภัณฑ์ศาลาเครื่องราชฯ นี้เริ่มจัดแสดงเมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยเริ่มจาก เหรียญกษาปณ์และเงินตราไทย มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงโต๊ะทรงลงพระปรมาภิไธย และสมุดทรงลงพระปรมาภิไธย ไว้ที่ชั้น 1 ให้เราได้ชมอีกด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 จัดแสดงเพิ่มเติม คือ จัดแสดงเครื่องราชอิสริยยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และในปี พ.ศ. 2535 มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดแสดงใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น “ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ จัดแสดงทั้งหมด 2 ชั้น โดยชั้นแรก จะมีการจัดแสดงถึงประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ และนิทรรศการหมุนเวียน ส่วนชั้นที่ 2 แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 12 ห้องด้วยกัน
ภายในห้องจัดแสดงที่ 1 จะจัดแสดงเครื่องราชอิสริยยศหมวดเครื่องภูษณาภรณ์ เครื่องอุปโภค รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งสิ่งของที่พระราชทานจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของวัสดุ ลวดลาย ขึ้นอยู่กับ พระอิสริยศักดิ์ หรือตำแหน่งของบุคคลที่ได้รับพระราชทาน ให้ห้องนี้เราจะได้เห็นความงดงามของเสื้อครุยปฐมจุลจอมเกล้า ของรัชกาลที่ 5, เครื่องอุปโภคสำหรับฝ่ายหน้า, เครื่องอุปโภคสำหรับฝ่ายใน, เครื่องประกอบพระอิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัตดามาตุ, พระธำมรงค์ทองคำ และศีรษะเข็มขัดทองคำประดับเพชร และสายเข็มขัดทองคำถัก
ส่วนห้องจัดแสดงที่ 2 จัดแสดงเครื่องราชอิสริยยศหมวดเครื่องสิริมงคล ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้บุคคลที่มีตำแหน่งสำคัญในการบริหารบ้านเมือง และผู้รับผิดชอบในการเป็นผู้บังคับบัญชาเพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็น เครื่องเตือนใจให้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและสุขุมรอบคอบทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม เช่น ประคำทองคำพร้อมดิ่ง, ตะกรุดทองคำลงประดับเพชร เป็นต้น
ห้องจัดแสดงที่ 3 เป็นห้องจัดแสดงเครื่องราชอิสริยยศหมวดเครื่องศาสตราวุธ สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางที่มีตำแหน่งสำคัญฝ่ายหน้า เช่น พระแสงกระบี่นาคสามเศียร พระแสงดาบญี่ปุ่นพระแสงดาบอย่างเทศ เป็นต้น รวมทั้งภาพอิสริยยศหมวดยานพาหนะเป็นเครื่องพาหนะสำหรับสัญจรทางบก และทางน้ำ ได้แก่ เสลี่ยง แคร่ เรือกัญญา เป็นต้น ภาพเครื่องสูงที่เป็นเครื่องแห่ที่ใช้ในกระบวน เช่น พระกลด สัปทน เป็นต้น
ห้องจัดแสดงที่ 4 เป็นห้องจัดแสดงดาราตราประจำตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ ดาราไอราพต ซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างดาราไอราพตสำหรับเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ และดาราช้างเผือกสำหรับพระราชทานข้าราชการและชาวต่างประเทศในพระราชอาณาจักร ผู้มีความชอบ อันเป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกใน ปัจจุบัน, ดาราช้างเผือกแบบต่างๆ ที่สร้างในสมัยราชการที่ 4 ดาราตรามหาสุริยมณฑล, ดาราตราคชสีห์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 และดาราตราราชสีห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ สร้างสำหรับตำแหน่งสมุหกลาโหม, ดาราตราพระยมทรงสิงห์ ซึ่งเป็นดาราตราตำแหน่งของเสนาบดีกรมพระนครบาล
ห้องจัดแสดงที่ 5 จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชพิธีโสกันต์ และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยจัดแสดงด้วยข้อมูลคำบรรยายประกอบภาพ รวมทั้งจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินที่ใช้ในพระราชพิธี เช่น พระเกี้ยวทองคำประดับเพชร และพระเกี้ยวทองคำลายสลัก และพระจุฑามณี หรือ ปิ่นปักมวยพระเกศาก่อนทำพิธีโสกันต์
ส่วนห้องพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เราจะได้เห็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินอันมีค่าของแผ่นดินที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เช่น พระชฎากลีบ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร งดงามมาก, จั่นหมากทองคำ จั่นมะพร้าวทองคำ, ดอกจำปาทองคำ และดอกจำปาเงิน, ดอกพิกุล และแผ่นทองคำเขียนรูปราชสีห์ ซึ่งราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพลังอำนาจเหนือสัตว์ทั้งปวง และด้วยมีความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ คือ สมมุติเทพมีพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ในวันพระบรมราชาภิเษกแผ่นทองคำนี้จะปูลาดบนพระที่นั่งภัทรบิฐ เพื่อให้พราหมณ์พระราชครูทำพิธีทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชกุธภัณฑ์ พระราชสมบัติ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร และเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศอื่นๆ
ภายในห้องจัดแสดงที่ 6 เราจะได้พบกับความงดงามของเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทั้ง 3 ฤดู ซึ่งทางกรมธนารักษ์จัดสร้างขึ้นทูลเกล้าฯถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษกใน พ.ศ.2539 แทนเครื่องทรงแก้วชุดเดิมซึ่งสร้างขึ้นเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ห้องจัดแสดงที่ 7 จัดแสดงเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ อันเป็นเครื่องหมายของความเป็นพระมหากษัตริย์ โดยพราหมณ์จะเป็นผู้ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบไปด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ, พระแสงขรรค์ชัยศรี, ธารพระกร, วาลวิชนี พระแส้ และฉลองพระบาทเชิงงอน
ห้องจัดแสดงที่ 8 จัดแสดงต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี ประเทศเยอรมัน ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส
ห้องจัดแสดงที่ 9 จัดแสดงภาพเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ซึ่งประกอบ ด้วย พระมาลาเส้าสูง คนโทพร้อมพานรองทองคำลงยาพระสุพรรณศรีทองคำลงยา หีบพระศรีทองคำลงยาประดับเพชร หลังหีบเป็นตราพระเกี้ยวบนพานแว่นฟ้า มีฉัตรห้าชั้นประกอบทั้งสองด้าน พร้อมตลับสำหรับใส่เครื่องประดับในการเสวยหมวก และพานรองทองคำลงยาลายสลัก
ห้องจัดแสดงที่ 10 จัดแสดงเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และเคยโปรดเกล้าฯ พระราชทานประกอบพระอิสริยยศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7
ห้องจัดแสดงที่ 11 จัดแสดงเครื่องประกอบพระอิสริยยศพระองค์เจ้าในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยจัดแสดงเนื้อหา เรื่องราว เครื่องประกอบพระอิสริยยศที่ใช้ในพระราชพิธีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 - ปัจจุบัน พร้อมทั้งมีการฉายภาพยนตร์วีดีทัศน์งานพระราชพิธีสมโภชเดือนและ ขึ้นพระอู่ เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น
ห้องจัดแสดงสุดท้ายบนชั้นที่ 2 จัดแสดงวิวัฒนาการเงินตราไทยตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน ทวาราวดี ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ (ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - รัชกาลปัจจุบัน)
เมื่อเดินลงมาอีกด้านของชั้น 1 จะพบกับนิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งในขณะนี้จัดแสดงเกี่ยวกับประราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และจัดแสดงเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในโอกาสต่างๆ อีกด้วย
เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ
สำรวจ : 5 สิงหาคม 2551
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
ดิฉันได้รับทราบจาก ดร.นริศ ชัยสูตร อธิบดี กรมธนารักษ์ ว่าประเทศไทยมีทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินจัดแสดงอยู่ ณ “ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์” ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ท่านที่ไปเยี่ยมชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว อาจจะเคยเห็นป้ายเชิญชวนเข้าชมพิพิธภัณฑ์เงินตราและเหรียญกษาปณ์ไทย ซึ่งอยู่ถัดจากซุ้มขายบัตรสำหรับชาวต่างประเทศ และประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์สมบัติ"ราชวงศ์จักรี" ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
ในบรรดาพิพิธภัณฑ์เมืองไทย มีพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งที่ไม่เพียงแต่น่าสนใจในเรื่องมูลค่าและความอลังการยิ่งใหญ่ แต่ยังน่าสนใจในเรื่องราวความเป็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความเป็น "ชาติไทย" พิพิธภัณฑ์ที่ว่านี้ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวง...ภายในกำแพงพระบรมมหาราชวัง ว่ากันว่าคนในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์เมื่อได้มาเห็นต่างชมกันเปาะว่า "ระดับเวิร์ลด์คลาส"แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
สถาบันกษัตริย์ เงิน พระราชพิธี เหรียญที่ระลึก เครื่องประดับ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ ท้องฟ้าจำลอง
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางนา
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย
จ. กรุงเทพมหานคร