พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง


ที่อยู่:
วัดยายร่ม ถ.พระราม 2 เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์:
0-2428-0685
วันและเวลาทำการ:
วันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่ 09:00 – 16:30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2548

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

คู่มือท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง

ชื่อผู้แต่ง: กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร | ปีที่พิมพ์: มปป.

ที่มา: กรุงเทพฯ:กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง

บนถนนพระรามสอง ของเขตจอมทอง มีวัดที่มีศิลปะโดดเด่น และสำคัญๆ หลายแห่ง วัดยายร่ม เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นวัดเก่าแก่อายุเกือบ 200 ปี และยังมีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดคือโบสถ์ของวัดมี 2 ชั้น ภายในโบสถ์ชั้นบนประดิษฐานพระหลวงพ่อพุ่ม ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านในเขตจอมทอง ส่วนบริเวณชั้นล่างของโบสถ์ ประดับตกแต่งด้วยไม้สักทองแกะสลักลวดลายสวยงาม

ภายในบริเวณของวัดแห่งนี้ส่วนหนึ่งยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตจอมทองอีกด้วย คุณพรทิพย์ จิตศศิวิมล และ คุณสันติ นุชพันธ์ อาสาสมัครดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รอต้อนรับเราอยู่ คุณพรทิพย์ได้พานำชมและบอกเล่าเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์ว่า จัดแสดงทั้งหมด 5 ส่วนด้วยกัน ในส่วนแรกจะนำเสนอประวัติความเป็นมาของ “บางกอก” อันเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ และแสดงเรื่องราวการขุดคลองลัดในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ซึ่งทำให้เกิด คลองบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ และแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงตัวอย่างสายน้ำสายต่างๆ ให้เราได้ชมด้วย 

ในส่วนถัดไปทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงถึงความสำคัญอย่างยิ่งของคลองด่าน และลำคลองสายสำคัญต่อวิถีชีวิตชุมชนในเขตจอมทอง เพราะเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก และยังเป็นแหล่งน้ำสำหรับการทำสวนผลไม้ซึ่งเป็นอาชีพของคนแถบนี้ “คลองสนามชัย” เป็นคลองที่ต่อกับคลองด่าน ในอดีตเป็นเส้นทางเพื่อการขนส่งอาหารทะเล เกลือ และถ่านไม้โกงกาง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ ตลาดน้ำวัดไทร ตลาดน้ำชื่อดังในอดีต ที่เคยเป็นแหล่งรวมผลผลิตจากสวนในย่านฝั่งธนบุรี คุณพรทิพย์ ยังได้เล่าถึงการ “มัวกุ้ง” ซึ่งเมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำแห้ง ชาวสวนจะใช้พายน้ำให้ขุ่นกุ้งจะลอยมาติดข้างตลิ่ง ชาวสวนก็จะใช้สวิงจับ ถ้าน้ำแห้งมากๆ สามารถเดินลงไปจับปลาจับกุ้งอย่างสนุกสนาน หรือเมื่อน้ำทะเลหนุน กุ้งจะเกิดอาการเมา ชาวสวนจะจับมาทำอาหารได้อย่างง่ายดาย

นอกจากเส้นทางคลองด่านแล้ว ยังมีเส้นทางรถไฟ รถราง รถไฟจะวิ่งจากมหาชัย ไปวงเวียนใหญ่ เพื่อการค้าขาย ส่งอาหารทะเลไปที่ตลาดน้ำวัดไทร ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการอยู่ รถไฟจะออกทุกๆ 1 ชั่วโมง ในช่วงเวลา ตี 5 ถึง 2 ทุ่ม ค่าโดยสารเพียง 10 บาทเท่านั้น

ในเขตจอมทองมีผลไม้ที่ขึ้นชื่อเช่น ลิ้นจี่ที่บริเวณคุ้งลิ้นจี่ เป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่คุณภาพดี หรือส้มบางมดที่ขึ้นชื่อ คุณพรทิพย์บอกว่าส้มบางมดที่นี่จะมีรสออกหวานอมเปรี้ยว ซางจะนิ่ม รสชาติอร่อย แรกเริ่มเดิมทีก่อนปลูกส้มจะมีการปลูกข้าวกันมานาน ซึ่งอาจเป็นเพราะน้ำที่กร่อยทำให้ชาวนาหันมาปลูกส้มแทน 

ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของชาวสวนลิ้นจี่ คือ เครื่องมือไล่กระรอก ค้างคาว ที่มากินผลไม้ในสวน ทำจากไม้แล้วผ่าตรงกลาง ร้อยด้วยเชือกและนำไปแขวนเป็นระยะๆ ที่ต้นไม้ ในตอนกลางคืน นานๆ ทีชาวสวนจะตื่นมาดึงเชือกเพื่อให้เกิดเสียงไล่สัตว์ที่มากินผลไม้ เสียงจะดังมากๆ ชาวสวนจะเรียกว่าอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า “ตะขาบ” 

นอกจากคุ้งลิ้นจี่แล้ว ยังมีคุ้งข้าวหลาม ครั้งบริเวณริมคลองด่านจะเต็มไปด้วยชาวบ้านที่เผาข้าวหลามขายเป็นอาชีพ ซึ่งคุณพรทิพย์เล่าว่า ตอนนี้เหลืออยู่เจ้าเดียวคือ “ป้าแต๊วกับลุงยศ” ที่ยังใช้สูตรเดิม คือเผาข้าวในกระบอกไม้ไผ่ ที่นำมาจากกาญจนบุรี ซึ่งต้องใช้เวลานานในการเผา คือ 3-5 ชั่วโมง ไม่เหมือนปัจจุบันที่นึ่งข้าวก่อนแล้วนำไปใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ข้าวหลามของป้าแต๊วและลุงยศ ยังพอหาทานได้ที่ตลาดน้ำวัดไทร ในช่วงวันอาทิตย์ ซึ่งคุณพรทิพย์บอกว่าตลาดน้ำวัดไทรได้ซาลงเพราะน้ำในคลองเริ่มตื้นเขิน ร้านค้าขึ้นมาขายบนบกกันหมด

“จอมทองจุดกำเนิดวัดนอกอย่าง” ศิลปะแบบวัดนอกอย่างเป็นศิลปะเฉพาะ ซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 โดยมีวัดราชโอรส เป็นต้นแบบของวัดนอกอย่าง อีกทั้งยังมี วัดนางนอง และวัดหนัง จุดเด่นของวัดนอกอย่างคือ หน้าบันจะไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ที่ทำด้วยไม้ แต่เป็นการก่ออิฐถือปูน และนิยมประดับด้วยเครื่องเคลือบสีต่างๆ และด้วยรัชกาลที่ 3 ทรงติดต่อกับพ่อค้าชาวจีน จึงมีศิลปะลวดลายแบบจีน เช่น กระถางธูป กระถางต้นไม้ ตุ๊กตาหินประดับอยู่ภายในบริเวณวัด

ส่วนสุดท้ายจะจัดแสดงถึงศิลปะวัฒนธรรม และบุคคลสำคัญในเขตจอมทอง ส่วนของศิลปะวัฒนธรรม จะมีลิเกเด็ก ของคณะมงคลศิลป์ โรงเรียนวัดมงคลวราราม โขนจิ๋ว จากโรงเรียนอนุบาลบ้านยิ้ม โขนเด็ก โรงเรียนวัดศาลาครืน ส่วนของประเพณีที่สำคัญของเขตจอมทอง คือ การก่อเจดีย์ทรายในประเพณีสงกรานต์ วัดบางขุนเทียนใน ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ประเพณีจุลกฐิน ของวัดบางประทุนนอก และประเพณีแข่งเรือ ของวัดบางขุนเทียนกลาง

บุคคลสำคัญของเขตจอมทอง ครูเพลงต่างๆ เช่น ครูบุญเลิศ ครูบุญยง ครูบุญยัง เกตุคง ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง หลวงปู่วัดหนัง อดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่เลื่องชื่อ และได้รับความเลื่อมใสศรัทธาของชาวจอมทอง และพุทธศาสนิกชนทุกท่าน 

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

สำรวจ : 23 เมษายน 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-