โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: พระวิเชียรกวี(ฉัตร อินฺทสุวณฺโณ) | ปีที่พิมพ์: 2551
ที่มา: กรุงเทพฯ:วัดหนัง ราชวรวิหาร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: มนตรี จิรพรพนิต | ปีที่พิมพ์: 25-02-2551
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุจิตต์ วงษ์เทศ | ปีที่พิมพ์: 4-12-2551
ที่มา: มติชนรายวัน(คอลัมน์ สยามประเทศไทย)
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 24-02-2552
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 18 เมษายน 2554
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 2 ม.ค. 2556;02-01-2013
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 27 มีนาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
วัดหนังเป็นวัดเก่าแก่ในย่านนี้ และมีวัดในแถบใกล้ๆกันอีกหลายวัดจนมีเรื่องเล่าว่า วัดในแถบนี้มีวัดสามพี่น้องคือ วัดหนัง วัดนางนอน และวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และที่ใกล้กันนั้นก็มีวัดศาลาครึนด้วย วัดนางนองรชวรวิหารและวัดราชโอรสารามราชวรวิหารนั้นบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งศิลปะที่ปรากฏอยู่ที่วัดนั้นส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะแบบจีน มีประดับกระเบื้องจีนตามหน้าจั่วของโบสถ์และวิหารของวัด ส่วนวัดหนังนี้พระราชมารดาของรัชกาลที่ 3 ทรงให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหนังขึ้นใหม่ แต่ให้มีความเป็นไทยผสมอยู่มากกว่าวัดนางนองและวัดราชโอรสารามฯ แต่ก็ยังมีศิลปะแบบจีนปนอยู่บ้าง
“พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา” ฟังดูในทีแรกเข้าใจไปว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบการศึกษาของไทย แต่เมื่อมาถึงพิพิธภัณฑ์ฯ จึงทราบวัตถุประสงค์ของท่านพระครูสมุห์ไพฑูรย์ สุภาฑโร ที่ต้องการให้พิพิธภัณฑ์นี้จัดขึ้นเพื่อการศึกษา ให้ผู้เข้าชมได้มาศึกษามาเรียนรู้ ไม่ได้กล่าวถึงระบบการศึกษาโดยเฉพาะอย่างเดียว สิ่งของจัดแสดงส่วนใหญ่กว่า 95 % เป็นสิ่งของที่ทางวัดมีอยู่แล้ว เก่าแก่ไปตามเวลาเก็บอยู่ในห้องเก็บของ ท่านพระครูฯ เห็นว่าเก็บไว้ก็เสียเปล่า น่าจะทำให้เกิดประโยชน์แก่คนทั่วไป
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2550 เจ้าอาวาสและลูกวัดจึงมีดำริร่วมกันว่า น่าจะทำการซ่อมแซมกุฏิของพระสงฆ์ให้ดีขึ้น และจัดสรรอาคารหลังหนึ่งที่เป็นกุฏิเก่ามาเป็นส่วนจัดแสดงสิ่งของเก่าแก่ของวัด เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่กุฏิสงฆ์ แต่ท่านพระครูก็ได้เฉลยให้ฟังว่า เป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยกันดูแล การมีกุฏิอยู่รายรอบถือว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ไปด้วยในตัว และการเข้าชมก็ต้องติดต่อมาก่อน เพื่อจะได้เตรียมตัวเอาไว้ ท่านพระครูให้ข้อสังเกตว่า ท่านอยากให้คนที่มาดูได้รับฟังการบรรยายจากผู้ดูแลมิใช่เพียงแค่เดินเข้ามาดูแล้วก็ออกไป ไม่ได้เกิดการเรียนรู้ขึ้นเลย การที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้รับฟังและบางครั้งก็อาจมีการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
วิธีการจัดรูปแบบการจัดแสดง ท่านพระครูฯกับบรรดาสหายก็ช่วยกันออกแบบจัดวางและลงมือจัดทำเองทุกส่วน เรียกว่าทั้งพิพิธภัณฑ์ไม่ได้จ้างบริษัทมาทำเลยนอกจากการก่อสร้างอาคารเท่านั้น พิพิธภัณฑ์แล้วเสร็จช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2551 ที่ผ่านมานี่เอง แต่ยังไม่ได้เปิดอย่างเป็นทางการ กำลังรอให้พระอุโบสถที่กำลังก่อสร้างแล้วเสร็จ และจะทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มาเปิดพร้อมกัน แต่ขณะนี้ก็สามารถเข้าชมได้ตามปกติ
ส่วนจัดแสดงต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์ฯ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของพื้นที่ในเขตจอมทอง แถบวัดหนังนี้และวิถีชีวิตในอดีตของชาวบ้านในย่านวัดหนังส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ทำสวนผลไม้ สวนผัก ส่วนแรกเมื่อเข้าไปเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่แถบนี้ ประวัติของวัดโดยคร่าวๆ รวมถึงจัดแสดงสิ่งของโบราณที่พบภายในวัด ทั้งระฆังโบราณที่มีอายุเกือบ 300 ปี ที่อยู่คู่วัดมาตั้งแต่เริ่มแรก อิฐเก่าที่ขุดพบในบริเวณวัดลึกลงไปกว่า 1 เมตร ท่านพระครูฯ เล่าว่าบริเวณลานวัดหนังนี้ถ้าขุดลงไปจากชั้นซีเมนต์ก็จะพบชั้นของอิฐ สองระดับ ระดับแรกคาดว่าปูไว้เมื่อประมาณ 40-50 ปีที่ผ่านมา แต่ลึกลงไปอีกคาดว่าจะเป็นอิฐตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นได้ ขนาดของก้อนอิฐก็ไม่เท่ากันอิฐชั้นแรกก้อนเล็กๆเหมือนอิฐแดงที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่อิฐชั้นที่สองก้อนใหญ่กว่ามาก ท่านพระครูฯบอกว่า เปรียบเทียบกับรูปเก่าของวัดหนังที่ถ่ายเอาไว้อิฐชั้นที่สองที่อยู่ข้างใต้น่าจะเก่ากว่าสมัยรัชการที่ 5
นอกจากนี้ยังมีภาพแผนที่ของกรุงรัตน์โกสินทร์ในอดีต เน้นคลองด่านซึ่งไหลผ่านทางหน้าวัด ที่จะลัดไปออกปากอ่าวได้ แต่ไม่เหมาะที่เรือใหญ่จะออกได้ ส่วนใหญ่ในอดีตก็จะเป็นเส้นทางการเดินเรือไปบางช้าง อัมพวา ซึ่งคลองด่านนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เคยทรงเสด็จประพาสทางน้ำมาขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดมาแล้ว สมัยเดียวกับพระพุทธเจ้าหลวงนั้นเจ้าอาวาสของวัดหนังเป็นพระที่มีชื่อเสียงมาก คือ หลวงปู่เอี่ยม หรือ พระภาวนาโกศลเถระ ท่านพระครูถ่ายทอดให้ฟังว่า “วัดหนังเราอาจจะไม่มีชื่อเสียงโด่งดัง หรือสวยงามมากนัก แต่ถ้าในตลาดพระแล้ว พระหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง ดังมากราคาไม่เคยตก ขี้เหร่หน่อยก็หลักแสน แต่ที่ดีจริงๆ ก็หลักล้าน ถามเซียนพระที่ไหนก็ได้”
นอกจากนี้ยังจัดแสดงเครื่องไม้เครื่องมือในสวน เช่น เชือกกล้วยที่ถักเป็น “ปลอก” ใช้คล้องกับขาอ้อมต้นหมากแล้วปีน เพื่อให้เกิดแรงเหนี่ยวจนสามารถปีนขึ้นต้นหมากได้ ท่านพระครูเล่าว่า เวลาฝนตกถ้าปีนต้นมะพร้าวก็ยังพอได้เพราะเปลือกต้นมะพร้าวค่อนข้างสาก แต่ต้นหมากนั้นมันลื่น ให้ใช้ปลอกช่วยในการปีนจะขึ้นได้ง่ายกว่า ให้มันล๊อคเท้าเอาไว้ไม่ให้ลื่นลงมาได้ นอกจากนี้ยังมีพลั่วสองแบบ แบบสานเอาไว้วักน้ำรถต้นไม้ กับแบบเหล็กเอาตักขี้เลนมาโปะบนร่อง ระหัดวิดน้ำแบบใช้แรงคน เอาไว้วิดน้ำข้ามร่อง ซึ่งความยาวของระหัดก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของร่องด้วย กระบอกฉีดยาฆ่าแมลงแบบเก่าที่รูปร่างเหมือนท่อพีวีซีแรงดันน้ำที่เอามาใช้เล่นสงกรานต์ในสมัยนี้ และยังมีรูปถ่ายเก่าของเรือกสวนในย่านวัดหนังในอดีตให้ดู ไม่น่าเชื่อว่า เมื่อก่อนแถววัดหนังจะมีสวนลิ้นจี่กับเขาด้วย ท่านพระครูฯ บอกว่าลิ้นจี่ของที่นี่จะเป็นพันธุ์เดียวกับที่อัมพวาเขาปลูกกัน ท่านสันนิษฐานว่า ที่อัมพวาน่าจะเอาพันธุ์ลิ้นจี่จากที่นี่ไปปลูกที่โน่น ผู้เขียนไม่แน่ใจเหมือนกันว่าใครปลูกก่อนกันแน่ อันนี้ต้องสืบประวัติกันอีกที
จากสวนเราก็ย้ายเข้าบ้าน ในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ไว้หลายส่วนด้วยกัน ส่วนหนึ่งในนั้นคือห้องครัวเตาไฟแบบสมัยก่อน โดยอนุญาตให้ผู้ชมที่สนใจได้ทดลองหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆได้ เพื่อจะได้เข้าใจถึงวิธีใช้ข้าวของต่างๆในครัว ถัดจากครัวซึ่งเชื่อมกับห้องนอนเล็กที่จัดไว้เหมือนมีคนอยู่จริง เครื่องเสียงโบราณที่ยังเล่นได้ เด็กๆจะชอบทุกครั้งที่เข้าชม ท่านพระครูได้เปิดเครื่องเสียงโบราณให้ฟัง โครงเตียงนอนที่เจ้าของยกมาบริจาคที่วัดหนัง พระท่านก็ดัดแปลงฝาโลงมาปูแทนกระดานเตียง ถือว่าเป็นการปลงสังขารไปด้วยในตัว ด้านหน้าห้องนอนจะมีส่วนอาบน้ำเล็กๆ ที่เคยเห็นตาทวดกับยายเฒ่าอาบน้ำกันสมัยก่อน ซึ่งมีเพียงม้านั่งตัวเล็ก โอ่งน้ำแล้วก็ขันอาบน้ำเท่านั้น ฝากระดานกั้นสายตาก็ไม่มี โล่งเสียจนน่าเสียวไส้
เด็กๆ ที่บ้านอยู่ใกล้วัดมาเมียงมองอยากจะเข้ามาเล่นในพิพิธภัณฑ์ “เพิ่งถึงตรงนี้เองเหรอ” เสียงเล็กๆลอดมาจากลูกกรงหน้าต่าง จนต้องอมยิ้ม เมื่อก่อนบ้านเมืองสยามยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เขาใช้อะไรล่ะ ก็ตะเกียงไง ตู้เรียงรายพิงข้างฝาเอาไว้ภายในมีตะเกียงรูปร่างต่างๆ น่ารักและสวยงาม เมื่อก่อนตะเกียงเล็กๆ เหล่านี้เป็นของชำร่วยเอาไว้แจกกันเมื่อมีงานในโอกาสต่างๆ ตะเกียงที่ถือว่าเด่นของส่วนจัดแสดงนี้คือตะเกียงแขวน สองดวงใหญ่ที่ท่านพระครูเล่าว่ามีใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 ส่วนใหญ่จะใช้จุดเวลามีการแสดง ปล่อยเชือกลงมาจุดไฟให้ติดก่อนแล้วค่อยชักขึ้นไปส่องสว่างเป็นแสงขาวนวลเจิดจ้า ตะเกียงใหญ่ดวงนี้เป็นตะเกียงลาน ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง แต่ต่อสายลงมามีถังเชื้อเพลิงวางอยู่ที่พื้น ตะเกียงลานบางตัวไขลานครั้งหนึ่งสามารถเดินได้นาน 1 วัน 1 คืน
จากนั้นจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเรือ พาหนะที่ชาวสยามใช้กันมานานนมเต็มที แต่จะมีเด็กสักกี่คน(เด็กเมือง)ในสมัยนี้ ที่พายเรือเป็น มีเรือสำปั้นแบบนั่งหลายคน เรือสำปั้นเพรียว เรือสำปั้นแจว เรือสำปั้นจ้าง เรือบด แสดงให้คุณหนูๆ ที่ไม่เคยเห็นได้เข้ามาดู
ชั้นสองของเรือนพิพิธภัณฑ์ เป็นส่วนจัดแสดงเรื่องต่างๆของวัดหนัง อาทิ พระเครื่อง ข้าวของเครื่องใช้ของพระอาจารย์รูปต่างๆที่ได้มาจำพรรษาที่วัดหนังนี้ ที่วัดหนังนอกจากดังเรื่องเกจิอาจารย์แล้ว ยังดังในเรื่องของสมุนไพรยาโบราณ ยาไทย ตำรายาที่จารไว้บนใบลาน เครื่องยาสมุนไพรแบบต่างๆ บนชั้นสองนี้จัดแบ่งไว้เป็นสองส่วนเช่นกัน ส่วนแรก คือประวัติที่เกี่ยวเนื่องกับวัด หนังสือเรียนที่ใช้เรียนในโรงเรียนวัดหนัง ที่ลูกศิษย์วัดเก่าๆมาดูทีไรก็ต้องแอบยิ้มเพราะบางเล่มก็เป็นหนังสือของตน แบบเรียนต่างๆ คัมภีร์ใบลานที่ทางวัดเก็บไว้แต่ก็พุพังไปมาก มีดีอยู่บ้างก็เอามาจัดแสดง พระองค์เล็กองค์น้อยที่เรียงรายอยู่ในตู้นั้นท่านพระครูมีเจตนาให้เด็กๆได้รู้จักว่าพระเครื่องดังต่างๆ นั้นมีลักษณะรูปลักษณ์อย่างไร มีพระคะแนนที่สมัยนี้คงหาไม่ได้เพราะส่งโรงงานปั๊มหมด พระคะแนนนี้จะทำขึ้นเพื่อแทนหลักนับว่า ทำได้กี่พันองค์แล้ว ในสมัยที่พระในวัดยังต้องปั้นและปั๊มพระเครื่องเองอยู่
ในตู้จัดแสดงใกล้กันก็มีเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์สมัยต่างๆ อาทิ อยุธยา รัตนโกสินทร์ ให้เห็นความแตกต่างของเบญจรงค์อยุธยาที่ได้เดินลายทอง แต่ของรัตนโกสินทร์ก็จะลงทองตามเส้นตัดขอบของภาชนะด้วย ส่วนเล็กๆติดกันจัดแสดงตาลปัตรพัดยศ รูปร่างต่างๆ ที่พระอาจารย์ พระผู้ใหญ่ในวัดได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ และยังจัดแสดงเครื่องของแปดอย่างพระบวชใหม่จะต้องมีประกอบเวลาไปขอพระอุปชาบวชคือ เครื่องอัฐบริขาร เข็ม ด้าย หม้อกรองน้ำ สบง สังฆาติ จีวร ปคตเอว มีดโกน
ห้องสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์ เป็นห้องที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่เอี่ยม พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังของวัดหนังในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมทั้งเครื่องของใช้ประจำกายของหลวงปู่ นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นรูปภาพในอดีตของวัด เครื่องของใช้ของหลวงปู่ช้วน ย่าม พระเครื่ององค์เล็กๆ ที่หลวงปู่ช้วน เป็นพระตะกั่วองค์เล็ก ซึ่งในปัจจุบันการหล่อพระเครื่องตะกั่วแบบนี้ไม่ค่อยทำกันแล้วเนื่องจากสารพิษจากตะกั่วจะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้
การท่องเที่ยววัดหนังราชวรวิหารในวันนี้สนุกมากจริงๆ เพราะได้เรียนรู้เรื่องราวหลายอย่างที่ชาวสวนในอดีต ข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ค่อยจะเห็นแล้วในสมัยนี้ ที่นี่ยังเป็นสถานที่เล่นพร้อมหาความรู้ไปด้วยในตัวของเด็กๆในละแวกวัด เพราะได้ดู ได้จับต้อง ได้ลองเล่น สร้างการเรียนรู้ที่จะจดจำไปได้อีกนาน
เมธินีย์ ชอุ่มผล เรื่อง
มัณฑนา ชอุ่มผล ภาพ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
"วัดหนัง” มนต์ขลังวัดงามย่านฝั่งธน
ย่านฝั่งธนบุรี นับว่ามีวัดเก่าแก่ วัดสวยๆงามๆที่ซ่อนกายแฝงเร้นอยู่ตามเรือกสวน ตามชุมชน เป็นจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นก็คือ "วัดหนังราชวรวิหาร" หรือ"วัดหนัง" ที่ฉันได้มีโอกาสเดินทางมาเยือนในทริปนี้ วัดหนัง ถือเป็นวัดสำคัญอีกวัดในฝั่งธนฯ เป็นวัดเก่าแก่ริมคลองด่าน มีประวัติว่าสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ก่อนหน้าที่จะมาเป็นวัดพระอารามหลวงนี้วัดหนังเป็นวัดร้างอยู่กว่า 200 ปี จนมารุ่งเรืองขึ้นเมื่อสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาวัดขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม ด้วยเหตุนี้เองที่วัดหนังไม่ได้เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีนตามแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ 3 แต่เป็นวัดแบบไทยๆ เพราะพระบรมราชชนนีของพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นไหว้พระงาม ชมจิตรกรรมอลังการรับปีใหม่ ในวัดย่านจอมทอง-บางขุนเทียน
ผู้ที่อยากมาสักการะพระเกจิทั้งสามสามารถมากราบไหว้ได้ที่วิหารหลวงปู่ ใกล้กับศาลาการเปรียญ และไม่ควรพลาดชม "พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร" พิพิธภัณฑ์ที่เป็นความร่วมมือระหว่างบ้านกับวัด ซึ่งมีทั้งข้าวของมีค่าเก่าแก่ของวัด และเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตในอดีต จัดแสดงได้อย่างน่าชมสมกับเป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในเมืองไทยพิพิธภัณฑ์วัดหนัง
วัดหนังตั้งอยู่ริมคลองด่าน เป็นวัดเก่าแก่ ใหญ่โตโอ่อ่า และเป็นวัดหลวงมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ ปัจจุบันวัดหนังแบ่งเขตสังฆวาส (ที่อยู่ของสงฆ์) ออกเป็นสามคณะ คือ คณะเหนือ กลาง และใต้ ในหมู่กุฏิของคณะเหนือ มีอาคารหลังหนึ่งขึ้นป้ายเป็น “พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา” กุฏิสงฆ์หลังนี้เดิมทีเป็นเรือนของแม่ครูหมัน (ครูมัลลี คงประภัศร์) ครูโขนละคร ที่หนีสงครามโลกครั้งที่สองมาปลูกเรือนอยู่ละแวกนี้แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร
จริงๆ ที่นี่เป็นทริปเดียวกับที่ไปวัดนางนอง และวัดราชโอรส เดินไปเดินมากำลังหาทางจะไปพระอุโบสถ ปะป๊าเดินนำหน้าไปก่อนแล้วมาตามแม่กับลูกไป...ที่นี่...พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร....จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมของมีค่าของวัด และชุมชนในเขตจอมทอง อันเป็น เอกลักษณ์ของท้องถิ่น โดยจัดแสดงเป็นกลุ่มย่อย ตามลักษณะสภาพความเป็นจริง ของชาวสวน ย่านชุมชนข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์จักรีในอดีต รูปแบบการนำเสนอมุ่งเน้นความเป็นไทยท้องถิ่น ที่มีการทำอาชีพเกษตรกรรมในเมืองธนบุรี คือการทำสวนผลไม้ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และในอีกหลายๆแง่มุม ทั้งความเป็นอยู่ รวมถึงเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมสัมผัส และเข้าถึงสิ่งเหล่านั้นได้ โดยมีวิทยากรเป็นคนท้องถิ่น ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ คอยให้คำแนะนำ พร้อมการสาธิตอธิบาย อย่างถูกต้องแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ธนบุรี วัดหนัง เครื่องมือทำสวน หลวงปู่เอี่ยม ตาลปัตร
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกน้อย
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์สัตววิทยา
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์สุขสะสม
จ. กรุงเทพมหานคร