พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยตั้งอยู่ในอาคารพิพิธภัณฑ์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารแห่งแรกของไทย จึงมีเอกสารสำคัญ เครื่องมือ และเครื่องใช้ที่แสดงวิวัฒนาการของระบบการเงินและการธนาคารของไทยเก็บไว้เป็นจำนวนมาก สิ่งของเหล่านี้เป็นของที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ ธนาคารจึงได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยขึ้น เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการที่แสดงระบบการเงินและการธนาคารของไทยและโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แบ่งการจัดแสดง ส่วนที่ 1 จัดแสดงวิวัฒนาการเงินตรา ส่วนที่ 2 จัดแสดงวิวัฒนาการธนาคาร ส่วนที่ 3 จัดแสดงเรื่องต้นแบบธนาคารไทย และส่วนที่ 4 จัดแสดงเรื่องไทยพาณิชย์กับการก้าวสู่ยุคปัจจุบัน
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: หทัย | ปีที่พิมพ์: ก.พ.37 หน้า 68-74
ที่มา: กินรี
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างความประทับใจตั้งแต่ก้าวแรกที่สัมผัส ด้วยอากาศจากเครื่องปรับอากาศที่เย็นสบาย ดนตรีคลาสสิคที่ไพเราะ และการใช้แสงสีที่ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกอบอุ่น เท่านี้ก็ทำให้ผู้เขียนอยากใช้เวลาตลอดช่วงบ่ายหลบร้อนในพิพิธภัณฑ์นี้ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยตั้งอยู่ในอาคารพิพิธภัณฑ์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารแห่งแรกของไทย จึงมีเอกสารสำคัญ เครื่องมือ และเครื่องใช้ที่แสดงวิวัฒนาการของระบบการเงินและการธนาคารของไทยเก็บไว้เป็นจำนวนมาก สิ่งของเหล่านี้เป็นของที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ ธนาคารจึงได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยขึ้น เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการที่แสดงระบบการเงินและการธนาคารของไทยและโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อันเป็นประโยชน์แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป โดยเตรียมการ ออกแบบและก่อสร้างตั้งแต่ปี 2536 และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2539 และได้ทำการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ถูกต้องตามหลักการของพิพิธภัณฑ์เมื่อ เดือนมกราคม 2549
คุณสุพจน์ จิตสุทธิญาณ ภัณฑารักษ์อาวุโสของพิพิธภัณฑ์ให้ความรู้แก่ผู้เขียนว่า พิพิธภัณฑ์ที่ถูกต้องตามหลักการต้องประกอบด้วยสามส่วนคือ หอจดหมายเหตุ (Archives) ห้องสมุด (Library) และส่วนจัดแสดง (Exhibition) ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งแรกที่มีครบทั้งสามส่วน
พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยตั้งอยู่ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ไทย ชั้นล่างเป็นที่ตั้งของหอจดหมายเหตุและพื้นที่จัดแสดงกิจกรรมเฉพาะกิจ วันที่ผู้เขียนเข้าไปเยี่ยมชมทางพิพิธภัณฑ์จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา โดยจัดแสดงภาพถ่ายของช่างภาพนานาชาติภายใต้แนวคิด “9 Days in the Kingdom” ผู้เขียนได้เดินชมภาพถ่ายที่สวยงามและมีโอกาสเขียนการ์ดถวายพระพร เพื่อนำไปแขวนไว้ที่ต้นไม้จำลองด้วย คุณสุพจน์ให้ข้อมูลว่า ทางพิพิธภัณฑ์จะจัดกิจกรรม “รื่นรมย์ชมศิลป์” ในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยจัดเหมือนงานฤดูหนาว มีการจัดการแสดงศิลปะและบันเทิง โดยเริ่มเริ่มปีนี้เป็นปีแรก
ชั้น 2 ของพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ โดยจัดการแสดงแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 วิวัฒนาการเงินตรา จัดแสดงและให้ข้อมูลพัฒนาการในการติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชุมชนตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งมีการพัฒนารูปแบบมาจนมีการใช้เงินสกุลต่าง ๆ และธนบัตรเช่นปัจจุบัน
การจัดแสดงมีการตกแต่งเพื่อให้ความรู้สึกอยู่ในยุคโบราณด้วยพื้นหิน ปูนเปลือย และมีการให้ข้อมูลด้วยเสียงเพียงเรากดปุ่มที่ทางพิพิธภัณฑ์จัดเตรียมไว้ในแต่ละพื้นที่จัดแสดง ก็จะมีเสียงบรรยายเกี่ยวกับเรื่องที่เราชมอยู่ ซึ่งคำบรรยายมี 2 ภาษา คือ ไทยและอังกฤษ นอกจากคำบรรยายแล้ว ยังมีการจัดแสดงภาพและเสียงด้วยระบบวิดิทัศน์เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเงินตราสมัยต่าง ๆ ในสุวรรณภูมิด้วย เช่น เงินตราศรีเกษตร เงินตราฟูนัน และเงินตราทวารวดี ซึ่งดูแล้วเงินตราบางเหรียญคล้ายจี้เงินที่ผู้เขียนชอบใส่เป็นประจำ
ส่วนที่ 2 วิวัฒนาการธนาคาร แสดงการกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบธนาคาร โดยเริ่มจากจัดแสดงแผนที่เส้นทางการค้าทางทะเลสมัยโบราณ มีหุ่นจำลองเรือกำปั่น (Chinese Junk) ที่ใช้ในการเดินทางและหีบกำปั่นที่ใช้ในอดีต
ช่วงต่อมามีการใช้จอ LCD Touch Screen จัดแสดงวิวัฒนาการธนาคาร เพื่อให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมตอบโต้ไปกับสื่อที่ใช้ในการแสดง โดยหน้าจอบรรจุอยู่ในสมุดเล่มโตที่เจาะรูตรงกลางเพื่อให้สามารถบรรจุหน้าจอได้ ผู้เขียนชอบแนวคิดนี้มาก เพิ่มความน่าสนใจในการจัดแสดงได้มาก
ส่วนต่อมาเสนอพระประวัติกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระบิดาแห่งการธนาคารไทย ด้วยสื่อวิดิทัศน์
ส่วนสุดท้ายเป็นส่วนที่ผู้เขียนชอบมากที่สุดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นส่วนแสดงประวัติการเริ่มต้นกิจการธนาคารไทย การจัดแสดงใช้เทคโนโลยี 3 มิติเสมือนจริง (Ghost Effect) 2 ภาษา เล่าประวัติการเริ่มต้นกิจการผ่านตัวแสดงเป็นพนักงานบุคคลัภย์ เห็นแล้วทำให้ผู้เขียนนึกถึงหนังสือยอดฮิตเรื่อง Harry Potter ขอสารภาพว่าผู้เขียนกดชมสื่อนี้ถึง 3 ครั้ง เพราะชอบมาก
ส่วนที่ 3 ต้นแบบธนาคารไทย แสดงวิวัฒนาการของธนาคารไทย ผ่านวิดิทัศน์ ภาพถ่าย ป้าย เอกสารสำคัญ แบบจำลอง เครื่องมือ และเครื่องใช้ของแบงก์สยามกัมมาจล จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเอกสาร เครื่องมือ และเครื่องใช้เหล่านี้เป็นของที่ทางธนาคารเก็บสะสมไว้ แล้วนำมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้ชม
ในส่วนนี้จัดแสดงสิ่งที่เป็น Highlight ของพิพิธภัณฑ์คือ บัตร ATM ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมแสดงภาพถ่ายขณะพระองค์ทรงใช้บัตรดังกล่าว
ส่วนที่ 4 ไทยพาณิชย์กับการก้าวสู่ยุคปัจจุบัน เป็นการแสดงที่ต้องการสื่อความทันสมัยของธนาคารในปัจจุบัน ผ่านภาพ แสง สี เสียง โดยกระชากความรู้สึกผู้ชมให้หลุดจากอดีต โดยให้ผู้ชมเดินผ่านอุโมงค์กระจก เข้าสู่ส่วนจัดแสดงนี้ที่ใช้แสงสว่างและวัสดุที่แตกต่างจากส่วนที่สามโดยสิ้นเชิง เช่น ใช้แสงสีขาวจ้าซึ่งแตกต่างจากส่วนก่อนหน้านี้ที่ใช้แสงสีเหลือง ประกอบกับภาพบนจอทีวีที่รายงานเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
เนื่องจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในส่วนงานประชาสัมพันธ์ “Corporate Image” ของธนาคารไทยพาณิชย์ จึงได้รับงบประมาณในการดูแลทั้งหมดจากธนาคาร ตราบใดที่ธนาคารยังอยู่ ก็ยังจะมีพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ต่อไปเรื่อย ๆ โดยงบประมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและผลประกอบการของธนาคาร
ทางพิพิธภัณฑ์กำลังปรับปรุง Website ให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้ครบทั้งสามส่วนของพิพิธภัณฑ์ คาดว่าจะเสร็จปลายปี 2551
ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เชื่อว่า พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ ดังนั้นจึงกำลังเริ่มแนวคิด Mobile Museum การนำพิพิธภัณฑ์บรรจุไว้ในรถเพื่อที่สามารถส่งแหล่งเรียนรู้นี้ไปยังโรงเรียนและแหล่งชุมชนต่าง ๆ ได้
ผู้เขียนกลับออกมาด้วยความรู้สึกประทับใจ หวังว่าจะมีหน่วยงานเอกชนที่เห็นความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปเหมือนธนาคารไทยพาณิชย์แห่งนี้ให้มากยิ่งขึ้น
ผู้เขียน: อรพรรณ จันทร์แก้ว
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 19 ธันวาคม 2550
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
อุปกรณ์สำนักงาน เงินตรา การเงินการธนาคารและเงินตรา ธนบัตร สุวรรณภูมิ เส้นทางการค้า ธนาคาร เอกสาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พิพิธภัณฑ์นักศึกษาวิชาทหาร
จ. กรุงเทพมหานคร
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
จ. กรุงเทพมหานคร
ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามแห่งประเทศไทย
จ. กรุงเทพมหานคร