พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว


โฮงหลวงแสงแก้วเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เกิดจากแรงศรัทธาในพุทธศาสนาของคุณอมรา(แสงแก้ว) มุนิกานนท์ สร้างถวายให้กับวัดพระแก้วอารามหลวง ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของวัด และเป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา อาคารพิพิธภัณฑ์ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นศิลปะล้านนาประยุกต์ สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ผู้ออกแบบเป็นสถาปนิกชาวเชียงรายชื่อ นพดล อิงควณิช พิพิธภัณฑ์เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2538 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นเปิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ภายมีสองชั้น จัดแสดงวัตถุที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมล้านนา อาทิ พระพุทธรูปหินอ่อนจากพม่า เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน รวมแล้วกว่า 300 ชิ้น ดาวเด่น อาทิ พระพุทธศรีเชียงราย เป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ศิลปะล้านนา พระเจ้าทันใจซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดโบราณ ปราสาทเงินศิลปะล้านนาที่สร้าได้ประณีตงดงาม พระแก้วหยกแกะสลักจากหินหยกขนาดใหญ่ เหล็กอัดจีบผ้าสมัยก่อน ช้างแกะสลักจากหินทรายโบราณ

ที่อยู่:
วัดพระแก้วพระอารามหลวง ถนนไตรรัตน์ ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
โทรศัพท์:
0-5371-1385, 0-5375-1875, 081-822-3370, ติดต่อคุณศุภชัย สิทธิเลิศ
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน เวลา 9.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
sangkaewmuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2538
ของเด่น:
พระพุทธศรีเชียงราย เป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ศิลปะล้านนา พระเจ้าทันใจซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดโบราณ ปราสาทเงินศิลปะล้านนาที่สร้าได้ประณีตงดงาม พระแก้วหยกแกะสลักจากหินหยกขนาดใหญ่ เหล็กอัดจีบผ้าสมัยก่อน ช้างแกะสลักจากหินทรายโบราณ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

โดย:

วันที่: 24 มกราคม 2556

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว

โฮงหลวงแสงแก้ว พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา สร้างขึ้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2538 (10 กว่าปีที่ผ่านมา) รูปแบบอาคารเป็นทรงล้านนาประยุกต์ 2 ชั้น ผสมผสานศิลปะระหว่างอยุธยาและศิลปะล้านนา ออกแบบโดยสล่าชาวเชียงราย  โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และตกแต่งด้วยไม้อัดสักทั้งภายนอกและภายใน โดยมี คุณยายอมรา มุนิกานนท์ เป็นผู้อุปถัมภ์การก่อสร้างและมอบถวายให้กับวัดพระแก้ว สร้างแล้วเสร็จภายในปี 2544

ต่อมา ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิด ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 และถือเป็นวันเปิดทางการของโฮงหลวงแสงแก้วด้วย

ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุทางศาสนาและวัฒนธรรมล้านนาที่สะสมไว้ รวมถึงวัตถุที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย มีการจัดทำคำอธิบายต่างๆ ด้วยภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาล้านนา โดย คุณศุภชัย สิทธิเลิศ และคณะ

การจัดแสดงชั้น 1 ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป เช่น “พระพุทธศรีเชียงราย” ประดิษฐานเป็นพระประธานทางขวาของห้องโถงชั้นนี้ ออกแบบโดย อาจารย์เสนอ นิลเดช ศิลปินแห่งชาติ 
พระพุทธศรีเชียงรายเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อปิดทอง รูปแบบเชียงสานสิงห์หนึ่ง ปางมารวิชัย ส่วนพระพุทธรูปรอบองค์ที่ประดิษฐาน คือ “พระธาตุของพระอรหันตสาวก” เป็นของที่วัดสะสมไว้และมีผู้นำมาถวายสมทบ จัดแสดงพร้อมกับปราสาท 9 ยอด ศิลปะเชียงตุง ทำด้วยโครงไม้บุด้วยแผ่นเงินทั้งองค์ และมีตุงที่น่าสนใจให้ศึกษา เช่น ตุงกระดาษ ตุงฉลุ ตุงเงินตุงทอง ศิลปะไทลื้อ ที่ผู้สุงอายุชาวเชียงคำฉลุถวาย นอกจากนี้ ชั้นนี้ได้จัดแสดงของใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาด้วย เช่น เครื่องเงิน เครื่องเขิน เป็นต้น

ระหว่างเดินขึ้นบันไดไปชั้นที่ 2 ทางด้านมือก็จะพบ “พญาลวง” เป็นสัตว์ในตำนาน ที่มีสัตว์หลายชนิดรวมอยู่ในตัวเดียว เช่น กวาง ปลา นก งู ม้า ฯลฯ ถ้าพญาลวงที่มีขนาดใหญ่ ประเทศพม่าจะนำมาแขวนฆ้อง

การจัดแสดงชั้นที่ 2 วัตถุแสดงที่น่าสนใจ คือ “พระเจ้าทันใจ” มีความเชื่อกันว่า เมื่ออธิษฐานสิ่งใดก็จะได้ดังใจหวัง เป็นพระพุทธรูปโบราณที่อยู่คู่กับวัดพระแก้ว ประดิษฐานเป็นพระประธานของชั้นที่ 2 นี้ พระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทอง สมัยเชียงแสนตอนปลาย ปางมารวิชัย ชั้นนี้ยังจัดแสดงวัตถุทางศาสนาอีกมากมาย เช่น พระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านนา เชียงรุ้ง พม่า บางชิ้นแกะจากหินอ่อน บางองค์เป็นของสะสมของคุณลาวัลย์ ใบหยก แล้วนำมาถวายให้แก่วัด และยังมีชุดเครื่องแบบเจ้านายฝ่ายเหนือสมัยรัชกาลที่ 5  วัตถุโบราณของเจ้านายชั้นสูง ที่เป็นของตกทอดมาถึงทายาทในปัจจุบัน ซึ่งนำมาให้แก่ทางวัดอีกเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ชั้นที่ 2 ได้จัดแสดงเครื่องใช้เกี่ยวกับทางศาสนา ได้แก่ สัตตภัณฑ์ หีบธรรม เครื่องบูชา ฉัตร เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น “ขันแก้วทั้งสาม” เป็นความเชื่อของชาวล้านนาเมื่อเข้าวัด จะนำดอกไม้ธูปเทียนมากราบไหว้บูชาและจะนำดอกไม้ใส่เป็น 3 จุด ซึ่งหมายถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ส่วนพับสา (ภาษาล้านนา) หรือใบลาน ที่จัดแสดงนั้น ส่วนใหญ่เป็นยันต์ทางโหราศาสตร์ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่กันในปัจจุบัน

โฮงหลวงแสงแก้ว จึงเป็นที่รวบรวมศิลปวัตถุที่สำคัญของวัดและผู้ที่นำมาถวาย เพื่อรักษาและจัดเป็นระบบ ให้แก่ผู้เข้าชมทุกลุ่ม ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา

วริสรา แสงอัมพรไชย / เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 25 มกราคม 2556
ชื่อผู้แต่ง:
-