พิพิธภัณฑ์วัดพระทอง


ที่อยู่:
วัดพระทอง บ้านนาใน ต.เทพกษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110
โทรศัพท์:
076-311-105
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 07.30–17.30น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2530
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ประวัติศาสตร์อารยธรรมภาคใต้: แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง: ประชุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดพระทอง


วัดพระทองเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต ด้วยว่ามีพระพุทธรูปโบราณที่มีลักษณะแปลกคือครึ่งองค์โผล่จากพื้น มีตำนานเล่าว่าชาวบ้านมาขุดพบโดยขุดได้เพียงครึ่งองค์เท่านั้น นอกจากนี้ยังเล่ากันอีกว่า เมื่อคราวพระเจ้าปะดุงมาตีเมืองถลางก็พยายามขุดพระไปด้วย แต่ไม่สามารถนำขึ้นได้เช่นกัน ชาวบ้านจึงสร้างพระครึ่งองค์ครอบไว้เรียกว่า "พระผุด" ต่อมามีพระธุดงค์มาปักกลดบริเวณนั้น แล้วสร้างวัดขึ้น โดยอัญเชิญพระผุดเป็นพระประธานในโบสถ์ กล่าวกันว่าพระผุดเป็นพระทองคำ จึงพอกปูนทับลงไปอีกครั้งดังที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนพิพิธภัณฑ์นั้นตั้งอยู่ข้างโบสถ์พระทอง เป็นที่รวมโบราณวัตถุและเครื่องใช้ของชาวภูเก็ตที่ชาวบ้านนำมาบริจาค

เจ้าอาวาสองค์ก่อนคือ หลวงพ่อฝรั่ง เป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ โดยท่านได้เก็บรวบรวมสิ่งของมีค่าต่าง ๆ โดยเฉพาะ เครื่องใช้ เครื่องประดับสตรี เก็บเอาไว้ในห้อง ๆ หนึ่ง โดยในตอนแรกยังไม่มีการนำมานับหรือตรวจสอบดูว่ามีอะไรบ้าง จำนวนของที่นำออกมาแสดงเป็นเพียงหนึ่งในสามของทั้งหมดที่มี เป็นที่น่าเสียดายว่าเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว เมื่อเจ้าอาวาสองค์ก่อนมรณภาพของมีค่าชุดหนึ่งได้หายไปกว่า 500 ชิ้น

อาคารจัดแสดงเป็นอาคารสร้างใหม่ชื่อ "ศาลาพุทธสุวรรณนิมิต" เป็นอาคารใหญ่สองชั้น ชั้นล่างใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ ชั้นบนจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ กว้างประมาณ 10 เมตร ยาว 40 เมตร ตัวหนังสือป้ายชื่อใช้เครื่องถ้วยชามกังไสติดประดับเป็นตัวอักษรสวยงาม ก่อนที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนจะมรณภาพ ท่านเป็นผู้จัดสิ่งของเองโดยมีครูท่านหนึ่งมาช่วย แต่เมื่อเจ้าอาวาสอาพาธและมรณภาพในเวลาต่อมาพิพิธภัณฑ์ก็ปิดตัวไประยะหนึ่ง

เมื่องานพระราชทานเพลิงศพท่านเจ้าอาวาสผ่านไป เจ้าอาวาสองค์ใหม่จึงสานต่องานพิพิธภัณฑ์ แต่มีปัญหาในเรื่องไม่ทราบประวัติความเป็นมาของของเหล่านั้น เป็นแต่เพียงเอาของตั้งแสดงไว้ในตู้กระจก ปัญหาการทำทะเบียนของ และความปลอดภัยในการจัดเก็บรักษาของ สิ่งของที่จัดแสดงเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ของชุมชนรอบวัด ของส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาบริจาค เป็นของที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตท้องถิ่นของชุมชนชาวไทย จีน และมุสลิม ในจังหวัดภูเก็ต เช่น จั่งซุ้ยหรือเสื้อกันฝนของชาวเหมืองแร่ เสี่ยหนา ซึ่งเป็นเครื่องจักสานคล้ายตะกร้า มีฝาเปิดปิดได้ ใช้ใส่สินสอดของฝ่ายชายในพิธีมงคลสมรสตามประเพณีจีน รองเท้าตีนตุก ของหญิงชาวจีน ซึ่งมีขนาดเล็กจิ๋วกว่ารองเท้าธรรมดาหลายเท่า นอกจากนี้ยังมีกริชของชาวมุสลิมหลายรูปแบบ ตลอดจนถ้วยชามกระเบื้องแบบตะวันตกที่ชาวจีนมีฐานะนิยมใช้กัน

ข้อมูลจาก:
1. ประชุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. ประวัติศาสตร์อารยธรรมภาคใต้: แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2545.
2. ศรีศักร วัลลิโภดม. เอกสารรายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. วันที่ 7-9 กันยายน 2539 จัดโดยมูลนิธิประไพ วิริยะพันธุ์.
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดพระทอง

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จมานมัสการ พระพุทธรูปองค์หนึ่งในวัดนาใน ห่างจากตัวจังหวัดภูเก็ตปัจจุบันราวยี่สิบกิโลเมตร แล้วจึงได้พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า วัดพระทอง แต่เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้มีเพียงส่วนบนโผล่พ้นพื้นดิน คนส่วนใหญ่จึงเรียกกันว่า พระผุด ตำนานพระผุดฉบับวัดพระทองเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีเด็กเอาควายมาผูกไว้กับหลัก ต่อมาทั้งเด็กและควายก็ตายลง พ่อเด็กฝันเห็นสาเหตุการตาย เลยมาดูที่หลัก จึงพบว่าเป็นพระเกตุมาลาของพระพุทธรูป
ชื่อผู้แต่ง:
-