ศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้


ที่อยู่:
โรงเรียนบ้านกะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 83120
โทรศัพท์:
0-7632-1246
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน กรุณาแจ้งล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2537
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ประวัติความเป็นมาของอั้งยี่ กับศาลเจ้าต่องย่องสู ภูเก็ต

ชื่อผู้แต่ง: ไชยยุทธ ปิ่นประดับ | ปีที่พิมพ์: 2540

ที่มา: ภูเก็ต: วิเศษออฟเซ็ทคอมพิว

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตามไปดู "พิพิธภัณฑ์แร่" ภูเก็ตแห่งแรกแห่งเดียวของไทย

ชื่อผู้แต่ง: ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง | ปีที่พิมพ์: 15/7/52547 หน้า 31

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

คนร่อนแร่

ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้ | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: หนังสืองานอนุรักษ์มรดกไทย ของศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วิถีชีวิต คนในเหมือง

ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้ | ปีที่พิมพ์: 2542

ที่มา: หนังสืองานอนุรักษ์มรดกไทย ของศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

คนร่อนแร่

ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้ | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: ภูเก็ต: ศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ประเพณีพ้อต่อ จังหวัดภูเก็ต

ชื่อผู้แต่ง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต | ปีที่พิมพ์: 2540

ที่มา: ภูเก็ต: สภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ขนมท้องถิ่นกะทู้

ชื่อผู้แต่ง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา: ภูเก็ต: สภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ประเพณีพ้อต่อ จังหวัดภูเก็ต

ชื่อผู้แต่ง: องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: องค์บริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้

ศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้เริ่มต้นมาจากเป็นห้องพิพิธภัณฑ์แร่ดีบุกของโรงเรียนบ้านกะทู้ แต่ด้วยความสนใจเรื่องเหมืองแร่และประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ตเป็นการส่วนตัวของคุณไชยยุทธ ปิ่นประดับ อดีตสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต เห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่จัดแสดงเกี่ยวกับเหมืองแร่จึงได้เสนอแนวคิดและสนับสนุนให้โรงเรียนทำเป็นพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ขึ้น โดยในปี พ.ศ.2537 โรงเรียน อำเภอ และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ สุขาภิบาลกะทู้ และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน ร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมจนสามารถจัดพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ได้

ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อเป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้ โดยใช้อาคารเรียนหลังเก่าทั้งหลังทำเป็นพื้นที่จัดแสดง และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2540 ข้าวของส่วนใหญ่ในพิพิธภัณฑ์ได้มาด้วยวิธีการขอรับบริจาคจากบริษัทที่เคยขุดแร่หรือคหบดีในภูเก็ต บริเวณสวนหย่อมด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงเครื่องจักรขนาดใหญ่หลายชิ้นที่ใช้ในกิจการเหมืองแร่ ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตัวอย่างแร่ดีบุกและแร่ธาตุอื่น ๆ กว่าร้อยชนิด ในถ้วยแก้วใสพร้อมป้ายบอกชื่อทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับเหมืองแร่ โมเดลแสดงขั้นตอนและวิธีการทำเหมืองแร่แบบต่างๆ เช่น เหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมืองเรือขุด โมเดลเตาถลุงแร่ ภาพตัดขวางทางธรณีวิทยาของภูเก็ตและแอ่งกะทู้ อุปกรณ์การทำเหมืองแร่ดีบุกในอดีต อาทิ โพละ(กะลาใส่แร่ที่ร่อน) หมวกกันฝน เสื้อกันฝน เครื่องดับเพลิง ข้าวของส่วนใหญ่มีชื่อเรียกเป็นภาษาจีน ทั้งนี้เพราะคนงานเหมืองแร่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวจีนที่อพยพเข้ามา นอกจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตกำลังจัดทำพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แห่งใหม่ในตำบลกะทู้ โดยวัตถุบางส่วนใหญ่ของศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้จะย้ายไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้ด้วย

ข้อมูลจาก: การสำรวจ 22 กุมภาพันธ์ 2550

หมายเหตุ ปัจจุบันข้าวของเกือบทั้งหมดได้ย้ายไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ และวัตถุสะสมส่วนตัวบางส่วนของคุณไชยยุทธ ได้นำไปจัดแสดงที่ "บ้านเหมืองแร่" ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่คุณไชยยุทธดำเนินการเอง
ชื่อผู้แต่ง:
-