เกาะลันตาประกอบไปด้วย 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายอูรักลาโว้ย แนวคิดในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ชุมชนคนลันตา คือ การที่คนในชุมชนเริ่มมองเห็นคุณค่าทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาหลังเก่า ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลและมีอายุมากกว่า 100 ปี จึงเกิดเป็นโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูอาคารที่ว่าการอำเภอเกาะลันตา ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนคนลันตา เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้และแหล่งรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวกับความเป็นลันตา ทั้งวิถีชีวิตดั้งเดิม ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ นิเวศวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งของชาวเล ชาวจีน และมุสลิม
ชื่อผู้แต่ง: อักขณิช ศรีดารัตน์ | ปีที่พิมพ์: 1 พฤษภาคม 2549
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุรเดช มั่นวิมล | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 30 ฉบับที่ 10872 วันที่ 16 ธันวาคม 2550
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อาภรณ์ อุกฤษณ์ | ปีที่พิมพ์: มปป.
ที่มา: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดกระบี่
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 07-01-2551
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สรินยา คำเมือง | ปีที่พิมพ์: 2552
ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อักขณิช ศรีดารัตน์ | ปีที่พิมพ์: 4 เมษายน 2549
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 04 มีนาคม 2556
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
3 ศาสนา 3 วิถีทาง สู่เส้นทางพิพิธภัณฑ์ชุมชนคนลันตา
หากย้อนไปในสมัยอดีตกาลในยุคที่การค้าสำเภารุ่งเรืองทั้งจากจีน, อาหรับ-มลายู ที่มีการใช้เส้นทางเรือล่องลงทะเลตอนใต้ของประเทศพม่า เลียบชายฝั่งลงมาทางใต้ และเข้าสู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย “ลานตา”หรือลันตาในชื่อปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นเกาะเป้าหมายของนักเดินเรือเพื่อแวะพักผ่อนและพักหลบมรสุม และหลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีผู้คนทั้งชาวจีน ชาวมลายู เข้ามาตั้งหลักแหล่งจนกลายเป็นชุมชน เกิดด่านเก็บภาษีของเรือที่เดินทางมาค้าขายจากภูเก็ต ระนองที่จะเดินทางผ่านไปยังปีนังและสิงคโปร์ จนในปี พ.ศ. 2544 ทางการได้ยกฐานะพื้นที่เกาะลันตาเป็นอำเภอเกาะลันตา จึงกล่าวได้ว่า เกาะลันตามีความเป็นมายาวนานมากกว่า 100 ปี มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษาและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่หลากหลาย แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างถ้อยที ถ้อยอาศัย และมีไมตรีจิตสามัคคีและกลมเกลียวกันหลายทศวรรษกับความต่างที่ลงตัว
เกาะลันตาประกอบไปด้วย 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายลูโม๊ะ ลาโว๊ยหรืออูรักลาโว้ย หรือชาวเลที่คนทั่วไปรู้จักกัน โดยมีการตั้งถิ่นฐานจากหัวแหลมสุดของเกาะลันตาใหญ่ที่เชื่อมต่อกับเกาะลันตาน้อย ที่ท่าเรือศาลาด่านที่อยู่บนสุดของเกาะลันตาใหญ่ เดิมทีเคยเป็นท่าเทียบเรือมาตั้งแต่สมัยอดีต มีชุมชนเก่าที่เรียกกันว่า “ชุมชนศรีรายา” หรือบ้านยาว ที่เป็นเอกลักษณะ คือ มีลักษณะการวางบ้านทอดยาวลงไปในทะเล จนที่เรียกกันว่า “บ้านยาว” มีสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนเก่าแก่พร้อมบอกเล่าถึงเรื่องราวในอดีต เช่น มีศาลเจ้า มีโรงสูบฝิ่น(จำลองขึ้นมาใหม่) และยังเป็นชุมชนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันสำหรับนักท่องเที่ยว ถัดไปจะเป็นชุมชนมุสลิม มีอาชีพทำการประมงขนาดเล็กและค้าขายทั่วไป ถัดไปอีกจะเป็นชุมชนชาวจีน ชุมชนชาวมุสลิม และท้ายสุดของเกาะจะเป็นหมู่บ้านสังกะอู้ หรือชุมชนชาวเลที่มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์
ชาวเล หรืออูรักลาโว้ย คือชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่บนเกาะลันตา เมื่อประมาณ 500 ปีที่ผ่านมา จากนั้นเมื่อ 200 ปีให้หลังก็มีชาวไทยเชื้อสายมุสลิม และชาวจีนเข้ามาตั้งหลักแหล่ง พวกเขาดำรงชีพด้วยการออกทะเล จับสัตว์นำมาเป็นอาหาร มีภาษาเป็นพูดเป็นของตัวเอง เรียกว่า ภาษาอูรักลาโว้ย มีลักษณะคล้ายกับภาษามลายู แต่ไม่มีภาษาเขียนมีการเคารพนับถือในผีบรรพบุรุษ และธรรมชาติ เช่น ป่าเขา ทะเล และสัตว์บางชนิด ปัจจุบันชาวอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่ในพื้นที่ บ้านสังกาอู้ บนเกาะลันตาใหญ่ โดยยังคงขบนธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้ อาทิ บทเพลงร็องแง็ง และพิธีลอยเรือ ที่ถือได้ว่าเป็นพิธีที่สำศัญที่สุด จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 1 ค่ำ - แรม 1 ค่ำเดือน 6 และวันขึ้น 13 ค่ำ – แรม 1 ค่ำเดือน 11 เพื่อบูชาและส่งวิญญาณบรรบุรุษกลับถิ่นกำเนิด และส่งวิญญาณสรรพสัตว์ที่กินเป็นอาหารที่กินมาตลอดปีกลับคืนสู่ที่เดิม รวมถึงขอขมาลาโทษและสะเดาะเคราะห์
ผู้คนบนเกาะลันตาถึงจะมีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติ แต่สิ่งที่พวกเขามีเหมือนกันคือ วิถีชีวิตที่ยังพึ่งพิงธรรมชาติและทะเลในการดำรงชีพ ทั้งยังยึดมั่นในหลักศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีดั่งเดิม มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันจนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
พิพิธภัณฑ์ชุมชนคนลันตา
วรรณดี จิตนิรัตน์ หรือพี่หน่อย ประธานโครงการฟื้นฟูเกาะลันตา เล่าว่า “แนวคิดเบื้องต้นในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ชุมชนคนลันตา คือ การที่คนในชุมชนเริ่มมองเห็นคุณค่าทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาหลังเก่า ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล (colonial) จากตะวันตก และมีอายุมากกว่า 100 ปี จึงเกิดเป็นโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูอาคารที่ว่าการอำเภอเกาะลันตา ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนคนลันตา เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้และแหล่งรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวกับความเป็นลันตา ทั้งวิถีชีวิตดั้งเดิม ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ นิเวศวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งของชาวเล ชาวจีน และมุสลิม
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 6 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องแรกเป็นห้องสมุด รวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเกาะลันตาที่มีอยู่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน(เอกสารรวบรวมการศึกษาเพื่อทำพิพิธภัณฑ์) ห้องที่สอง ห้องนายอำเภอ จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของนายอำเภอ เช่น โต๊ะนายอำเภอ โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ดีด เป็นต้น ห้องต่อไปเป็นห้องวัฒนธรรมชาวจีน ห้องวัฒนธรรมชาวเล และห้องวัฒนธรรมชาวมลายูหรือมุสลิม ซึ่งทั้งสามห้องนี้จะอยู่เรียงติดกัน บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละกลุมชาติพันธุ์ จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ และห้องสุดท้ายจะเป็นหุ่นจำลองวิถีชีวิตต่างๆ ของผู้คนบนเกาะ เช่น หุ่นจำลองแสดงการจับปลา ป่าชายเลน เต่าเผาถ่านจำลอง เป็นต้น เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับผู้เยี่ยมชม ส่วนด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ตกแต่งเป็นสวนหย่อมหรือสานสาธารณะเล็กๆ ให้แก่ผู้คนที่มาเที่ยวชมได้พักผ่อน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์นอกสถานที่ หรือเรียกว่าพิพิธภัณฑ์มีชีวิต คือวิถีชีวิตและวัฒนธรรมต่างๆที่อยู่ในชุมชนเก่าศรีรายา และบ้านร็องแง็งของชาวเล
ชุมชนเก่าศรีรายา เป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันทั้งไทยพุทธและมุสลิม สิ่งที่เป็นเอกสักษณ์ คือ ลักษณะบ้านจะทอดยาวยาวลงไปในทะเล ถือได้ว่าเป็นบ้านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวประมาณ 100 – 150 เมตร และยังเต็มไปด้วยกลิ่นอายของอดีต มีศาลเจ้า ท่าเทียบเรือ ร้านกาแฟโบราณ และร้านขนมจีน พร้อมที่จะให้ผู้คนจากภายนอกมาสัมผัส เรียนรู้ถึงความต่างที่ลงตัวของชุมชนเก่าแห่งนี้
บ้านร็องแง็ง หรือพิพิธภัณฑ์ของชาวเล จะบอกเล่าวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ของชาวเล เช่น ร็องแง็ง ซึ่งเป็นการรำที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมยุโรปและเอเชียเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยเครื่องคนตรีไวโอลิน(ซอ)ของฝรั่ง, รำมะนาของอาหรับ, ฆ้องของจีน, รวมกันในบทเพลง “ ปันตุน ” ในภาษามลายู ถือได้ว่าเป็นการแสดงที่เป็นเอกลัษณ์อีกอย่างของชาวเล และในปัจจุบันบทเพลงร็องแง็งในเกาะลันตา ยังมีอยู่ในชุมชนแห่งนี้นับรวมเวลาไม่ต่ำกว่า 100 ปีมาแล้ว
ประวัติศาสตร์ การค้า เชื้อชาติ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ได้ถูกโยงใยด้วยความเป็นปัจจุบันจนบ่อเกิดพิพิธภัณฑ์ชุมชนคนลันตาให้ลูกหลาน และบุคคลภายนอกได้มาศึกษาเรียนรู้ สัมผัสกับกลิ่นอายของอดีต และวิถีชีวิต วัฒนธรรมในปัจจุบันของผู้คนบนเกาะลันตาที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
ชไมพร อ่อนเกตุพล/ เขียน
อ้างอิง:
วรรณดี จิตนิรัตน์. ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูเกาะลันตา. สัมภาษณ์, 24 – 28 มิถุนาย 2550.
ละไมไทยแลนด์. วิถีชีวิตดั้งเดิม และพิพิธภัณ์ชุมชนชาวลันตา [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.lamaithailand.com (สืบค้นเมื่อ: 14 พฤษภาคม 2557).
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. พิพิธภัณฑ์เครือข่ายชุมชนฟื้นฟูเกาะลันตา[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.m-culture.in.th. (สืบค้นเมื่อ: 14 พฤษภาคม 2557).
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
จากที่ว่าการอำเภอเก่า สู่พิพิธภัณฑ์ชุมชนคนลันตา
“ชุมชนศรีรายา” เกาะลันตา จ.กระบี่ ในอดีตเป็นชุมชนที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของภาคใต้ ในฐานะเป็นเมืองท่าและทางผ่านที่มีสำคัญ ตลอดระยะเวลา 200 กว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีพ่อค้าทั้งที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ปีนัง อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ที่เดินทางไปค้าขายทางเรือ แวะมาพักและทำการค้าขายแลกเปลี่ยนกับคนเกาะลันตา และสะสมเสบียงอาหารก่อนออกเดินทางต่อไปยังที่ต่างๆ รวมทั้งนำผลผลิตจากเกาะลันตาไปขายด้วย ทำให้ชุมชนศรีรายาขึ้น กลายเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนที่สำคัญทางวัฒนธรรม จนกระทั่งกลมกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมหลักของคนที่นี่แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา ลันตา ชาวเล ศรีรายา
ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน พิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน
จ. กระบี่
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ สถาบันการพลศึกษา
จ. กระบี่
หอศิลป์ร่วมสมัยจังหวัดกระบี่
จ. กระบี่