พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม


พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม ก่อตั้งขึ้นโดย พระครูอาทรสังวรกิจ (พระสวาส กนฺตสงฺวโร) (นามสกุลเดิม เอี่ยวน้อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองท่อม เจ้าคณะอำเภอคลองท่อมและอำเภอเกาะลันตา ได้รวบรวมลูกปัดโบราณแบบต่างๆ รวมทั้งโบราณวัตถุอื่นๆ ที่พบในควนลูกปัดหลังวัดคลองท่อม มาเก็บรักษาไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2525 ต่อมาชาวบ้านได้นำโบราณวัตถุต่างๆ ที่มีไว้ในครอบครองมาบริจาคเพิ่มเติม รวมทั้งบริจาคเงิน วัสดุ และอุปกรณ์ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งองค์กรและหน่วยงานต่างๆ เช่น เทศบาลตำบลคลองท่อมใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมใต้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ นักวิชาการ และกรมศิลปากร ได้ร่วมให้ความช่วยเหลือและร่วมสนับสนุนในการจัดแสดงโบราณวัตถุและการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง ลูกปัดที่มีชื่อเสียงที่สุดของคลองท่อม คือ ลูกปัดแก้วโมเสกรูปใบหน้าคน ซึ่งมีลักษณะคล้ายสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์จึงนิยมเรียก “ลูกปัดสุริยเทพ” และลูกปัดชนิดต่างๆ เช่น ลูกปัดมงคล ลูกปัดแก้วโมเสก ลูกปัดนกแสงตะวัน

ที่อยู่:
ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 81120
โทรศัพท์:
0-7564-0308, 0-1397-2223
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.30 – 16.30 น.
ค่าเข้าชม:
คนไทย: ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท, ต่างชาติ: ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท, เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี, ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคลองท่อมใต้, ผู้พิการและผู้ทุพลภาพ ไม่เสียค่าเข้าชม
ของเด่น:
ลูกปัดแก้วรูปแบบต่างๆ อาทิ ลูกปัดสุริยเทพ ลูกปัดเขียนลาย ลูกปัดแก้วสีขาวมีแกนสีทองด้านใน
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ท่องเที่ยวไทยไปกับนายรอบรู้ จ.กระบี่

ชื่อผู้แต่ง: นายรอบรู้ | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์คลองท่อม กระบี่ ส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถาน

ชื่อผู้แต่ง: สุจิตต์ วงษ์เทศ | ปีที่พิมพ์: 19/01/2548

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ปัจจัยความเป็นเมืองท่าโบราณ มุมมองจากทะเลสู่ฝั่ง

ชื่อผู้แต่ง: เอิบเปรม วัชรางกูร | ปีที่พิมพ์: 02/03/2549

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"สุจิตต์" ยันภาคใต้แหล่งการค้าพันปี เชื่อมโยงสังคม-วัฒนธรรม โลกตะวันออก-ตก เป็นรางเหง้าอาเซียน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 28/02/2552

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"คลองท่อม:แหล่งอุตสาหกรรมทำลูกปัด และสถานีขนถ่ายสินค้าสมัยโบราณบนชายฝั่งทะเลอันดามัน" ในสารัตถะโบราณคดี

ชื่อผู้แต่ง: มยุรี วีระประเสริฐ | ปีที่พิมพ์: 2553

ที่มา: กรุงเทพฯ:คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

มหัศจรรย์ “ลูกปัดโบราณ” แห่งคลองท่อม

ชื่อผู้แต่ง: นิภาพร ทับหุ่น | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ 8 พ.ย. 2558

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 09 พฤศจิกายน 2558


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม

ความเป็นม

พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม ก่อตั้งขึ้นโดย พระครูอาทรสังวรกิจ (พระสวาส กนฺตสงฺวโร) (นามสกุลเดิม เอี่ยวน้อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองท่อม เจ้าคณะอำเภอคลองท่อมและอำเภอเกาะลันตา ได้รวบรวมลูกปัดโบราณแบบต่างๆ รวมทั้งโบราณวัตถุอื่นๆ ที่พบในควนลูกปัดหลังวัดคลองท่อม มาเก็บรักษาไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2525 ใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานพระครูอาทรสังวรกิจ” เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มาศึกษาและอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าของแผ่นดินไว้ ไม่ให้สูญหายไป ภายหลังเปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม” ต่อมาชาวบ้านได้นำโบราณวัตถุต่างๆ ที่มีไว้ในครอบครองมาบริจาคเพิ่มเติม รวมทั้งบริจาคเงิน วัสดุ และอุปกรณ์ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งองค์กรและหน่วยงานต่างๆ เช่น เทศบาลตำบลคลองท่อมใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมใต้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ นักวิชาการ และกรมศิลปากร ได้ร่วมให้ความช่วยเหลือและร่วมสนับสนุนในการจัดแสดงโบราณวัตถุและการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง
 

พ.ศ.2555 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่และเทศบาลตำบลคลองท่อมใต้ได้ร่วมกันดำเนินการปรับปรุงอาคารและการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดีแก่เยาวชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจ

พ.ศ.2558 เปิดใช้อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของเทศบาลตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม”

 

การจัดแสดง

อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคาร 2 ชั้นทาสีขาวทั้งหลัง ผนังด้านนอกได้จำลองลูกปัดสุริยเทพขนาดใหญ่มาประดับไว้เป็นที่สะดุดตา เมื่อเข้ามาภายในอาคารพบจุดแรกคือจุดประชาสัมพันธ์และเก็บค่าบริการในการเข้าชม จุดที่สองจุดสำหรับบรรยายแก่ผู้ที่มาเป็นหมู่คณะ

ชั้นล่าง แบ่งเป็นโซนต่างๆ ได้ดังนี้

โซนที่ 1 ประวัติวัดคลองท่อม และประวัติของผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ แต่เดิมวัดคลองท่อมเป็นวัดเล็กๆ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2451 โดยพระภิกษุจันทร์ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ จนกระทั่ง พ.ศ.2498 พระครูอาทรสังวรกิจ (ขณะนั้นคือ พระสวาส กนฺตสงวโร) ได้มาจำพรรษาที่วัดนี้ และแสดงธรรมจนมีผู้เสื่อมใสจนมีผู้ขออุปสมบทจำนวนมาก  พระครูอาวรณ์สังวรกิจจึงขอความร่วมมือไปยังพ่อค้า ประชาชน และข้าราชการในพื้นที่ระดมทุนก่อสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุที่จำเป็นโดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายลูกปัดโบราณที่ค้นพบที่ควนลูกปัด

 

ควนลูกปัด (ควน หมายถึง เนินดิน หรือเขาขนาดย่อม) คือควนที่มีลูกปัด หรือมีลูกปัดอยู่เป็นควน ชาวคลองท่อมรุ่นก่อนๆ ได้เล่าว่า พบลูกปัดโบราณต่างๆ ในบริเวณควนลูกปัดมานานแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครนำลูกปัดไปจะพบหายนะ ควนลูกปัดจึงถูกทอดทิ้งมานาน จนเมื่อมีการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้ทราบว่าชุมชนคลองท่อมในอดีตเป็นชุมชนโบราณสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของภาคใต้
 

โซนที่ 2 ลูกปัดภาคใต้บนเส้นทางข้ามคาบสมุทรมลายู ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ภาคใต้ของประเทศที่เป็นแหลมยื่นไปในทะเล ดังนั้นตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทยจึงปรากฏแหล่งโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายทางทะเลอยู่เป็นระยะ ตั้งแต่ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงาและกระบี่ กลายเป็นบริเวณที่ตั้งเมืองท่าสำคัญเมื่อราว 2000 ปี – 1000 ปีมาแล้ว ซึ่งสินค้าสำคัญและเป็นที่นิยมในเวลานั้นได้แก่ ลูกปัด
 

โซนที่ 3 ลูกปัดภาคใต้จากแหล่งโบราณคดีต่างๆ เช่น แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัยพบลูกปัดแก้วสี่ต่างๆ ลูกปัดหินมีค่าเช่น หินอาเกต หินควอทซ์ คาร์เนเลียน และลูกปัดทองคำ แล่งโบราณคดีท่าชนะพบลูกปัดแก้วและหิน ขัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ กลุ่มลูกปัดมงคลนานาชนิด เช่น ลูกปัดทรงคล้ายผลมะม่วงทำจากคาร์เนเลียนและอเมทิสต์ ลูกปัดรูปสัตว์มีทั้งแก้วและหิน ลูกปัดศรีรัตนะทำจากอเมทิสต์และหินน้ำค้าง เป็นต้น
 

โซนที่ 4 การดำเนินงานทางโบราณคดีที่ควนลูกปัด บอกเล่าลำดับเวลาการดำเนินงานทางโบราณคดีที่ควนลูกปัดแห่งนี้ ตั้งแต่กรมศิลปากรเข้ามาสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งการพบโบราณวัตถุที่เป็นลูกปัดชนิดต่างๆ มากมายเหล่านี้ ทำให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีคลองท่อมเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตลูกปัด อีกทั้งยังมีหลักฐานหลายอย่างที่พบแสดงให้ว่า คลองท่อมเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญแห่งหนึ่ง
 

โซนที่ 5 ลูกปัดประเภทต่างๆ ลูกปัด คือวัตถุขนาดเล็กที่ถูกนำมาเจาะรูสำหรับร้อย ใช้เป็นเครื่องรางหรือเครื่องประดับ สมัยแรกๆ ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ ตั้งแต่ดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ฟัน เมล็ดพืช ไม้ ก้อนหิน จนมีการเสาะแสวงหาวัสดุที่มีความคงทนมากกว่า เช่น ทองคำ  แร่ พลอย และอัญมณีต่างๆ เป็นต้น
 

ส่วนลูกปัดที่มีชื่อเสียงที่สุดของคลองท่อม คือ ลูกปัดแก้วโมเสกรูปใบหน้าคน ซึ่งมีลักษณะคล้ายสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์จึงนิยมเรียก “ลูกปัดสุริยเทพ” และลูกปัดชนิดต่างๆ เช่น ลูกปัดมงคล ลูกปัดแก้วโมเสก ลูกปัดนกแสงตะวัน เป็นต้น
 

โซนที่ 6 วิธีการทำลูกปัด โซนนี้บอกขั้นตอนและวิธีการทำลูกปัดชนิดต่างๆ เช่น การทำลูกปัดยืด โดยนำแท่งเหล็กสองแท่งจับก้อนแก้วเป็นรูปกรวยหรือรูปกลมที่อ่อนตัว โดยมีช่องที่เกิดเป็นฟองอากาศอยู่ภายใน ยึดก้อนแก้วออกเป็นหลอดยาวแล้วตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ตามต้องการ เป็นต้น
 

 

ชั้นที่ 2 เมื่อเดินขึ้นบันไดไปจะพบภาพบันทึกความทรงจำเมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมพิพิธภัณฑสถานคลองท่อมถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 และครั้งที่ 2 วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2536 ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำหนังสือที่ลงนามและโต๊ะพี่ที่นั่งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเคยประทับนั่งมาจัดแสดงด้วย
 

ถัดไปจะพบเครื่องมือเครื่องใช้ในอดีตมาจัดแสดง โบราณวัตถุ และลูกปัดประเภทต่างๆ เช่น ตะเกียงโบราณ เครื่องพิมพ์ดีด คันธนู ผานไถนา คานหาบ กาน้ำชา ไหดินเผา หนังสือบุด เศษชิ้นส่วนโบราณวัตถุ กำไลหิน กำไลแก้ว กำไลสำริด สร้อยคอ แวดินเผา ลูกปัดดินเผา ขวานหินโบราณ ลูกปัดสัตว์มงคล ลูกปัดโลหะ ลูกปัดอำพันทอง ลูกปัดหินสีมีค่า ตราประทับดินเผาที่มีจารึกอักษรโบราณ เป็นต้น


นิสา เชยกลิ่น เขียน

ข้อมูลจาก:
การสำรวจเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560
http://sac.or.th/databases/archaeology/


 

ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม


คลองท่อมเป็นชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และสมัยประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งในคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 มีการขุดขโมยโบราณวัตถุจากควนลูกปัด ในอำเภอคลองท่อมกันมาก พระครูอาทรสังวรกิจ(สวาท กนตสงโธ)เจ้าอาวาสวัดคลองท่อมเกรงว่าสมบัติของชาติจะสูญหาย จึงพยายามเก็บรวบรวมโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบจากควนลูกปัดไว้ตั้งแต่บัดนั้น และนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ภายในวัดคลองท่อม โดยเปิดให้ประชาชนชมเพื่อศึกษาหาความรู้และเกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯได้เสด็จเป็นประธานในการเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุบนชั้นเหล็ก ของส่วนใหญ่เป็นเศษโบราณวัตถุ เช่น เศษแก้ว เศษถ้วยชาม ครกหิน หินบดยา หินลับ และเครื่องมือเครื่องใช้สมัยก่อน

ชั้นบน แบ่งเป็นปีกขวาและซ้าย แสดงของจำพวกกำไล แหวน ขวานหินขนาดและรูปร่างต่าง ๆ ของแสดงอยู่ในตู้กระจกมีป้ายเล็ก ๆ บอกชื่อสิ่งของ ปีกซ้ายเป็นส่วนที่จัดแสดงได้น่าสนใจและเป็นระบบกว่าส่วนอื่น โบราณวัตถุชั้นสำคัญ เช่น ลูกปัดหน้าคน สันนิษฐานว่าเป็นรูป "พระสุริยเทพ" แก้วหลอมและเศษแก้วหลายสี บางก้อนมีเศษลูกปัดติดอยู่ในเนื้อแก้ว จึงสันนิษฐานว่าควนลูกปัดเคยเป็นแหล่งผลิตแก้วและลูกปัด ตราประทับที่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-12

ทั้งนี้มีพระภิกษุเป็นผู้นำชมทั้งภายในตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เอง และนำชมบริเวณสถานที่จริงที่ขุดพบลูกปัด หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ควนลูกปัด นอกเหนือจากการจัดแสดงโบราณวัตถุแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดนิทรรศการนอกสถานที่และทำกิจกรรมต่าง ๆเพื่อให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัตถุโบราณในชุมชน 


ข้อมูลจาก:

1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 20 มกราคม 2547 

2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคใต้) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช 

3. ศิริศักดิ์ คุ้มรักษา. เที่ยวทั่วไทยไปกับนายรอบรู้: กระบี่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี, 2543.

ชื่อผู้แต่ง:
-