พิพิธภัณฑ์วัดดอน


พิพิธภัณฑ์วัดดอน ตั้งอยู่ที่วัดดอน ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 ก่อตั้งโดย พระครูพิพัฒนโชติ เจ้าอาวาสวัดดอน เมื่อปี พ.ศ.2546 มีอาคารพิพิธภัณฑ์ จำนวน 3 หลัง และเก็บรวบรวมวัตถุโบราณที่มีอยู่ภายในวัดมาเก็บรักษา พร้อมทั้งรับบริจาควัตถุโบราณจากบุคคลภายนอก อาจจำแนกวัตถุจัดแสดงออกเป็น 2 หมวดใหญ่ ได้แก่ 1) โบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผา เครื่องลายครามชนิดต่างๆ ของใช้ประเภทที่ทำด้วยทองเหลือง ของใช้ประเภทที่ทำด้วยไม้ ของใช้ประเภทโลหะเคลือบสี เป็นต้น และ2) เครื่องมือของใช้โบราณในท้องถิ่น เช่น เครื่องมือทำนา เครื่องมือช่างไม้ เครื่องมือจับสัตว์เครื่องมือเกษตร เป็นต้น

ที่อยู่:
วัดดอน ต.คูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์:
074-470-405, 086-6978266 (ผอ.สนิท จินดาวงศ์)
วันและเวลาทำการ:
กรุณาแจ้งล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
ของเด่น:
เครื่องลายคราม,เครื่องมือช่างไม้
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์วัดดอน

          พิพิธภัณฑ์วัดดอน ตั้งอยู่ที่วัดดอน ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก่อตั้งโดย พระครูพิพัฒนโชติ เจ้าอาวาสวัดดอน เมื่อปี พ.ศ.2546 มีอาคารพิพิธภัณฑ์ จำนวน 3  หลัง และเก็บรวบรวมวัตถุโบราณที่มีอยู่ภายในวัดมาเก็บรักษา   พร้อมทั้งรับบริจาควัตถุโบราณจากบุคคลภายนอก     สามารถแยกวัตถุโบราณได้เป็น 2 หมวดใหญ่ๆ คือ โบราณวัตถุประเภทต่างๆ   เช่น เครื่องปั้นดินเผาลายครามชนิดต่างๆ ของใช้ประเภทที่ทำด้วยทองเหลือง ของใช้ประเภทที่ทำด้วยไม้ ของใช้ประเภทโลหะเคลือบสี เป็นต้น  ประเภทที่สองคือ เครื่องมือของใช้ในท้องถิ่น เช่น เครื่องมือทำนา เครื่องมือช่างไม้ เครื่องมือจับสัตว์เครื่องมือเกษตร

          เครื่องลายครามเป็นหนึ่งในวัตถุที่น่าสนใจ มีมากมายหลายชิ้น หลายรูปแบบ ล้วนแต่เป็นของโบราณไม่ทราบที่มา สันนิษฐานว่า คงมาจากพ่อค้าเรือสำเภาที่เข้ามาค้าขายตามลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา  เมื่อวัดดอนจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นชาวบ้านที่ครอบครองอยู่ก็มาบริจาคให้วัดได้จัดแสดงโชว์ในพิพิธภัณฑ์

           เครื่องมือช่างไม้ของท้องถิ่น อาทิ  ขวานไต ใช้ในการถากไม้แบน ๆ หรือโค้งให้เรียบ และใช้ปรับส่วนตาขวานเพื่อใช้ในการฟันไม้เหมือนขวานธรรมดาก็ได้   ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายจอบ แต่มีหัวยาวทำมุมกับด้ามเป็นมุมฉาก หรือมุม 80 องศา ก็ได้แล้วแต่การใช้งาน  ส่วนตาของขวานไตมีลักษณะคล้ายเสียม  คือ คมอยู่ที่ส่วนปลาย โดยใช้ลับด้านในด้านเดียวเหมือนสิ่ว และกบ  แต่มีสันยาวลักษณะคล้ายลิ่มผูกติดกับด้าม ส่วนที่เป็นด้ามมีขนาดโตพอเหมาะมือ ใช้หวายถักให้เป็นปลอกรัดตาขวานให้ติดกับด้ามขวาน ฉะนั้นการใช้ขวานไตถากหรือฟันมากเท่าไร ตาของขวานไตก็จะยิ่งติดกับด้ามยิ่งแน่นขึ้นเท่านั้น  ขวานไตใช้เป็นเครื่องมือช่างไม้สำหรับทำ “หัวไถ” หรือ “หัวหมู” ใช้สำหรับไถนา และใช้เป็นเครื่องมือสำหรับขุดเรือ     ในพื้นที่วัดดอน และตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  ในอดีตชาวบ้านส่วนใหญ่จะอาศัยเรือในการสัญจร และค้าขายทางน้ำกับชุมชนใกล้เคียง

            หีบหวายเป็นอีกวัตถุชิ้นเด่นของพิพิธภัณฑ์วัดดอน  เป็นการนำหวายมาจักสานเป็นลายลูกแก้ว  ขึ้นรูปเป็นหีบสำหรับใส่เสื้อผ้า ข้าวของ ในการเดินทาง หรือไว้สำหรับเก็บรักษาของสำคัญ  ได้รับบริจาคจากชาวบ้านมาแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์   เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นถึงคุณค่าของเครื่องใช้ ประเภทเครื่องจักสานที่มาจากภูมิปัญญาของบรรพช

           ตาชั่งแขวน เป็นตาชั่งโบราณแบบแขวน ที่ใช้ชั่งน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย ตัวตาชั่งทำจากไม้เนื้อแข็งกลึงกลม หุ้มหัวท้ายด้วยโลหะทองเหลือง การแบ่งขีดและตัวเลขบอกน้ำหนักด้วยการใช้โลหะทองเหลืองตอกลงในเนื้อไม้  ลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักทำด้วยทองเหลือง มีตะขอเหล็กสำหรับแขวนตัวสิ่งของที่จะนำมาชั่ง มีความยาวประมาณ 150 เซนติเมตร   เวลาชั่งจะหิ้วห่วงขึ้นมาถือหรือแขวนไว้  แล้วเลื่อนลูกตุ้มน้ำหนักไปทางซ้ายหรือทางขวาจนกว่าจะถึงจุดสมดุลที่ตัวตาชั่งไม่เอียง  แล้วจึงอ่านค่าน้ำหนักที่เขียนไว้บนตัวตาชั่ง    ขนาดของตาชั่งจีนแตกต่างกัน  สุดแล้วแต่ว่าต้องการชั่งน้ำหนักขนาดไหน  ตาชั่งใหญ่มากๆ   สามารถชั่งข้าวสารเป็นกระสอบหรือหมูเป็นตัว ๆ ได้  ตาชั่งขนาดเล็กความยาวของตัวตาชั่งไม่ถึงฟุต  มีไว้ชั่งสิ่งของน้ำหนักไม่ถึงตำลึง เช่น  เงิน ทอง  ยาสมุนไพร  เป็นต้น  ตาชั่งแขวน ที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดดอน  มีอายุเกินกว่า 100 ปี ได้รับบริจาคจากชาวบ้านในตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

           มีดแด้ง หรือ อ้ายแด้ง เป็นมีดยาว ตัวมีดคล้ายพร้ากราย แต่สันแอนเชิดกว่าเล็กน้อย ส่วนที่ติดกับด้ามหนาเล็กงอนไปข้างหน้าพองาม ค่อยแผ่กว้างและบางไปหาปลาย ส่วนปลายสุดกว้างกว่าพร้ากรายเล็กน้อย ปลายตัดเป็นเส้นโค้งเว้าเข้ามาคล้ายรูปนกกางปีก  ด้ามมีดนิยมทำด้วยปลายเขาควาย ปลายด้ามงอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ขนาดของด้ามโตพอจับกระชับมือ  มักเหลาแต่งด้ามด้านคมให้บางกว่าด้านสัน และให้โคนด้ามที่ฝั่งกันเล็กกว่าปลายด้ามพองาม  บางท้องที่ผู้ชายนิยมถือมีดอ้ายแด้งเป็นอาวุธประจำตัว และบางโอกาสอาจใช้งานถางหรือฟันได้ด้วย  จึงเลือกหาเล่มที่คมและรูปทรงสวยงาม เชื่อว่าเป็นมงคลนำโชคลาภมาให้เจ้าของ   หรือช่วยให้แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง   มีดแด้ง ในพิพิธภัณฑ์วัดดอน เป็นมีดแด้งที่ตีจากโรงตีเหล็กบ้านน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง:
ประเสริฐ รักษ์วงศ์
คำสำคัญ: