โดย:
วันที่: 07 ตุลาคม 2563
พื้นที่อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ราบลุ่มแม่น้ำสงครามและลำน้ำยาม ที่ริมฝั่งแม่น้ำสงครามในท้องที่อำเภออากาศอำนวยมีการพบแหล่งเตาโบราณกระจายอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ นักประวัติศาสตร์โบราณคดีเรียกว่า “แหล่งเตาแม่น้ำสงคราม” และในขณะเดียวกันพื้นที่ลุ่มลำน้ำยาม ยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองอากาศอำนวยที่เป็นชุมชนชาวไทโย้ยขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่ประเทศไทยก่อนที่จะมีพัฒนาการมาเป็นศูนย์กลางอำเภออากาศอำนวยในปัจจุบัน
ไทโย้ยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประวัติความเป็นมาของการอพยพมาจากบ้านปากน้ำ เมืองฮ่อมท้าวฮูเซ ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เนื่องจากต้องการแสวงหาพื้นที่ทำมาหากิน และอพยพมาด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกกวาดต้อนหรือขับไล่ โดยได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอาศัยแม่น้ำสงครามและลำน้ำยามตามลำดับ แล้วมาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เรียกว่า “บ้านม่วงริมยาม” ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำยาม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภออากาศอำนวย และอีกส่วนหนึ่งก็ได้อพยพเคลื่อนต่อไปทางทิศตะวันตกของอำเภออากาศอำนวย เข้าไปอยู่ในอำเภอวานรนิวาส
ชาวไทโย้ยเข้ามาอาศัยในบ้านม่วงริมยาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ระหว่างเขตจังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม บริเวณนี้เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก จึงทำให้มีราษฎรจากที่อื่นอพยพเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมากขึ้น การอาศัยแม่น้ำเป็นเส้นทางการคมนาคม จึงทำให้ชาวไทโย้ยสามารถเลือกทำเลการตั้งถิ่นฐานได้ เพราะลำน้ำยามสามารถติดต่อกับแม่น้ำโขง ซึ่งมีชาวไทโย้ยส่วนหนึ่งได้เคยตั้งบ้านเมืองอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำโขงมากนัก
เมื่อมีการกวาดต้อนและเกลี้ยกล่อมผู้คนหลังศึกเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2370 เป็นต้นมา จึงปรากฏว่ามีผู้คนจากเมืองต่างๆ เช่น เมืองฮ่อมท้าวฮูเซ ได้มีผู้นำชื่อ ท้าวเพี้ยติวซอย นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อผู้นำอีกบางคน เช่น ท้าวศรีสุราช ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคตร ได้นำไพร่พลชาวไทโย้ยที่มีจำนวนมากถึง 2,396 คน พากันอพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาเลือกหลักแหล่งเพื่อตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน ในจำนวนนั้นมีท้าวเพี้ยคนหนึ่ง ได้อพยพไปอยู่ฝั่งโขง และไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติ ท้าวเพี้ยรู้สึกความผิดและโทษาของตนจึงได้อพยพครอบครัวกลับมาบ้านม่วงริมยามอย่างเดิม การตั้งหลักแหล่งที่บริเวณบ้านม่วงริมยามนี้ ถือว่าอยู่ในเขตแดนเมืองสกลนคร
หลังจากนั้นไม่นานนัก เกิดความผันผวนในกลุ่มของชาวไทโย้ยที่ไม่ยอมสมัครใจอยู่กับพระยาประจันตประเทศธานี พระสุนทรราชวงศาจึงได้แจ้งความมายังลูกขุนศาลาในกรุงเทพฯ กล่าวว่าท้าวศรีสุราชและท้าวเพี้ยทั้งปวง สมัครมาทำราชการขึ้นกับเมืองนครพนม พระสุนทรราชวงศาได้กล่าวร้องขอชำระเอาครอบครัวพวกท้าวเพี้ยติวซอย ท้าวศรีสุราช มาตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านม่วงริมยาม ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองไชยบุรี เมืองท่าอุเทน เมืองสกลนคร ต่อกับเมืองนครพนม จำนวนผู้คนเมื่อครั้งตั้งเมืองมีพระสงฆ์ สามเณร คนชรา คนพิการ 109 คน ท้าวเพี้ย 109 คน ชายฉกรรจ์ 240 คน รวมทั้งหญิงชายใหญ่น้อยจำนวน 2,339 คน พระสุนทรราชวงศา จึงขอยกบ้านม่วงริมยามเป็นเมือง ขอท้าวศรีสุราชเป็นเจ้าเมือง ท้าวจันทนามเป็นราชวงศ์ ท้าวนามโคตรเป็นราชบุตร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงริมยามเป็นเมืองอากาศอำนวย และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท้าวศรีสุราชเป็นหลวงพลานุกูล ท้าวจันทนามเป็นอัครวงศ์ ท้าวนามโคตรเป็นวรบุตร พร้อมทั้งราชทานเครื่องยศตามตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ.2396 เมื่อได้ทรงประกาศตั้งเมืองอากาศอำนวยขึ้นแล้ว ได้ทรงมีสารตราถึงเมืองต่างๆ ให้จัดแบ่งเขตแดนให้แก่หลวงพลานุกูล ตั้งเมืองให้ไพร่พลทำมาหากิน และขอให้ช่วยเหลือหลวงพลานุกูลอย่างที่เคยเป็นมา
ถ้าพิจารณาข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่า เมืองอากาศอำนวยในช่วงแรกที่บ้านม่วงริมยาม ได้มีการยื้อแย่งผู้คนกันระหว่างเจ้าเมืองนครพนมและเจ้าเมืองสกลนคร โดยมีข้ออ้างสำคัญคือความต้องการของท้าวเพี้ยไพร่พลเป็นสำคัญ ทำให้มีชาวไทโย้ยส่วนหนึ่งเกิดการเคลื่อนย้ายออกจากเมืองอากาศอำนวย เพื่อหาแหล่งทำมาหากินในพื้นที่ที่เหมาะสมกว่า ทำให้ประชากรลดลงตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2458 มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดรได้มาตรวจราชการที่อำเภออากาศอำนวย ซึ่งขณะนั้นขึ้นกับจังหวัดนครพนม เห็นว่าการคมนาคมและการติดต่อไปมากับจังหวัดนครพนมไม่สะดวก เพราะอำเภออากาศอำนวยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดมาก จึงได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบอำเภออากาศอำนวยเป็นตำบลอากาศแล้วขึ้นต่อการปกครองของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งปี พ.ศ.2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตรวจราชการที่ภาคอีสาน ได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรในเขต 4 ตำบล คือ ตำบลวาใหญ่ ตำบลอากาศ ตำบลโพนแพง ตำบลโพนงาม อยู่ห่างไกลจากอำเภอวานรนิวาส การติดต่อกับอำเภอไม่สะดวก ประกอบกับมีปัญหาผู้ก่อการร้ายแทรกซึม จึงให้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภออากาศอำนวยขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2506 จึงถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2508 จึงได้รับการยกขึ้นเป็นอำเภออากาศอำนวยจนถึงปัจจุบัน
ศูนย์วัฒนธรรมอำเภออากาศอำนวย เกิดขึ้นจากการริเริ่มของนายสุเทพ ปิ่นประเสริฐ อดีตนายอำเภออากาศอำนวยซึ่งเป็นผู้มีความสนใจในศิลปวัตถุโบราณของชาวไทยอีสานมาก เมื่อออกตรวจท้องที่เพื่อพบปะประชาชนในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลต่างๆ ในเขตอำเภออากาศอำนวยก็จะพยายามสืบเสาะหาวัตถุโบราณ โดยเฉพาะหม้อ ไห ที่มีอยู่ในแต่ละหมู่บ้านนำมารวบรวมไว้ โดยมีโครงการจะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณและศิลปะพื้นบ้าน และเมื่อเก็บรวบรวมไว้มากพอที่จะจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ได้ จึงได้จัดสร้างหอพิพิธภัณฑ์ขึ้นในบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภออากาศอำนวย (เดิมฝากไว้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอ) เพื่อเป็นที่รวมของโบราณวัตถุที่ได้มาไว้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่นายสุเทพจะย้ายไปรับราชการที่อื่น
ต่อมาทางอำเภอเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้จะมีประโยชน์มากกว่าถ้าจะนำไปเก็บไว้ที่โรงเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนได้ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ทางอำเภอจึงได้มอบวัตถุโบราณที่มีอยู่ทั้งหมดให้กับทางโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา โดยมีคณะครูหมวดภาษาไทยและหมวดสังคมศึกษาร่วมกันรับผิดชอบ
ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 นายสุจริต บัวพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ได้เดินทางมาเยี่ยมชมศิลปวัตถุโบราณ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เคยใช้ในชีวิตประจำวันของชาวพื้นบ้าน (ไทโย้ย) ที่โรงเรียนอากาศอํานวยศึกษา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เพื่อพิจารณาความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมของอำเภออากาศอำนวยต่อไป ภายหลังได้รับคำแนะนำในการจัดเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ชาวพื้นบ้าน (ชาวไทโย้ยซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของภาคอีสาน) เคยใช้ในอดีตไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นการเก็บรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมอันจะเป็นมรดกของชาติสืบไป ทำให้มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมชาวไทโย้ยของอำเภออากาศอำนวยขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2533 เพื่อเป็นหลักฐานในการประสานงานและดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของอำเภอสืบไป
ภายในพิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ยโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา ซึ่งจัดแสดงอยู่ภายในอาคารหอสมุดกตปุญฺโญอนุสรณ์ ชั้น 2 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่อำเภออากาศอำนวย ศิลปวัตถุ และข้าวของเครื่องใช้ของชาวไทโย้ยในอดีต ซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมของอดีตนายอำเภออากาศอำนวย ข้าราชการและประชาชน ตลอดจนได้รับบริจาคจากชาวอากาศอำนวย ภายในพิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ยโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษาได้จัดแสดงเป็นโซนต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. โซนข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับประวัติและวัฒนธรรมชาวไทโย้ย เป็นที่เก็บรวบรวมเอกสารที่มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ไทโย้ย ประวัติศาสตร์อำเภออากาศอำนวยและท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ที่สำคัญคือ โซนนี้ยังเป็นที่จัดแสดงเอกสารโบราณ เช่น สมุดข่อยและคัมภีร์ใบลานที่เขียนด้วยอักษรธรรมและอักษรไทยน้อย
2. โซนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุชิ้นสำคัญของชาวไทโย้ยและของที่พบในอำเภออากาศอำนวย ซึ่งมีของสำคัญ เช่น แหย่งช้าง โปง (ระฆังไม้) และฮางหดไม้แกะสลักซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 150 ปี
3. โซนเครื่องปั้นดินเผาเตาแม่น้ำสงคราม เป็นที่จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา ที่พบจากแหล่งเตาแม่น้ำสงครามและตามชุมชนโบราณในเขตอำเภอกาศอำนวยซึ่งสันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาแม่น้ำสงคราม เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตานี้ มีทั้งภาชนะดินเผาแบบเคลือบน้ำยา และแบบเผาแกร่ง ส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาประเภทไหทรงสูง
4. โซนเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวไทโย้ย เป็นโซนจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทโย้ยเมื่อราว 50 ปีมาแล้ว เช่น หวดไม้สำหรับนึ่งข้าวเหนียว กระติ๊บข้าว ก่องข้าว เป็นต้น
5. โซนเครื่องมือจับสัตว์น้ำของชาวไทโย้ย เป็นโซนจัดแสดงเครื่องมือหาปลาของชาวไทโย้ยในลำน้ำยาม ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีปลาชุกชุมมาก เช่น ข้อง ไซ อีตุ้ม สุ่ม เป็นต้น
6. โซนผ้าและเครื่องแต่งกายของชาวไทโย้ย จัดแสดงหุ่นบุคคลชาย-หญิงที่สวมเครื่องแต่งกายตามอย่างชาวไทโย้ยในอดีต และผ้าโบราณของชาวไทโย้ย เช่น ผ้ามัดหมี่ลายขาเขีย ลายตุ้ม ลายตุ้มกระจับ ลายโซ่ เป็นต้น ตลอดจนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้า
พิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ในวันราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. หากต้องการเยี่ยมชมในวันหยุดราชการต้องประสานงานขออนุญาตทางโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ซึ่งทางโรงเรียนจะได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้คอยต้อนรับและนำชมภายในพิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย
อ้างอิง
ประวัติ ประเพณี วัฒนธรรมไทโย้ย อำเภออากาศอำนวย. ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร (เอกสารอัดสำเนา).
สพสันติ์ เพชรคำ. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสกลนคร. สกลนคร : สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2560.
สัมภาษณ์
นางรัญจวน กุลอัก ครูผู้ดูแลศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ยโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา. โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษาเลขที่ 165 หมู่ที่ 17 ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร, สัมภาษณ์วันที่ 10 พฤษภาคม 2562.
นายพจนวราภรณ์ ขจรเนตร นักวิชาการการศึกษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร, สัมภาษณ์วันที่ 13 พฤษภาคม 2562.
จ. สกลนคร
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา
พื้นที่อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ราบลุ่มแม่น้ำสงครามและลำน้ำยาม ที่ริมฝั่งแม่น้ำสงครามในท้องที่อำเภออากาศอำนวยมีการพบแหล่งเตาโบราณกระจายอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ นักประวัติศาสตร์โบราณคดีเรียกว่า “แหล่งเตาแม่น้ำสงคราม” และในขณะเดียวกันพื้นที่ลุ่มลำน้ำยาม ยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองอากาศอำนวยที่เป็นชุมชนชาวไทโย้ยขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่ประเทศไทยก่อนที่จะมีพัฒนาการมาเป็นศูนย์กลางอำเภออากาศอำนวยในปัจจุบัน
ไทโย้ยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประวัติความเป็นมาของการอพยพมาจากบ้านปากน้ำ เมืองฮ่อมท้าวฮูเซ ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เนื่องจากต้องการแสวงหาพื้นที่ทำมาหากิน และอพยพมาด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกกวาดต้อนหรือขับไล่ โดยได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอาศัยแม่น้ำสงครามและลำน้ำยามตามลำดับ แล้วมาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เรียกว่า “บ้านม่วงริมยาม” ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำยาม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภออากาศอำนวย และอีกส่วนหนึ่งก็ได้อพยพเคลื่อนต่อไปทางทิศตะวันตกของอำเภออากาศอำนวย เข้าไปอยู่ในอำเภอวานรนิวาส
ชาวไทโย้ยเข้ามาอาศัยในบ้านม่วงริมยาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ระหว่างเขตจังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม บริเวณนี้เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก จึงทำให้มีราษฎรจากที่อื่นอพยพเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมากขึ้น การอาศัยแม่น้ำเป็นเส้นทางการคมนาคม จึงทำให้ชาวไทโย้ยสามารถเลือกทำเลการตั้งถิ่นฐานได้ เพราะลำน้ำยามสามารถติดต่อกับแม่น้ำโขง ซึ่งมีชาวไทโย้ยส่วนหนึ่งได้เคยตั้งบ้านเมืองอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำโขงมากนัก
เมื่อมีการกวาดต้อนและเกลี้ยกล่อมผู้คนหลังศึกเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2370 เป็นต้นมา จึงปรากฏว่ามีผู้คนจากเมืองต่างๆ เช่น เมืองฮ่อมท้าวฮูเซ ได้มีผู้นำชื่อ ท้าวเพี้ยติวซอย นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อผู้นำอีกบางคน เช่น ท้าวศรีสุราช ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคตร ได้นำไพร่พลชาวไทโย้ยที่มีจำนวนมากถึง 2,396 คน พากันอพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาเลือกหลักแหล่งเพื่อตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน ในจำนวนนั้นมีท้าวเพี้ยคนหนึ่ง ได้อพยพไปอยู่ฝั่งโขง และไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติ ท้าวเพี้ยรู้สึกความผิดและโทษาของตนจึงได้อพยพครอบครัวกลับมาบ้านม่วงริมยามอย่างเดิม การตั้งหลักแหล่งที่บริเวณบ้านม่วงริมยามนี้ ถือว่าอยู่ในเขตแดนเมืองสกลนคร
หลังจากนั้นไม่นานนัก เกิดความผันผวนในกลุ่มของชาวไทโย้ยที่ไม่ยอมสมัครใจอยู่กับพระยาประจันตประเทศธานี พระสุนทรราชวงศาจึงได้แจ้งความมายังลูกขุนศาลาในกรุงเทพฯ กล่าวว่าท้าวศรีสุราชและท้าวเพี้ยทั้งปวง สมัครมาทำราชการขึ้นกับเมืองนครพนม พระสุนทรราชวงศาได้กล่าวร้องขอชำระเอาครอบครัวพวกท้าวเพี้ยติวซอย ท้าวศรีสุราช มาตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านม่วงริมยาม ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองไชยบุรี เมืองท่าอุเทน เมืองสกลนคร ต่อกับเมืองนครพนม จำนวนผู้คนเมื่อครั้งตั้งเมืองมีพระสงฆ์ สามเณร คนชรา คนพิการ 109 คน ท้าวเพี้ย 109 คน ชายฉกรรจ์ 240 คน รวมทั้งหญิงชายใหญ่น้อยจำนวน 2,339 คน พระสุนทรราชวงศา จึงขอยกบ้านม่วงริมยามเป็นเมือง ขอท้าวศรีสุราชเป็นเจ้าเมือง ท้าวจันทนามเป็นราชวงศ์ ท้าวนามโคตรเป็นราชบุตร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงริมยามเป็นเมืองอากาศอำนวย และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท้าวศรีสุราชเป็นหลวงพลานุกูล ท้าวจันทนามเป็นอัครวงศ์ ท้าวนามโคตรเป็นวรบุตร พร้อมทั้งราชทานเครื่องยศตามตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ.2396 เมื่อได้ทรงประกาศตั้งเมืองอากาศอำนวยขึ้นแล้ว ได้ทรงมีสารตราถึงเมืองต่างๆ ให้จัดแบ่งเขตแดนให้แก่หลวงพลานุกูล ตั้งเมืองให้ไพร่พลทำมาหากิน และขอให้ช่วยเหลือหลวงพลานุกูลอย่างที่เคยเป็นมา
ถ้าพิจารณาข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่า เมืองอากาศอำนวยในช่วงแรกที่บ้านม่วงริมยาม ได้มีการยื้อแย่งผู้คนกันระหว่างเจ้าเมืองนครพนมและเจ้าเมืองสกลนคร โดยมีข้ออ้างสำคัญคือความต้องการของท้าวเพี้ยไพร่พลเป็นสำคัญ ทำให้มีชาวไทโย้ยส่วนหนึ่งเกิดการเคลื่อนย้ายออกจากเมืองอากาศอำนวย เพื่อหาแหล่งทำมาหากินในพื้นที่ที่เหมาะสมกว่า ทำให้ประชากรลดลงตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2458 มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดรได้มาตรวจราชการที่อำเภออากาศอำนวย ซึ่งขณะนั้นขึ้นกับจังหวัดนครพนม เห็นว่าการคมนาคมและการติดต่อไปมากับจังหวัดนครพนมไม่สะดวก เพราะอำเภออากาศอำนวยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดมาก จึงได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบอำเภออากาศอำนวยเป็นตำบลอากาศแล้วขึ้นต่อการปกครองของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งปี พ.ศ.2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตรวจราชการที่ภาคอีสาน ได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรในเขต 4 ตำบล คือ ตำบลวาใหญ่ ตำบลอากาศ ตำบลโพนแพง ตำบลโพนงาม อยู่ห่างไกลจากอำเภอวานรนิวาส การติดต่อกับอำเภอไม่สะดวก ประกอบกับมีปัญหาผู้ก่อการร้ายแทรกซึม จึงให้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภออากาศอำนวยขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2506 จึงถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2508 จึงได้รับการยกขึ้นเป็นอำเภออากาศอำนวยจนถึงปัจจุบัน
ศูนย์วัฒนธรรมอำเภออากาศอำนวย เกิดขึ้นจากการริเริ่มของนายสุเทพ ปิ่นประเสริฐ อดีตนายอำเภออากาศอำนวยซึ่งเป็นผู้มีความสนใจในศิลปวัตถุโบราณของชาวไทยอีสานมาก เมื่อออกตรวจท้องที่เพื่อพบปะประชาชนในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลต่างๆ ในเขตอำเภออากาศอำนวยก็จะพยายามสืบเสาะหาวัตถุโบราณ โดยเฉพาะหม้อ ไห ที่มีอยู่ในแต่ละหมู่บ้านนำมารวบรวมไว้ โดยมีโครงการจะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณและศิลปะพื้นบ้าน และเมื่อเก็บรวบรวมไว้มากพอที่จะจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ได้ จึงได้จัดสร้างหอพิพิธภัณฑ์ขึ้นในบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภออากาศอำนวย (เดิมฝากไว้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอ) เพื่อเป็นที่รวมของโบราณวัตถุที่ได้มาไว้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่นายสุเทพจะย้ายไปรับราชการที่อื่น
ต่อมาทางอำเภอเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้จะมีประโยชน์มากกว่าถ้าจะนำไปเก็บไว้ที่โรงเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนได้ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ทางอำเภอจึงได้มอบวัตถุโบราณที่มีอยู่ทั้งหมดให้กับทางโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา โดยมีคณะครูหมวดภาษาไทยและหมวดสังคมศึกษาร่วมกันรับผิดชอบ
ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 นายสุจริต บัวพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ได้เดินทางมาเยี่ยมชมศิลปวัตถุโบราณ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เคยใช้ในชีวิตประจำวันของชาวพื้นบ้าน (ไทโย้ย) ที่โรงเรียนอากาศอํานวยศึกษา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เพื่อพิจารณาความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมของอำเภออากาศอำนวยต่อไป ภายหลังได้รับคำแนะนำในการจัดเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ชาวพื้นบ้าน (ชาวไทโย้ยซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของภาคอีสาน) เคยใช้ในอดีตไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นการเก็บรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมอันจะเป็นมรดกของชาติสืบไป ทำให้มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมชาวไทโย้ยของอำเภออากาศอำนวยขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2533 เพื่อเป็นหลักฐานในการประสานงานและดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของอำเภอสืบไป
ภายในพิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ยโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา ซึ่งจัดแสดงอยู่ภายในอาคารหอสมุดกตปุญฺโญอนุสรณ์ ชั้น 2 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่อำเภออากาศอำนวย ศิลปวัตถุ และข้าวของเครื่องใช้ของชาวไทโย้ยในอดีต ซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมของอดีตนายอำเภออากาศอำนวย ข้าราชการและประชาชน ตลอดจนได้รับบริจาคจากชาวอากาศอำนวย ภายในพิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ยโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษาได้จัดแสดงเป็นโซนต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. โซนข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับประวัติและวัฒนธรรมชาวไทโย้ย เป็นที่เก็บรวบรวมเอกสารที่มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ไทโย้ย ประวัติศาสตร์อำเภออากาศอำนวยและท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ที่สำคัญคือ โซนนี้ยังเป็นที่จัดแสดงเอกสารโบราณ เช่น สมุดข่อยและคัมภีร์ใบลานที่เขียนด้วยอักษรธรรมและอักษรไทยน้อย
2. โซนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุชิ้นสำคัญของชาวไทโย้ยและของที่พบในอำเภออากาศอำนวย ซึ่งมีของสำคัญ เช่น แหย่งช้าง โปง (ระฆังไม้) และฮางหดไม้แกะสลักซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 150 ปี
3. โซนเครื่องปั้นดินเผาเตาแม่น้ำสงคราม เป็นที่จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา ที่พบจากแหล่งเตาแม่น้ำสงครามและตามชุมชนโบราณในเขตอำเภอกาศอำนวยซึ่งสันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาแม่น้ำสงคราม เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตานี้ มีทั้งภาชนะดินเผาแบบเคลือบน้ำยา และแบบเผาแกร่ง ส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาประเภทไหทรงสูง
4. โซนเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวไทโย้ย เป็นโซนจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทโย้ยเมื่อราว 50 ปีมาแล้ว เช่น หวดไม้สำหรับนึ่งข้าวเหนียว กระติ๊บข้าว ก่องข้าว เป็นต้น
5. โซนเครื่องมือจับสัตว์น้ำของชาวไทโย้ย เป็นโซนจัดแสดงเครื่องมือหาปลาของชาวไทโย้ยในลำน้ำยาม ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีปลาชุกชุมมาก เช่น ข้อง ไซ อีตุ้ม สุ่ม เป็นต้น
6. โซนผ้าและเครื่องแต่งกายของชาวไทโย้ย จัดแสดงหุ่นบุคคลชาย-หญิงที่สวมเครื่องแต่งกายตามอย่างชาวไทโย้ยในอดีต และผ้าโบราณของชาวไทโย้ย เช่น ผ้ามัดหมี่ลายขาเขีย ลายตุ้ม ลายตุ้มกระจับ ลายโซ่ เป็นต้น ตลอดจนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้า
พิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ในวันราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. หากต้องการเยี่ยมชมในวันหยุดราชการต้องประสานงานขออนุญาตทางโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ซึ่งทางโรงเรียนจะได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้คอยต้อนรับและนำชมภายในพิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย
อ้างอิง
ประวัติ ประเพณี วัฒนธรรมไทโย้ย อำเภออากาศอำนวย. ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร (เอกสารอัดสำเนา).
สพสันติ์ เพชรคำ. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสกลนคร. สกลนคร : สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2560.
สัมภาษณ์
นางรัญจวน กุลอัก ครูผู้ดูแลศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ยโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา. โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษาเลขที่ 165 หมู่ที่ 17 ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร, สัมภาษณ์วันที่ 10 พฤษภาคม 2562.
นายพจนวราภรณ์ ขจรเนตร นักวิชาการการศึกษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร, สัมภาษณ์วันที่ 13 พฤษภาคม 2562.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา ชาติพันธุ์ ไทโย้ย
พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ครบรอบ 100 ปี หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
จ. สกลนคร
พิพิธภัณฑ์วัดกลางศรีเชียงใหม่
จ. สกลนคร
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่ากลางโนนภู่
จ. สกลนคร