พิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ


กำนันชูชาติ มากสัมพันธ์ ผู้ชื่นชอบ หลงใหลในพระเครื่อง ทั้งในพุทธศิลป์ พุทธคุณตั้งแต่อายุ 10 กว่าขวบ เริ่มสะสมเรื่อยมา โดยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าง เสาะแสวงหาจากทั่วประเทศ พิพิธภัณฑ์พระ เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่เป็นศูนย์รวม พระบูชา พระเครื่องที่มีความสวยงามและเก่าแก่กว่าพันปี ตั้งแต่สมัยคุปตะถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และพระเครื่องที่อยู่ในความนิยมของทุกจังหวัดอีกกว่า 3,000องค์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องรางของขลังและของแปลกๆ อีกมาก

ที่อยู่:
5/9 ถ.พุทธมณฑลสาย 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์:
0-2448-1795, 08-1635-3504,0-2887-1265
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-อาทิตย์ 10.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ค่าเข้าชม คนละ 200 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2541
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

กำนันชูชาติ มากสัมพันธ์ ประกาศขายพิพิธภัณ์พระ 500 ล้านบาท

ชื่อผู้แต่ง: ไตรเทพ สุทธิคุณ | ปีที่พิมพ์: 6/30/2546

ที่มา: -

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระเครื่อง(ราง) "พุทธบูชา" หรือ "พุทธพาณิชย์"

ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 15 ฉบับ 3 (ม.ค. 2537)

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระเครื่องในเมืองสยาม

ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ปีที่พิมพ์: 2537

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดพิพิธภัณฑ์พระให้ชมฟรี

ชื่อผู้แต่ง: สุทธิคุณ กองทอง | ปีที่พิมพ์: 9/15/2546

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชมสุดยอดพระไทยที่ พิพิธภัณฑ์พระกำนันชูชาติ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 07-11-2550

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ

ผู้ใดที่นับถือศาสนาพุทธ แน่นอนว่าจะต้องมีประพุทธรูปไว้บูชาประจำที่บ้าน แต่จะมีมาก หรือน้อย คงจะแล้วแต่ความศรัทธา และชื่นชอบเป็นส่วนตัว กำนันชูชาติ มากสัมพันธ์ ผู้ชื่นชอบ หลงใหลในพระเครื่อง ทั้งในพุทธศิลป์ พุทธคุณตั้งแต่อายุ 10 กว่าขวบ เริ่มสะสมเรื่อยมา โดยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าง เสาะแสวงหาจากทั่วประเทศ จนมีพระบูชา 200 กว่าองค์ และพระเครื่อง อีก 3,000 กว่าองค์ จนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งที่กำนันชูชาติจึงคิดสร้างพิพิธภัณฑ์พระเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นเอกลักษณ์ของชาติไทย 

จากที่เคยคิดจะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ที่สมุทรสาคร แต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้จัดตั้งไม่ได้ จึงคิดใช้บ้านที่ตนอยู่อาศัยหลังนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์พระขึ้น และจัดตั้งสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2541 การจัดแสดง จัดตามความเหมาะสม ในส่วนชั้นล่างและอยู่ในตู้จัดแสดง จะเป็นพระเกจิอาจารย์ ซึ่งมีอยู่หลายตู้ และบริเวณด้านนอกจะเป็นพระบูชา เช่น สมัยเชียงแสน สุโขทัย อ่างทอง และที่สำคัญมีต้นแบบพระชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. คือ พระซุ้มกอ, พระนางพญา, พระสมเด็จวัดระฆัง, พระรอด และพระผงสุพรรณ และพระบูชาประจำพระองค์พระเจ้าตากสินมหาราช ด้านในฐานองค์พระมีจารึกข้อความภาษาจีนว่า "แต้ อ้วง อื่อ ก่ำ" หมายถึงพระเจ้าตากสินทรงเป็นเจ้าของพระองค์นี้ อีกทั้ง ท้องตราราชสีห์ ซึ่งเป็นตราข้าหลวงสิน ขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกด้วย

ชั้นสองเป็นพระกรุทั้งหมด ในตู้จะมาจากสุโขทัย ลพบุรี อยุธยา สิงห์บุรี-ชัยนาท สุพรรณบุรี, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์-เพชรบุรี-กาญจนบุรี-โคราช, เชียงใหม่-ลำพูน และในส่วนจัดแสดงที่สอง บนชั้นสอง ส่วนใหญ่เป็นพระบูชา และรูปหล่อพระเกจิอาจารย์ชื่อดังต่างๆ

ท่านกำนันบอกเราว่าที่ชั้นสองนี่มี “พระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง” เป็นชิ้นที่เด่นและสำคัญของพิพิธภัณฑ์อีกด้วย สิ่งภูมิใจที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ คือ พระบูชาประจำพระองค์พระเจ้าตากสินมหาราช, ท้องตราราชสีห์, พระชุดเบญจภาคี ต้นแบบพระชุดเบญจภาคี ภปร. 

อย่างไรก็ดีปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บและการอนุรักษ์ตัวพระเครื่อง เนื่องจากพระเครื่องเนื้อชิ้นบางองค์ อยู่ในตู้โดนแอร์ โดนไอลม เริ่มผุ เริ่มชำรุดไปบ้าง

พิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ ตั้งอยู่บนถนนพุทธมณฑลสาย 2 ซึ่งในขณะนี้กำลังปรับปรุงถนนเส้นนี้อยู่ ป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์อันใหญ่หน้าบ้านจึงหายไป แต่ภรรยาท่านกำนันบอกว่าให้สังเกตพระพรหมองค์ใหญ่หน้าบ้านให้ดี ถ้าเห็นพระพรหมองค์ใหญ่สีขาวเมื่อไหร่ แสดงว่าถึงพิพิธภัณฑ์กำนันชูชาติแล้ว 

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ
สำรวจ : 31 มกราคม2551

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชมสุดยอดพระไทย ที่"พิพิธภัณฑ์พระกำนันชูชาติ"

เชื่อว่าแทบทุกบ้านของคนไทยที่เป็นชาวพุทธ ย่อมจะต้องมีพระเครื่องหรือพระพุทธรูปติดบ้านติดตัวอย่างน้อยก็คนละองค์ เพราะพระเครื่องกับคนไทยนั้นดูจะอยู่คู่กันมานานจนเป็นความคุ้นชินไปแล้ว ฉันเองก็มีพระเครื่องห้อยคอมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เหมือนกัน แต่เชื่อว่าคงไม่มีบ้านไหนจะมีพระเยอะเท่ากับที่บ้านของกำนันชูชาติ มากสัมพันธ์ แน่ๆ กำนันชูชาติคนที่ว่านี้ ก็คือผู้เป็นเจ้าของ "พิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ" ในแถบพุทธมณฑลสาย 2
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-