ห้องอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนภูหลวงวิทยา


ห้องอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เอกลักษณ์ไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนภูหลวงวิทยา จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2524 โดยได้รับการตั้งให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมประจำอำเภอภูหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บรวบรวมวัตถุโบราณ ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น มีการรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้แก่ คนรุ่นหลังได้ศึกษา เรียนรู้ และการรวบรวมความรู้เรื่องท้องถิ่น ตำนานเรื่องราวของท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชุมชน จัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรม อาทิ พระพิมพ์ ขวานหิน เครื่องจักสาน เครื่องมือหาปลา เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร เครื่องชั่งฝิ่น เงินตรา และจัดแสดงนิทรรศการและเรื่องราวที่สำคัญในท้องถิ่นอาทิ ตำนานและงานประเพณีบวงสรวงพญาช้าง-นางผมหอม

ที่อยู่:
โรงเรียนภูหลวงวิทยา เลขที่ 90 หมู่ที่ 7 ถนนวังสะพุง-ตาดกลอย ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 42230
โทรศัพท์:
042-039965
วันและเวลาทำการ:
เปิดในวันเวลาราชการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2524
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

ห้องอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยฯ โรงเรียนภูหลวงวิทยา

ห้องอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เอกลักษณ์ไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนภูหลวงวิทยา จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2524 โดยได้รับการตั้งให้เป็นศูนย์วัฒนธรรม ประจำอำเภอภูหลวง ในปัจจุบันโรงเรียนภูหลวงวิทยาเป็นโรงเรียนในฝันลำดับที่ 514 ซึ่งได้รับการประเมินให้ผ่าน เป็นโรงเรียนในฝันเนื่องจากมีศูนย์วัฒนธรรมประจำโรงเรียน

ห้องอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนภูหลวงวิทยา จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดเก็บรวบรวมวัตถุโบราณ ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น มีการรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้แก่ คนรุ่นหลังได้ศึกษา เรียนรู้ และการรวบรวมความรู้เรื่องท้องถิ่น ตำนานเรื่องราวของท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชุมชน

ห้องอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เอกลักษณ์ไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนภูหลวง  ใช้พื้นที่ห้องของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น 2 เป็นพื้นที่จัดแสดง  โดย มีรายละเอียดดังนี้

1. จัดแสดงวัตถุโบราณ ได้แก่ พระพิมพ์ ขวานหิน(จากถ้ำ) ภาชนะประเภทต่างๆ

2. จัดแสดงมือเครื่องเครื่องใช้ ได้แก่ เครื่องจักสานต่างๆ กระบุง ตะกร้า หวดนึ่งข้าว ฯลฯ

3. จัดแสดงเครื่องมือจับปลาเครื่องดักสัตว์ ได้แก่ ลอบ สุ่ม แห ไซ เบ็ด ข้อง ตุ้ม ฯลฯ

4. จัดแสดงเครื่องมือทางการเกษตร ได้แก่ ไถ ผ่านไถ คราด ฯลฯ

5. จัดเก็บของเก่าที่มีค่าต่างๆ เช่น เครื่องชั่งฝิ่นทำจากงาช้าง กำไร ฯลฯ

6. จัดแสดงเหรียญเงินบาทรุ่นต่างๆ ธนบัตรเก่า และของเก่าอื่นๆ ที่มีจำนวนมาก

7. การจัดแสดงนิทรรศการและเรื่องราวที่สำคัญในท้องถิ่น ได้แก่ ตำนาน และงานประเพณีบวงสรวงพญาช้าง-นางผมหอม เรื่องการละเล่นต่างๆ ฯ

ข้อมูลจาก:https://museum.msu.ac.th/esanmuseum/data/l_phuleung.htm

ชื่อผู้แต่ง:
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม