ศูนย์วัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด


ที่อยู่:
หมู่ 4 ถ.นาบอน-สงเปือย บ้านนาป่าหนาด ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย
โทรศัพท์:
084-9250771,042-070701-4,086-0354738, 081-2634271, 087-973-3686
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2546
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

บ้านนาป่าหนาด

ชื่อผู้แต่ง: สมาคมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำ จ.เลย | ปีที่พิมพ์: มปป.

ที่มา: เลย: สมาคมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำ จ.เลย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รายงานการวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในหมู่บ้านอีสาน: ศึกษากรณีหมู่บ้านนาป่าหนาด

ชื่อผู้แต่ง: ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และสมศักดิ์ ศรีสันติสุข | ปีที่พิมพ์: 2529

ที่มา: ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หมู่บ้านไทดำ : บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ชื่อผู้แต่ง: เพชรตะบอง สิงห์หล่อคำ | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: เลย : เมืองเลยการพิมพ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การนับถือผีของชาวไทยดำบ้านป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ชื่อผู้แต่ง: เพ็ญนิภา อินทรตระกูล. | ปีที่พิมพ์: 2535

ที่มา: ปริญญานิพนธ์ (ศศ.ม. ไทยคดีศึกษา เน้นมนุษยศาสตร์)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อยในเขตพื้นที่ภาคอีสาน : รายงานการวิจัย = A study of minority groups in Isan

ชื่อผู้แต่ง: ทวี ถาวโร | ปีที่พิมพ์: 2540

ที่มา: มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด

บ้านนาป่าหนาด เป็นหมู่บ้านของคนเชื้อสายไทดำที่บรรพบุรุษถูกกวาดต้อนมาจากเมืองพวนเมื่อครั้งไทยยกทัพปราบฮ่อในปี พ.ศ. 2418 เนื่องจากฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของแคว้นพวน ทางกรุงเทพฯ ได้จัดทัพให้พระยาภูธราภัยเป็นแม่ทัพคุมกองทัพไปปราบฮ่อ แล้วได้กวาดต้อนผู้คนจากแคว้นพวนอพยพเข้ามาไทยด้วย ชาวไทดำที่ถูกกวาดต้อนในครั้งนั้นเข้ามาตั้งรกรากหลายแห่งด้วยกัน ต่อมาเจ้าเมืองบริขันธ์ มาทูลขอราษฎรบางส่วนกลับไปยังเชียงขวาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินยอมให้ไทดำอพยพกลับไปตามคำขอ ครั้งมาถึงเมืองหล่ม ชาวไทดำบางส่วนได้ตั้งหลักแหล่งที่หล่มสัก บางส่วนกลับไปเชียงขวาง แต่มีบางกลุ่มที่เมื่อเดินทางไปถึงเชียงขวางแล้วพบว่าไม่มีที่ทางเหมาะสมที่จะตั้งหลักแหล่ง จึงชักชวนอพยพกลับมาเมืองหล่มสักตามเดิม โดยข้ามโขงมาขึ้นที่บ้านสง่าว (ใต้อำเภอปากชม) ตามเส้นทางบ้านปากปัด นาค้อ ทะลุมาถึงท่าบม ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ท่าบม ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านนาเบน แล้วจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านนาป่าหนาดเป็นการถาวร ราวปี พ.ศ. 2448 เนื่องจากอุดมสมบูรณ์ โดยครอบครัวที่อพยพมาในคราวนั้นมีทั้งหมด 15 ครอบครัวด้วยกัน
 
ในห้วงที่มีการตื่นตัวด้านการอนุรักษ์รักษาประเพณี วัฒนธรรม ท้องถิ่น บ้านนาป่าหนาดเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านไทดำเพียงแห่งเดียวในจังหวัดเลย และยังประกอบพิธีกรรมที่ตกทอดจากบรรพบุรุษเช่น เสนเรือน หรือภาษาพูด ที่ยังหลงเหลืออยู่บ้างท่ามกลางวิถีชีวิตสมัยใหม่  ศูนย์วัฒนธรรมไทดำบ้านนาป่าหนาด ก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. 2546 โดยนักวิชาการท้องถิ่นในจังหวัดเลยร่วมกับชาวบ้านนาป่าหนาด มีสมาคมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำ ที่สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนในหมู่บ้าน เป็นผู้แล ประกอบไปด้วยกลุ่มอาคารที่สร้างแบบง่าย ๆ หลังหนึ่งเป็นบ้านไทดำจำลอง ติดกันเป็นอาคารศูนย์ทอผ้าของกลุ่มแม่บ้าน หากแต่สภาพปัจจุบันของสิ่งก่อสร้างขาดการดูแล ถูกปล่อยทิ้ง โดยเฉพาะอาคารทอผ้า เนื่องจากไม่มีผู้เข้ามาใช้งาน จะมีก็แต่ผู้ดูแลประจำ ที่นั่งทอผ้าลำพังบริเวณไต้ถุนของบ้านไทดำจำลอง ส่วนชั้นบนของตัวบ้าน กลายเป็นที่เก็บของไป  บริเวณไต้ถุนบ้านมีนิทรรศการเล็ก ๆ และแผนที่แสดงการอพยพของชาวไทดำเข้าสู่ประเทศไทย ผังตัวอักษรไทดำ พร้อมผลิตภัณฑ์ของสมาคมฯ อาทิ ผ้าทอ ผ้าเปียว สบู่สมุนไพร 
 
เอาเข้าจริง สิ่งที่ชาวบ้านนาป่าหนาด สนใจและให้ความสำคัญ คงไม่ใช่ตัวอาคารจัดแสดง หากแต่เป็นความพยายามในการติดต่อและสร้างเครือข่ายระหว่างคนเชื้อสายไทดำในจังหวัดอื่นของประเทศไทย หรือแม้กระทั่งในลาวหรือเวียดนาม  การย้อนความทรงจำของแม่อ่อน ทันหา อายุกว่า 70 ปี  กับแม่จอน ไพรศูนย์ น้องสาว คราวไปเยี่ยมเยียนชาวไทดำที่เพชรบุรี และเมื่อครั้งที่พี่น้องชาวไทดำที่เพชรบุรีมาเยือนบ้านนาป่าหนาด พรั่งพรูออกมาด้วยความประทับใจ ข้อความหนึ่งที่ติดอยู่ข้างเสาไต้ถุนบ้านไทดำจำลอง คงจะยืนยันความรู้สึกถึงความเป็นพี่เป็นน้องของคนไทดำที่ว่าพี่น้องไทดำตกอยู่ที่ใดก็เป็นพี่น้องกันหมด "ลวงพี่สายน้อง อ้ายน้องตกเข้า ลิ้นบ่ขาด ตกเก้าหลาดบ่เสีย"   
 
ข้อมูลจาก: 
สำรวจภาคสนามวันที่ 19 ธันวาคม 2549
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และสมศักดิ์ ศรีสันติสุข. รายงานการวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในหมู่บ้านอีสาน: ศึกษากรณีหมู่บ้านนาป่าหนาด. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2529.
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ไทดำ แหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมของ'ลาวโซ่ง'

บนถนนของทางหลวงชนบทที่ 3011 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 11-13 ที่ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีหมู่บ้านเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งที่มีประชากรอาศัยอยู่เกือบ 900 คน 300 ครอบครัว ซึ่งประชากรทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวไทดำที่อพยพหนีภัยสงครามจากดินแดนของบรรพบุรษ มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่แทบทั้งสิ้น หมู่บ้านแห่งนี้คือบ้านนาป่าหนาด ซึ่งหลายปีมานี้หลายคนเริ่มรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี หลังจากที่ชาวไทดำที่นี่ได้ร่วมกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ไทดำบ้านนาป่าหนาดขึ้น
ชื่อผู้แต่ง:
-