พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เริ่มต้นมาจากการเป็นศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย ที่นำเสนอนิทรรศการในรูปแบบหอวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมาจังหวัดเลยได้รับอนุมัติงบประมาณจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จากองค์การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2535 มีสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ภายในจัดแสดงจากประวัติความเป็นมาของเมืองเลย รูปจำลองรอยเท้าไดโนเสาร์ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเลย อาทิ ไทเลย ไทดำ ไทพวน ไทใต้ เป็นต้น หลักศิลาจารึกสำคัญ รูปจำลองพระธาตุศรีสองรัก เป็นต้น พิพิธภัณฑ์ได้มีการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑ์อยู่หลายครั้ง และในปี พ.ศ. 2555 ได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่จัดแสดงชั้นล่าง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเลย (Museum of Art & Culture of Loei) โดยใช้ตัวย่อที่เป็นที่ รู้จักกันทั่วไปว่า MALOEI
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเลย
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย พัฒนามาจากหน่วยประเคราะห์ทางวัฒนธรรมของกองวัฒนธรรมกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบข้อมูลสารสนเทศทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและจังหวัดโดยใช้สถาบันการศึกษาสูงสุดของท้องถิ่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงาน วิทยาลัยครูเลยจึงได้รับเกียรติให้เป็นที่ตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย และได้นำเสนอนิทรรศการในรูปแบบหอวัฒนธรรม โดยเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2530
ต่อมาจังหวัดเลยได้รับอนุมัติงบประมาณจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจากองค์การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2535 เป็นที่ตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย มีสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดทำนิทรรศการถาวร นิทรรศการหมุนเวียน และให้บริการความรู้ทางวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน
และในปี พ.ศ. 2549 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเสด็จมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑ์อยู่หลายครั้ง และในปี พ.ศ. 2555 ได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่จัดแสดงชั้นล่าง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเลย (Museum of Art & Culture of Loei) โดยใช้ตัวย่อที่เป็นที่ รู้จักกันทั่วไปว่า MALOEI
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ห้องสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม ที่อยู่ในบริเวณชั้นล่างของอาคาร เป็นสำนักงานให้บริการติดต่อประสานงานแก่ผู้มาเยี่ยมชม พร้อมกับห้องสมุดที่ให้บริการค้นคว้าและยืมหนังสือเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม แก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
ชั้นบนเป็นห้องวิดีทัศน์ ที่ฉายวิดีทัศน์เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองเลย แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเลย ในส่วนห้องนิทรรศการแบ่งเป็นสองส่วนคือ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน โดยจะจัดนิทรรศการหมุนเวียนตามเทศกาล และประเพณีสำคัญ อย่างไรก็ดีนิทรรศการในห้องนี้ยังมีข้าวของและตัวนิทรรศการถาวรที่ทำไว้เดิมร่วมแสดงอยู่ด้วย ได้แก่ รูปจำลองพระธาตุศรีสองรัก พระพุทธรูปดินเผา พระพุทธรูปไม้ ประเพณีผีตาโขน ภาชนะดินเผา ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือหาปลา ภาพถ่ายเก่าสถานที่สำคัญในจังหวัดเลย
ส่วนห้องนิทรรศการอันใหม่ที่เรียกว่า “ห้องเบิ่งเมืองเลย” แต่ยังมีบางเรื่องที่ซ้ำกับเนื้อหาในห้องนิทรรศการหมุนเวียน ในห้องนี้เริ่มจัดแสดงจากประวัติความเป็นมาของเมืองเลย รูปจำลองรอยเท้าไดโนเสาร์ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ภาพแสดงศิลปะถ้ำ มุมแสดงเครื่องมือโบราณที่ค้นพบในจังหวัดเลย ตั้งแต่ยุคหินเก่า มุมแสดงแหล่งแร่และแร่เศรษฐกิจของจังหวัดเลย มุมชาติพันธุ์วิทยา ที่แสดงถึงการดำรงชีวิต การสร้างที่อยู่อาศัย ประเพณี ความเชื่อ การแต่งกายชุดของกลุ่มชาติพันธุ์ในเลย อาทิ ไทเลย ไทดำ ไทพวน ไทใต้ เป็นต้น หลักศิลาจารึก 2 หลัก คือ ศิลาจารึกวัดห้วยห่าว พบที่บ้านท่าข้าม และศิลาจารึกวัดศรีสองนาง พบที่บ้านน้อย อ.เชียงคาน รูปจำลองพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยและลาว ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2103 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างพระ
เจ้าไชยฐาธิราช กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตของลาว และพระมหาจักรพรรดิ์ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ข้อมูลจาก:
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ศูนย์วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัดเลย
ศูนย์วัฒนธรรมตำบลชัยพฤกษ์
จ. เลย
ศูนย์วัฒนธรรมตำบลนาหอ
จ. เลย
ศูนย์ประวัติศาสตร์ประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โรงเรียนชุมชนบ้านทรายขาว
จ. เลย