หอไทยนิทัศน์


สถานที่แห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 น่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งแรกๆของประเทศที่ใช้เทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย วีดิทัศน์ และมินิเธียเตอร์เข้ามาช่วยเสริมเนื้อหาสาระให้น่าสนใจยิ่งขึ้น การจัดแสดงเป็นรูปแบบนิทรรศการถาวร แบ่งหัวข้อเป็น 5 เรื่อง ได้แก่ ความเป็นมาของชนชาติไทย ข้าวกับวิถีชีวิตไทย ภาษาและวรรณคดีไทย ประเทศไทยกับโลก และวีรกรรมชนชาติไทยและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เนื้อหาที่จัดแสดงในหอไทยนิทัศน์อาจจะเรียกได้ว่าเป็นยำใหญ่ทางอารยธรรมไทย เพราะมีเรื่องราวน่ารู้ของไทยจากหลากหลายสาขา เป็นแหล่งความรู้ที่ให้ข้อมูลแบบกว้างๆ

ที่อยู่:
ชั้น 2 อาคารนิทรรศการฯ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์:
0-2247-0028 ต่อ 4206, 4207, 4224
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 09.30-20.00 น.วันเสาร์ 09.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
thainithai@thaimail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2534
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

คู่มือแนวทางการจัดตั้งและดำเนินงานหอวัฒนธรรมนิทัศน์

ชื่อผู้แต่ง: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เอกสารการฝึกอบรมผู้บริหารหอวัฒนธรรมนิทัศน์ รุ่น 6 วันที่ 26 มิ.ย.-2 ก.ค. 2544

ชื่อผู้แต่ง: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หอไทยนิทัศน์ : แหล่งสืบสานวัฒนธรรมไทยในยุคโลกาภิวัฒน์

ชื่อผู้แต่ง: หอไทยนิทัศน์ | ปีที่พิมพ์: 2541

ที่มา: กรุงเทพฯ: ส่วนไทยนิทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เอกสารประกอบ การสัมมนาครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและภาษาไทย เพื่อใช้ประโยชน์จากหอไทยนิทัศน์

ชื่อผู้แต่ง: หอไทยนิทัศน์ | ปีที่พิมพ์: 1/13/2543

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแฟ่งชาติ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอไทยนิทัศน์

เนื้อหาที่จัดแสดงในหอไทยนิทัศน์อาจจะเรียกได้ว่าเป็นยำใหญ่ทางอารยธรรมไทย เพราะมีเรื่องราวน่ารู้ของไทยจากหลากหลายสาขา เป็นแหล่งความรู้ที่ให้ข้อมูลแบบกว้างๆ เพราะกลุ่มเป้าหมายลำดับแรกคือนักเรียน นักศึกษา สถานที่แห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 น่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งแรกๆของประเทศที่ใช้เทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย วีดิทัศน์ และมินิเธียเตอร์เข้ามาช่วยเสริมเนื้อหาสาระให้น่าสนใจยิ่งขึ้น การจัดแสดงเป็นรูปแบบนิทรรศการถาวร แบ่งหัวข้อเป็น 5 เรื่อง 

“ความเป็นมาของชนชาติไทย” เรื่องราวของการจัดแสดงในห้องแรก กล่าวถึงความเป็นอยู่และการทำมาหากินของผู้คนที่อยู่อาศัยในดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่าประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ยุคโบราณที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์และเก็บพืชป่า มีการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินขัด เครื่องสำริด เช่น ใบหอก ขวาน และเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ ที่ทำจากหอย สำริด และลูกปัด มีตัวอย่างภาชนะดินเผาจากบ้านเชียงซึ่งแสดงถึงความรู้ด้านการปั้นภาชนะรูปแบบต่างๆไว้ใช้ในชีวิตประจำวันและประกอบพิธีกรรม

ถัดมาเป็นแผนที่เส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเลซึ่งจะแสดงเป็นเส้นแสงเมื่อมีผู้กดปุ่ม เส้นทางการค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าต่างๆ ความเชื่อทางศาสนาจากโลกตะวันตก อินเดีย และจีน เข้ามาปรากฏในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไรในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-15 หลักฐานมีทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ และจารึก เช่น ตะเกียงโรมันทำด้วยสำริดฝาตะเกียงเป็นรูปเทพเจ้ากรีก รูปเคารพจากอินเดีย เช่น พระพุทธรูป พระนารายณ์ และท้าวกุเวร นอกจากนั้นยังพบเครื่องประดับประเภทลูกปัดทำจากแก้วและหินกึ่งอัญมณี พบทั้งที่ผลิตเอง เช่นที่เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร และที่ควนลูกปัด จังหวัดกระบี่ และเครื่องประดับนำเข้า เช่น จี้รูปสิงห์ ทำจากหินคาร์นีเลียน พบที่จังหวัดกาญจนบุรี จี้รูปแบบนี้ผลิตจากแหล่งลูกปัดในอินเดีย 

จากสังคมหมู่บ้านเกษตรกรรมมาเป็นชุมชนเมือง ร่องรอยความเจริญของเมืองโบราณมีอยู่ทุกภาค ยกตัวอย่างบริเวณภาคกลางที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี และจังหวัดนครปฐม ภาคเหนือที่เมืองหริภุญชัย ภาคใต้ที่ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับทั้งวัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลางและวัฒนธรรมเขมร เช่น ที่เมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาเมืองเหล่านี้บางแห่งพัฒนาเป็นรัฐและเป็นอาณาจักรเมื่อย่างเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ มีเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครองดังที่รู้จักกันดี คือ สุโขทัย เชียงใหม่ อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ 

ก้าวเข้าสู่ห้องที่สอง เป็นนิทรรศการ ”ข้าวกับวิถีชีวิตไทย” ทางด้านขวาจัดแสดงเครื่องมือพื้นบ้านที่ใช้ในการทำนา เช่น แอก คันไถ ครกตำข้าวขนาดใหญ่ ทางด้านซ้ายเป็นแผนผังแสดงสายพันธุ์ของข้าว แผนที่การแพร่กระจายพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ ถัดมาเป็นเครื่องมือเกี่ยวข้าว เช่น เคียว และแกะหรือแกระซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับตัดรวงข้าวที่ใช้กันทางภาคใต้ ต่อมาเป็นบ้านทรงไทยภาคต่างๆขนาดจำลอง มีตุ๊กตาเล็กๆจำลองบรรยากาศวิถีชีวิตคนไทยในแต่ละภาค ในส่วนนี้ถ้าแทรกข้อมูลหลักคิดในการปลูกเรือนไทยว่ามีปัจจัยต่างๆกันอย่างไรในแต่ละภาค และการวางผังเรือนก็ยิ่งดี เพราะการสร้างเรือนไทยแสดงถึงภูมิปัญญาไทยในหลายแง่มุม ส่วนท้ายห้องจัดแสดงพิธีกรรมและประเพณีที่เกี่ยวกับการทำนาในแต่ละท้องถิ่น สำคัญที่สุดคือพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ห้องที่สามเป็นเรื่อง “ภาษาและวรรณคดีไทย” เริ่มจากการแสดงวิธีวิวัฒน์อักษรโดยสื่อคอมพิวเตอร์ นักวิชาการได้สรุปไว้ว่าอักษรไทยดัดแปลงมาจากอักษรขอมและมอญโบราณ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นครได้อธิบายว่าลักษณะพิเศษของอักษรไทยว่าตัวหนังสือไทยนั้นไม่ได้ขอยืมอักษรอินเดียที่ใช้กันอยู่มาโดยตรง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เพิ่มขึ้น นำสระมาเรียงแถวเดียวกับพยัญชนะแบบตัวหนังสือของชาติตะวันตก และพยัญชนะทุกตัวอยู่บนบรรทัดเดียวกัน ไม่ซ้อนกันอย่างอักษรเขมร มอญ พม่า ทำให้สะดวกในการพิมพ์ในสมัยหลัง แต่ลักษณะและอักขรวิธีบางอย่างได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลา จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตัวอักษรไทยสมัยนั้นจึงมีหน้าตาคล้ายกับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนตู้กระจกบนศาลากลางห้องจัดแสดง เครื่องมือจารใบลาน คัมภีร์ใบลาน จารึกบนแผ่นโลหะ และ กากะเยียซึ่งเป็นเครื่องสำหรับวางหนังสือใบลาน 

ต่อมาเป็นวรรณคดีสี่สมัย เริ่มจากยุคสุโขทัย วรรณคดีชิ้นสำคัญเรื่องหนึ่งคือไตรภูมิพระร่วง เป็นเรื่องราวของภูมิหรือโลกที่สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดไปตามกรรม และอธิบายถึงภูมิศาสตร์ของภูมิเหล่านี้ เช่น ตำแหน่งของสวรรค์ชั้นต่างๆ ตำแหน่งของทวีปทั้งสี่ สิ่งเหล่านี้ปรากฏให้เห็นภาพจิตรกรรมทางศาสนาในเวลาต่อมา วรรณคดีสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์คือ “รามเกียรติ์” คุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยาผู้นำชมถามคำถามว่าตัวละครใดในเรื่องนี้ที่มีความเป็นมนุษย์อย่างชัดเจน คำเฉลยคือ นางสำมนักขา น้องสาวของทศกัณฐ์ คุณจุลภัสสรอธิบายเพิ่มเติมว่า ด้วยความเป็นน้องคนเล็ก เอาแต่ใจ อยากได้อะไรต้องได้ ครั้นโตเป็นสาวเกิดไปหลงรักพระราม เมื่อพระรามไม่เล่นด้วยและตนถูกทำร้าย ก็ไปฟ้องพี่ชาย จนทำให้ถูกฆ่าไปทีละตน ครั้นเมื่อถึงคราวของทศกัณฐ์ นางสำมนักขาเกรงว่าพระรามจะถูกฆ่าจึงออกอุบายให้ไปลักนางสีดาแทน ในที่สุดเรื่องลุกลามเป็นความพินาศของตระกูลยักษ์

ห้องที่สี่จัดแสดงเรื่องราวที่ร่วมสมัยมากขึ้น คือห้อง “ประเทศไทยกับโลก” จุดแรกเป็นแผนที่โลกแบ่งเป็นประเทศต่างๆ มีปุ่มให้กดเพื่อทายชื่อเมืองหลวงของประเทศนั้น ต่อจากนั้นเป็นทางเดินผ่านอุโมงค์เวลาที่ตกแต่งแนวนิยายวิทยาศาสตร์รุ่นสตาร์เทร็ค สองข้างจัดแสดงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรมต่างๆตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประเทศไทยกับโลกตะวันตกและโลกตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ พ้นจากอุโมงค์ก้าวเข้าสู่สงครามโลก สงครามเวียดนาม สู่ยุคการปรับตัวของประเทศไทยให้เข้ากับสภาพการเมืองโลกจากต้นพุทธศตวรรษที่ 26 ถึงปัจจุบัน และไทยกับอาเซียน อีกด้านหนึ่งเป็นนิทรรศการสิ่งแวดล้อมและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ห้องสุดท้ายเป็นเรื่อง “วีรกรรมชนชาติไทยและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย” เริ่มจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากอินเดียที่มีผลเปลี่ยนแปลงความคิดความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนระบบการปกครอง ของชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วีรกรรมของพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าตากสินมหาราช สิ่งที่น่าสนใจในส่วนนี้คือแผนที่จำลองจากแผนที่โบราณพร้อมแสดงอาณาเขตและตำแหน่งสถานที่สำคัญ เช่น แผนที่ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา (ขยายจากแผนที่ของพระยาโบราณราชนินทร์ พ.ศ.2469) แผนที่ธนบุรีและกรุงเทพฯ แสดงอาณาเขตเมืองสมัยธนบุรี ศาสนาสถานก่อนสร้างกรุงเทพฯ และการสร้างบ้านเมืองยุคต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งแสดงด้วยจุดแสงบนแผนที่เดียวกัน ทำให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา

ส่วนต่อมาเป็นเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ จะได้ทราบเรื่องราวของสินค้าส่งออกสำคัญ เมื่อชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาค ต้องการให้ยกเลิกระบบการค้าผูกขาดโดยรัฐ ในส่วนนี้อธิบายยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเชิงรุกของรัชกาลที่ 3 เช่น การส่งเสริมการค้ากับนานาประเทศ การเปิดตลาดกับจีน การพัฒนาสินค้าส่งออกจากผลิตผลการเกษตร เช่น น้ำตาล พริกไทย ต่อเนื่องไปถึงวิสัยทัศน์ของรัชกาลที่ 4 ที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้น 

หอไทยนิทัศน์มีการจัดนิทรรศการชั่วคราวในบางโอกาส เช่น วันเด็ก วันภาษาไทย และวันสุนทรภู่ ผู้เข้าชมส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา เพราะจุดประสงค์เพื่อเสริมความรู้ตามหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า 

เรื่อง/ภาพ : เกสรา จาติกวนิช

ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม : 5 มิถุนายน 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-