โลโก้ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรLogo
logo
  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
    • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
    • List view
    • Map view
  • Online Exhibits
    • Online Exhibits
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ
  • Research & learning
    • Research & learning
    • พิพิธภัณฑ์วิทยา
    • Research & Report
    • บทความวิชาการ
    • บล็อก
    • อินโฟกราฟฟิก
  • สื่อสิ่งพิมพ์
    • สื่อสิ่งพิมพ์
    • หนังสือ
    • จุลสาร
  • เทศกาล และข่าวสาร
    • เทศกาล และข่าวสาร
    • เทศกาล
    • ข่าวสาร
  • เกี่ยวกับโครงการ
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • ทีมงาน
    • ติดต่อเรา
    • สถิติพิพิธภัณฑ์
    • สถิติเว็บไซต์
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ร้อยเอ็ด
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อำนาจเจริญ
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อ่างทอง
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • กฎหมายและราชทัณฑ์
  • การทหาร / สงคราม
  • การสื่อสาร / ไปรษณีย์
  • การแพทย์และสาธารณสุข
  • งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
  • ชาติพันธ์ุ
  • ธรรมชาติวิทยา
  • บุคคลสำคัญ
  • บ้านประวัติศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์
  • ผ้า / สิ่งทอ
  • พระป่า
  • วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
  • ศิลปะ / การแสดง
  • อื่น ๆ
  • เครื่องปั้นดินเผา
  • เงินตรา / การเงินธนาคาร
  • โบราณคดี

  • บทความวิชาการ

บทความวิชาการ:

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

  • เรียงตามข้อมูลนำเข้าล่าสุด
  • เรียงตามการอ่านมากที่สุด
บทความทั้งหมด 26 บทความ

บาดแผลของสงครามและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

21 มีนาคม 2556

ประวัติอันยาวนาน   ศาสตราจารย์ จอห์น รุซเซล ผู้ช่วยที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมอาวุโสขององค์กรความร่วมมือ Coalition Provisional Authority (CPA) พรรณนาถึงประเทศอิรักว่าเป็นประเทศอันดับหนึ่งในหลายอย่าง ทั้งการตั้งสร้างบ้านแปงเมือง วรรณกรรมและภาษา ศาสนาและศาสนสถาน การสงครามและอาวุธ รวมถึงเศรษฐกิจโลกและการแผ่อำนาจ พิพิธภัณฑ์อิรักในกรุงแบคแดดเป็นเสมือนแอ่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายนับหมื่นแสน ขนานไปกับการเป็นดินแดนอิรักยุคใหม่ เป็นพื้นที่วัฒนธรรมเมืองแรกๆ ของโลก มีเมืองหลายแห่งที่ล้อมด้วยป้อมปราการ ราชวังที่ซับซ้อน มหึมา และสิ่งก่อสร้างทางศาสนา ที่ได้พัฒนาและวิวัฒน์ผ่านกาลเวลาหลายศตวรรษ เหล่านี้ได้กลายเป็นถาวรสถานในภูมิทัศน์ของดินแดนระหว่างแม่น้ำ ความรู้มากมายที่เกี่ยวกับดินแดนเมโสโปเตเมียมาจากการค้นคว้าทางโบราณคดี หรือถ้าจะมองให้ดีแล้วอิรักทั้งประเทศเลยกระมังที่เป็นแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี แหล่งที่สำรวจแล้วมีจำนวนมากกว่า 10,000 แห่ง และยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่รอคอยการค้นพบ การวิจัยแหล่งทางโบราณคดีขณะนี้ดำเนินการไปแล้วเพียง 1,500 แห่ง สิ่งที่ขุดค้นพบจากแหล่งโบราณคดีเกือบทั้งหมดเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อิรัก ในกรุงแบกแดด จะมีเพียงชิ้นสำคัญบางชิ้นเท่านั้นที่เก็บรักษาและจัดแสดงในสถาบันใหญ่ๆ เช่น บริติช มิวเซียม ประเทศอังกฤษ และพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ประเทศฝรั่งเศส   พิพิธภัณฑ์ในอิรักกำเนิดขึ้นในปี 1923 โดยทำหน้าที่ในการรักษาดูแลโบราณวัตถุที่ได้มาจากแหล่งโบราณคดีอัสซีเรียน (Assyrian Site) บาบิโลเนียน (Babylonian Site) และสุมาเรียน (Sumerian Site) พิพิธภัณฑ์เป็นห้องใหญ่ที่ตั้งอยู่ภายใน al-Qushlah หรือทำเนียบรัฐบาลอิรัก อยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไทกริส เมื่อมีวัตถุจากการขุดค้นจำนวนมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีอาคารที่แยกเป็นอิสระ อาคารใหม่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเดียวกัน ใกล้สะพาน al-Shuhada และได้รับการเรียกขานว่า พิพิธภัณฑ์ อิรัก (Iraq Museum) หญิงสาวอาหรับเชื้อสายอังกฤษ เกอร์ทรูด เบลล์ (Gertrude Bell) ผู้เป็นทั้งนักสำรวจและนักโบราณคดีสมัครเล่น ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ จนกระทั่งการจากไปของเธอในปี 1926   พิพิธภัณฑ์รับวัตถุสะสมอีกจำนวนมาก จนในปี 1966 จึงสร้างอาคารเพิ่มเติมบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ และขนานนามว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อิรัก (Iraq National Museum) เป็นอาคารปูนสองชั้น พร้อมด้วยชั้นใต้ดิน ห้องจัดแสดงจำนวนมากมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีความกว้าง 13 - 18 เมตร มีสวนและสนามหญ้าโดยรอบ มีความยาวประมาณ 50 เมตร และยังมีเฉลียงทางเดินที่มีหลังคาคลุมโดยรอบ   20 ปีให้หลัง พิพิธภัณฑ์ก่อสร้างอาคารในลักษณะเดียวกันเพิ่มเติม ทั้งนี้ มีห้องจัดแสดงเพิ่มเติมจำนวน 20 ห้อง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 11,000 ตารางเมตร ห้องจัดแสดงจัดแบ่งตามเงื่อนไขของเวลา จากยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสุมาเรียนในชั้นแรก และชั้นใต้ดินจัดแสดงวัตถุที่ได้จากการขุดค้นพบในยุคของอาซิเรียนและอิสลาม ห้องจัดแสดงส่วนที่เกี่ยวข้องกับโบราณสมัยอาซิเรียน สร้างบรรยากาศด้วยการแสดงรูปสลักขนาดใหญ่ ซึ่งมีความยาว 15 เมตร และสูง 5 เมตร รูปสลักบอกเล่าเรื่องราวของพิธีกรรมในอดีตสมัยไนน์เวห์ (Nineveh) และ อเชอร์ (Ashur) รวมทั้งรูปสลักยักษ์ที่มีหัวเป็นมนุษย์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นทวารบาลของอาซิเรียนนครในยุคไนน์เวห์และคอร์ซาแบด (Khorsabad) ตั้งตระหง่านอยู่บนฐานหินในห้องเช่นกัน   ส่วนห้องจัดแสดงที่เหลือนำเสนอวัตถุมากกว่า 10,000 ชิ้น จากตราประทับรูปทรงกระบอกชิ้นเล็กไปจนถึงรูปปั้น รูปสลักขนาดใหญ่ วัตถุต่างๆ เหล่านี้มีทั้งที่ทำด้วยดิน ดินเผา โลหะ กระดูก ผ้า กระ ดาษ แก้ว ไม้ หินปูน พยานวัตถุที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นอารยธรรมของมนุษยชาติกว่า 10,000 ปี จากช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์เข้าสู่สมัยสุมาเรียน บาบิโลเนียน อาซิเรียน ฮาเทรอน์ (Hartrene) พาร์เธียน (Parthian) ซาซ์ซานิด (Sassanid) จนถึงยุคอิสลาม วัตถุที่จัดแสดงเป็นจำนวนเพียง 3 % ของมรดกอิรัก ทั้งอักษรดินปั้นคูนิฟอร์มกว่า 100,000 ชิ้น หมายรวมถึงระบบการเขียนคูนิฟอร์มเดิมจากอูรูค (Uruk) บัญญัติดั้งเดิมของมนุษยชาติ (ศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสตกาล) รวมทั้งจดหมายเหตุที่ประเมินค่ามิได้ของซิปปาร์ (Sippar) ซึ่งกอปรด้วยอักษรดินกว่า 800 ชิ้นจากยุคบาร์บิโลเนียนใหม่ (Neo-Babylonian ประมาณ 625 - 539 ปี ก่อนคริสตกาล) ทรัพย์สินทั้งหมดนี้ทำให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อิรัก เป็นแอ่งมรดกทางวัฒนธรรมของตะวันออกใกล้อันเก่าแก่ และเป็นแหล่งที่จะพลาดไม่ได้เลยสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์อันยาวนาน   ในระหว่างที่มีสงครามอ่าวเปอร์เซียปี 1991 กระทรวงการสื่อสาร ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิด และส่งผลกระทบต่อพิพิธภัณฑ์และวัตถุจัดแสดงจำนวนหนึ่ง พิพิธภัณฑ์ปิดตัวลง เจ้าหน้าที่ตัดสินใจเคลื่อนย้ายวัตถุสะสมไปอยู่ในที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันงานสะสมจากการทิ้งระเบิด ด้วยความคิดที่ว่าสงครามจะไม่ยืดเยื้อมากกว่า 2-3 เดือน เจ้าหน้าที่จัดเก็บวัตถุที่มีค่าไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคลือบดินเผา งาช้าง อักษรดินเผาคูนิฟอร์ม ไว้ในขนสัตว์และสำลี ส่วนวัตถุที่ทำด้วยโลหะห่อหุ้มด้วยยาง วัตถุทั้งหมดได้รับการบรรจุใส่หีบเหล็กที่มีการลงกุญแจ และนำไปเก็บไว้ที่ชั้นใต้ดินของอาคารคลังเดิมของพิพิธภัณฑ์   เป็นที่น่าเสียดายว่า เหตุการณ์มิได้เป็นอย่างที่คาดหมายไว้ ไม่เพียงแต่การทิ้งระเบิดยังคงดำเนินต่อไป การจ่ายไฟฟ้าเกิดขัดข้องเนื่องด้วยการทำลายแหล่งจ่ายไฟฟ้า จากนั้นเป็นการงดจ่ายไฟฟ้า ทำให้เครื่องปั๊มน้ำที่ติดตั้งไว้ที่ชั้นใต้พื้นดินไม่สามารถทำงานตามปกติ น้ำนองอยู่ที่พื้นชั้นใต้ดิน หีบเหล็กเริ่มเป็นสนิม เป็นเหตุให้ความชื้นแทรกเข้าไปยังหนังสัตว์และยางที่ปกป้องวัตถุที่เคลื่อนย้ายจากที่จัดแสดง ที่สุดกลายเป็นที่เพาะแบคทีเรีย แมลงกินผ้า และจุลินทรีย์อื่นที่เป็นอันตราย วัตถุจำนวนนับร้อยจัดส่งให้นักอนุรักษ์ ซึ่งไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ เนื่องจากขาดสารเคมีที่จำเป็นต่อการอนุรักษ์ และสารเคมีเหล่านั้นเป็นสิ่งต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในขณะนั้น   ในเดือนเมษายน 2000 หรือ 9 ปีให้หลังจากการปิดให้บริการ พิพิธภัณฑ์เปิดต้อนรับสาธารณชนอีกครั้ง วัตถุนับร้อยที่มีอายุกว่า 2,000 - 3,000 ปี ได้รับความเสียหาย และบ้างมีสภาพไม่สามารถซ่อมแซมได้ในสภาพดังเดิม ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2003 หรือประมาณ 3 ปี หลังจากที่การให้บริการใหม่ พิพิธภัณฑ์กลับตกอยู่ในสภาพที่จะต้องปิดตัวเองอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งการหาสถานที่ปลอดภัยสำหรับวัตถุสะสม ผลกระทบในครั้งนี้สร้างความเสียหายต่องานสะสมมากกว่าครั้งที่แล้ว ภาวะภายหลังสงครามที่ขาดความเป็นระเบียบนำมาซึ่งโจรและการปล้น มิใช่แต่เพียงที่ทำงานของรัฐบาลหรือธุรกิจเอกชนที่เป็นเป้าของการแย่งชิงทรัพย์สิน ทรัพย์สมบัติของพิพิธภัณฑ์กลายเป็นสมบัติล้ำค่าที่มีคนขโมย บางชิ้นมีอายุเก่าถึง 7,000 ปี วันที่เกิดการขโมยทรัพย์สินมากที่สุด คือ วันพฤหัสบดีที่10 เมษายน พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องประจัญหน้ากลุ่มคนที่ต้องการเจ้ามาลักสิ่งของล้อรถไถ เกวียน รูปปั้นรูปหล่อที่ประเมินค่ามิได้ ภาชนะ และอักษรดิน ฯลฯ ห้องจัดแสดงว่างเปล่ายกเว้นเศษกระจกจากตู้จัดแสดง หรือเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่เรียงรายอยู่บนพื้น   วันที่ 3 กรกฎาคม กองกำลังรักษาความมั่นคงชั่วคราวจัดนิทรรศการ 1 วันที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิ่งที่จัดแสดงเป็นเครื่องทองที่มาจากสุสานของกษัตริย์อูร์ (Ur) รวมทั้งของจำลองเช่นแจกันวาร์กา (Warka Vase) แต่ดาวเด่นของการแสดงครั้งนี้ คือ สมบัติของนิมรูด (Nimrud) เป็นเครื่องทองที่ขุดค้นโดยนักโบราณคดีชาวอิรักที่นิมรูดในช่วงปี 1988 ถึง 1990 ณ นครแห่งวัฒนธรรมอาซิเรียนใหม่นี้ ตั้งอยู่ทางตะวันตออกเฉียงใต้ของโมสุล (Mosul) ปรากฏที่ฝั่งพระศพจำนวน 4 แห่งอยู่ใต้ชั้นของพระราชวังตะวันตกเฉียงเหนือของกษัตริย์อชูร์นาซิปาลที่ 2 (883 - 859 ปีก่อนคริสตกาล) มรดกเหล่านี้ได้รับการดูแลที่ธนาคารกลางของอิรักตั้งแต่เกิดสงครามอ่าวในปี 1991 เมื่อพิพิธภัณฑ์โรมิช-เยอรมนิชในเมนซ์ ประเทศเยอรมนีต้องการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมข้างต้น ไม่มีบริษัทประกันภัยใดรับเป็นนายประกัน เพราะค่าของมันที่สูงเกินไป   นิทรรศการเดือนกรกฎาคมเป็นสิ่งที่กองกำลังรักษาความมั่นคงชั่วคราวต้องการแสดงให้เห็นว่าสภาพสังคมทั่วไปกลับสู่สภาพปกติ แต่เป็นที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งว่าภายหลังจากที่ปิดนิทรรศการประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ทหารชาวอเมริกาถูกปลิดชีพโดยมือสังหารที่สุ่มยิงจากระยะไกล และ 2 - 3 วันต่อมานักข่าวชาวอังกฤษถูกฆาตกรรมในอีกฝากหนึ่งของถนน   ความสูญเสียของมวลมนุษยชาติทั้งมวล   ในวันนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อิรัก อยู่ภายใต้เงาทะมึนของความรุ่งเรืองในอดีต ตามข้อมูลล่าสุด วัตถุขนาดใหญ่ 30 ชิ้น และวัตถุเล็กจำนวนมากถึง 12,000 ชิ้นหายไป แต่ละชิ้นเป็นชิ้นเอกที่ไม่สามารถหามาทดแทนได้ แต่ละชิ้นมีลักษณะเฉพาะและมีเรื่องราวของมันเอง ประวัติความเป็นมาเหล่านั้นเป็นฐานรากหนึ่งของสิ่งที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน มรดกโบราณคดีไม่ใช่ทรัพยากรทดแทนได้ และเมื่อส่วนใดถูกทำลายไป ส่วนนั้นก็จะสูญไปชั่วนิรันดร์   การทำงานร่วมกันเพื่อให้แอ่งประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติแห่งนี้กลับมาทำหน้าที่อย่างเต็มภาคภูมิเป็นหน้าที่ของชุมชนโลก และเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว องค์การยูเนสโกในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศแห่งเดียวที่มีศักยภาพทำหน้าที่เป็นกองหน้าป้องกันมรดกของมนุษยชาตินี้ ดำเนินงานมากมายทั้งในระหว่างที่มีการคว่ำบาตรจากนานาชาติ ก่อนการรบครั้งล่าสุด และจวบจนทุกวันนี้ ในปี 1999 องค์การยูเนสโกติดตั้งระบบปรับอากาศและรักษาความปลอดภัยภายในพิพิธภัณฑสถาน และยังจะดำเนินการอื่นๆ เพื่อสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่มหาศาลของอิรักต่อไป   ปัจจุบัน องค์การยูเนสโกดำเนินงานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะซ่อมแซมพิพิธภัณฑ์ในทุกส่วนและทุกด้าน นอกจากส่วนพื้นที่จัดแสดงและสำนักงานที่ได้รับความเสียหายอย่างมากจากการขโมยแล้ว ส่วนห้องปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ได้รับความเสียหายไม่น้อยไปกว่ากัน ช่วงปีที่เกิดวิกฤตดังกล่าวเป็นเงื่อนไขให้นักอนุรักษ์ของพิพิธภัณฑ์ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในการใช้เครื่องมือและวัสดุที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ วัสดุโดยส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่จะต้องนำเข้า แต่กลับเป็นสิ่งต้องห้าม การบุกเข้าปล้นทั้งในระหว่างและภายหลังการต่อสู้ ทำให้สถานการณ์ของห้องปฏิบัติการแย่ลง ซึ่งในขณะนี้ได้มีการปรับปรุงอย่างเต็มกำลัง เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ของพิพิธภัณฑ์ ระบบความปลอดภัยได้รับความเสียหายเช่นกัน ความเสียหายที่เกิดกับงานมาตรการพื้นฐานเหล่านี้นำไปสู่การตัดสินในการวางระบบรักษาความปลอดภัยของวัตถุสะสม ทั้งความเสี่ยงต่ออัคคีภัย การลักลอบขโมย โจรผู้ร้าย ฯลฯ การจัดแสดงนิทรรศการถาวรจะได้รับการทบทวนและออกแบบใหม่ โดยคำนึงถึงคุณค่าของงานสะสมที่เฉพาะและมีความพิเศษเช่นนี้   ในขณะนี้ ทรัพยากรบุคคลกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากยิ่งกว่าที่เคยเป็น ผู้ปฏิบัติงานได้อุทิศตนเองเพื่อความปลอดภัยของมรดกทางวัฒนธรรม และเพื่อทำให้สถานการณ์ทุกอย่างเข้าสู่สภาพปกติ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนความชำนาญการต่างๆ ที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ศึกษา การสร้างความทันสมัยและการปรับเปลี่ยนการใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม   การปฏิสังขรณ์พิพิธภัณฑ์อิรักและงานสะสมที่ประเมินค่ามิได้จะต้องได้รับการเอาใจใส่อย่างเร่งด่วน และเป็นความรับผิดชอบของชุมชนนานาชาติทั้งมวล ในปัจจุบัน การดำเนินงานดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีงจากองค์กรชำนาญการต่างๆ สถาบันทางวัฒนธรรม และด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศนี้จะผลักดันให้พิพิธภัณฑ์ของแบคแดดกลับมาตั้งตระหง่าน และเปิดประตูต้อนรับกลุ่มผู้ชมอย่างภาคภูมิทัดเทียมกับพิพิธภัณฑสถานอื่นของโลก   แปลและเรียบเรียงจาก Usam Ghaidan and Anna Paolini, A Short History of the Iraq National Museum. (Museum International. No. 219-220. Vol. 55, 2003), pp. 97-101.   *ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ นักวิชาการประจำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

มานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถาน

09 พฤษภาคม 2556

มานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถานอาจเรียกได้ว่าเป็นงานมานุษยวิทยาที่ปฏิบัติในพิพิธภัณฑ์ หรือมานุษยวิทยาของพิพิธภัณฑ์ แต่ละชื่อเรียกมีประวัติความเป็นมาที่แตกต่างกัน และมาจากความแตกต่างของทฤษฎีและการปฏิบัติ   นานมาแล้วที่มานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถานหมายถึงนักมานุษยวิทยาที่ทำงานในพิพิธภัณฑ์ และเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาย่อยของมานุษยวิทยา อันได้แก่ นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (นักชาติพันธุ์วิทยาและนักชาติพันธุ์วรรณา) นักโบราณคดี นักมานุษยวิทยากายภาพ และนักภาษาศาสตร์ บุคลากรเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำงานในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา   วัฒนธรรมวัตถุเป็นวัตถุพิพิธภัณฑ์ ซึ่งไม่ว่าจะเรียกว่า "ศิลปะวัตถุ" หรือ "วัตถุ" โดยทั่วไป ทั้งสองคำย่อมสื่อถึงความหมายว่า เป็นสิ่งของที่ประดิษฐ์หรือใช้โดยมนุษย์ และแสดงออกถึงความหมายและการใช้ประโยชน์เช่นไร กระแสการศึกษาในปัจจุบันคือ การตรวจสอบว่าวัตถุเหล่านั้นนำเสนอวัฒนธรรมอย่างไร ในต้นทศวรรษ 1970 นักวิชาการในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยพยายามคิดค้นทฤษฎีและวิธีการวิเคราะห์ที่อธิบายการสื่อความหมายของวัฒนธรรม (วัตถุและการตีความที่เกี่ยวข้อง) จุดนี้เองเป็นแนวทางการศึกษาที่แตกต่างจากงานที่นักมานุษยวิทยาปฏิบัติกันมาในพิพิธภัณฑ์ ในช่วงทศวรรษ 1980 การศึกษายิ่งแตกต่างมากขึ้น รวมทั้งความสนใจที่มีต่อกลุ่มผู้ชมของพิพิธภัณฑ์เป็นประเด็นการศึกษาเช่นกัน   การประชุมเพื่ออภิปรายในประเด็นดังกล่าวจัดขึ้นโดยสภาการมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถาน (the Council for Museum Anthropology - CMA) พร้อมการจัดนิทรรศการที่เนื้อหาบางส่วนมาจากวารสาร American Anthropologists การประชุมดังกล่าวนำเสนอข้อมูลใหม่ๆในการทำความเข้าใจกับมานุษยวิทยาที่ปฏิบัติในพิพิธภัณฑ์ และมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑสถาน อย่างไรก็ดี สมาคมการพิพิธภัณฑ์อเมริกาสนใจต่อประเด็นดังกล่าวตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970   มานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถานในสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีลักษณะการพัฒนาคู่ขนานกัน อย่างไรก็ดี งานพิพิธภัณฑ์ของทั้งสองทวีปขยายตัวสูงสุดในช่วงศตวรรษที่ 19 อันเป็นช่วงเวลาของกระแสลัทธิทุนนิยมและการล่าอาณานิคม ด้วยสภาวการ์ณเช่นนี้จึงนำไปสู่การวิพากษ์พิพิธภัณฑ์และมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถาน ภายใต้แนวคิด "การแก้ไขข้อผิดพลาดทางการเมือง" ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา อันถือว่าเป็นการตอบโต้แนวคิดชาติพันธุ์นิยมและลัทธิการล่าเมืองขึ้น   พิพิธภัณฑ์ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคมที่ได้รับการจัดตั้งในประเทศที่สถาปนาขึ้นใหม่ พิพิธภัณฑ์ในประเทศเหล่านั้นได้สร้างนิยามและความหมายของงานพิพิธภัณฑ์ในบริบทของตนเอง นอกจากนี้ยังเปิดมิติการทำงานพิพิธภัณฑ์ไปสู่เรื่องของสาธารณสุขเฉกเช่นเดียวกับศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี มรดกจึงกลายเป็นเครื่องหลอมรวมความรู้สึก อัตลักษณ์กลุ่ม และความเป็นชาติที่นอกเหนือไปจากความต้องการใหม่ๆ บ้างประดิษฐ์ธรรมเนียมประเพณี บ้างรวบรวมเรื่องเล่าและเสียงผู้คนไว้ในนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์   การวิพากษ์งานพิพิธภัณฑ์เป็นข้อที่สร้างความตระหนักประเด็นการเมืองร่วมสมัย ทั้งการแบ่งแยกดินแดนของชุมชนชาติพันธุ์ การสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มชนดั้งเดิมของอเมริกา เช่นข้อกฎหมาย NAGPRA - Native American Grave Protection and Repatriation Act ในปี 1990 George H.J. Abrams ได้ทำการศึกษากรณีการส่งวัตถุแทนเงินของอินเดียนในอเมริกาเหนือจากพิพิธภัณฑ์อินเดียนในกรุงนิวยอร์ก กลับคืนให้แก่กลุ่มสมาพันธ์หกชาติ (Six Nations Confederacy) ใน Brantford Ontario Canada หรือกรณีการส่งวัตถุคืนถิ่นข้ามประเทศในแอฟริกาโดย Ekpo Eyo ตามสนธิสัญญายูเนสโกฉบับเดิม (1970) ทั้งสองกรณีนำเราไปสู่ข้อสรุปที่ว่าการแก้ปัญหาไม่ควรจะคำนึงเฉพาะข้อกฎหมาย แต่ต้องพิจารณาเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม   การส่งวัตถุคืนถิ่นยังเป็นประเด็นการถกเถียงต่อไป W. Richard West, Jr. (1990) ในฐานะผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อเมริกันอินเดียน วอชิงตัน ดี.ซี. วางนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง William C. Sturtevant ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ธรรมชาติวิทยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสมิธโซเนียน นิยามปรากฏการณ์ดังกล่าว ว่าเป็นการหลุดพ้นจาก "หลักปรัชญาพิพิธภัณฑ์ การจัดการวัตถุ และการบริหารที่เคยยอมรับกัน" และนำไปสู่ข้อนิยามใหม่   ประวัติพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (ธรรมชาติวิทยา)   สมาคมและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแรกๆ ที่จัดตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 18 ประกอบด้วย Charleston Museum ใน South Calorina (1783) Peale’s Museum ใน Philadelphia (1785) และ East India Marine Society ซึ่งในปัจจุบันคือ Peabody Museum of Salem (1799) จากนั้น พิพิธภัณฑ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี งานพิพิธภัณฑ์ในยุโรปขยายตัวและพัฒนาก่อนหน้านั้นมาก ในประเทศอังกฤษ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งแรก หรือ Ashmolean Museum ตั้งขึ้นในปี 1683 ณ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอรด์ ห้องสมุดและวัตถุสะสมหลายประเภทที่เป็นของราชบัณฑิตนักฟิสิกส์และนักธรรมชาติวิทยา เซอร์ ฮานส์ ซโลแอน (Sir Hans Sloane) ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เป็นต้นกำเนิดของ บริติช มิวเซียม (1753) และก่อนหน้านั้น งานสะสมและ "ห้องแห่งความอยากรู้อยากเห็น" (cabinet of curiosities) ของนักวิชาการมือสมัครเล่นและพวกมนุษย์นิยมในศตวรรษที่ 15 อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นงานพิพิธภัณฑสถาน   พิพิธภัณฑ์เคยเป็นผลผลิตของการหาความรู้และข้อมูล เนื่องจากการสำรวจ การค้า การประดิษฐ์คิดค้น การพิมพ์ ของศตวรรษที่ 15 และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในยุโรป รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศอาณานิคมบางแห่งในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกา งานมานุษยวิทยาและโบราณคดีในงานพิพิธภัณฑ์ของทั้งสองทวีปสามารถอ่านได้จากรายงานและสิ่งพิมพ์ของสถาบันต่างๆ ในอเมริกา เช่น Bureau of Ethnology, the Smithsonian Institution, the American Museum of Natural History, the Peabody Museum of Salem, the Peabody Museum at Harvard University, the University of Pennsylvania Museum, the Academy of Natural Sciences of Philadelphia, the Brooklyn Museum และสถาบันอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากในทวีปอเมริกาและยุโรป   George W. Stocking, Jr. (1985) เสนอข้อมูลความเป็นมาของมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถาน และยังแสดงให้เห็นความสำคัญ รวมทั้งตั้งคำถามสำหรับอนาคต จากปี 1980 งานศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พิพิธภัณฑ์ งานสะสม นักสะสม งานจัดแสดงระดับนานาชาติ และเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุ โดยนักมานุษยวิทยา นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ มีจำนวนมากขึ้น และนำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และการจัดแสดงอย่างจริงจัง รวมทั้งยังสร้างความสนใจใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับวัตถุ ให้แก่นักมานุษยวิทยา (Appadurai 1986)   งานเขียนของ Susan Pearce (1989) แสดงให้เห็นถึงประวัติของมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถาน โบราณคดีพิพิธภัณฑสถาน (Museum Archaeology) ในประเทศอังกฤษ และขบวนการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกิดขึ้นบนทวีปทั้งสองแห่งของมหาสมุทรแอตแลนติค นอกจากนี้ งานศึกษาของ Ian Hodder, Christopher Tilley, Michael Shanks และนักโบราณคดีคนอื่นๆ เพิ่มความตระหนักว่า นักโบราณคดีและมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถานควรแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างมหาวิทยาลัย และ สาธารณชนทั่วไป เพื่อการสนับสนุนทางวิชาการในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อนึ่ง ในการจัดประชุมประจำปีครั้งที่ 59 ของสมาคมโบราณคดีอเมริกา The Plenary Session of the American Society for Conservation Archaeology (1994) เน้นถึงการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อเป็นเส้นทางที่มองไปสู่อนาคตร่วมกัน   ประเด็นวิจารณ์ใหม่ๆ เกี่ยวกับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถาน กลายเป็นแนวทางการศึกษาของมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถาน และปรากฎงานวิเคราะห์อย่างเป็นรูปธรรมในปี 1991 ในหนังสือ "จัดแสดงวัฒนธรรม" (Exhibiting Cultures) บรรณาธิการโดย Ivan Karp และ S. D. Lavine ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่วัตถุเป็นแก่นแกนของงานศึกษาของนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกมาช้านาน ตอนนี้ทั้งนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการด้านวรรณคดีเปรียบเทียบ นักรัฐศาสตร์ และผู้สนใจจากสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจกับการศึกษาวัตถุเช่นกัน Eilean Hooper-Greenhill ศึกษาธรรมชาติของนิทรรศการและการสื่อสารร่วมกับผู้เขียนบทความ 25 คนในหนังสือ พิพิธภัณฑสถาน สื่อ สาร (Museum, Media, Message - 1994)   Anna Laura Jones ได้แสดงข้อคิดเห็นของเธอในงานเขียน "กัมปนาทปืนใหญ่: มานุษยวิทยาของพิพิธภัณฑสถาน" (Exploding Canons: The Anthropology of Museums) ในวารสาร Annual Review of Anthropology (1993) เป็นการวิเคราะห์ข้อวิพากษ์วิจารณ์และการถกเถียงเกี่ยวกับมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดแสดงวัตถุ Jones ได้ศึกษามานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถานอย่างเป็นศาสตร์เฉพาะ และอภิปรายการจัดแสดงศิลปะและวัตถุวัฒนธรรมของสังคมที่มิใช่ตะวันตกในพิพิธภัณฑสถาน ประเด็นการวิจารณ์ยังเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความชอบธรรมของมานุษยวิทยาและผู้ปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์ ในฐานะผู้ตีความวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑสถานและในสายงานวิชาการ   Jones ได้กะเทาะปัญหาการยึดติดกับการตีความจากรูปทรงภายนอก (formalism’s persistence in interpretation) และชี้ให้เห็นปัญหาของการปฏิบัติต่อวัตถุที่ซับซ้อนอย่างง่ายๆ ในนิทรรศการ โดยเลือกงานของ Susan Vogel, Center for African Art (ปัจจุบันคือ the Museum for African Art) เป็นตัวอย่าง เธอกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการวิเคราะห์ของสิ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ทั้งนั้น วัตถุประสงค์ของเธอคือ การสร้างความตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่ควรเกิดขึ้นกับมานุษยวิทยาที่ปฏิบัติในพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์หลายแห่งในแคนนาดา และหลายประเทศในยุโรป ได้ตระหนักถึงผลพวงที่เกิดขึ้นในมุมมองเกี่ยวกับประเทศอาณานิคม สำนึกชาติพันธุ์ และ ชนชั้น   Michael Amies ในบทความ "ทวิวัฒนธรรมนิยมในนิทรรศการ" (Biculturalism in Exhibitions in Museum Anthropology - May 1991) ได้ทดลองวิเคราะห์นิทรรศการในประเทศแคนนาดาโดยใช้มุมมองมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถาน เขาพยายามนำเสนอความคิดต่างๆ ที่ว่าด้วยเรื่องของความหลากหลายในโลกปัจจุบัน และย้ำถึงความร่วมมือเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งอันเกิดจากสิ่งที่นำเสนอ (representing) และสิ่งที่ถูกนำเสนอ (represented) Aimes ขยายความคิดของสิ่งที่เขาเรียกว่า "การขโมยเสียง" (theft of voice) ของนักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์ศิลปะ Aimes ยังชี้ให้เห็นประเด็นการเมืองในการเรียกร้องดินแดนกับรัฐบาลแคนานาดา และเชื่อมโยงกับเวลาที่ใช้ในการจัดนิทรรศการ ซึ่งตรงกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว ที่ Glenbow Museum ใน Calgary   เฉกเช่นเดียวกับนิทรรศการเรื่อง "สู่ใจกลางแอฟริกา" ของ the Royal Ontario Museum ที่หยิบยกประเด็นประวัติศาสตร์การล่าเมืองขึ้นของแคนนาดา นิทรรศการนำไปสู่ข้อถกเถียงมากมาย ในกลุ่มบางกลุ่มของชุมชนแอโฟร-แคนานดา และนักวิชาการบางคน คำอธิบายของภัณฑารักษ์ว่า ใคร อะไร อย่างไร เกี่ยวกับนิทรรศการ กลายเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลสำหรับการศึกษามานุษยวิทยาพิพิธภัณฑสถานร่วมสมัย   การวิเคราะห์พิพิธภัณฑ์ในเชิงวิชาการและทั่วไป เป็นทั้งบทสะท้อนและความตระหนักต่อผลกระทบของประวัติศาสตร์ความคิด ต่อการศึกษาข้ามสาขาวิทยาการ และต่อการรับรู้สาธารณะ นอกจากนี้ ยังเป็นเสียงที่เรียกร้องให้พึงระวังการนำเสนอวัฒนธรรมที่บอกเล่าโดย "ผู้อื่น"   ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้อีกประการคือ ผู้หญิงจำนวนมากที่ทำงานในพิพิธภัณฑ์ และบุกเบิกการศึกษาวัฒนธรรมวัตถุ และวิธีวิทยาต่างๆ การศึกษาในประเด็นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์มานุษยวิทยา อย่างในกรณี Margot Blum Schevill ที่ทำการศึกษาชีวิตและผลงานของ Lila M. O’Neale ในบทความที่ลงใน Museum Anthropology (มิถุนายน 1993) หรือบทความต่างๆ ของ Kroeber Anthropological Society, University of California at Berkeley (1986) และในบางบทตอนของหนังสือ The Early Years of Native American Art History: the Politics of Scholarship and Collecting, บรรณาธิการโดย J.C. Berlo (1992)   นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างงานวิชาการที่ว่าด้วยชีวประวัติของ Isabell Kelly เขียนโดย Grace W. Buzalijko ใน Museum Anthropology (มิถุนายน 1993) งานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมวัตถุในพิพิธภัณฑสถาน และกลายเป็นสนามการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่ขยายตัวมากขึ้นในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 การวิเคราะห์ยังสร้างความตระหนักในบทบาทของเพศสภาวะในสายงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานในช่วงเริ่มแรกเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เรื่องที่น่ายินดีคือ เรื่องราวของผู้หญิงที่ได้รับการมองข้ามในงานพิพิธภัณฑ์กลับได้รับการศึกษา (Babcock and Parezo 1988) และบอกเล่าชีวประวัติ (Glaser and Zenetou 1994)   ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์การเมืองเป็นเชื้อไฟให้เกิดการทบทวนบทบาทของนักมานุษยวิทยา และการนำเสนอภาพแทนของ "ผู้อื่น" ที่หลากหลายในพิพิธภัณฑ์ (ทั้งประเด็นเชื้อชาติ ชนชั้น สำนึกชาติพันธุ์ กลุ่ม และเพศสภาวะ) แนวการศึกษาที่กล่าวมานี้ ยังผลให้มานุษยวิทยาของพิพิธภัณฑสถาน และทฤษฎีเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมที่เติบโตในสังคมตะวันตกมีความตื่นตัวมากขึ้น พิพิธภัณฑ์ศึกษาและพิพิธภัณฑ์วิทยากลายมาเป็นสาขาวิชาใหม่ หรือเป็นสาขาวิชาย่อยของสังคมศาสตร์ และ/หรือ มนุษยศาสตร์ เฉกเช่น มานุษยวิทยา (พิพิธภัณฑสถาน) สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะ และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสาขาวิชา อย่างที่ปรากฎในมหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์ (Kaplan 1992)   แปลและเรียบเรียงจาก Kaplan, Flora Edouwaye S. "Museum Anthropology", in David Levinson and Melvin Ember. Encyclopedia of Cultural Anthropology.Vol.3 (New York: Henry Helt and Company, 1996), pp. 813 - 816.

พบกันครึ่งทาง: ระหว่างวัฒนธรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว

21 มีนาคม 2556

โครงการการจัดการทางวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของสะพานแห่งการ์ด (le Pont du Gard) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการป้องกันตัวถาวรสถาน และสภาพแวดล้อม รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มคุณค่าของแหล่งโบราณสถานโดยรวม พื้นที่พิพิธภัณฑ์ที่เป็นสื่อกลางบอกเล่าประวัติศาสตร์ของสะพานและพื้นที่ใกล้เคียงสำหรับการเรียนรู้ของเด็กเยาวชน เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นของพื้นที่งานวัฒนธรรมใหม่แห่งนี้ อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานก็มิอาจจะขวางกั้นประโยชน์จากโครงการ และเส้นทางสู่อนาคตข้อมูลต่อไปนี้มาจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและบริหารของโบราณสถานสะพานแห่งการ์ด อธิบายถึงประวัติศาสตร์ของสะพานแห่งการ์ดโดยสังเขป   สะพานแห่งการ์ดเป็นส่วนหลักของระบบชลประทานโบราณของนครนีมส์ (Nîmes) ที่ออกแบบและสร้างโดยชาวโรมันประมาณปีที่ 50 ของยุคเรา เพื่อเป็นการนำน้ำมาสู่เมืองนีมส์ การชลประทานสามารถนำน้ำในปริมาณเฉลี่ย 20,000 ลูกบาศก์เมตร ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกได้ว่าเป็นน้ำที่บริสุทธิ์และสะอาดสำหรับหล่อเลี้ยง น้ำพุในเมือง ห้องอาบน้ำสาธารณะ และสวนต่างๆ ของนีมส์ หรือมหานครแห่งความอุดมสมบูรณ์ของชาวกาลโล-โรมัน ระบบดังกล่าวใช้งานถึง 450 ปี จนในที่สุดน้ำไม่สามารถใช้งานได้ดังเดิม เนื่องจากการขาดการดูแลรักษาจนปล่อยให้หินปูนเกาะติดทางลำเลียงน้ำ ด้วยเหตุนี้ น้ำจึงไม่สะอาดเพียงพอสำหรับการบริโภคอุปโภค   พยานเทคนิคการจัดการน้ำของวิศวกรชาวโรมันเป็นผลงานที่สร้างความประทับใจให้กับนักเดินทางมาแล้วหลายชั่วศตวรรษ เป็นเส้นทางที่ศิลปินพื้นบ้านแกะสลักหินต้องเดินทางผ่านในเส้นทางการเดินทางทั่วฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี ถาวรสถานถูกทิ้งร้างและมีอินทรีย์พืชที่เจริญเติบโต จนทำให้สภาพทั่วไปเสื่อมโทรม จนในปี 1840 สะพานแห่งการ์ดอยู่ในรายนามของแหล่งโบราณคดีในทำเนียบของ Prosper M?rim?e จากนั้นงานอนุรักษ์ซ่อมแซมจึงได้เริ่มดำเนินการ ในปี 1973 สะพานแห่งการ์ดขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมของกระทรวงสิ่งแวดล้อม และตั้งแต่ปี 1985 ถาวรสถานขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประกาศโดยองค์การยูเนสโก   แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า สาเหตุที่โบราณสถานเป็นที่รู้จักมิได้มาจากความเสื่อมโทรมของโบราณสถานที่ผ่านมาในอดีต   พื้นที่ธรรมชาติที่งดงาม ซึ่งตรึงนักท่องเที่ยวและผู้คนที่พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง นำเอาผู้คนจำนวนมากเข้ามาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ในหลายปีที่ผ่านมา (ผู้ชมจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านคนต่อปี) ด้วยเหตุที่ว่าส่วนประกอบต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องและเหมาะสมกับแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นป้ายบอกเส้นทาง การก่อสร้างเพิ่มเติมที่ไม่เหมาะสม จำนวนพืชพรรณที่ไม่พอเพียง บางครั้งพืชตกอยู่ในอันตรายด้วยขาดการอนุรักษ์ เหล่านี้กลายเป็นภาพลักษณ์ของสะพาน ความทรุดโทรมของภูมิทัศน์เพิ่มมากขึ้น เส้นทางที่ "รกชัฏ" และพื้นที่หินปูนที่มากขึ้น ตลิ่งแม่น้ำที่มีการใช้งานโดยปราศจากการเอาใส่ใจต่อสิ่งมีชีวิตทั่งพืชและสัตว์ที่อาศัยในบริเวณนั้นๆ   แม้ว่าจะมีการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน แต่กลับไม่ได้ช่วยให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าเยี่ยมชมประมาณหกพันถึงหมื่นคนต่อวันในช่วงที่ฤดูร้อน เข้ามาในพื้นที่โดยเฉลี่ยไม่มากกว่าหนึ่งชั่วโมง ดังนั้น ความประทับใจเพียงการค้นพบอย่างฉาบฉวย จึงทำให้โบราณสถานเป็นที่ "ไร้เสียง" ที่ผู้ชมไม่ได้สังเกตเลยว่ามันตั้งอยู่ที่ใด   ความเป็นมาในการตระหนักถึงความจำเป็นในการสงวนรักษาและเพิ่มคุณค่าให้กับโบราณสถานเป็นอย่างไร   ตั้งแต่ปี 1985 องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นการ์ดประกาศโครงการการจัดการทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของโบราณสถานแห่งการ์ด เพื่อการสงวนรักษาและเพิ่มคุณค่า และในปี 1995 คณะกรรมการการบริหารงานส่วนจังหวัดนีมส์มอบหมายให้หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งนีมส์จัดการแหล่งประวัติศาสตร์และนิเวศน์ของสะพานแห่งการ์ด ในปี 1997 สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนโครงการ และให้ปรับชื่อเป็นโครงการสำคัญของ ยุโรปอันเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว (le Label Grand Projet Europ?en environmental, culturel et touristique)   ในเดือนพฤษภาคม 2000 สัญญาความร่วมมือพัฒนาแหล่งโบราณสถานสำคัญแห่งนี้ เป็นการลงนามร่วมระหว่างกระทรวงการจัดการท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม ภูมิภาคลองดอก-รูซิออง (Lanquedoc-Roussillon) องค์การบริหารท้องถิ่นการ์ด หน่วยงานรับผิดชอบสะพานแห่งการ์ด และหอการค้าและอุตสาหกรรมของนีมส์   ขั้นตอนหลักในการดำเนินงานเป็นอย่างไร   การดำเนินงานทั้งการป้องกันและการจัดการมีพื้นที่ทั้งหมด 165 เฮคเตอร์ นั่นหมายถึงแหล่งธรรมชาติของถาวรสถานมีพื้นที่อยู่ใน 3 ท้องที่ [คาสตีออง-ดู-การ์ด (Castillon-du-Gard) แวร์ส-ปง-ดู-การ์ด (Vers-Pont-du-Gard) เรอมูแลงส์ (Remulins)] และมีแม่น้ำการ์ดอง (Gardon) ไหล่ผ่าน   การจัดการดำเนินงานภายใต้แนวคิดของการพบกันครึ่งทางระหว่างการใช้พื้นที่และการปฏิบัติตัวของผู้เยี่ยมชมที่แตกต่างหลากหลายต่อแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญ หรือเรียกว่าเป็นการประสานทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม และการพักผ่อนหย่อนใจ การจัดการแนวใหม่เป็นความสอดประสานระหว่างการต้อนรับกลุ่มผู้ชมจำนวนมากและความมหัศจรรย์ของสถานที่ ความมหัศจรรย์ที่มาพร้อมกับหินผาน้ำของการ์ดอง และพรรณพืชในแถบเมดิเตอร์เรเนียน   วัตถุประสงค์พื้นฐานของการดำเนินงานคือ การป้องกันโบราณสถานและสภาพแวดล้อม ขณะเดียวกัน ยังคงให้แหล่งทำหน้าที่ต้อนรับกลุ่มคนที่เข้ามาเยี่ยมชม รวมทั้งให้ความเคารพต่อการใช้พื้นที่ของคนในท้องถิ่น และที่แน่นอนคือ กลุ่มผู้ชมจะต้องได้ "กุญแจ" ในการไขประตูไปสู่ความเข้าใจประวัติศาสตร์ของแหล่งเช่นกัน   การปรับปรุงสะพานแห่งการ์ดเพื่อกลุ่มผู้ชมดำเนินการทุกอย่างในแนวทางที่จะทำให้ภูมิทัศน์ "บริสุทธิ์" จากสิ่งที่บดบังทัศนะวิสัยของโบราณสถานและบริบทแวดล้อม ตั้งแต่ก้าวแรก ผู้เยี่ยมชมจะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าไปในประวัติศาสตร์ของสะพาน พื้นที่โดยรอบ และท่อลำเลียงน้ำ จากจุดที่ตรึงผู้ชมไว้ชั่วขณะหนึ่ง ณ เบื้องล่างของถาวรสถาน ผู้ชมจะเพิ่มพูนความรู้ และปรารถนาที่จะเยี่ยมชมนานมากขึ้นด้วยการค้นพบสิ่งต่างๆ ที่หลากหลายออกไป   การเข้าเยี่ยมชมสะพานและธารน้ำยังคงเปิดกว้างสำหรับทุกคนอย่างที่เป็นมาในอดีต แต่จากนี้ไปชีวิตที่ถือกำเนิดขึ้นใหม่จะไม่ทำร้ายและทำลายพื้นที่ มันจะกลายเป็นสถานที่ของนักเดินสำรวจทุกคน ในทางกลับกันรอยทางของยวดยานพาหนะทุกประเภทจะต้องถูกลบออกไป ผู้ชมจะต้องจอดรถไว้ในที่ให้บริการด้านใดด้านหนึ่งของลำน้ำ จากนั้น เส้นทางที่ชัดเจนจะนำผู้คนเข้าสู่สะพาน โดยคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกต่อผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็กในรถเข็น   การจัดการแหล่งโบราณสถานและพื้นที่โดยรอบดำเนินการใน 3 จุดใหญ่ คือ พื้นที่ชีวิตชายตลิ่งของสะพานแห่งการ์ด เป็นพื้นที่ใกล้น้ำมีขนาด 43 เฮคเตอร์ ซึ่งรวมสิ่งก่อสร้างต่างๆ พื้นที่ธรรมชาติของการสำรวจร่องรอยท่อส่งน้ำ เป็นพื้นที่มีอาณาบริเวณ 72 เฮคเตอร์ และเป็นเส้นทางเดินเล็กๆ เพื่อการสำรวจ พื้นที่ธรรมชาติสงวน เป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ที่แทบจะไม่สามารถย่างกรายเข้าไปได้ และเป็นผืนดินแบบเมดิเตอร์เรเนียน ขนาด 50 เฮคเตอร์ เปรียบเสมือนกับสิ่งห่อหุ้มโบราณสถาน     โบราณสถานสะพานแห่งการ์ด พื้นที่สำหรับคนเดินสำรวจ จะเป็นสถานที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและเพื่อการสำรวจ ผู้ชมจะสามารถเข้าเยี่ยมสถานที่ได้ตามความต้องการ ตามเวลาที่เปิดทำการในแต่ละช่วงของปี เรียกได้ว่า เป็นการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เยี่ยมชมในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความรุ่มรวยของมรดกวัฒนธรรมด้วยความเพลิดเพลิน   แง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของแหล่งโบราณสถานสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ พื้นที่ที่ได้รับการจัดการใหม่นี้อย่างไร   เพื่อสร้างความพอใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และสร้างสรรค์สื่อกลางทางวัฒนธรรมโดยดำเนินการอย่างเป็นวิชาการและเป็นระบบ ทีมงานที่ประกอบด้วยนักวิชาการที่หลากหลาย (นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ สถาปนิก นักประวัติศาสตร์ภูมิทัศน์ นักชาติพันธุ์วิทยา นักพืชวิทยา นักชลวิทยา) ภายใต้การควบคุมของ ฌอง-ลุค ฟิชส์ (Jean-Luc Fiches) นักโบราณคดีและผู้อำนวยการส่วนวิจัย ศูนย์วิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดโครงการงานวัฒนธรรมที่มีชื่อว่า มนุษย์ หินผา และน้ำ ในพื้นที่เมดิเตอร์เรเนียน   โครงการดังกล่าวเกี่ยวข้องประเด็นที่ครอบคุลมและเกี่ยวเนื่องกับแหล่งโบราณสถาน สาระหลักไม่ได้สัมพันธ์เฉพาะสะพานแห่งการ์ด แต่เป็นการชลประทานโบราณของเมืองนีมส์ในบริบทสิ่งแวดล้อม และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับสะพาน สามารถแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ดังนี้ ศิลปะของการดำเนินชีวิตชาวโรมัน การควบคุมน้ำ ประวัติของท่อส่งน้ำโบราณแห่งนีมส์ ภูมิทัศน์ของเมดิเตอร์เรเนียน     การทำงานเป็นทีมของผู้ชำนาญการข้างต้นก่อให้เกิดการผสมผสาน จนกลายเป็นงานวัฒนธรรมที่หลากหลายและพร้อมที่นำเสนอให้กับแหล่งถาวรสถานสะพานแห่งการ์ด ผู้ชมสามารถสร้างความรู้จากพื้นที่ทางวัฒนธรรม 8 แห่งในระหว่างการเยี่ยมชม นิทรรศการมัลติมีเดียเรื่อง ประวัติศาสตร์ของสะพานแห่งการ์ดและท่อส่งน้ำโรมันแห่งนีมส์ ที่จะนำผู้ชมย้อมเวลากลับไปในโลกของโรมัน หรือเมื่อ 20 ศตวรรษที่แล้ว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอารยธรรมแห่งน้ำ ตลอดเส้นทางการเดินชมการเดินชมในพื้นที่ 2,500 ตารางเมตร และสื่อการจัดแสดงต่างๆ ที่หลากหลาย (แบบจำลองย่อส่วน วัตถุจัดแสดง ภาพปรากฏบนจอภาพหลายผืน วีดิทัศน์ บรรยากาศเสียง…) ผู้ชมจะได้เอิบอิ่มไปกับสายสัมพันธ์ระหว่างน้ำและชีวิตของชาวโรมัน ความน่าอัศจรรย์ใจในการสร้างท่อส่งน้ำแห่งนีมส์ (วัสดุและเทคนิค การช่าง และองค์ความรู้) หรือในอีกแง่หนึ่ง เป็นภาพสะท้อนของศิลปะและเทคนิคของสะพานที่ได้รับความสนใจจากผู้รู้ วิศวกร และสถาปนิก ตั้งแต่สมัยเรอเนสซอง ภาพยนตร์ที่มีความยาว 23 นาที (จัดฉายในห้องภาพยนตร์และระบบเครื่องเสียงเต็มรูปแบบ) เรื่อง ธารแห่งการ์ดอง (le Vaisseau du Gardon) เป็นเรื่องเล่า (การพบกันระหว่างหนุ่มโรมันและสาวนีมส์ในสมัยปัจจุบัน) ที่ย้อนเวลากลับไปตามสายธารแห่งประวัติศาสตร์ของสะพานแห่งการ์ดและผู้ที่สร้างสรรค์ผลงาน พื้นที่ ลูโด (Ludo) ขนาด 600 ตารางเมตร สำหรับกลุ่มผู้ชมรุ่นเยาว์ (5 -12 ปี) เป็นการนำเสนอเส้นทางสำรวจที่ประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ ท่องเที่ยวไปในอดีต การจัดการน้ำ ค้นหาร่องรอยของอดีต และสังเกตการณ์ธรรมชาติ ด้วยการนำเสนอแบบ "ของเล่น" (เกม การสืบสวน) และการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งจัดแสดง (การจับสัมผัส การมีประสบการณ์โดยตรง) เด็กจะกลายเป็นตัวหลักของการสำรวจ ศูนย์ข้อมูล Biblio ที่เปิดบริการสำหรับทุกคน และเป็นการตรึงผู้คนให้เยี่ยมชมแหล่งโบราณสถานนานมากขึ้น เก็บรักษาและให้บริการหนังสือกว่า 600 เรื่อง และวารสารกว่า 100 ชื่อเรื่อง รวมถึงการให้บริการอินเตอร์เนตที่ได้คัดสรรเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ (พื้นที่ในเมดิเตอร์เรเนียน หินผา สะพาน ประวัติศาสตร์…)   นอกจากนี้ ยังมีการแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่ งานแสดงที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าการทำมาหากินในอดีต และเส้นทางสำรวจเพื่อความเข้าในในภูมิทัศน์เมดิเตอร์เรเนียน ความทรงจำของพื้นที่แบบเมดิเตอร์เรเนียน และในช่วงทุกเย็นค่ำของฤดูร้อน ผู้ชมสามารถชมสะพานที่ประดับแสงไฟอย่างสวยงามโดยศิลปินเจมส์ ตรูเรล (James Turrell)   หนึ่งในวัตถุประสงค์การปรับปรุงแหล่งโบราณสถานสะพานแห่งการ์ด เพื่อเป็นการต้อนรับกลุ่มเด็กเยาวชนที่มากับครอบครัว แต่ขณะเดียวกันให้ความสำคัญกับการเป็นแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาด้วย ในจุดนี้มีการเตรียมการเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายบริการการศึกษาอย่างไร   เรียนรู้ เข้าใจ สนุกสนาน ผ่อนคลาย เหล่านี้เป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับการทำงานของงานบริการการศึกษา (เริ่มต้นในปี 1998) สำหรับเด็กและเยาวชนของสถานศึกษาหรือในหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้อง ในการทำงานดังกล่าวนี้ หน่วยดำเนินการอย่างครบวงจร ทั้งการศึกษาความต้องการของกลุ่มนักเรียนและเยาวชน การคำนวณอัตราการบริการเฉพาะ การประชาสัมพันธ์ต่อหน่วยงานการศึกษาใกล้เคียง ศูนย์กิจกรรม และองค์กรที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว   การนำเสนอจะเน้นที่ความหลากหลายในบริการต่างๆ ของแหล่ง รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนของการศึกษาในระบบ อันประกอบด้วยประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม โบราณคดี และอารยธรรมโรมัน ลักษณะเฉพาะของสถานที่สอดคล้องกับกิจกรรมทั้งในร่ม (พื้นที่งานวัฒนธรรม) และกิจกรรมกลางแจ้ง (พื้นที่ของการสำรวจ ขนาด 72 เฮคเตอร์) จากการจัดกิจกรรมการเยี่ยมชมแบบง่ายๆ ที่ใช้เวลาเพียงครึ่งวันหรือหนึ่งวันสู่การสร้างสรรค์กิจกรรมร่วม ผู้สอนที่มากับกลุ่มนักเรียนจะพบกิจกรรมที่มีตัวเลือกหลากหลาย (การเยี่ยมชม-การเดินสำรวจ ซึ่งอาจจะมีการทำกิจกรรมในพื้นที่การเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ก็ได้…) เพื่อทำให้การเยี่ยมชมมีความสมบูรณ์มากขึ้น   ฝ่ายบริการการศึกษาเตรียมการเยี่ยมชมเฉพาะสำหรับผู้สอนที่ต้องการจัดเตรียมเอกสารสำหรับนักเรียนในการเข้าชมสถานที่ กิจกรรม M?mento ที่จัดขึ้นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ คือ วัฒนธรรมและมรดก กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เอกสารที่ให้กับผู้สอนที่เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยประเด็นดังนี้ o    เด็กน้อยชาวโรมัน o    เทคนิคการก่อสร้างในสมัยโรมัน o    การช่างและอาชีพต่างๆ o    ชีวิตของชาวโรมัน   เอกสารเหล่านี้จะทำให้ผู้สอนสามารถเตรียมการเข้าชมพร้อมไปกับนักเรียน ทั้งในลักษณะของการแนะนำเบื้องต้น และจะกลายเป็นการยืดเวลาให้กลุ่มผู้ชมใช้เวลาในพื้นที่มากขึ้นเช่นกัน   หลังจากที่ได้ชมโบราณสถานและแหล่งเรียนรู้ เด็กๆ จะได้รับบันทึกช่วยจำเล่มน้อยที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละวัย (ระดับเริ่มต้นสำหรับเด็กอายุ 5 - 7 ปี ระดับการสำรวจสำหรับเด็กอายุ 8 - 11 ปี ระดับเรียนรู้ลึกซึ้ง สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป) และมีเนื้อหาเฉพาะในแต่ละแบบหัวข้อการเยี่ยมชม เอกสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น การตระหนัก ด้วยกลวิธีเชิงละเล่น และแน่นอนว่า จะเป็นเครื่องมือช่วยในการเยี่ยมชม เอกสารประกอบการทำงานและการศึกษาเพิ่มเติม   เรื่องของความคุ้มทุนในการปรับปรุงแหล่งการเรียนรู้เชิงท่องเที่ยว และการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่ผู้ดำเนินการโครงการได้ตระหนักหรือไม่   นอกจากมิติงานมรดกและวัฒนธรรมของโครงการ สภาการปกครองท้องถิ่นได้นำมิติเศรษฐกิจรวมเข้าไปในโครงการด้วย ความปรารถนาหนึ่งของโครงการที่ไม่ใช่เพียงเพื่อการพัฒนาในมิติงานวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคือ การพัฒนาให้สะพานแห่งการ์ดเป็นเสมือนบัตรเชิญให้ผู้คนเข้ามาสำรวจภูมิภาคและสิ่งนำเสนออื่นๆ เป็นเฉกเช่นคันฉ่องสะท้อน "ความรุ่มรวยของการ์ด" เพื่อให้เขาและเธอเหล่านั้นปรารถนาในการสำรวจแหล่งอื่นๆ ในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง   เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พร้อมไปกับการให้ความเคารพต่อประวัติศาสตร์และสถานที่ การดำเนินงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมของนีมส์อยู่บนพื้นฐานของการคำนึงต่อผลพวงและผลกระทบทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น การจัดการในครั้งนี้จึงเป็นโครงการที่อยู่ในกรอบของเศรษฐศาสตร์งานมรดก อันนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่สอดประสานกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องภายในท้องถิ่น ทั้งเอกชนที่จัดการการท่องเที่ยวและการพักผ่อน และชุมชนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของพื้นที่   แปลและเรียบเรียงจาก Serge Lochot. "Le grand site du Pont du Gard",la Lettre de de l’OCIM, no.81, 2002, pp. 13 - 17.  * ชีวสิทธิ บุณยเกียรติ นักวิชาการประจำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

การตอบโต้ของโลกตะวันออก การท่องเที่ยว เสน่ห์ตะวันออก และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์

20 มีนาคม 2556

นักวิจัยจำนวaนมากให้ความสนใจกับผลกระทบทางสังคมของการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ประกอบด้วยแนวทางการสิวิจัยกระแสหลักๆ มีอย่างน้อย3 แนว ได้แก่ แนวแรกซึ่งพบมากจะกล่าวถึงประเด็นที่สัมพันธ์กับปัญหาต่างๆ เช่น ปริมาณความหนาแน่นของแหล่งมรดก การลดคุณค่าของงานหัตถกรรมท้องถิ่น การขายวัฒนธรรมพื้นถิ่น การสร้างให้คติชนของชนพื้นถิ่นเป็นเรื่องน่าพิศมัย ไปจนถึงภาวะเงินเฟ้อและปัญหาการลักลอบขนถ่ายวัตถุวัฒนธรรม (Cohen 1988; Philo and Kearns 1993; Van der Borg, Costa and Gotti 1996; Watson and Kropachevsky 1994) หรือนักวิชาการบางคนถึงขนาดมองการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่าอาณานิคมและ “การขายตัว” (Mathews 1975: 201)   แต่ใช่ว่าผลกระทบทางสังคมของการท่องเที่ยวจะเป็นไปในเชิงลบเสียทั้งหมด การศึกษาจำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นว่าผลกระทบเชิงวัฒนธรรมที่เกิดจากการท่อง เที่ยวกลับได้รับความชื่นชมและการต้อนรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจุดหมายปลาย ทาง(Boissevain 1996; Erb 2000; Martinez 1996; Picard 1995) และนักวิจัยอีกหลายคนพยายามสร้างสรรค์แนวทางการจัดการที่สมดุลย์ในการพัฒนาการท่องเที่ยว (Chang 1997; Jenkins 1997; Newby 1994; Teo and Yeoh 1997)   งานวิจัยกระแสที่สองมองไปที่มิติทางการเมืองในการนิยามและจัดการสิ่งที่เรียก ว่าเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่สมดุลย์และให้ความเป็นธรรม ในขณะที่นักวิจัยและผู้ปฏิบัติบางคนกลับไม่เห็นด้วยกับความต้องการที่จะ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสมดุลย์ เพราะคำถามอยู่ที่ว่าแล้วจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร ตัวอย่างเช่นการใช้แนวคิด “ทางเลือกที่สาม” ของกิดเดน ในงานเขียนของเบิร์น (2004) ได้กล่าวถึงมุมมองแบบแยกขั้วของการท่องเที่ยว ในมุมมองหนึ่ง หากมองแบบ “ซ้ายจัด” การพัฒนาต้องมาก่อน (leftist development first) นั่น หมายความว่า “การพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยจะต้องมาจากคนในท้องถิ่นและความรู้จากถิ่นที่นั้น” คำถามหลักของการพัฒนาต้องมองว่า “สิ่งใดบ้างที่การท่องเที่ยวให้กับเราได้โดยไม่ทำร้ายเรา” (Burn 2004: 6) ส่วนมุมมองที่สองมองจาก “ขวาจัด” ที่การท่องเที่ยวต้องมาก่อน (rightist tourism first) มุม มองที่เน้นว่าการตลาดต้องได้ผลประโยชน์อย่างสูงสุด และทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุด ผลิตภัณฑ์จากทุกแหล่งทุกลักษณะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดโดยนักวางแผนภายนอกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (Burns 2004: 26)   ทางเลือกที่สามได้หาทางออกให้กับผลประโยชน์และเป้าหมายที่ต่างกันให้เป็น ฉันทามติร่วมกัน ทางเลือกที่สามของเบิร์นส์ยังคงเป็นแนวคิดที่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ สังคมที่เป็นเจ้าบ้านที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว(host society) แต่ละแห่งได้พบทางออกของตนเองในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างเดนมาร์กกับสิงคโปร์ กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของเดนมาร์กเน้นไปที่การป้องกันผลกระทบทาง สังคมอันเกิดจากการท่องเที่ยว ในขณะที่ สิงคโปร์กลับซึมซับผลกระทบและจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยโครงการวิศวกรรมทาง สังคม2  (Ooi 2002a) ทั้งทางการสิงคโปร์และเดนมาร์กกล่าวอ้างถึงโครงการต่างๆ ของตนว่าได้สร้างความสมดุลย์ ระหว่างการท่องเที่ยวและความต้องการของท้องถิ่น (Ooi 2002a) วิถี ทางที่สมดุลย์ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและการเมืองของสังคมที่เป็นเจ้าบ้าน กระบวนการทางการเมืองเข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดผลประโยชน์ว่าจะตกแก่กลุ่ม ใด   กระแสการวิจัยที่สามที่ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวมองไปที่ว่า “ตะวันตก” จินตนาการอย่างไรถึงภาพของแหล่งการท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ตะวันตกและที่มีว่า สภาพพัฒนาน้อยกว่า จินตนาการของสังคมตะวันตกส่งผลต่อสังคมเจ้าบ้านและกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง การล่าอาณานิคม นอกไปจากงานเขียนจำนวนน้อยนิด เช่นงานของมอร์แกนและพริตชาร์ด (1998) อุย, คริสเตนเซน และพีเดอเซน (2004) เซวีน (1993) และซิลเวอร์ (1993) แนวทางการวิจัยแนวนี้ยังคงได้รับความสนใจอย่างจำกัด บทความนี้จัดวางตัวเองอยู่ในกระแสการวิจัยสายนี้ด้วยเช่นกัน   การศึกษาในกระแสดังกล่าวสนใจศึกษาผลกระทบที่ซับซ้อนของภาพลักษณ์แหล่งท่อง เที่ยวของสังคมเจ้าบ้าน ไม่ใช่เพียงภาพตื้นๆ และภาพที่มองอย่างล้อเล่น แต่เป็นภาพส่งอิทธิพลต่อสังคมเจ้าบ้าน และได้รับผลจากสิ่งที่เรียกว่าอิทธิพลตะวันตกต่อชุมชนเจ้าบ้านที่พัฒนาน้อย กว่า การศึกษาดังกล่าวนี้มาจากมุมมองเชิงวิพากษ์ของเอดเวิร์ด ดับเบิลยู. ซาอิด ที่กล่าวถึงแนวคิดนิยมตะวันออก (Orientalism) (Said 1979)   บทความชิ้นนี้จะเปรียบเทียบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์3 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ (SHM) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ (SAM) และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย (ACM) ทั้ง สามแห่งนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นเอเชียและแตกต่างกันไปในแต่ละทิศทาง ผู้เขียนขอกล่าวว่ากระบวนการนี้เป็นการสร้างภาพของความเป็นตะวันออกด้วยตนเอง (self-Orientalization) ใน สิงคโปร์ บทความจะแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเรียกร้องอย่างไรต่อแหล่ง ท่องเที่ยวอย่างสิงคโปร์ให้เป็นมากกว่าเอเชีย จุดเน้นของบทความจะอยู่ที่การพิจารณาว่าหน่วยงานการท่องเที่ยวสิงคโปร์และ รัฐบาลสร้างภาพความเป็นตะวันออกของสิงคโปร์ผ่านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้ง สามแห่งอย่างไร เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวและการสร้างชาติสิงคโปร์ บทความจะย้อนกลับไปตั้งคำถามตามมุมมองของซาอิดเกี่ยวกับอิทธิพลตะวันตกต่อ ตะวันออกในประเด็นที่ว่า สังคมเจ้าบ้านได้ยอมรับและประดิษฐ์สร้างภาพความเป็นตะวันออกในโครงการสร้าง อัตลักษณ์ของตนเองอย่างไร การอภิปรายแนวคิดนิยมตะวันออกไม่ควรจำกัดอยู่เพียงการมองว่าตะวันตกส่ง อิทธิพลต่อตะวันออกที่ “อยู่ใต้อาณัติ” อย่างไร กลุ่มอำนาจในสังคมแหล่งท่องเที่ยวได้เลือกรับและปรับใช้ภาพความเป็นตะวันออก ที่จะยังประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการสร้างภาพอัตลักษณ์ท้อง ถิ่นขึ้นใหม่อย่างไร การสร้างภาพของความเป็นตะวันออกของสังคมเจ้าบ้านจะต้องได้รับการศึกษาและทำ ความเข้าใจจากบริบททางสังคมและการเมืองของท้องถิ่นแห่งนั้น   ในลำดับถัดไป ผู้เขียนจะกล่าวถึงการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นรูปแบบของอิทธิพลภายในกรอบการ มองของซาอิด ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์3 แห่งของสิงคโปร์ พิพิธภัณฑสถานสามแห่งนี้จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (STB) เพื่อ สร้างสิงคโปร์ให้เป็นเอเชียมากขึ้น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ได้สร้างให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความโดน เด่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ผลักดันให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านศิลปะของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียได้ขุดรากเหง้าของบรรพชนสิงคโปร์ที่เชื่อมโยง กับจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง   จากนั้น เป็นการสำรวจว่าพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งสร้างภาพความเป็นตะวันออกของสิงคโปร์ อย่างไร และแต่ละแห่งสร้างเรื่องเล่าใหม่เพื่อปั้นแต่งจินตนาการสนองการท่องเที่ยว และท้องถิ่นอย่างไร ในทำนองเดียวกัน การจะเข้าใจเรื่องเล่าเหล่านี้จะต้องคำนึงสภาพและเงื่อนไขทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของสิงคโปร์ ส่วนสุดท้ายจะสรุปข้อโต้แย้งและข้อสนับสนุนความเข้าใจที่คลุมเครือของการ ท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นรูปแบบทรงอิทธิพลในการศึกษาการท่องเที่ยวเชิง วิพากษ์   การท่องเที่ยวและแนวคิดนิยมตะวันออก จากแนวทางการวิพากษ์ของฟูโกต์ ซาอิด(1979) ได้ ตั้งคำถามและท้าทายแนวคิดนิยมตะวันออก ซาอิดได้ควบเกลียวของจักรวรรดินิยมทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองเข้าด้วยกัน และได้กล่าวว่า ผู้ที่สร้างภาพของความเป็นตะวันออก ทั้งนักเขียนและนักวิชาการ ‘ตะวันตก’ ผู้ที่ศึกษาความเป็นตะวันออก ได้เคยเสนอภาพที่ผิดพลาด และยังคงนำเสนอภาพที่ผิดพลาดของโลกอิสลามในตะวันออกกลางในลักษณะที่ดูเหมือน ว่าตะวันตกจะครอบงำความเป็นตะวันออกได้ง่ายดาย ซาอิดเชื่อว่าความเป็นตะวันออกไม่ใช่เพียงสาขาวิชา แต่เป็นวาทกรรมเชิงอุดมการณ์ที่ยังคงพันเกี่ยวกับอำนาจของโลกตะวันตกอย่าง ไม่สิ้นสุด ซาอิดให้เหตุผลว่า นักวิชาการตะวันตกที่ศึกษาตะวันออกได้นำเสนอและแพร่ขยายภาพเฉพาะบางอย่างของ โลกตะวันออก โดยเน้นที่ความแตกต่างของจิตวิญญาณของโลกตะวันออกที่ต่างออกไปจากsinvตรง ข้ามกับจิตวิญญาณของโลกตะวันตก ภาพเช่นนั้นได้สร้าง คัดสรร และกล่าวถึงโลกตะวันออกในลักษณะที่เกินจริง และภาพต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามความจริงเชิงประจักษ์ และลดทอนความสำคัญของความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม รูปแบบสังคม และโครงสร้างการเมืองในสิ่งที่เรียกว่าเป็นตะวันออก แนวคิดที่ซ่อนไว้เมื่อกล่าวถึงความเป็นตะวันออก จึงเป็นภาพของความต่ำต้อย การแสดงอำนาจบาทใหญ่ และไร้ซึ่งอารยธรรม   ตรรกะและหลักการที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีของซาอิดเกี่ยวกับความเป็นตะวันออก บันดาลใจให้นักวิชาการหลายคนได้ขบคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการที่ผู้คนคิดกับ สังคมอื่นอย่างไร และผู้คนเหล่านั้นจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไรในกิจกรรมต่างๆ การอภิปรายด้วยแนวคิดนิยมตะวันออกได้จับประเด็นการศึกษาในพื้นที่ต่างๆ แอฟริกา(Jeyifo 2000; Mazuri 2000) เอเชียตะวันออก (Clarke 1997; Dirlik 1996; Hill 2000; Hung 2003) และยุโรปตะวันออก (Ash 1989; Kumar 1992; Ooi et al. 2004) การ วิเคราะห์ด้วยมุมมองนิยมตะวันออกยังผลักดันให้นักวิชาการกำหนดกรอบการนำเสนอ ความเป็นอื่นอย่างผิดพลาดและกล่าวอย่างกวาดรวมๆ ไป ทั้งเรื่องเพศและเพศสภาพ (ในงานของ Albet-Mas and Nogue-Font 1998; Lewis 1996; Mann 1997; Prasch 1996) เชื้อชาติและสำนึกชาติพันธุ์ (Jeyifo 2000; Mazrui 2000) และศาสนา (Amstutz 1997; Burke III 1998; Kahani-Hopkins and Hopkins 2002; Zubaida 1995) การ จัดแบ่งระหว่างความเป็นตะวันตกและตะวันออกไม่ได้แตกต่างไปจากการแยกขั้ว ระหว่างเหนือกับใต้และความจนกับความรวย ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการตอบโต้ต่อโลกาภิวัตน์ ทั้งอิทธิพลทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของโลกตะวันตก (Chua 2003; Klein 2000; Shipman 2002) นักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเช่น Clifford (1997) Echtner และ Prasad (2003) Morgan และ Pritchard (1998) Ooi และคณะ (2004) และ Silver (1993) ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจากแนวคิดของซาอิดทั้งสิ้น   ข้อท้าทายของซาอิดต่อแนวคิดนิยมตะวันออกมีความสำคัญและมีนัยทางการเมือง มุมมองเชิงวิพากษ์แสดงให้เห็นว่าใครได้ประโยชน์ ใครถูกทำลาย ใครเป็นผู้แพร่ภาพ/ แนว คิดเกี่ยวกับตะวันตก และผลจากการรับภาพนั้น แนวทางในการวิเคราะห์จึงเป็นการมองหาสารที่อยู่ในภาพจากการเผยแพร่และความ หมายเชิงอุดมการณ์ที่อยู่ในสารดังกล่าว สารทั้งหมดถูกพิจารณาในฐานะของความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างกลุ่มที่นำเสนอภาพความเป็นอื่นอย่างผิดพลาดและตัวผู้ที่ “เป็นอื่น” นั้นเอง คำบางคำจะถูกเลือกเพื่อนำเสนอในสาร ความหมายถูกทำให้เข้มข้นขึ้น แต่ขณะเดียวกันมีความหมายหลายอย่างที่ถูกเลือกทิ้งไป อย่างเช่นภาพของสิงคโปร์ที่ถูกกล่าวถึงในสถานีวิทยุอังกฤษเกี่ยวกับรายการ ท่องเที่ยวพักร้อน งานเขียนของ Morgan และ Pritchard (1998: 225-228) แสดงให้เห็นความน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับว่าสิงคโปร์ถูกสร้างขึ้นอย่างไร ภาพอดีตอาณานิคม ยาแผนจีน (สัตว์เลื้อยคลาน ม้าน้ำ และแมงป่องตากแห้ง) และ กฎเกณฑ์ที่เด็ดขาดเข้มงวด วิทยุไม่ได้พูดถึงว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่ขับไล่เจ้า อาณานิคมอังกฤษออกไปในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ มีคนสิงคโปร์จำนวนน้อยมากที่ใช้แพทย์แผนจีนเพื่อการรักษาเป็นทางเลือกแรกใน ปัจจุบัน ส่วนกฎและระเบียบต่างๆ ที่เข้มงวดก็ปรากฏในทุกประเทศรวมทั้งอังกฤษด้วย ฉะนั้น ภาพที่ปรากฏในสื่อจึงเป็นการเสนอว่า สิงคโปร์คือความสำเร็จของอาณานิคมที่ชอบธรรม (ขอบคุณอังกฤษ) สิงคโปร์ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่เปี่ยมด้วยเสนอเอเชียอย่างไม่เสื่อมคลาย และสิงคโปร์ไม่เป็นประชาธิปไตย คนที่มองภาพของสิงคโปร์จะเห็นถึงประสบการณ์ของมรดกอาณานิคมอังกฤษในสิงคโปร์ ได้มองเห็นการเยียวยารักษาของคนเอเชีย และชีวิตที่อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ ภาพและสารประเภทนี้จะเร้าผู้ชม ขายจุดมุ่งหมายการท่องเที่ยว และให้ภาพของสังคมเจ้าบ้านอย่างดาดๆ   ภาพเช่นว่านี้มีลักษณะที่เป็นแนวคิดนิยมตะวันออก(การสร้างภาพของเสน่ห์ตะวันออก) ประการ แรกภาพดังกล่าวมีลักษณะที่ผิวเผินและมาจากการนำเสนอภาพที่ผิดพลาด แต่กลับถูกนำเสนอด้วยสื่อที่น่าเชื่อถือและปรากฏในลักษณะที่เป็นข้อเท็จจริง ประการที่สอง ภาพดาดๆ ดังกล่าวมุ่งหมายในการย้ำภาพกว้างๆ ของ “ความเป็นอื่น” อยู่แล้ว ในกรณีของสิงคโปร์ก็คือเป็นมรดกอาณานิคมที่ยังคงมีความเคลื่อนไหว ชาวสิงคโปร์ชอบการรักษา “แปลกๆ” และสิงคโปร์ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเสียทีเดียว ประการที่สาม การนำเสนอภาพที่ผิดพลาดกลับได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางและผ่านสถาบัน ต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชน กิจกรรมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และสิ่งที่ได้ยินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ประการที่สี่ สารที่สร้างความเป็นอื่นถูกสร้างผ่านมุมมองของสังคมตะวันตกสมัยใหม่ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการตัดสินคนอื่นจากสายตาของโลกตะวันตก ผู้เขียนขอชี้แจงดังนี้   สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้ว การได้รู้จักกับสังคมที่พวกเขาจะเดินทางไปนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทั้งนี้เพราะการเดินทางมีระยะสั้น พวกเขาขาดความรู้ท้องถิ่น และได้รับข้อมูลที่ผ่านการกรองแล้วจากสื่อการท่องเที่ยวต่างๆ(Ooi 2002b) นัก ท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีภาพที่ฉาบฉวย ซ้ำซาก และคัดสรรมาแล้วเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในต่างประเทศ เพราะภาพเหล่านั้นสร้างขึ้นจากแหล่งข้อมูลจำเพาะ จากบทความแนะนำการท่องเที่ยว เรื่องในข่าว หนังสือท่องเที่ยว และเรื่องเล่าจากครอบครัวและเพื่อน แหล่งข้อมูลเหล่านี้จำนวนมากไม่น่าเชื่อถือ เช่น ภาพยนตร์ที่สร้างความน่าสนใจและสร้างเรื่องเล่าต่างๆ เพื่อกระตุ้นความปรารถนาที่จะไปยังสถานที่นั้นๆ ภาพยนตร์อย่างเรื่อง Braveheart และ Lord of the Ring ทำ ให้สก็อตแลนด์และนิวซีแลนด์กลายเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยว แต่ใช่ว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องจะสร้างเรื่องและภาพในเชิงบวกและถูกต้องตามที่ เป็นจริง ภาพยนตร์ทำเงินของฮอลลีวูด เช่น Tomb Raider ได้ใช้สถานที่บางส่วนของนครวัด (กัมพูชา) และนำไปเชื่อมโยงสถานที่ลึกลับ (ที่ไม่มีจริง) แต่กลับปรากฏอักษรภาพอียิปต์ (ในศาสนสถานทางพุทธศาสนา!) และเป็นสถานที่ของคนพื้นถิ่น (ที่ไปสัมพันธ์กับคนเลว) สำหรับ นักอนุรักษ์ การอ้างอิงเช่นนี้สร้างเรื่องเล่าใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งความพยายามในการอนุรักษ์ศาสนสถานทางพุทธศาสนา และเป็นวิถีทางที่จะชักนำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Winter 2003)   ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกมุ่งมองหาภาพเสน่ห์ตะวันออก ภาพเหล่านี้ก็ได้การสร้างอย่างเป็นทางการและส่งเสริมโดยองค์กรในประเทศนั้นๆ เอง ส่วนหนึ่งเพราะจำนวนของนักท่องเที่ยวที่ร่ำรวยมีบทบาทสำคัญยิ่งกับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในท้องถิ่น และการที่นักท่องเที่ยวมีภาพฝังใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเป็นดังที่ว่านี้ จึงกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางดัง กล่าว เช่น สิงคโปร์มีความสะอาด ได้รับการพัฒนา และพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว แต่การโฆษณาที่พูดถึงเฉพาะความทันสมัยกลับไม่เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ มาเยือนสิงคโปร์(Ooi 2002b) ทั้ง ที่ความสะดวกสบายทันสมัยเยี่ยงในทุกวันนี้ ยังมีความสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย คือ ภาพความเป็นเอเชียยังเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอขายการท่องเที่ยวให้กับนักท่อง เที่ยวชาวตะวันตก แน่นอนว่าความทันเสมัยและความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียว (Ooi 2002b: 127) นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนมากที่สนใจไปเยือนสถานที่ที่แตกต่างและไม่ถูกปรับเปลี่ยนไปกับความเป็นสมัยใหม่ (Errington and Gewertz 1989; Jacobsen 2000; MacCannell 1976; Silver 1993; Srrensen 2003) และภาพที่ได้รับการเผยแพร่ยิ่งย้ำเข้าไปใน “ความสำนึกของตะวันตก” (Silver 1993:303)   นอกไปจากภาพนำเสนอตามที่นักท่องเที่ยวต้องการ ตัวแทนส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ภาพที่ตรึงอยู่ในความคิดของนักท่อง เที่ยวว่าส่งผลต่อประสบการณ์ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมองหาภาพในจินตนาการระหว่างการท่องเที่ยวของเขา(McLean and Cooke 2003; Prentice 2004; Prentice and Andersen 2000; Waller and Lea 1999) แต่ ภาพในจินตนาการของนักท่องเที่ยวไม่ได้เป็นไปแบบเดี่ยวหรือแข็งทื่อ ตัวแทนส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงพยายามมองหาภาพในจินตนาการที่ชาวตะวันตกหวัง จากแหล่งท่องเที่ยวนั้น ตัวแทนเหล่านี้อาศัยความช่วยเหลือของบริษัทโฆษณาที่มีฐานอยู่ในประเทศตะวัน ตก ดังที่ Pritchard และ Morgan (2000) ได้สำรวจความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวตะวันตก (และมิใช่ตะวันตก) ตัว แทนเหล่านี้ไม่เพียงนำเสนอภาพของเสน่ห์ตะวันออก แต่ยังทำภาพเหล่านั้นให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น นั่นคือการสร้างผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็น “ความจริงแท้” เพื่อนักท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีตั้งแต่การแสดง “วูดู” ในไฮติ (Goldberg 1983) จนถึงการขายวัตถุ “ทางศาสนา” ของยิว (เช่น หมวกครอบศีรษะและเทียน) ในอิสราเอล (Shenhav-Keller 1995) และการเยี่ยมเยือนหมู่บ้านมังกาไร “ดั้งเดิม” ในอินโดนีเซีย (Allerton 2003) ภาพลึกลับและน่าพิศมัย (exotic images) แช่ แข็งสังคมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวไว้กับอดีต และไม่ได้สนใจความเปลี่ยนแปลงและสังคมที่เคลื่อนไปสู่การพัฒนา ภาพและการสร้างให้เป็นรูปธรรมเช่นนี้ได้ย้ำจินตนาการของนักท่องเที่ยวที่ใฝ่ หาเสน่ห์ตะวันออก ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยอย่าง Echter และ Prasad (2003) และ Silver (1993) วิเคราะห์ ให้เห็นว่าภาพตัวแทนที่นำเสนอเกี่ยวกับโลกที่สามในการท่องเที่ยวจัดช่วงชั้น ความสัมพันธ์ของประเทศกำลังพัฒนาไว้ในลักษณะที่ด้อยกว่า สถานที่ต่างๆ มีสภาพที่ล้าหลัง ผู้คนกระตือรือร้นที่จะให้บริการ และแหล่งท่องเที่ยวเช่นนั้นก็เป็นเพียงสนามเด็กเล่นทางวัฒนธรรม   แม้กระทั่งพิพิธภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นวิชาการ ยังคงตอกย้ำกับภาพจินตนาการเสน่ห์ตะวันออก พิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่เป็น“บริเวณสัมพันธ์” (contact zones) (Clifford 1997: 188-219) บริเวณสัมพันธ์คือสถานที่ที่ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของกลุ่มถูกแยกออกไปจากกัน ทั้งๆ ที่ยังคงมีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง Clifford (1997) ได้ กล่าวถึงสังคม “ดั้งเดิม” ที่ถูกนำเสนอในพิพิธภัณฑ์ “อารยะ” การจัดแสดงได้ผลิตซ้ำภาพของชนเผ่า “ดั้งเดิม” ตามที่คนในสังคม “อารยะ” รับรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สร้างภาพของความเป็นอื่นด้วยข้อสมมติฐานและโลกทัศน์ของตนเอง และความเป็นอื่นกลับสร้างภาพของตนเองตามสิ่งจัดแสดงนั้น และสนองตอบต่อการจัดแสดงเช่นนั้น พิพิธภัณฑ์กลายสภาพเป็นพื้นที่ที่ผู้คนสร้างจินตนาการว่าเขาเป็นใคร และแม่พิมพ์ที่อยู่เบื้องหลังตัวตนที่จัดแสดงนั้นมาจากจินตนาการที่มีต่อผู้ อื่น   โดยสรุปแล้ว นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบของอิทธิพล ไม่ใช่เพียงแค่การปรากฏตัวของนักท่องเที่ยวหรือความต้องการต่างๆ แต่การท่องเที่ยวยังได้สืบทอดวาทกรรมที่ไม่เที่ยงตรงและการนำเสนอภาพที่ผิด เพี้ยนของประเทศด้อยพัฒนาและไม่ใช่ตะวันตก(Morgan and Pritchard 1998; Ooi et al. 2004; Selwyn 1993; Silver 1993)   ผลลัพธ์หนึ่งคือ“ตลาดการท่องเที่ยวกลายเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอภาพของโลกที่สาม ซึ่งในบางครั้งเป็นไปอย่างซับซ้อน แต่ไม่จริงจัง ภาพที่สืบทอดและย้ำเน้นภาวะอาณานิคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ” (Echtner and Prasad 2003: 672) ไม่ ทางใดก็ทางหนึ่ง ภาพที่นำเสนออย่างหยาบๆ สร้างแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้แหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ตะวันตกได้จินตนาการ ประดิษฐ์สร้าง และเปลี่ยนแปรตัวพวกเขาเอง (Morgan and Pritchard 1998; Ooi et al. 2004)   เมื่อพิจารณาการท่องเที่ยวในรูปแบบของจักรวรรดินิยม แนวโน้มของการวิเคราะห์มักมองอิทธิพลของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อแหล่งท่อง เที่ยว ประหนึ่งว่าสังคมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นฝ่ายตั้งรับและยอมจำนนแต่เพียง แง่เดียว การมองสังคมต้อนรับในลักษณะของฝ่ายตั้งรับและยอมจำนนอาจไม่ถูกต้องนัก ดังที่จะได้แสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสิงคโปร์ได้สร้างเสน่ห์ ตะวันออกให้กับรัฐเมือง(city-state) อย่างไร โลกตะวันออกตอบโต้ในเชิงรุกและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์   การสร้างความเป็นเอเชียให้กับสิงคโปร์อย่างเป็นรูปธรรม ในปี1995 ขณะที่สิงคโปร์เผชิญหน้ากับการแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 3  คณะกรรมการสนับสนุนการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Singapore Tourist Promotion Board – STPB) 4  และกระทรวงข่าวสารและศิลปะ (Ministry of Information and the Arts – MITA) แถลงแบบโครงร่างการพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็น “นครแห่งศิลปะ” (Global City for the Arts) หนึ่งในโครงการต่างๆ คือ สิงคโปร์จะมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ 5  พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สิงคโปร์ 6  และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย 7  (Chang 2000; Chang and Lee 2003; STPB and MITA 1995; STPB 1996) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งจะแสดงอัตลักษณ์จำเพาะของรัฐเมืองที่ตั้งอยู่บนเกาะ ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 สิงคโปร์ ค้นพบว่าภาพของความทันสมัยลดความดึงดูดลง นักท่องเที่ยวกลับเดินทางไปดินแดนที่มีความน่าตื่นตาตื่นใจอื่นๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์ (National Tourism Plan Committees 1996) สิงคโปร์จึงกลายเป็นดินแดนที่เคยถูกมองและยังคงได้รับการพิจารณาว่าเป็นเมืองที่ทันสมัยเมืองหนึ่งเท่านั้น   แรงผลักของกลยุทธ์การท่องเที่ยวตั้งแต่กลางทศวรรษที่1990 คือการสื่อสารภาพของสิงคโปร์ในฐานะของแหล่งท่องเที่ยวที่ความทันสมัยคลุกเคล้าไปกับความเก่าแก่ ตะวันออกกลั้วไปกับตะวันตก (Ooi 2004) แม้ จะพบเห็นความทันสมัยอย่างดาดดื่นทั่วสิงคโปร์ แต่คณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์พยายามสร้างภาพของโลกตะวันออกที่น่าพิศ มัยและฝังอยู่ในการพัฒนาและความก้าวหน้าของสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวจะได้รับการบอกเล่าถึงตึกระฟ้าในสิงคโปร์ในทำนองของการสร้าง ตามหลักฮวงจุ้ยของจีนโบราณ ร้านค้ามากมายที่ให้บริการอาหารตะวันตกกับเครื่องเทศเอเชีย และชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษในแบบฉบับของตนเอง (อย่างที่รู้จักกันว่า Singlish) นอกไปจากภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน ความพยายามอื่นๆ ที่ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเอเชียมากขึ้น ด้วยการอนุรักษ์และส่งเสริมเขตจีน (Chinatown) อินเดียน้อย (Little India) และ หมู่บ้านมาเลย์ รวมไปถึงการขายทัวร์นำเที่ยวไปสัมผัสกับวิญญาณเอเชียท่ามกลางเมืองที่ทัน สมัย รวมไปถึงการผลิตของที่ระลึกซึ่งตอกย้ำความเป็นเอเชีย (Chang and Teo 2001; Leong 1997; Ooi 2002b) การ สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสามแห่งยังเป็นความพยายามในการสร้างสิงคโปร์ที่ มีความเฉพาะตัวและเป็นเอเชียมากขึ้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งได้รับการจัดการโดยคณะกรรมการมรดกแห่งชาติ (National Heritage Board) พิพิธภัณฑ์ เหล่านี้จะกล่าวถึงคนท้องถิ่นและชาวต่างประเทศเกี่ยวกับ “ความเป็นเอเชีย” แบบสิงคโปร์ แต่ละพิพิธภัณฑ์ก่อร่าง ตีความ และสร้างความเฉพาะตัวของความเป็นเอเชียที่แตกต่างกันไปสำหรับสิงคโปร์   อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อคณะกรรมการมรดกแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติLim Siok Peng กล่าวในรายงานประจำปีขององค์กรของเธอ ดังนี้   ในเดือนพฤษภาคม2003 มีโรคซาร์ (Severe Acute Respiratory Syndrome) ระบาด จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 177,808 คน หรือมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนในปี 2002 สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์มีจำนวนลดลงตามไปด้วย คือมีจำนวนผู้เข้าชมเพียง 17,073 คนในเดือนพฤษภาคม จำนวนดังกล่าวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือน (NHB 2004: 4)   เธอยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการตลาดของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติและการประสานงาน กับกรมการคมนาคมสื่อสารที่ร่วมมือกับหน่วยงานการท่องเที่ยวอื่น ได้พยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นในช่วงวิกฤต   เราได้ร่วมมือกับคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์ด้วยโปรแกรม ก้าวสู่! สิงคโปร์ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากองค์กรต่างๆ สายการบินสิงคโปร์มีข้อเสนอพิเศษสำหรับเที่ยวบิน เทศกาลสินค้าลดราคา และโปรแกรมการท่องเที่ยวต่างๆโดยสมาคมแหล่งท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Association of Singapore Attractions - ASA) (NHB 2004: 4)   และนอกไปจากนี้คณะกรรมการมรดกแห่งชาติยังพยายามตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ เช่น ตลาดนักท่องเที่ยวจากเมืองจีน   เพื่อการทำตลาดกับนักท่องเที่ยวชาวจีน เราได้ผลิตแผ่นพับทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เอกสารหนึ่งแสนชุดได้รับการจัดพิมพ์และแจกไปยังสมาคมแหล่งท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม แหล่งท่องเที่ยวประเภทต่างๆ และศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ตามจุดต่างๆ แผ่นพับยังส่งไปยังศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงคโปร์ทั่วทั้งทวีปเอเชีย(NHB 2004:4)   บททบทวนในรายงานประจำปีที่เขียนโดยเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงท่านนั้นยังเน้นถึงการท่องเที่ยวอย่างมาก(NHB 2004: 4-5) นอกจากนี้ยังมีเงินทุนสนับสนุนองค์กรต่างๆ สำหรับการจัดนิทรรศการด้วย   พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์เป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแบบนีโอ-คลาสสิค พิพิธภัณฑ์มีประวัติที่ยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่การเริ่มตั้งเมื่อปี 1887 และเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายใต้ชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อปี 1965 ภายหลังจากที่สิงคโปร์ได้รับอิสรภาพ ต่อมาจึงปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ในปี 1996 และในปี 2006 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับการขนานนามอีกครั้งว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนและขยายรูปทรงอาคาร (SHM 2005)   พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ตอบโต้ต่อภาพที่ผู้คนมักคิดถึงสิงคโปร์ในลักษณะที่ เหมือนๆ กับประเทศอื่นในเอเชีย พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์แสดงแนวโน้มและพัฒนาการสร้างบุคลิกภาพและ ส่งอิทธิพลต่อความเป็นสิงคโปร์ ด้วยการเน้นย้ำถึงสิงคโปร์ร่วมสมัย(STPB and MITA 1995: 17) อดีตอาณานิคมของสิงคโปร์ (ค.ศ. 1819 – ค.ศ. 1963) สงครามโลกครั้งที่ 2 และ การต่อสู้เพื่อการปกครองตนเองจากเจ้าปกครองอาณานิคมอังกฤษ ประวัติศาสตร์ที่ผันผวนกับประเทศมาเลเซียและการเรียกร้องอิสรภาพของสิงคโปร์ เมื่อปี 1965 เรื่อง ราวเหล่านี้เป็นจุดเน้นของพิพิธภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์อีกสองแห่ง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์มีส่วนร่วมในโปรแกรมการศึกษาแห่งชาติมากที่ สุด พิพิธภัณฑ์ได้ต้อนรับกลุ่มนักเรียนจำนวนมาก นิทรรศการทำหน้าที่เป็นบทเรียนเสริมประวัติศาสตร์ที่สอนกันในโรงเรียน   อัตลักษณ์เฉพาะของสิงคโปร์ถูกไล่เรียงไปตามลำดับ ดังนี้ สิงคโปร์ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤษไม่สามารถปกป้องสิงคโปร์ได้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่2 สิงคโปร์ ตกอยู่ในสภาพที่หดหู่ระหว่างการครอบงำของญี่ปุ่น และดิ้นรนเพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของอังกฤษ จนเปลี่ยนสถานภาพของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์รัฐมาเลเซีย (1963-1965) แต่ การณ์กลับไม่ดีขึ้น ในท้ายที่สุด แนวคิดของการเป็นรัฐสิงคโปร์เบิกบาน และนำไปสู่การสร้างประเทศให้มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง นี่เองแสดงให้เห็นว่า สิงคโปร์ไม่ใช่ทั้งของอังกฤษ ญี่ปุ่น หรือมาเลเซีย แต่มีองค์อธิปัตย์เป็นของตนเอง ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์บอกกับผู้เข้าชมเกี่ยวสถานการณ์ของสิงคโปร์ในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 ว่า   ญี่ปุ่นก้าวล่วงมายังดินแดนแห่งนี้และประกาศตนเป็นผู้ปลดปล่อยเอเชียจากชาติเจ้า อาณานิคม แต่พวกเขากลับทำตนเป็นปฏิปักษ์ด้วยเช่นกัน กระทั่งปฏิบัติต่อราษฎรเลวร้ายยิ่งไปกว่าที่อังกฤษเคยกระทำเสียอีก(NHB 1998: 31)   ข้อมูลที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ย้ำเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในอุษาคเนย์ คือ ความไม่กลมกลืนและไม่เป็นเนื้อเดียวกันของภูมิภาคแห่งนี้ มาเลเซียเกิดขึ้นในปี1963 ด้วย การรวมมาลายา ซาบา ซาราวัค และสิงคโปร์ ประเทศที่เกิดใหม่นี้ไม่ได้รับการต้อนรับจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ยังคงอ้างสิทธิอำนาจเหนือซาบาเมื่อปี 1962 อินโดนีเซีย ไม่ต้องการให้มาเลเซียมีอิทธิพลเหนือเกาะบอร์เนียว ความรุนแรงและการจับตัวประกันเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของมาเลเซียรวมทั้ง สิงคโปร์ เมื่อมีการสถาปนาสหพันธรัฐใหม่เมื่อกันยายน 1963 ความรุนแรงทั้งหลายยุติลงเมื่อซูฮาร์โตก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อตุลาคม 1965 (NHB 1998: 70-71)   พิพิธภัณฑ์บอกกับผู้ชมเกี่ยวกับเรื่องราววุ่นวายต่างๆ ของสิงคโปร์ และขณะเดียวกัน ได้เฉลิมฉลองความสำเร็จทางสังคมและเศรษฐกิจ และภาวะผู้นำของพรรคกิจประชาชน พรรคการเมืองนี้ปกครองสิงคโปร์ตั้งแต่ช่วงปกครองตนเองภายใต้การปกครองของ อังกฤษในปี1959   นโยบายสิงคโปร์เพื่อคนสิงคโปร์เป็นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมต่อคนสิงคโปร์โดยไม่ เลือกชาติพันธุ์ สนับสนุนให้คนสิงคโปร์ยังคงรักษาความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการสร้างรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมให้กับพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม เหล่านี้เองที่ก่อให้เกิดอัตลักษณ์เฉพาะของสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ยังมองว่าที่สิงคโปร์ก้าวหน้าและพัฒนาไปได้มากกว่าเพื่อนบ้านเช่น นี้ เป็นผลมาจากรัฐบาลที่เข้มแข็งและมีความซื่อสัตย์   โดยสรุป เรื่องราวที่บอกเล่าในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์บอกกับผู้ชมว่า ชาวสิงคโปร์มีอัตลักษณ์ของตนเอง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ได้อวดอ้างความสำเร็จทางเศรษฐกิจของรัฐ เมือง และกล่าวกระทบกระเทียบถึงเพื่อนบ้านที่พัฒนาไปได้น้อยกว่า สิ่งที่ท้าทายต่อไปคือการพยายามบอกเล่าให้เห็นว่าสิงคโปร์ก็เหมือนกับประเทศ เพื่อนบ้านในอุษาคเนย์   พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ ด้วยลักษณะที่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์แสดงอัตลักษณ์ของภูมิภาคอุษาคเนย์ พิพิธภัณฑ์เปิดเมื่อปี1996 และจัดแสดงงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยของอุษาคเนย์   พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งแรกๆที่มีการจัดการในระดับ มาตรฐานสากลในภูมิภาคอุษาคเนย์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้สร้างคลังสะสมและจัดแสดงงานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย ของศิลปินในสิงคโปร์และอุษาคเนย์ นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ยังเข้าร่วมกับพิพิธภัณฑ์กระแสใหม่ในการสร้างสรรค์นิทรรศการและ การทำกิจกรรมที่ออกไปพบปะกับชุมชน พิพิธภัณฑ์ได้ดูแลคลังศิลปะของชาติสิงคโปร์และเรียกได้ว่ามีคลังศิลปะศตวรรษ ที่20 ของภูมิภาคนี้ที่ใหญ่ที่สุด และดำเนินการโดยองค์กรสาธารณะอันเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ (SAM 2005)   พิพิธภัณฑ์ศิลปะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้สิงคโปร์เป็นเมืองแห่งศิลปะและเป็นศูนย์ กลางกิจกรรมทางวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ นอกจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ยังมีโรงละครแห่งใหม่ หรือEsplanade – Theatres on the Bay (ศูนย์ครบวงจรขนาดมหึมาริมทะเลและอยู่ใจกลางเมือง) สถาบัน แห่งนี้แสดงบทบาทสำคัญในการผลักดันให้สิงคโปร์เป็นแหล่งศิลปะร่วมสมัย รวมไปถึงทัศนศิลป์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์วางแผนขยายงาน นอกไปจากการใช้โรงเรียนเก่าของมิชชันนารี พิพิธภัณฑ์จะขยายไปยังศาลาว่าการและอาคารเก่าของศาลสูงสุด   สารที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ส่งไปยังผู้ชมแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ สิงคโปร์ในประเด็นลักษณะเฉพาะของสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์นำเสนอสิงคโปร์ในแง่ของความสัมพันธ์ที่ร้อยรัดภูมิ ภาคอุษาคเนย์เอาไว้อย่างมั่นคง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ผูกร้อยอุษาคเนย์ไว้เป็นองค์รวมเชิงสุนทรียะ อุษาคเนย์คือความหลากหลายและไม่ได้มีอัตลักษณ์ที่กลั่นรวมเป็นหนึ่งเดียว แม้ผู้คนมากมายจะมองอุษาคเนย์ในฐานะที่เป็นภูมิภาคหนึ่ง และด้วยเหตุที่ประเทศต่างๆ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันในทางภูมิศาสตร์ จึงทำให้ผู้คนเหมารวมเอาว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม รวมไปถึงการตั้งสมาคมอาเซียน อันประกอบด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เพื่อผนึกรวมกันในการต่อต้านคอมมิวนิสต์เมื่อปี1967 ต่อมาภายหลังบรูไน พม่า (เมียนมา) กัมพูชา ลาว และเวียดนามได้เข้าร่วมสมทบ ในปัจจุบันประเทศสมาชิก 10 ประเทศ นับถือศาสนาที่แตกต่างกัน พูดภาษาที่แตกต่างกัน และเคยตกเป็นอาณานิคมของเจ้าอาณานิคมที่ต่างกันเมื่อหลายศตวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่บางประเทศเพิ่งกลายสภาพจากคู่อริกันเมื่อไม่นานมานี้เอง อย่างกรณีเวียดนามที่เข้าครอบครองกัมพูชาระหว่างปี 1979 – 1989 และ ยังเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศก่อตั้งสมาคมอาเซียนเดิม ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์จึงได้สร้างอัตลักษณ์ของอุษาคเนย์ขึ้นอีกประการ หนึ่งคือ ภูมิภาคแห่งสุนทรียะ   พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์สร้างการรับรู้ว่าชุมชนศิลปะในอุษาคเนย์และประสบการณ์ของชุมชนมีทั้งความหลากหลายและรุ่มรวย(Sabapathy 1996) พิพิธภัณฑ์ จึงใช้ยุทธศาสตร์ของความกลมกลืนในความหลากหลายในการสร้างอุษาคเนย์เป็นองค์ รวมสุนทรียะ ประเด็นที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานอย่างเอกอุร่วมกันคือ “ชาตินิยม ปฏิวัติ และความคิดทันสมัย” “ประเพณีของความจริง” “วิถีนามธรรม” “เทพปกรณัมและศาสนา : ประเพณี ในความอัดอั้น” “ฉันและความเป็นอื่น” และ “ความเป็นเมืองและวัฒนธรรมสามัญนิยม” ประเด็นเหล่านี้เชื่อมต่อนิทรรศการหลากหลายในพิพิธภัณฑ์ ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์พึงระลึกว่า พวกเขาจะต้องนำเสนอลักษณะเฉพาะของพิพิธภัณฑ์ด้วยการกล่าวถึงอัตลักษณ์อุษา คเนย์ในนิทรรศการ   อย่างไรก็ตาม การสร้างความเป็นภูมิภาคแห่งสุนทรียะเช่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง แม้จะมีการประกาศถึงมิตรภาพที่สนิทชิดเชื้อระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ตัวอย่างเช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอาเซียนประกาศว่า“ด้วยความเคารพต่ออธิปไตยและสิทธิทรัพย์สินแห่งชาติของประเทศสมาชิก สมาคมอาเซียนเห็นพ้องให้มรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติของประเทศสมาชิก สถาปนาเป็นมรดกของอุษาคเนย์ที่จะได้รับการปกป้องจากอาเซียนในฐานะของความ ร่วมมือที่เป็นหนึ่งเดียวกัน” (ASEAN 2000: point1) แต่ กิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ดำเนินการ กลับแสดงให้เห็นถึงจักรวรรดิทางวัฒนธรรมของสิงคโปร์ที่ครอบงำประเทศอื่นๆ ในอุษาคเนย์ แต่ละประเทศต้องการเก็บสมบัติศิลปะไว้ที่ประเทศของตน และประเทศอื่นๆ ในอุษาคเนย์ก็ต้องการเป็นศูนย์กลางศิลปะร่วมสมัยด้วยเช่นกัน หากกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประเทศอื่นในภูมิภาคนี้มีสิทธิ์เช่นเดียวกันในการที่จะสร้างอัตลักษณ์อุษา คเนย์ และเป็นคู่แข่งในการเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของภูมิภาค   พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย(ACM) เป็น พิพิธภัณฑ์แห่งแรกในภูมิภาคที่นำเสนอมุมมองที่กว้างแต่เป็นอันหนึ่งอันเดียว กันของอารยธรรมและวัฒนธรรมเอเชีย ในฐานะที่เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในกำกับของคณะกรรมการมรดกแห่ง ชาติ เราพยายามสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่มากและหลากหลาย ซึ่งประกอบขึ้นเป็นสังคมสิงค-โปร์ที่หลากชาติพันธุ์ (ACM 2005b).   ปีกแรกของพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียเปิดขึ้นเมื่อปี1997 ที่อาคารโรงเรียนเถ้าหนานบนถนนอารเมเนียน และได้ขยายไปยังอาคารยุคอาณานิคมที่เอมเพรส เพลส (Empress Place) ด้วยพื้นที่ 14,000 ตารางเมตร เมื่อปี 2003 สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำสิงคโปร์ ใจกลางของพื้นที่ด้านธุรกิจการเงิน   ขณะที่บรรพบุรุษของสิงคโปร์จากหลายๆ พื้นที่ในเอเชีย ได้เข้ามาตั้งรกรากบนเกาะสิงคโปร์ในช่วง200 ปี ที่ผ่านมา วัฒนธรรมนั้นถูกนำเข้ามายังดินแดนแห่งนี้โดยผู้คนหลากหลายมีความเก่าแก่ อย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ในแง่นี้จึงเป็นจุดรวมความสนใจของพิพิธภัณฑ์อารยธรรม เอเชีย งานสะสมของพิพิธภัณฑ์จึงเน้นไปที่วัตถุทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่างๆ ที่มีรากเหง้ามาจากจีน อุษาคเนย์ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตก (ACM 2005b).   นอกเหนือจากการเป็นชาวสิงคโปร์ พลเมืองชาวสิงคโปร์ยังถูกกำหนดอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ พวกเขาถูกวางตัวแบบชาติพันธุ์(ethnic model) ให้เป็นชาวจีน (Chinese) มาเลย์ (Malay) อินเดีย (Indian) และอื่นๆ (Others) หรือ CMIO ประชากรสิงคโปร์จำนวน 99% ได้รับการพิจารณาว่าเป็นชาวจีน (77%) มาเลย์ (14%) หรืออินเดีย (8%) และยังมีประเภทเบ็ดเตล็ด (1%) ตัวแบบชาติพันธุ์ CMIO มีนัยทางการเมืองและเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเป็นรัฐชาติ และโครงการจัดการวิศวกรรมทางสังคม (Benjamin 1976; Chua 1995; Pereira 1997; Rudolph 1998; Siddique 1990) บรรพบุรุษของชุมชนจีน มาเลย์ และอินเดียได้รับการนิยามกว้างๆ ว่ามาจากพื้นที่ต่างๆ ของทวีปเอเชีย จีน มาเลเซีย/อินโดนีเซีย และอินเดีย ตามลำดับ การกำหนดตัวแบบชาติพันธุ์กลายเป็นการมองแบบแผนการอพยพและวัฒนธรรมของ บรรพบุรุษอย่างง่ายๆ เกินไป เพราะอันที่จริงแล้ว ประเทศหรือภูมิภาคทั้งสามไม่ได้มีความเป็นเนื้อเดียวกันในตัว พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียใส่ใจต่อความหลากหลาย แต่ไม่ได้พิถีพิถันนัก ตัวอย่างเช่น   จีนเป็นภาคส่วนที่กอปรด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างในแต่ละภูมิภาค และได้รับการร้อยรัดด้วยระบบต่างๆ เช่น ระบบปกครองจักรพรรดิ ระบบการเขียนร่วมกัน และการจัดช่วงชั้นทางสังคมที่มาจากแนวคิดของลัทธิเต๋า จีนมิได้เป็นประเทศที่มีกำเนิดเป็นหนึ่งเดียวที่อารยธรรมถูกครอบงำด้วย วัฒนธรรมฮั่น(ACM 2005b)   ด้วยการย้ำแนวคิดกว้างของการเป็นจีน อินเดีย มาเลย์มุสลิม พิพิธภัณฑ์เสนอว่าชาวสิงคโปร์ควรภูมิใจกับอดีตของบรรพบุรุษ เพราะอดีตเหล่านั้นเป็นแหล่งของการสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์เอเชียของชาว สิงคโปร์ กรอบการมองสิงคโปร์ดังกล่าวต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ที่มอง สิงคโปร์ในฐานะของประเทศเกิดใหม่ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียอ้างอิงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ขณะที่สิงคโปร์ตั้งอยู่ท่ามกลางโลกมุสลิมมาเลย์ แต่พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียเลือกย้อนรอยประชากรสิงคโปร์ที่เป็นมุสลิมมา เลย์ไปยังตะวันออกกลาง มาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง การย้ำอัตลักษณ์ของสิงคโปร์โดยผูกโยงกับอดีตของประเทศอื่นนั้นเป็นเหมือนดาบ สองคม ขณะที่ชาวสิงคโปร์เชื่อมโยงตัวเขาเองกับอดีตของประเทศต่างๆ ตามที่พิพิธภัณฑ์ได้เสนอไว้ พวกเขากลับเชื่อมโยงตัวเองกับสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองในปัจจุบันของ ประเทศนั้นๆ ได้ง่ายกว่า ด้วยเหตุที่มาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด รัฐบาลสิงคโปร์ยอมรับอย่างชัดแจ้งว่า ชาวสิงคโปร์มาเลย์สามารถละทิ้งสำนึกรัฐชาติไปได้ ในกรณีที่สิงคโปร์เกิดขัดแย้งกับประเทศใดในสองประเทศนั้น(Ooi 2003: 82-83) ด้วยเหตุว่ามาเลย์ทั้งหมดในสิงคโปร์เป็นมุสลิม พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียจึงมุ่งมองประชากรสิงคโปร์มาเลย์โดยเชื่อมโยงกับตะวันออกกลาง   พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียได้รวบรวมมรดกวัตถุที่ประเมินค่ามิได้จากสถานที่ที่กล่าวไว้ แล้ว และนำเสนอให้ผู้ชมได้เห็น “มรดกบรรพบุรุษ” ของชาวสิงคโปร์ (STPB and MITA 1995: 17) วัตถุจัดแสดงบางชิ้นหมายรวมถึง วัตถุที่ปรากฏลายมือเขียนศตวรรษที่ 18 จากอิหร่านและตุรกี ประติมากรรมราชวงศ์ถังศตวรรษที่ 7 จาก จีน และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมจากวัดนาคหลายแห่งในอินเดีย ในการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ได้จัดส่วนที่เรียกว่านิทรรศการยอดนิยมเพื่อดึงดูดผู้ชมให้มาก ขึ้น นิทรรศการเหล่านี้รวมถึงพุทธศิลป์จากอินโดจีนและสมบัติจากวาติกัน   ดังนั้น พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียจึงเป็นแหล่งที่แสดงมรดกเอเชียเก่าอันยิ่งใหญ่ ความยิ่งใหญ่และชัยชนะของบรรพบุรุษสิงคโปร์ได้รับการกล่าวขวัญ และคุณค่าที่บอกเล่าผ่านมรดกวัตถุได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคนสิงคโปร์ทุก วันนี้ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ที่เน้น ความแตกต่างของสิงคโปร์จากประเทศเพื่อนบ้าน ต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ที่พยายามนำเสนอความเป็นอุษาคเนย์ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเซียกลับสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของสิงคโปร์ด้วยการ อ้างอิงสายสัมพันธ์บรรพบุรุษกับช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่คัดเลือกกับ บางกลุ่มประเทศและบางชุมชน สายสัมพันธ์เหล่านี้คือรากลึกของความเป็นเอเชียของสิงคโปร์   กระบวนการการสร้างนักท่องเที่ยวและเสน่ห์ตะวันออกในบริบท (Touristification and Orientalization processes in context) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย เป็นสถาบันในระดับประเทศที่สร้างความเป็นเอเชียของสิงคโปร์ สถาบันเหล่านี้ไม่ได้เพียงแสดงบทบาทตามโครงการวิศวกรรมทางสังคม(social engineering programmes) แต่ ยังแสดงบทบาทสำคัญต่อการสร้างสิงคโปร์ให้เป็นเอเชียมากขึ้นสำหรับนักท่อง เที่ยวชาวตะวันตก อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า สิงคโปร์ได้พัฒนาสู่เมืองที่ทันสมัย และกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงคโปร์ตระหนักว่า สิงคโปร์ได้สูญเสียเสน่ห์ตะวันออกซึ่งเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวคาดหวังและ เรียกร้อง พิพิธภัณฑ์จึงพยายามสร้างเสน่ห์ตะวันออกให้กับสิงคโปร์เสียเอง   Adorno และ Horkheimer (1972) วิเคราะห์ ไว้ว่ามีแนวโน้มของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในการแทรกความหมายที่สองอย่างเป็นระบบ และเข้าไปแทนที่ความหมายเดิม กระบวนการสร้างเสน่ห์ตะวันออกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์สามารถทำความเข้าใจได้ในบริบทนี้ ผู้เขียนขออธิบายดังต่อไปนี้ ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เรื่องราวจะถูกนำเสนอ และความหมายจะถูกผนวกเข้าไปในวัตถุทางวัฒนธรรม การตีความใหม่และความหมายใหม่นี้เกิดขึ้นในการจัดแสดง ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์สก็อตแลนด์บอกเล่าเรื่องราวและนำเสนอนิยายปรัมปราของสก็อตแลนด์ใน สภาพแวดล้อมของความเข้าใจทางวัฒนธรรมการเมืองร่วมสมัยของประเทศ (Cooke and McLean 2002; Mclean and Cooke 2003; Newman and McLean 2004) ความหมายและบริบทเบื้องหลังสิ่งจัดแสดงถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ นักวิชาการอย่าง Hudson (1987) และ O’Doherty (1986) ชี้ ให้เห็นว่าสิ่งจัดแสดงชิ้นหนึ่ง เช่น ภาพเขียนเก่าหรือประติมากรรม มักมีหน้าที่บางอย่างในความหมายแวดล้อมเดิม เช่น โบสถ์ วัด หรือบ้าน เพื่อสร้างศรัทธาและอารมณ์ร่วม แต่เมื่อกลายมาเป็นสิ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ วัตถุกลับถูกถอนรากและเข้ามาอยู่ใน “บรรยากาศว่างเปล่าและไม่เป็นธรรมชาติ ในพื้นที่ท่ามกลางงานศิลปะอื่นๆ และแข่งขันกันดึงดูดความสนใจ ในสภาพและเงื่อนไขเช่นนั้น ความรู้สึกกลับหมดความหมาย ความรู้เข้ามาแทนที่และพิพิธภัณฑ์กลายเป็นอารามแห่งความเป็นวิชาการ (temple of scholarship)” (Hudson 1987: 175) พิพิธภัณฑ์ ในฐานะพื้นที่ที่นำเสนอภาพตัวแทน ได้เข้าไปตีความและสร้างบริบทให้กับวัตถุจัดแสดงใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียได้สร้างและสอดใส่เรื่องราวและคำบรรยายเข้าไปใน วัตถุจัดแสดง เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสน่ห์ตะวันออกของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในกระบวนการสร้างเสน่ห์ตะวันออกในพิพิธภัณฑ์ ทั้งสามแห่งนี้   ประการแรกและสำคัญยิ่ง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียใช้กระบวน “การสร้างเอเชียใหม่” (‘reasianization’ process) (Hein and Hammond 1995) กระบวน การนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับสิงคโปร์ กระบวนการสร้างเอเชียใหม่พบได้ในประเทศต่างๆ ของเอเชียที่ต้องการค้นหาและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในเอเชีย (Hein and Hammond 1995) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เมื่อ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลายประเทศในเอเชีย อย่างญี่ปุ่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ พยายามแสดงอิทธิพลของตน นักวิชาการและนักวิจัยหลายคนทำนายถึงเศรษฐกิจของตะวันออกไกลที่จะเข้ามามี อิทธิพลเหนือเศรษฐกิจตะวันตก มุมมองดังกล่าวบันดาลใจให้เกิดกระบวนการสร้างเอเชียใหม่ ดังจะเห็นได้จากหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิกเข้ามามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการ เมืองในศตวรรษที่ 21 กระบวนการสร้างเอเชียใหม่เป็นกระบวนการ “เสน่ห์ตะวันออกแบบย้อนกลับ”   กระบวนการ(เสน่ห์ตะวันออกย้อนกลับ) นี้ นำมาซึ่งคุณค่าทางวัฒนธรรมชุดใหม่ให้กับสังคมในเอเชียตะวันออกและอุษาคเนย์ โดยนักสังคมศาสตร์ชาวตะวันตก เพื่อเทียบให้เห็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นล่าสุดในเอเชียกับความนิ่งสนิทและ ความไร้ระเบียบของระบบเศรษฐกิจและสังคมตะวันตกร่วมสมัย การเปรียบดังกล่าวสร้างความชอบธรรมให้กับนโยบายการสร้างชาติของผู้นำทางการ เมืองในประเทศเหล่านั้น เช่น สิงคโปร์ และนำไปสู่ความพยายามในการนิยามและสร้างความเป็นสถาบันให้กับคุณค่าหลัก (Hill 2000).   ผู้คนจำนวนมากมองว่าความสำเร็จทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเหมือนการแตก กิ่งก้านจากลัทธิเต๋า คุณค่าของเต๋าอย่างที่ปรากฏในญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเสือเอเชีย(ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฮ่องกง) ได้สร้างชุดจริยธรรมของการทำงานคือ การทำงานหนัก คิดถึงกลุ่มร่วมงาน สะสมทรัพย์ เรียกได้ว่ามีความใกล้ชิดกับลัทธิทุนนิยม (Hofheinz and Calder 1982; Kahn and Pepper 1979; Vogel 1979) ลัทธิเต๋าและคุณค่าแบบเต๋าได้รับการยอมรับในเชิงบวกขึ้นมาในบัดดล   คุณค่าเหล่านี้เคยถูกมองว่าต่อต้านความก้าวหน้าและต่อต้านการพัฒนา(Hill 2000) เมื่อทศวรรษ 1980 นี้เองที่รัฐบาลสิงคโปร์เริ่มให้ความสำคัญกับรากความเป็นเอเชียของสิงคโปร์ และเริ่มกระบวนการสร้างเสน่ห์ตะวันออกแบบย้อนกลับ (Hill 2000) กระบวนการไม่เคยหยุด ลัทธิเต๋าเบ่งบานขึ้นมาจากวาทกรรมตะวันออกอีกชุดหนึ่ง (Chua 2005) คุณ ค่าแบบเต๋ากลายความหมายมาเป็นคุณค่าแบบเอเชียของสิงคโปร์ การเน้นที่ลัทธิเต๋าเพียงประการเดียวในสิงคโปร์ ได้มอบสิทธิพิเศษให้กับชาวจีน และกันชาวมาเลย์และอินเดียให้อยู่ชายขอบ โดยมิได้ตระหนัก รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างโปรแกรมวิศวกรรมสังคม ที่ได้กลายรูปไปตามแนวคิดของเต๋า เพื่อให้ชาวสิงคโปร์ได้เรียนรู้วินัยทางสังคม เอกภาพของสังคม และความรับผิดชอบต่อชุมชน (Chua 1995; Hill 2000; Lam and Tan 1999) ความภาคภูมิใจในความเป็นเอเชียได้รับการถ่ายทอดไปสู่การท่องเที่ยว ตามแบรนด์ของการประชาสัมพันธ์สิงคโปร์ “เอเชียใหม่” เมื่อปี 1996 (Ooi 2004) ทั้งแบรนด์นั้นและแบรนด์ปัจจุบัน “สิงคโปร์ที่เป็นหนึ่ง” (Uniquely Singapore) ต้องการสื่อสารให้เห็นว่าสิงคโปร์อยู่ในภูมิภาคที่มีพลวัตทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Ooi 2004)   พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเอเชียใหม่เพื่อฉลองการผงาดขึ้นของเอเชีย สิงคโปร์สร้างเสน่ห์ตะวันออกอย่างภาคภูมิใจ เพราะภาพลักษณ์ในสายตาโลกกำลังเป็นไปในทางที่ดีขึ้น รัฐบาลสิงคโปร์รู้จักเลือกใช้ส่วนดีของวาทกรรมตะวันออกในการวางโครงการสร้าง ความคล้อยตาม และเชิญชวนชาวสิงคโปร์ให้เป็นประชากรที่ทำงานหนักและเคารพต่อฝ่ายบ้านเมือง(Chua 1995) แต่กลยุทธ์ในการสร้างเสน่ห์ตะวันออกก็แตกต่างกันไปในพิพิธภัณฑ์ทั้งสามแห่ง   ขณะที่ให้ความสำคัญกับความเป็นสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ได้พยายามถอดภาพเดิมของตะวันออกจากสายตาของ ผู้มาเยือนที่มีต่อสิงคโปร์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ภาพลักษณ์ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กล่าวถึงสิงคโปร์คือภาพจำเพาะเจาะจงและลงลึก ในรายละเอียด พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์มุ่งแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของสิงคโปร์ในอุษา คเนย์ สิงคโปร์มีความแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ให้ตัวอย่างประวัติศาสตร์ทั้งของสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเชีย และประเทศเพื่อนบ้านอื่นซึ่งมีความไม่ลงรอยและความขัดแย้งอย่างรุนแรง นิทรรศการยังมีส่วนที่บอกเล่าความแตกต่างของชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์ ด้วยการแสดงให้เห็นว่าชาวจีนเหล่านั้นพูดภาษาที่ต่างกัน และมีแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ และการปฏิบัติที่แตกต่างกัน นอกไปจากนี้ สิงคโปร์ได้รับการนำเสนอถึงความพิเศษ เพราะได้พัฒนาเป็นสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเนื่องด้วยมีรัฐบาลที่ ดี ไม่เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ หรือกล่าวได้ว่าสิงคโปร์ทั้งเป็นเอเชียและทั้งทันสมัยด้วยวิถีทางของตนเอง   พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ท้าทายภาพของเสน่ห์ตะวันออกที่นักท่องเที่ยวอาจมีอยู่ เกี่ยวกับสิงคโปร์ ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย พิพิธภัณฑ์อวดอ้างความสำเร็จทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐเมืองทั้งที่ต้อง เผชิญหน้ากับความขัดแย้งและสถานการณ์ที่คลุมเครือของเอเชีย   พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์มีลักษณะที่แย้งกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์กลับสร้างวาทกรรมเสน่ห์ตะวันออกขึ้นใหม่ พิพิธภัณฑ์ได้สร้างภาพของตะวันออกให้กับสิงคโปร์และภูมิภาค พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์พยายามยืนยันการเป็นผู้นำในอุษาคเนย์และสร้างเรื่อง เล่าแบบเสน่ห์ตะวันออก ด้วยการสร้างให้อุษาคเนย์เป็นภูมิภาคแห่งสุนทรียะ(aesthetic region) ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ภูมิภาคมีความหลากหลาย และมีประชากรมากกว่า 500 ล้านคนในปัจจุบัน ภูมิภาคประกอบด้วย 10 ประเทศ ที่ต่างกัน และในแต่ละแห่ง มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม หากกล่าวถึงศิลปะร่วมสมัย ก็มีรูปแบบที่หลากหลายในทำนองเดียวกัน ตั้งแต่ภาพเขียนหมึกจีนจนถึงผ้าบาติกชวา ภาพอิมเพรสชั่นนิสม์เวียดนามจนถึงประติมากรรมเชิงนามธรรมของสิงคโปร์ ด้วยเหตุที่การสร้างลักษณะของศิลปะที่เรียกว่าเป็นของอุษาคเนย์โดยแท้ ไม่ใช่เรื่องง่าย พิพิธภัณฑ์จึงนำเสนอความหลากหลายของรูปแบบทัศนศิลป์ที่ปรากฏในภูมิภาคอย่าง ตรงไปตรงมา แล้วจึงจัดแบ่งกลุ่มของผลงาน   คณะกรรมการมรดกแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ยังต้องทำงานไปตามแผนงานของพิพิธภัณฑ์อีกด้วย(STPB and MITA 1995) ด้วย เหตุนี้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์จึงเชิดชูกับความหลากหลายในอุษาคเนย์ พร้อมกันนั้นก็ต้องสร้างภาพของภูมิภาคที่มีความกลมกลืนทางศิลปะ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ได้ประดิษฐ์สร้างอัตลักษณ์ภูมิภาคอุษาคเนย์ ไปอีกลักษณะหนึ่ง เรื่องเล่าที่นำเสนอดังกล่าวสถาปนาให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางศิลปะของภูมิภาค ฉะนั้น พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์จึงพยายามเข้ามาลบภาพเสน่ห์ตะวันออกเก่าที่มีต่อ อุษาคเนย์ ซึ่งปฏิเสธศิลปะในภูมิภาค และทดแทนด้วยภาพในมุมมองใหม่ที่สร้างให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางศิลปะและ วัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์สร้างภาพตะวันออกใหม่ให้กับสิงคโปร์และภูมิภาคด้วยเรื่องเล่าของ ตนเอง   พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียย้ำภาพเสน่ห์ตะวันออกบางภาพ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียมีความใฝ่ฝันที่ยิ่งใหญ่กว่าพิพิธภัณฑ์ศิลปะ สิงคโปร์ ด้วยการนำเสนอวัตถุทางวัฒนธรรมของอารยธรรมใหญ่ของเอเชีย พิพิธภัณฑ์ไม่ได้อ้างถึงรากทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ร่วมกัน ระหว่างจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง แต่เป็นการสร้างกรอบของภาพร่วมระหว่างจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง

ระหว่างบรรทัดของการบอกเล่าอดีต

21 มีนาคม 2556

สาระหรือเนื้อหาที่ได้รับการบอกเล่าและจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์ อนุสรณ์สถาน และหอเกียรติยศ1 ล้วนทำหน้าที่บันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นไปสู่สาธารณชน ทั้งนี้ จุดประสงค์ของการสร้างสถานที่เหล่านั้นแตกต่างกันไป บ้างต้องการสร้างความภาคภูมิใจในกำเนิดและพัฒนาการของหน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มสังคม บ้างปรารถนาสร้างความเข้าใจในความเป็นมาและเป็นไปเพื่อให้ผู้เข้าชมตระหนักถึงสภาพปัจจุบัน บ้างกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ต้องการสร้างความชอบธรรมให้กับผู้มีอำนาจ และยืนยันถึงความถูกต้องในการกระทำของตนเอง ไม่ว่าพิพิธภัณฑ์ ฯ จะสร้างขึ้นด้วยความมุ่งหมายใดก็ตาม การจัดตั้งสถานที่ดังกล่าวสะท้อนว่า มนุษย์ไม่ต้องการให้เวลามาพรากเอาเรื่องราวที่ผ่านแล้วให้พ้นเลยไปจากความคิด ความรู้สึก และการจดจำของผู้คน พิพิธภัณฑ์ ฯ จึงต้องการสร้างสำนึกประวัติศาสตร์ต่อผู้เข้าชมด้วยบทบรรยาย วัตถุจัดแสดง และพื้นที่ในโลกสมมติที่โยกย้ายอดีต ปัจจุบัน หรือแม้แต่อนาคตมารวมไว้ในที่เดียวกัน   มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้สถาปนาขึ้นในปี 2477 อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 72 ในปี 2549 72 ปีของชีวิตและประสบการณ์ "ธรรมศาสตร์" ได้จารึกเรื่องราวของชุมชนและผู้คนในแต่ละช่วงเวลา ชีวิตธรรมศาสตร์เคยผ่านการศึกษาและเผยแพร่มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ดังจะเห็นได้จากหนังสือ บทความ และข้อเขียนต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ในวาระที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อมาถึงปี 2548 การบอกเล่าชีวิตธรรมศาสตร์จะมิใช่เพียงหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อีกต่อไป หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์2 ได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่แสดงเรื่องราว ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่หอประวัติศาสตร์ ฯ นี้สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด เรื่องราวอะไรบ้างที่จัดแสดงและได้รับการถ่ายทอดด้วยวิธีการใด และหากเราเชื่อร่วมกันว่า พิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์ อนุสรณ์สถาน และหอเกียรติยศคือ พื้นที่ที่จะ "หลอมหล่อ" ความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์บางประการ หอประวัติศาสตร์จะสามารถนำเสนอบทบาทของตัวเองไปในแนวทางนั้น ๆ ได้หรือไม่ และเหตุปัจจัยใดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พึงตระหนัก เพื่อให้พื้นที่อนุสรณ์สถานแห่งนี้ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ คำตอบต่อคำถามเหล่านี้เป็นเพียงข้อสังเกตของผู้เขียนที่เกิดขึ้นจากการเข้าชมหอประวัติศาสตร์ และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนจึงใคร่จะเชิญชวนให้ชาวธรรมศาสตร์ได้เข้าชม และแสดงความคิดเห็นเพื่อให้หอประวัติศาสตร์ ฯ เป็นสถานที่ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการเพิ่มเติมความทรงจำและเรื่องราวของชุมชนธรรมศาสตร์ที่ยังคงดำเนินต่อไป พื้นที่และการออกแบบ " อาคารโดมของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารสำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เฉพาะในทางประวัติศาสตร์ด้วยเหตุที่เป็นอาคารหลังแรกของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังมีความผูกพันอยู่กับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย "3 ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวประโยคข้างต้นในการประชุมคณะกรรมการโครงการจัดตั้งหอเกียรติยศ หอประวัติ และพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 อาคารโดมเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยที่ผูกพันอยู่กับประวัติศาสตร์หลายฉากหลายตอน ดังที่ท่านอธิการบดีได้กล่าวเพิ่มเติมในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 " อาคารโดมเป็นศูนย์รวมของขบวนการเสรีไทย เพราะเป็นสถานที่ทำการของผู้ประศาสน์การ4  โดยความคิดส่วนตัวมีความเชื่อว่า ชั้น 3 ของอาคารโดมน่าจะถูกใช้เป็นที่ติดต่อประสานงานกับฝ่ายสัมพันธมิตรในระหว่างสงครามโลก " ด้วยเหตุนี้ " เมื่อมหาวิทยาลัยย้ายหน่วยงานกองการเจ้าหน้าที่ และทะเบียนประวัติ ออกจากชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความทรุดโทรมมาก เนื่องจากเก็บเอกสารเก่า และขาดการดูแล … ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ดีจะสามารถเปลี่ยนสภาพจากแย่ที่สุด เป็นดีที่สุดได้ เป็นที่เชิดหน้าชูตาของมหาวิทยาลัย "    อย่างไรก็ดี อาคารโดมมิได้มีเพียงความหมายซึ่งมีที่มาจากประวัติศาสตร์อันห่างไกลจากคนธรรมศาสตร์ร่วมสมัยแต่อย่างใด "โดม" ยังได้กลายเป็นสัญลักษณ์บางอย่างที่ได้เชื่อมนักศึกษาและผู้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามา วลี "ลูกแม่โดม" อาจช่วยยืนยันถึงความสำคัญของอาคารหลังนี้ต่อชีวิตธรรมศาสตร์ที่มีมาแต่อดีตและที่จะดำเนินต่อไปในกาลข้างหน้า ฉะนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยได้เลือกและและปรับเปลี่ยนพื้นที่ชั้น 3 ของอาคารโดมเป็นหอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นัยและความหมายของพื้นที่จึงเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น เพราะวันและเวลาของพื้นที่ต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยได้ถูกดึงกลับมารวมไว้ ณ ที่เดียวกัน   เมื่อเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ถูกแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ พื้นที่รูปกากบาทได้ถูกจัดแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่แวดล้อมหอเกียรติยศ และส่วนที่เป็นหอเกียรติยศที่อยู่ตรงใจกลางของพื้นที่ เนื้อหาของนิทรรศการประกอบด้วยเนื้อหา 6 ส่วน ได้แก่ โซนที่ 1 พัฒนาการของพื้นที่ท่าพระจันทร์ก่อนการก่อตั้ง มธก. (ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง) โซนที่ 2 ยุคสถาปนามหาวิทยาลัย (2477 - 2491) โซนที่ 3 ยุคเปลี่ยนระบบการศึกษาก่อนปิดตลาดวิชา (2492 - 2502) โซนที่ 4 ยุคปิดตลาดวิชา (2503 - 2516) โซนที่ 5 ยุคการต่อสู้ทางอุดมการณ์และฟื้นฟูมหาวิทยาลัย (2517 - 2528) โซนที่ 6 ยุคขยายการศึกษา (2529 - ปัจจุบัน)   จากทางเข้าหอประวัติศาสตร์ เส้นทางการเดินชมจะวนไปตามเข็มนาฬิกา โดยเนื้อหาจะเรียงลำดับไปตามช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุค จะมีป้ายบอกหัวเรื่องและขอบเขตของเวลาที่เกี่ยวข้อง และจากจุดเริ่มต้น นิทรรศการจะพาผู้ชมย้อนกลับไปในอดีตที่ไกลที่สุดของพื้นที่ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปัจจุบัน และเมื่อผู้ชมเดินเข้าไป เวลาก็จะล่วงไปพร้อมกับเรื่องเล่าที่ค่อย ๆ ย่างเข้าสู่ยุคปัจจุบัน จนกระทั่งถึงใจกลางของห้องจัดแสดง เส้นทางการเดินชมดังกล่าวจะปูพื้นความรู้ทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงในระยะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เป็นอย่างดี   " อาจารย์นครินทร์ก็จะมีวิธีการมองประวัติศาสตร์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าเป็นจุดเด่นสำคัญของการวางเนื้อหาในทิศทางทั้งหมดเลย คือ ควรจะปล่อยให้ผู้ชมสามารถสร้างความทรงจำได้เองในเหตุการณ์นั้น ๆ ควรจะเสนอแบบว่า ภาพหลาย ๆ ด้านในช่วงแต่ละเหตุการณ์ แล้วก็ตั้งชื่อเหตุการณ์อย่างเป็นกลาง ไม่ใช่บอกว่าเหตุการณ์ช่วงนั้นมันดีอย่างไร มันเลวอย่างไร แต่ว่า เสนอออกไปแล้วก็ให้ผู้ชมเป็นผู้เลือกจำเอาเองว่าจะจะเหตุการณ์นั้น ๆ อย่างไร แกเชื่อว่า คนที่อยู่ในช่วงเหตุการณ์นั้นๆ เขาก็มีความสุขในแบบหนึ่งของเขา "5   การจัดแบ่งเรื่องราวจึงเป็นไปตามประวัติศาสตร์และพัฒนาการของการเรียนการสอน โครงสร้างของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ไม่ใช่เรื่องการเมืองหรือการเคลื่อนไหวของนักศึกษา เหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงจะแสดงให้เห็นจากโทนสีในนิทรรศการ จากภาพขาวดำและซีเปียไปสู่ภาพที่มีสีสันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สถาปนิกหนึ่งในทีมงานออกแบบย้ำถึงความเป็นกลางและไม่พยายามโน้มน้าวการตีความของห้องจัดแสดง   " เราจะต้องทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นกลางที่สุดในแง่ของบรรยากาศโดยรวม ความเป็นกลางคือ ไม่บอกว่าห้องนี้มืด ห้องนี้สว่าง ห้องนี้สนุก ห้องนี้เศร้า ไม่ใช่ แล้วให้ตัววัตถุจัดแสดงให้แสดงตัวเอง … ทำเป็นเหมือน gallery เหมือนกับห้องแสดงศิลปะที่ตัวห้องเองมันไม่มีอะไรเลย เอางานมาแสดงมันก็จะแสดงตัวตนของมันอยู่กับที่ เช่น คนเอารูปเศร้าไปติด ห้องมันก็จะเศร้า "   อย่างไรก็ตาม เรื่องราวไม่ได้ถูกตัดขาดออกจากกันโดยสิ้นเชิง ในทางตรงกันข้าม เนื้อเรื่องได้ถูกเรียงร้อยกันไปตามพื้นที่ ผู้ชมมีโอกาสทราบล่วงหน้าว่า สิ่งที่จะพบต่อไปนั้นจะเป็นอะไร เรียกได้ว่าเป็น สัมพันธภาพภายในของเนื้อหาและพื้นที่ สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งในห้องจัดแสดงคือ การปรับปรุงลักษณะสถาปัตยกรรมภายใน ด้วยการเปิดเพดานให้เห็นโครงสร้างไม้ของหลังคารูปโดมและโครงสร้างผนังอิฐบางส่วน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวช่วยเสริมบรรยากาศของหอประวัติศาสตร์ ฯ ให้ผู้ชมได้ระลึกถึงความหมายของสถานที่ในขณะชมนิทรรศการได้เนือง ๆ   นอกจากความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในห้องนิทรรศการแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาในห้องจัดแสดงกับสถานที่ภายนอกก็ยังเป็นจุดเด่นอีกประการหนึ่งของหอประวัติศาสตร์ ฯ อาทิเช่น ในระหว่างเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 ลานโพธิ์เป็นความทรงจำร่วมของผู้คนจำนวนมาก ไม่แต่เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เอง หากแต่เป็นพื้นที่ร่วมที่สำคัญของความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงเวลานั้น การนำเสนอเรื่องราวดังกล่าวอยู่ในโซนที่ 4 ซึ่งการจัดแสดงมิได้จำกัดมิติการนำเสนออยู่แต่เพียงเนื้อหา ภาพ หรือสิ่งที่จัดแสดงในรูปใบปลิวจำลอง เท่านั้น กล่าวคือ เมื่อผู้ชมย่างเข้าไปใกล้หน้าต่างด้านประตูท่าพระจันทร์มากขึ้น ภาพเหตุการณ์ซึ่งจัดแสดงบนบานหน้าต่าง ก็คล้อยให้ผู้ชมหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ที่โน้มนำผู้คนเป็นจำนวนมากให้มารวมตัว ณ ลานโพธิ์ที่อยู่ภายนอก จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวอื่น ๆ นอกมหาวิทยาลัยด้วย   จุดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งได้แก่ ช่องนาฬิกา ที่จัดแสดงในโซนที่ 5 "การต่อสู่ทางอุดมการณ์และฟื้นฟูมหาวิทยาลัย" ซึ่งหากผู้ชมมองผ่านช่องแสงของนาฬิกาออกไป จะเห็นลานหน้าอาคารโดมและรูปปั้นของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย ฯ ตั้งเป็นสง่าอยู่ภายนอก การจัดแสดงนาฬิกาสัมพันธ์กับสิ่งที่ปรากฎภายนอก ด้วยเหตุนี้นาฬิกาจึงมิใช่เป็นเครื่องจักรที่บอกเวลาแต่เพียงอย่างเดียว นาฬิกายังได้สะท้อนคืนวันของการก่อตั้ง เรื่องราว และความเปลี่ยนแปลงที่ "ธรรมศาสตร์" ได้ผ่านพบมาด้วย   ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงรายละเอียดบางประการของการจัดตั้งหอประวัติศาสตร์ ฯ และลักษณะของการจัดแสดงภายใน เมื่อได้เข้าชมหอประวัติศาสตร์ ฯ ณ สถานที่จริงแล้ว แต่ละคนอาจรับรู้และตีความข้อมูลต่างออกไปจากนี้ก็เป็นได้ ผู้เขียนหวังจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปฏิกริยาที่พึงมีขึ้นเมื่อผู้อ่านได้เข้าชมหอประวัติศาสตร์ ฯ ด้วยตนเอง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อีกทั้งควรที่จะแบ่งปันและสะท้อนความคิดเห็นของตนไปยังผู้ดูแลรับผิดชอบหอประวัติศาสตร์ ฯ ด้วย ในส่วนที่สองของบทความนี้ ผู้เขียนจะขอพิจารณา "ลักษณะเด่น" ของนิทรรศการในหอประวัติศาสตร์ ฯ เพื่อทำความเข้าใจและเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นที่หยิบยกขึ้นมา   ย้อนมองเรื่องเล่า   "หากเราพิจารณาว่า การเขียนคือ การควบคุมเวลาที่ผันผ่าน ชีวิตที่ดำเนินไป ทั้ง "ช่วงเวลาอันยิ่งใหญ่" ความเป็นไป และความเจ็บปวด ฉะนั้น การสืบสวนการกระทำนี้จะมิใช่การทำความเข้าใจอย่างลุ่มลึกลึกกับ สิ่งที่วัฒนธรรมได้รังสรรค์ขึ้นหรอกหรือ ?" มาร์แตง เดอ ลา ซูดิแยร์ และ โคลดี วัวส์นาท์   การดำเนินเรื่องราวในหอประวัติศาสตร์นั้น ได้ใช้พัฒนาการของมหาวิทยาลัยในแต่ละช่วงเวลาเป็นตัวหลักในการดำเนินเรื่อง ในขณะเดียวกัน นิทรรศการก็จัดแสดงหลักฐานพยานที่เป็นหนังสือ เอกสารราชการ ใบปลิว และเอกสารอื่น ๆ ซึ่งทำจำลองขึ้น เพื่อยืนยันให้เห็นถึงความความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น หลักฐานพยานที่ย้ำความสำคัญของสิ่งพิมพ์ได้แก่ แท่นพิมพ์ ที่สื่อนัยแห่งตนเสมือนเป็น "บรรพบุรุษ" ที่มีคุณูปการต่อการวางรากฐานทางวิชาการช่วงต้น ใน "ธรรมศาสตร์" สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จึงได้แทรกและประกอบเข้ามาในแต่ละช่วงของการจัดแสดง อย่างไรก็ตาม หากผู้เข้าชมมิได้ใส่ใจต่อการอ่านคำอธิบาย หนังสือและเอกสารจำลองเหล่านั้น (ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน) สิ่งแสดงเหล่านี้ก็คงเป็นได้แต่เพียงของประดับมากกว่าหลักฐานพยานที่จะช่วยผู้ชมให้เข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ได้อย่างแท้จริง ผู้เขียนขอยกตัวอย่างคำอธิบายสิ่งที่จัดแสดง ที่ปรากฎในนิทรรศการ "การสถาปนา มธก. มุ่งสร้าง "พลเมืองใหม่" ให้ระบอบประชาธิปไตย การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการเมืองการปกครองจึงมีความจำเป็น ดังนั้น การเผยแพร่สาระสำคัญของพระราชบัญญัติและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ฯ จึงดำเนินไปอย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนแสวงหาความรู้ที่ครั้งหนึ่งเคยปกปิดภายใต้ระบอบเก่าและมุ่งดับความกระหายในความรู้ในระบอบประชาธิปไตย"6 "วิชาลัทธิเศรษฐกิจนี้เคยเป็น "วิชาต้องห้าม" ในระบอบเดิม แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง วิชาดังกล่าวถือเป็นวิชาสำคัญวิชาหนึ่งในหลักสูตร มธก. อันมีจุดมุ่งหมายในการสร้างบัณฑิตให้มีความคิดที่กว้างไกล รู้จักวิพากษ์วิจารณ์ความอยุติธรรมที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายและในสังคม ตำราเล่มนี้เป็นตำราลัทธิเศรษฐกิจเล่มแรกของมหาวิทยาลัยเขียนโดยอาจารย์ประจำชาวอังกฤษ…"7   "ตำราเล่มนี้ถือเป็นตำรากฎหมายปกครองเล่มแรกของมหาวิทยาลัย เดิมวิชานี้เคยสอนในโรงเรียนกฎหมาย ซึ่งบุกเบิกการสอนวิชานี้โดยนายปรีดี พนมยงค์ แต่การเรียนการสอนที่โรงเรียนกฎหมายนั้นไม่อาจทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสมัยนั้นยังเป็นระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองและการสถาปนามหาวิทยาลัยแล้ว การเรียนการสอนวิชากฎหมายปกครองจึงมีความเข้มข้นมากขึ้น ในตำราเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิของประชาชน หน้าที่ของสถาบันการเมือง การดำเนินการทางปกครองและมหาชนของรัฐบาล การเปรียบเทียบการปกครองระบอบเก่าและระบอบประชาธิปไตย การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น"8   "… วัตถุประสงค์ของวิชานี้ไม่เพียงการเตรียมบัณฑิตที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีต่อไปในอนาคตเท่านั้น แต่ยังทำให้บัณฑิตที่มุ่งเป็นนักการเมืองสามารถเข้าใจกลไกและการปฏิบัติงานของราชการด้วย โดยสรุปแล้ว วิชานี้ทำให้การบริหารงานราชการที่เคยปิดลับในระบอบเก่า กลายเป็นวิชาที่โปร่งใสเข้าใจได้โดยสามัญชนในระบอบประชาธิปไตย"9       

ความหมายของสิ่งของ จากการสะสมถึงพิพิธภัณฑสถานในยุโรป

22 มีนาคม 2556

การสะสมสิ่งของ เป็นกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อการสั่งสมทางวัฒนธรรมของมนุษย์ พัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ มีฐานมาจากการถ่ายทอดความรู้ ผ่านการอบรมเลี้ยงดู ทั้งจากบรรพบุรุษที่มีตัวตนจริง และที่เป็นเรื่องเล่า ตำนาน ทั้งภายในบริบทครอบครัวและการศึกษาอย่างเป็นทางการ ในสังคมก่อนสมัยใหม่ องค์ความรู้ส่วนหนึ่งถ่ายทอดโดยผ่านมุขปาฐะ ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ และอีกส่วนหนึ่งคือการส่งผ่านความรู้โดยวัตถุที่สั่งสม ฉะนั้นในฐานะหนึ่ง วัตถุย่อมแสดงถึงความมีตัวตนของสังคมมนุษย์ในวัฒนธรรมหนึ่ง และเป็นสิ่งที่บอกการเปลี่ยนผ่านจากสังคมที่มีเทคนิควิทยาที่มีความเรียบง่าย ไปสู่สังคมที่มีการผลิตด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้น ขณะเดียวกัน การสะสมเป็นการปฏิเสธจุดจบหรือความตายของสิ่งที่เคยคงอยู่ และสืบทอดการดำรงอยู่ในอดีตมายังปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ การสะสมจึงปฏิเสธและเก็บกัก "เวลา" ไปพร้อม ๆ กัน วัตถุประสงค์ของการสะสมสิ่งของยังเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับพัฒนาการความรู้ วัตถุกลายเป็นเครื่องมือและ หลักฐานประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต และนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้น ถ้าให้ยกตัวอย่างของวัตถุที่บรรจุความรู้ไว้สำหรับเป็นรากฐานในการคิด แล้วเชื่อมโยงไปสู่การสรรค์สร้างสิ่งต่าง ๆ ในอนาคต เห็นจะไม่พ้นหนังสือที่สามารถส่งผ่านสาระความรู้ได้อย่างชัดเจนที่สุด นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของการเก็บสะสมวัตถุเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดแบ่งประเภทสิ่งของ และเป็นตัวแทนศัพท์แสงทางวิชาการ วัตถุประสงค์สองประการนี้แสดงให้เห็นฐานรากของหน้าที่พิพิธภัณฑ์ อันกอปรด้วยการอนุรักษ์ (รวบรวม สงวน ป้องกัน) และการศึกษา (จัดแสดง สังเกต วิเคราะห์) หรือการตีความและสื่อสารกับบุคคลทั่วไป จากช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์เริ่มการสะสมวัตถุ โดยจะเห็นได้จากการพบวัตถุในหลุมศพ แน่นอนว่าความคิดของการสะสมในช่วงเวลานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ดี การสะสมยังคงดำเนินต่อมา ในสมัยประวัติศาสตร์ แม้ว่าการสั่งสมวัตถุจะมิได้เป็นไปเพื่อการศึกษา แต่การสะสมย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ครอบครองให้ความสำคัญต่อการเก็บและอนุรักษ์วัตถุอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างของการสะสมภายใต้แนวคิดดังกล่าว เช่น Tuthmois III แห่งราชวงศ์อียิปต์โบราณ (1504 - 1450 ก่อนคริสตกาล) วัตถุสะสมเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ที่นำกลับมาพร้อมกับกองทัพภายหลังการรบ และอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของการสะสมวัตถุที่มิใช่เพียงการนำเอาวัตถุที่ "แปลกปลอม" มาจากภายนอก ได้แก่ กษัตริย์ Nebuchadrezzer (605 - 562 ก่อนคริสตกาล) และ Nabonidur แห่งจักรวรรดิ์บาบิโลเนียน ผู้สะสมโบราณวัตถุ และขุดค้น บูรณะ บางส่วนของนครอูร์ (Ur) จนถึงยุคกรีกโบราณ การสะสมได้เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ไป วัตถุกลายเป็นพยานสำคัญของสังคมวัฒนธรรมในอดีต เราสามารถเรียนรู้ถึงกระบวนการคิดและวิวัฒนาการของมนุษย์ในสังคม ข้อสันนิษฐานที่แสดงให้เห็นถึงการสะสมภายใต้แนวคิดเช่นนี้ ได้แก่ การถ่ายทอดความรู้ของอริสโตเติล (384 - 322 ก่อนคริสตกาล) ต่อศิษยานุศิษย์ที่ Lyceum ในกรุงเอเธนส์ ในกาลต่อมาศิษย์ของอริสโตเติล Demetrins of Phaleron เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการสร้างพิพิธภัณฑสถานที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งสร้างขึ้นโดยการสนับสนุนของ Ptolemy Sotor และกลายเป็นพิพิธภัณฑสถานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวลานั้น สิ่งสะสมของพิพิธภัณฑ์อเล็กซานเดรียเกี่ยวข้องกับธรรมชาติวิทยา ทั้งพืชและสัตว์ อย่างไรก็ดี วัตถุเหล่านั้นยังคงเป็นวัตถุสำหรับการศึกษาทางวิชาการของสถาบันมากกว่าเป็นการจัดแสดงเพื่อให้สาธารณชนทั่วไปเข้าไปหาความรู้อย่างพิพิธภัณฑสถานในปัจจุบัน นอกจากนี้ การจัดแสดงจิตรกรรมในปีกด้านหนึ่งของวิหาร Propylea ณ Acropolis ในกรุงเอเธนส์เป็นการจัดแสดงในที่สาธารณะเช่นกัน ในยุคต่อมา สังคมโรมันยังคงให้ความสำคัญกับการสะสมวัตถุในแง่ที่วัตถุอันถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าประวัติศาสตร์ ความงาม และมูลค่า การสะสมจึงเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสงครามการยึดครองดินแดน วัตถุกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการมีอำนาจเหนือพื้นที่ที่ได้จากการรุกราน แต่ในขณะเดียวกัน วัตถุของวัฒนธรรมผู้ถูกครอบครองกลายเป็นสิ่งที่ต้องอนุรักษ์หวงแหน ถึงขนาดชาวโรมันทำวัตถุจำลองที่ไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ ศาสนาสถานของชาวโรมันมิได้รวบรวมเพียงผลงานศิลปกรรม ยังเป็นสถานที่ของการนำเสนอ "ของแปลก" ที่มาจากสังคมวัฒนธรรมอื่น วัตถุเหล่านั้นเป็นสิ่งของที่เข้ามาพร้อมกับนักเดินทางและทหารที่ผ่านการรบทัพ อย่างที่ Hierapolis ที่มีวัตถุสะสมเป็นเครื่องประดับของชาวอินเดียน ขากรรไกรปลาฉลาม งาช้าง หรืออย่างวิหาร Herculis ในกรุงโรมที่ปรากฏหนังสัตว์ พืชหายาก และอาวุธจากต่างแดน จากที่กล่าวมาเห็นได้ว่า งานสะสมไม่ใช่เป็นเพียงวัตถุที่พึงมีไว้เพื่อศึกษาและสัมผัสความงาม หากแต่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์ สงวน ซึ่งเป็นพัฒนาการที่สำคัญของรูปแบบงานพิพิธภัณฑ์ในวัฒนธรรมโลกตะวันตก1 จากภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน อันถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดอารยธรรมโบราณ สถาบันทางศาสนาเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอำนาจของอาณาจักร และยังมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์วัตถุทางวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ โบสถ์หรือสถิตย์สถานแห่งอำนาจในยุคกลาง (ควบคู่ไปกับชนชั้นการปกครอง) ทำหน้าที่เสมือนกับพิพิธภัณฑ์ศาสนศิลป์ แต่แน่นอนว่าศาสนสมบัติที่ปรากฏมิได้เป็นวัตถุศิลปะตามความคิดของพิพิธภัณฑสถานในปัจจุบัน เพราะสิ่งของเหล่านั้นย่อมปรากฏร่างในบริบทของศาสนสถาน มิใช่อาคารในชีวิตโลก2 และเมื่อศาสนจักรลดบทบาททางการเมืองในยุคต่อมา การสะสมวัตถุกลายเป็นความนิยมในราชสำนักและคหบดี เนื่องจากสังคมในขณะนั้นหันมาให้ความสนใจต่อศิลปะและการอักษร วัตถุจากอดีตสมัยในฐานะเครื่องบ่งชี้คุณค่าของโบราณกาลกลายเป็นสัญลักษณ์สถานะภาพสังคมชั้นสูง อาทิ การสะสมศาสนวัตถุของ Abbot Bernard Suger (AD 1081 - 1151) ณ The Royal Abbey of St. Denis ในฝรั่งเศส หรืองานสะสมของ Henry of Blois ซึ่งเป็น Bishop of Winchester and Abbot of Glastonbury (AD 1099 – 1171) แรกสมัย (ศตวรรษที่ 15 - 18): พิพิธภัณฑสถานเพื่อการชื่นชมในวัฒนธรรมชนชั้นสูง และพิพิธภัณฑสถานของนักธรรมชาติศึกษา ศตวรรษที่ 12 ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และปรัชญาการหาความรู้เน้นลักษณะเชิงประจักษ์ หรืออย่างที่ขนานนามยุคสมัยว่า ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เป็นช่วงสมัยของการให้คุณค่ากับการศึกษาทางประวัติศาสตร์ และการสร้างความรู้ด้วยการพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานจากอดีต และสรรพสิ่งร่วมสมัย การถือกำเนิดของพิพิธภัณฑสถาน (ตามความหมายในปัจจุบัน) จึงเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมเช่นว่านี้ การสะสมมีความหมายทั้งนัยที่เป็นงานสะสมส่วนบุคคลเพื่อการศึกษา เป็นรสนิยมร่วมสมัยของชนชั้น และเป็นพยานหลักฐานของการจาริกไปยังแผ่นดินอันไกลโพ้น ฉะนั้น หากจะสรุปรูปลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ที่ปรากฎในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะเป็นไปใน 2 ลักษณะ คือ (1) พิพิธภัณฑสถานเพื่อการชื่นชมในวัฒนธรรมชนชั้นสูง และ (2) พิพิธภัณฑสถานของนักธรรมชาติศึกษา พิพิธภัณฑสถานเพื่อการชื่นชมของวัฒนธรรมชนชั้นสูง งานสะสมของตระกูลการค้าบางตระกูล กลุ่มปกครองบางกลุ่มจัดแสดงในพื้นที่เฉพาะ Cosimo de Medici สมาชิกของตระกูลเมดีชี ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นมาจากการค้าและการธนาคาร และเป็นผู้ปกครองนครฟลอเรนซ์ในอิตาลี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 และ Lorenzo the Magnificent มีงานสะสมเป็นพวกหนังสือ ตราประทับ หินมีค่า เหรียญตรา พรม วัตถุในยุคไบแซนไทน์ จิตรกรรม และประติมากรรมร่วมสมัยอื่น ๆ คำว่า "museum" ปรากฏขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ดี คำเรียกอื่นกลับเป็นที่นิยมมากกว่า "gallery"3 ที่อธิบายถึงที่จัดแสดงจิตรกรรมและประติมากรรม "cabinet" ใช้ในการอธิบายคลังเก็บของแปลก ของหายาก หรือสถานที่เก็บศิลปวัตถุ คำตามนิยามทั้งสองใช้อย่างแพร่หลายทั้งในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส4 รูปแบบของการสะสมและการจัดแสดงแพร่หลายทั่วไปในยุโรป5 ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 และ 17 พร้อมกับขั้วอำนาจในยุโรปที่เปลี่ยนจากอิตาลีมาสู่ฝรั่งเศส สเปน ปรัสเซีย และออสเตรีย ในยุโรปตอนกลาง Wilhelm II และ Albrecht V ดุคส์แห่งบาวาเรียเก็บสะสมงานศิลปะในช่วงปี ค.ศ. 1563 - 1567 ณ เมืองมิวนิค Albrecht ยังได้สร้าง Antiquarium เพื่อเก็บงานสะสมที่เกี่ยวกับอารยธรรมโรมันในช่วงปี ค.ศ. 1580 - 15846 อย่างไรก็ดี ลักษณะของงานสะสมที่พัฒนาไปพร้อมกันคือ การสั่งสมวัตถุที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของนักธรรมชาติศึกษา ไม่ว่าจะเป็น herbarium ที่เก็บตัวอย่างพืชของ Luca Ghini (1490 - 1556), Historiae animalium ของ Konrad von Gesner ผู้สะสมวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติวิทยา ซึ่งเป็นงานสะสมที่สำคัญในช่วงเวลานั้น หรือตัวอย่างพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ของ Ulisse Aldovandi (1522 - 1614) ในการเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งต่อมางานสะสมดังกล่าวได้พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยโบลอนนาในปี ค.ศ. 1743 อย่างไรก็ตาม การสะสมวัตถุทางวัฒนธรรมทุกประเภทและทุกยุคสมัย7 เป็นความนิยมของยุคสมัยและกลายเป็นสัญลักษณ์ของลำดับชั้นอำนาจ8 ความยิ่งใหญ่ และความรุ่มรวยของเจ้าของวัตถุ ผู้กุมอำนาจปกครองหรืออยู่ในชนชั้นดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ของการรวมศูนย์กลางอำนาจไว้ที่ราชสำนัก ตัวอย่างงานสะสมและการจัดแสดงที่สะท้อนความยิ่งใหญ่ของราชสำนักได้แก่ พระราชวังแวร์ซายส์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 และ 14 ทั้งการตกแต่ง ผลงานศิลปกรรม และการจัดสวน หรือ "พื้นที่แสดง" ที่ปรากฏในความสัมพันธ์ระหว่างตัวปราสาท (เมือง - ศูนย์กลาง) และที่พำนักนอกเมือง (สวน Tuileries ด้านหน้า) ของพระราชวัง Louvre เป็นลักษณะการแสดงความยิ่งใหญ่ของราชสำนักในศตวรรษที่ 17 และต้นศตวรรษที่ 18 พื้นที่แสดงงานสะสมเช่นที่กล่าวมาเปิดให้คนทั่วไปเข้าชม แม้ในบางที่จะต้องมีการเสียเงินหรือต้องมีกฎ มีการนัดหมายที่ครัดเคร่งต่อผู้ที่สามารถเข้าชมห้องแสดงหรือห้องเก็บของแปลกและหายาก (cabinet, closet of curiosities) แต่ส่วนมากผู้เข้าชมมักเป็นแขกเชิญของผู้เป็นเจ้าของ ดังนั้น ความคิดของการเปิดให้สาธารณชมเข้าชมอย่างเป็นอิสระ (accessibility) ยังมิใช่เรื่องหลักของการจัดแสดงในยุคนั้น การนำเสนองานสะสม ผลงานศิลปะ เป็นการเสนอปริมาณของวัตถุที่อยู่ในงานสะสม (spectacle of abundance) ผู้ที่เข้าชมสมบัติหรืองานสะสมย่อมรับรู้ถึงความมั่งมีผู้เป็นเจ้าของ และซึมซับความหมายของวัตถุไปตามความรู้สึกของการครอบครองทรัพย์ศฤงคาร มากกว่าเป็นการพินิจพิเคราะห์รูปทรงและเนื้อหาความหมายของวัตถุ การนำเสนอที่นำสิ่งของมากองหรือจัดแสดงทั้งหมด จึงเป็นประหนึ่งการเข้าไปชมคลังวัตถุ ฉะนั้น หากพิจารณาจากมุมมองของวัฒนธรรมปัจจุบัน ย่อมเป็นตัดสินว่าการนำเสนอเป็นเรื่อง "สัพเพเหระและไร้ระเบียบ"9 แต่เมื่อพินิจมองอีกมุมหนึ่งรูปแบบดังกล่าวกลับสะท้อนโลกทัศน์ ตัวตน สิ่งแวดล้อม โลกจักรวาล ความสนใจในสิ่งที่ใกล้และไกลตัว10 ของผู้ครอบครอง สมบัติจากการสั่งสมและการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินในอุปถัมภ์ หรืองานวัฒนธรรมในยุคสมัยนั้น รับใช้ต่ออำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ แสดงออกถึงความมั่งคั่งเช่นที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม งานสะสมของราชวงศ์กลายเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ที่เกิดอย่างเป็นทางการในระยะต่อมา อันได้แก่ Galerie des Offices ณ เมืองฟลอเรนซ์, พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ณ กรุงปารีส, พิพิธภัณฑ์ปราโด ณ เมืองแมดริด, Neue Pinakothek ณ กรุงมิวนิค, Hermitage Museum ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบริก์ รวมทั้งการเกิดขึ้นของการจัดแสดงที่ "ทันสมัย" และพิพิธภัณฑสถานที่ดำเนินการ "เพื่อมวลชน" สถาปนาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ยุคสิ้นสุด "การปกครองเดิม" (ปลายศตวรรษที่ 18 - ปลายศตวรรษที่ 19) : พิพิธภัณฑสถานเพื่อมวลชนในฐานะเครื่องมือของการส่งผ่านความรู้ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ด้วยการยึดอุดมการณ์ของความก้าวหน้า สิทธิมนุษยชนสากล และเหตุผลนิยม สังคมยุโรปเคลื่อนเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การปฏิวัติฝรั่งเศสในฐานะที่เป็นจุดเปลี่ยนและจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคม ปรัชญาการดำเนินชีวิต การแสวงหาความรู้ นำพาสังคมไปสู่ยุคสมัยใหม่ ประชาชนเป็นผู้สร้างความชอบธรรมในกระบวนการปกครอง รัฐรวมอำนาจไว้ศูนย์กลางภายใต้แนวคิดชาตินิยม อำนาจทางเศรษฐกิจตกสู่ประชาชนทั่วไป แต่ในความเป็นจริงกลับตกอยู่ในมือของคนเฉพาะกลุ่มที่สามารถเข้าถึงทรัพยากร ความมั่งคั่งและอิทธิพลทางสังคมจึงตกอยู่ที่พวกกระฎุมพี อย่างไรก็ดี ตัวแบบของนโยบายการปกครองจึงเปลี่ยนไปสู่ความสนใจต่อสาธารณสุข ความมั่งคั่ง และการศึกษาในระดับกว้าง ประชาชนทั่วไปมีอิสระมากขึ้น และหันมาให้ความสนใจกับการศึกษา รวมทั้งมรดกของตนเองในระดับที่กว้างขวางขึ้น ปรัชญาการแสวงหาความรู้ที่พัฒนาเรื่อยมาจากยุค Enlightenment เมื่อประมาณศตวรรษก่อนหน้านั้น ที่เน้นกระบวนการคิดที่เป็นความถูกต้องลงตัวดังเช่นสมการคณิตศาสตร์ การตัดทอนสรรพสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นสิ่งย่อยที่สุดเพื่อทำความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ รวมทั้งการเข้าไปจัดแบ่ง ควบคุม และจัดลำดับ11เหล่านี้ทำให้ขบวนการทำงานวิเคราะห์วิจัยต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑสถาน และการสร้างเนื้อหาสาระการจัดแสดงเชื่อมโยงกับโดยตรงกับโลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑสถานในช่วงสมัยกลายเป็นเครื่องมือของการถ่ายทอด หรือส่งผ่านความรู้ที่เห็นว่าความเป็น "ความรู้สาธารณะ" การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมที่เชื่อมั่นในลัทธิของความเท่าเทียมกัน หรือที่เรียกขานกันว่า ประชาธิปไตย รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของการแสวงหาความรู้ที่ปฏิเสธโลกทัศน์แบบความเชื่อและศาสนา ส่งผลต่อการแปรเปลี่ยนรูปลักษณ์พิพิธภัณฑสถานจากพิพิธภัณฑ์ "คลังสมบัติ" สู่พิพิธภัณฑสถานในฐานะแหล่งเรียนรู้ที่เปิดประตูต้อนรับสาธารณชน ในประเทศอังกฤษพิพิธภัณฑ์แอชโมเลียน หรือ Ashmolean Museum of Oxford (1677) กำเนิดจากงานสะสมของ John Tradescent และบุตรชายที่เกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ ณ เมือง Lembeth ซึ่งเปิดให้คนเข้าเยี่ยมชมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1623 ต่อมางานสะสมดังกล่าว รวมทั้งวัตถุสะสมเพิ่มเติมของ Eilas Ashmole อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอังกฤษขณะนั้น ได้พัฒนาสู่การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานของมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี ค.ศ. 1683 British Museum of London (1759) งานสะสมของพิพิธภัณฑ์พัฒนามาจากวัตถุสะสมของเอกชน Sir Hans Sloane ซึ่งพระราชบัญญัติของสภาได้ตัดสินให้ถ่ายโอนงานสะสมไปสู่การจัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของสาธารณชน12 ในฝรั่งเศส การปฏิวัติในปี ค.ศ. 1789 ส่งผลต่อการสร้างอุดมการณ์รัฐที่เรียกว่า "?duquer la Nation" (การให้ศึกษาแก่ชาติ) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1790 พระราชบัญญัติที่เกี่ยวเนื่องกับมรดกของชาติได้ในฐานะที่เป็นสมบัติของสาธารณชนได้รับการประกาศใช้ เรียกได้ว่าเป็นการต่อต้านต่ออำนาจเดิม เนื่องเพราะพระราชวัง ปราสาท และมรดกสถานหลายแห่งเป็นสัญลักษณ์ของการรวมศูนย์อำนาจ ในระหว่างปี ค.ศ. 1793 - 1795 พิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ ถือกำเนิดขึ้นในนครหลวง ได้แก่ (1) le Museum central des Arts - le Louvre (พิพิธภัณฑ์ศิลปะ) (1793) (2) le Museum d’histoire naturelle (พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา) ซึ่งสร้างมาจาก "สวนหลวง" (Jardin du Roi) (1793) (3) le Conservatoire national des Arts et metiers (พิพิธภัณฑ์ประดิษฐกรรมและวิศวกรรม) (1794)13 ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปก็สร้างพิพิธภัณฑ์สาธารณะขึ้นเช่นกัน Schloss Belvere กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เปิดในปี ค.ศ. 1784 ซึ่งแสดงจิตรกรรมของราชสำนักต่อสาธารณชน ในสเปน แม้ว่างานสะสมในราชสำนักของพระราชวัง Escorial เปิดให้ประชาชนเข้าชมตามความจำนงค์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่งานสะสมดังกล่าวพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะในปี ค.ศ. 1785 ในรูปโฉมของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในโปรตุเกสที่เป็นสู่สาธารณชนในปี ค.ศ. 1772 ในเยอรมนี Altes Museum โดยความประสงค์ของ Frederick William III ซึ่งมีรากฐานงานสะสมจาก Unter den Linden Academy และเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี ค.ศ. 1830 ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 กระบวนการทำงานจึงประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาสู่การศึกษาวัตถุ และการให้ความรู้ต่อสาธารณชน ในเรื่องของวัตถุ การจัดแบ่งประเภทเข้ามาสู่ระบบงานพิพิธภัณฑ์ งานสะสมจึงมิใช่เพียงกองกรุวัตถุที่ทับถมรวมกัน งานเขียนสามารถเป็นตัวแทนของกระบวนการทำงานดังกล่าวคือ Museographia ของ Casper F.Neikel ซึ่งพิมพ์ในปี ค.ศ. 1727 ที่ Leipzig14 และในระยะต่อมา ปรากฏงานการจัดแบ่งประเภทวัตถุธรรมชาติศึกษาและโบราณศึกษาที่ทันสมัย ได้แก่ งานของ Linnaeus (พิมพ์ในปี ค.ศ. 1735) Thomsen (พิมพ์ในปี ค.ศ. 1836) ส่วนการจัดแสดง หรือการให้ความรู้ต่อสาธารณชนนั้น กระบวนการส่งผ่านความรู้แบบ didactique15 เป็นฐานรากของการทำงาน นั่นหมายความว่า พิพิธภัณฑสถานเป็นผู้กุมอำนาจในการอธิบายและแสดงให้เห็น เพื่อเป็นการสอนสั่งกลุ่มผู้ชมเกี่ยวกับวัตถุที่จัดแสดง การทำงานพิพิธภัณฑ์เช่นนี้เอง ที่ก่อให้เกิดการจัดแบ่งพื้นที่ในพิพิธภัณฑ์ที่เป็นส่วนของคลังและส่วนของการจัดแสดง ตัวอย่างงานพิพิธภัณฑ์ทางมานุษยวิทยาและโบราณคดีสามารถสะท้อนให้เห็นแนวทางการทำงานดังกล่าวได้เป็นอย่างดี วัตถุได้รับการจัดแบ่งตามประเภทความซับซ้อนทางเทคนิคและแหล่งที่มา และจัดแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการผลิตตามแนวคิดวิวัฒนาการนิยม และที่สำคัญคือ เป็นการนำเสนอสิ่งที่แปลกแยกจากสังคมยุโรปและนำเสนอวัฒนธรรมของสังคมที่อยู่ในขั้นต้นของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ (กรณีตัวอย่าง Mus?e de l’Homme, กรุงปารีส)16 ในกรณีของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ การนำเสนอต่อสาธารณชนเป็นการนำเสนอตามลำดับเวลา และแบ่งแยกตามสำนักศิลป์ต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการทำงานที่เป็นการจัดแบ่งประเภทตามกระบวนการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ ดังกรณีพิพิธภัณฑ์ Victoria and Albert ในกรุงลอนดอน การเสนอชุดความรู้ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นการพยายามให้สาธารณชนรู้อย่างเช่นที่ผู้ศึกษาวิจัยได้รู้ ปรัชญาของการทำงานเป็นการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ชม พยายามที่จะ "สอนสั่ง" ผู้ชม แนวทางการทำงานกินเวลานานเป็นศตวรรษ และยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนทัศน์ในการสื่อสารความรู้สู่สาธารณชนจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อกระบวนการสร้างและสื่อสารความรู้ในบริบทของพิพิธภัณฑสถานเช่นกัน สังคมร่วมสมัย : พิพิธภัณฑสถานเพื่อการศึกษาและเพื่อสังคม ในอดีต พิพิธภัณฑ์เคยอยู่ภายใต้การทำงานที่ใช้งานสะสมเป็นฐานรากของกระบวนการคิดในการทำงาน นิทรรศการทำหน้าที่ในการรวบรวมและจัดแสดงงานสะสม เอกสารการเผยแพร่ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับวัตถุ ผู้ปฏิบัติงานหลักของพิพิธภัณฑ์เป็นภัณฑารักษ์ที่ทำหน้าที่ในการดูแลสงวนรักษา และจัดแบ่งประเภทตามธรรมชาติของงานสะสมที่สอดคล้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ หากแต่ว่าตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 พิพิธภัณฑ์ให้ความใส่ใจต่อกลุ่มผู้ชม หรือเรียกได้ว่า เป็นฐานรากของกระบวนการคิดในการทำงานพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการมาจากการทำวิจัยเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างที่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่ม เอกสารงานพิมพ์เผยแพร่เชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ กัน และงานวิจัยเองขยายขอบเขตมาสู่ผู้ชมศึกษา17 เช่นเดียวกับงานที่วิจัยวัตถุสะสมที่ยังคงดำเนินต่อไป ในปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ทำหน้าที่ในการกำหนดข้อสรุป ผู้ชมกลับทำหน้าที่ในการตัดสิน พิพิธภัณฑ์เป็นเพียงผู้เตรียมข้อมูลหรือสิ่งของต่าง ๆ สำหรับให้ผู้ชมได้ศึกษา การเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์จึงเป็นการพยายามทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมต่าง ๆ กับคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมด้วยตัวผู้ชมเอง การเรียนรู้เช่นนี้อยู่เหนือกฎระเบียบทุกอย่างทั้งสิ้น ไม่มีการสอบ ไม่มีการเรียนแบบ ไม่มีการเรียนการสอน หากแต่อยู่กับผู้ที่ต้องการอยากจะเรียนรู้เท่านั้น เพราะเขาจะเข้ามาพิพิธภัณฑ์เมื่อรู้สึกอยากมาเท่านั้น ไม่มีการบังคับ การถ่ายทอดความรู้ระหว่างพิพิธภัณฑสถานและกลุ่มผู้ชมเปลี่ยนแปลงไป จากอดีตที่ขบวนการทำงานถ่ายทอดความรู้อยู่บนระบบคิดที่เป็น didactique ซึ่งเน้นการทำให้ผู้ชมเชื่อตามกับเนื้อหาหรือข้อสรุปบางที่พิพิธภัณฑ์ส่งผ่านสื่อต่าง ๆ ไปสู่การส่งผ่านความรู้ที่ในแนวทาง p?dagogique18 ซึ่งเป็นการพยายามสร้างหนทางไปสู่ความรู้นั้น ด้วยเหตุนี้ การส่งผ่านความรู้ภายใต้ระบบคิดดังกล่าว จึงไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้แบบเบ็ดเสร็จ หากแต่เป็นการพยายามสร้างให้ผู้ชมปรารถนาที่จะเรียนรู้ และนำไปสู่การสร้างความรู้ด้วยตนเอง กระบวนการส่งผ่านความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการเรียนรู้ในบริบทของการจัดแสดงที่การนำเสนอจะเป็นทั้งการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างสถานการณ์หรือบรรยากาศให้เกิดกระบวนการคิด การสามารถจับต้อง สัมผัส และการสร้างปัญหา คำถาม โดยคำตอบจะต้องมาจากการเข้าไปมี ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งจัดแสดง การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ชมมิได้มีลักษณะเป็นฝ่ายที่รับสาร ความรู้ แต่โสตเดียวอีกต่อไปหากแต่ว่าผู้ชมเข้ามามีบทบาทในการกำหนดความต้องการ เนื้อหาจัดแสดง ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มในการเกิดการศึกษาผู้ชม ขบวนการคิดและการทำงานดังกล่าวนี้เองสะท้อนให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์ได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อชุมชนและสังคมมากยิ่งขึ้น19 การตระหนักถึงผู้ชมพิพิธภัณฑ์ยังรวมถึงการเข้าถึงทรัพยากร ซึ่งในที่นี้หมายถึง พิพิธภัณฑสถาน จากอดีตผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์เป็นเพียงคนบางกลุ่มของสังคม ซึ่งเป็นปัญหาทางโครงสร้างที่เกิดจากช่องว่างทางเศรษฐกิจและการศึกษา รวมทั้งช่องว่างทางสังคมเช่นกัน พิพิธภัณฑ์เคยเป็นคลัง หรือกรุสมบัติของชนชั้นสูงที่มีคนเข้ามาชื่นชมวัตถุเฉพาะคนในชนชั้นเดียวกันกับเจ้าของงานสะสม และพิพิธภัณฑ์เปิดประตูต้อนรับสาธารณชนในที่สุด แม้ว่ากลุ่มผู้ชมขยายตัวมากขึ้น แต่มีเพียงกลุ่มคนที่มีการศึกษาและชนชั้นกลางที่เป็นเข้ามาในพิพิธภัณฑสถาน คนเหล่านั้นพิจารณาว่า พิพิธภัณฑ์เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยของผู้ใหญ่ จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 20 ที่กลุ่มเด็ก เยาวชน และนักเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์งานในพิพิธภัณฑสถาน นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ยังเริ่มที่จะหันมาให้ความสนใจ "สาธารณชนชายขอบ" ที่ไม่ใช่กลุ่มผู้ชมของพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เป็นการเข้าใจธรรมชาติระยะห่างระหว่างกลุ่มคนดังกล่าวกับพิพิธภัณฑสถาน และสร้างสรรค์กิจกรรมที่สามารถสร้างความสนใจ และ/หรือ ความต้องการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ย่อมได้กลุ่มผู้ชมทุกประเภทมากยิ่งขึ้น (democratic audience) ด้วยการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว -------------------------------------------- ** บทความนี้ตีพิมพ์ใน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล และคณะ). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ วิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ระยะที่ 1 สร้างเครือข่ายและสำรวจสภาพพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2547. 1 ในสมัยโรมัน พระราชวังของพระเจ้าเฮเดรียนมีห้องแสดงภาพเขียน และจัดห้องเพื่อแสดงภาพ พระองค์ยังโปรดให้จำลองสถานที่มีชื่อเสียงของกรีกโบราณ มาสร้างไว้ที่เมืองทริบูร ซึ่งถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง รวมทั้งการปรากฏ "ผู้รักษาความปลอดภัย" (l’aeditumus) ที่หน้าที่เฉกเช่นเจ้าหน้าที่รักษางานสะสมของพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน (Claude Pecquet, 1992: 14) 2 Nick Prior, Museums and Modernity: Art Galleries and the Making of Modern Culture (Oxford; New York: Berg, 2002), pp. 14. 3 ชื่อเรียกในภาษาอิตาลีใช้คำว่า galleria 4 ในภาษาเยอรมันใช้คำว่า Kabinett และ Kammer และโดยมากจะใช้การชี้เฉพาะธรรมชาติของวัตถุสะสม เช่น Naturalienkabinett (Natural science collections), Wunderkammer 5 ตระกูล Bourbon-Parme เมืองเนเปิล, ตระกูล Habsbourg เมืองแมดริด, ตระกูล Wittelscach เมืองมิวนิค, ตระกูล Hohenzollern เมืองเบอร์ลิน, ตระกูล Valois และ Bourbon เมืองปารีส, ตระกูล Romanov เมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบริก์ 6 John M.A. Thomas, Manual of Curatorship, (Oxford: Butterworth-Heinemann Ltd., 1992), pp. 8. 7 ด้วยความนิยมเช่นนี้จึงทำให้วัตถุหายาก โบราณ กลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่า และถูกส่งออกจากอิตาลีไปสู่ต่างประเทศ (Thomas, 1992: 7) และยังเกิดระบบอุปถัมภ์ศิลปินในการผลิตงานศิลปะรับใช้ต่อผู้ให้การอุปถัมภ์ (Prior, 2002: 17) 8 ในศตวรรษที่ 17 คำเรียกขานสถาปัตยกรรมของชนชั้นสูงเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงอำนาจ la maison : ที่พำนักสำหรับคหบดี, l’h?tel: ที่อาศัยของราชนิกุล และ le palais: ราชวัง พระราชวัง สำหรับราชวงศ์ พระมหากษัตริย์ 9 Bazin ยกคำพรรณาของผู้เยี่ยม Paolozzo ในอิตาลีว่า "The entire decoration of a room consists in covering its four walls, from ceiling to floor with painting in such profusion and with so little space between them that in truth, the eye is often fatigued as amused (cited in Bazin, 1967: 192)" (Prior, 2002: 19) 10 นอกจากผลงานศิลปะแล้ว ยังมีสิ่งของหายากที่มาจากวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่เป็นงานสะสมด้วย วัตถุเหล่านี้เป็นสิ่งของนำกลับมาพร้อมกับนักเดินทางสำรวจ หมอสอนศาสนา และพ่อค้าวาณิชย์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่เป็น "ทูตทางวัฒนธรรม" เป็นทั้งผู้ที่นำวัฒนธรรมของประเทศบ้านเกิดไปสู่ที่ซึ่งตนเองได้เดินทางไปถึง และในทางกลับกันทำหน้าที่เป็น "พาหะ" นำเอาวัตถุทางวัฒนธรรมต่างแดนที่ตนเองได้ประสบกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอน แม้ว่าการนำเอาวัตถุที่นักเดินทางสำรวจได้พบกลับมายังบ้านเกิด ในหลายกรณี ลักษณะของอคติที่เกิดขึ้น จากการจัดแสดงคือ การนำเอา "ความไร้อารยะธรรม" กลับมาแสดงให้คนในบ้านเดียวกับตนเองได้เห็น 11 ตามทัศนะของ Foucault ซึ่งปรากฏใน Eilean Hooper-GreenHill, Museums and the Shaping of Knowledge, (London; New York: Routledge, 1993), pp. 168 - 170. 12 Thompson, John M. A., Manual of Curatorship: a guide to museum practice, pp. 10. 13 Claude Badet (ed.), Mus?es et Patrimoine (Nancy: Bialec, S.A., 1997), pp. 22. 14 แต่แนวคิดในการจัดประเภทวัตถุมีมาตั้งแต่ในปี 1565 Samuel van Quiccheberg แพทย์ชาวแฟลมิชได้เสนอว่า งานสะสมควรเป็นตัวแทนการจัดแบ่งสรรพสิ่งต่างๆในสากลโลก 15 คำว่า didactique มาจากภาษากรีก didacktikos อันหมายถึง "อันเหมาะแก่การสอนสั่ง" (propre ? instruire) ขณะเดียวกันคำว่า "instruire" มาจากภาษาลาติน instruere อันหมายถึง "นำเสนอความรู้อันเป็นประโยชน์, ให้ข้อมูล (munir de connaissances, informer) 16 Jaques Galinier et Antoinette Molini?, ? Le cr?puscule des lieux : Mort et renaissance du Mus?e d’Anthropologie ?, Gradhiva (No. 24, 1998). 17 ทฤษฎีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของกลุ่มผู้ชมมีทั้งสำนักพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุนทรียศาสตร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่พิจารณาถึงพฤติกรรม ทัศนคติ การรับรู้ ฯลฯ ของกลุ่มผู้ชมที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดสัมพันธภาพกับพิพิธภัณฑ์ โดยมิได้จำกัดการวิเคราะห์เพียงการสื่อสารที่เกิดขึ้นในบริบทของนิทรรศการ หากแต่รวมไปถึงความสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑสถานในฐานะที่เป็นองค์กร หน่วยงาน สถาบันทางสังคม และที่สำคัญคือ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม 18 คำว่า "p?dagogique" มาจากภาษากรีก "paidos" แปลว่า เด็ก และ "paideia" แปลว่า การศึกษา และแต่เดิม paidag?gos ในภาษากรีก หมายถึง ทาสที่ทำหน้าที่นำเด็กๆ ไปโรงเรียน 19 Roger Miles and Lauro Zavala, Towards the Museum of the Future: new European perspectives (New York; London: Routledge, 1994), pp. 140 - 144.

บทสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในพิพิธภัณฑ์และการอนุรักษ์วัตถุสะสมของกลุ่มชนพื้นถิ่น

22 มีนาคม 2556

    บทคัดย่อ - พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาวัตถุจากกลุ่มชนพื้นถิ่นกำลังเปลี่ยนบทบาทและทิศทางไปพร้อมกับชุมชนที่เป็นเจ้าของวัตถุทางวัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหมายถึงวิถีการทำงานใหม่ในพิพิธภัณฑ์ และหมายถึงข้อเรียกร้องใหม่ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวัตถุสะสม ผู้เขียนได้วิเคราะห์เหตุผลความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนข้อท้าทายใหม่ๆ ในจริยธรรม การปฏิบัติ คุณค่าของการอนุรักษ์ และข้อท้าทายเช่นนี้ยังส่งผลต่อความเป็นจริงของการปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์ ผู้เขียนได้สรุปว่า ข้อท้าทายส่งอิทธิพลต่อบทบาทและทัศนะของนักอนุรักษ์วัตถุทางชาติพันธุ์ การมองว่าสิ่งใดสำคัญต่อการอนุรักษ์ ใครควรเข้ามาเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ และจะปฏิบัติการอย่างไร     ทิศทางใหม่ในพิพิธภัณฑ์     ในประเทศต่างๆ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย บริบทพิพิธภัณฑ์ที่มีนักอนุรักษ์วัตถุชาติพันธุ์กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสะสมวัตถุจากชุมชนคนพื้นถิ่นในบริเวณพื้นที่ที่สัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองจากการนำเสนอวัฒนธรรมทางวัตถุเป็นสถานที่ของการนำเสนอวัฒนธรรมที่มีชีวิต ความเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นการเอื้อให้เกิดการนำเสนอวัฒนธรรมโดยเจ้าของวัฒนธรรมทางวัตถุเอง     เป็นที่ทราบกันดีว่า พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาทำหน้าที่ในการอนุรักษ์และจัดแสดงวัฒนธรรม แต่สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นสิ่งใหม่มากในงานพิพิธภัณฑ์คือ บทบาทของกลุ่มเจ้าของวัฒนธรรมที่มีต่อโครงสร้างอำนาจเดิมซึ่งพิพิธภัณฑ์เคยมี แต่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวอยู่ในการทำงานระดับโครงการเฉพาะ เช่น การจัดนิทรรศการหรือการส่งวัตถุทางวัฒนธรรมคืนต่อชุมชน มากกว่าที่จะเป็นการปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์ในภาพรวม อย่างไรก็ตาม ชนพื้นถิ่นมีโอกาสทำงานร่วมกับพิพิธภัณฑ์ และกลายเป็นคนในระบบงานพิพิธภัณฑ์ ทั้งในเรื่องของการตัดสินใจและการควบคุมการนำเสนอเรื่องราวของพวกเขาในขบวนการทำงานพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ ชนพื้นถิ่น (First Nations) กลายเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสถาบันที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชนอเมริกันอินเดียน และสถาบันอื่นๆ ที่เก่าแก่ไปกว่านั้นทั่วอเมริกาเหนือและนิวซีแลนด์ ฉะนั้น ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์มีโอกาสมากขึ้นที่จะสัมผัสเสียงของสมาชิกของวัฒนธรรมพื้นถิ่นหนึ่งๆ มิใช่การรับรู้เพียงเสียงจากอดีตหรือจากความรู้วิชาการของภัณฑารักษ์ที่มิใช่ชนพื้นถิ่น     เมื่อพิจารณาจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นของพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาในประเทศหนึ่ง (หรือระดับจังหวัด รัฐ หรือภาค) ในลักษณะที่ชนพื้นถิ่นเป็นผู้เก็บรวบรวมวัตถุเอง เราควรทบทวนขนบในการมองพิพิธภัณฑ์ได้แก่ "พิพิธภัณฑ์ วัตถุ และการเก็บสะสม" (Pearce 1992) มาเป็นการมองเจ้าของวัฒนธรรมวัตถุเหล่านั้นด้วย (originators of the object) (Ames 1992) ในขณะเดียวกัน แนวทางการทำงานใหม่เริ่มก่อตัวในพิพิธภัณฑ์ ข้อเรียกร้องหรือความต้องการใหม่ๆ เข้ามาสัมพันธ์กับวัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น การปรึกษาหารือหรือการต่อรองกับตัวแทนของชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม หรือการขอคำแนะนำจากคณะกรรมการหรือกลุ่มผู้สูงวัยเพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจของพิพิธภัณฑ์ ข้อเรียกร้องทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสะสมที่หมายรวมถึงการส่งสมบัติทางวัฒนธรรมคืน การยืมสิ่งของเพื่องานพิธีกรรม การจัดเก็บหรือการจัดแสดงที่คำนึงถึงความรู้สึกทางวัฒนธรรม การจัดพิธีกรรมในพิพิธภัณฑ์ และการปฏิบัติต่อวัตถุศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเชื่อมโยงทางจิตใจด้วยธรรมเนียมอันเหมาะสม และการจับต้องวัตถุสะสมที่เพิ่มมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพิพิธภัณฑ์เหล่านี้มาจากประเด็นสิทธิชนพื้นถิ่นและความเป็นเจ้าของ และการควบคุมว่าสิ่งใดเป็นหรือเคยเป็นของพวกเขา เรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ได้รับการพิจารณาใหม่ในศาลและความคิดเห็นสาธารณะในหลายประเทศ     ทิศทางใหม่ของพิพิธภัณฑ์ส่งผลต่องานอนุรักษ์ในพิพิธภัณฑสถานต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงบางประการกระทบต่อความคิดพื้นฐานงานอนุรักษ์ ที่ได้พัฒนาและสืบทอดงานพิพิธภัณฑ์วิทยาเดิม บทความนี้จะเน้นข้อท้าทายสำหรับนักอนุรักษ์วัตถุทางชาติพันธุ์ เมื่อข้อคำนึงทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เชิงกายภาพของวัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์ที่พวกเขาทำงานอยู่     ความเปลี่ยนแปลงในฐานะความท้าทายต่อการอนุรักษ์     งานอนุรักษ์พัฒนาเป็นสายงานเฉพาะ โดยเน้นไปที่การอนุรักษ์ลักษณะทางกายภาพของวัฒนธรรมทางวัตถุ ลักษณะหนึ่งของสายงานคือ ผู้ปฏิบัติจะยึดมั่นในงานที่ทำและ "ลูกค้า" ที่เขาจะต้องให้บริการ การยึดมั่นต่อความคิดดังกล่าวบางครั้งส่งผลต่อการเปลี่ยนผู้ปฏิบัติงาน นักอนุรักษ์บางคนเห็นว่าวัตถุเป็นเสมือนลูกค้าคนสำคัญ ดังคำกล่าวที่ว่า "ความซื่อสัตย์ของเราไม่ได้เป็นของสถาบัน องค์กร หรือเพื่อร่วมงาน แต่เป็นของวัตถุที่เฉพาะและไม่สามารถหาทดแทน วัตถุซึ่งกุมเรื่องราวประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความต้องการ (Pearce 1992, 2) สำหรับพิพิธภัณฑ์แล้ว แนวคิดพื้นฐานที่มองความสำคัญของการอนุรักษ์ของชนพื้นถิ่น ด้วยการสนับสนุนต่อการแสดงความหมายที่มีชีวิต (living expression) มากกว่าการมองไปที่การอนุรักษ์วัฒนธรรมทางวัตถุ แนวคิดดังกล่าวถือเป็นความเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างลุ่มลึก นักอนุรักษ์บางคนที่มีประสบการณ์อาจมองว่า เป็นความเสี่ยงต่อวัตถุเพื่อจะรับใช้คนในปัจจุบัน     ทิศทางใหม่ในพิพิธภัณฑ์เหล่านี้แสดงให้เห็นข้อท้าทายต่อการอนุรักษ์ตามประเพณี ซึ่งพอจะแบ่งเป็นประเด็นดังนี้     1.วิธีการและข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ในฐานะการปฏิบัติเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา การสร้างคลังที่คำนึงถึงเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหมายถึงการมีพื้นที่ที่อากาศจากภายนอกและแสงธรรมชาติเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ในนิวซีแลนด์ เจ้าหน้าที่ชาวเมารีจะนำใบไม้สดวางบนวัตถุหรือแท่นจัดแสดงสำหรับเหตุผลทางวัฒนธรรรมที่เกี่ยวโยงกับการรำลึกถึง     2. จริยธรรมของการอนุรักษ์ จะเป็นความถูกต้องหรือไม่ที่งานสายอาชีพอนุรักษ์ที่จะต้องยึดมั่นต่อจรรยาบรรณ จะต้องเสี่ยงต่อความเสียหายของวัตถุเพื่อเอื้อต่อการอนุรักษ์ความหมายเชิงวัฒนธรรม เช่น ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ของพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาช่วยสนับสนุนในขบวนการสร้างข้อตกลงสำหรับการยืมหน้ากากและตระกร้าที่ใช้ในพิพิธภัณฑ์ที่เหมาะสมกับพิพิธภัณฑ์และเจ้าของวัฒนธรรม จุดประสงค์สำคัญเป็นไปเพื่อให้การยืมเป็นข้อคำนึงสูงสุด แม้ว่าการยืมนั้นจะรวมถึงความเสี่ยงต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการสวมใส่ หยิบจับ หรือการขนส่งภายใต้สภาพการขนส่งและสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ก็ตาม     3. สิทธิอำนาจของนักอนุรักษ์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในคลัง การครอบครอง และการดูแลกายภาพวัตถุของพิพิธภัณฑ์ สิทธิอำนาจของชนพื้นถิ่นมีมากขึ้นและส่งอิทธิพลต่อประเด็นที่กล่าวมา ข้อท้าทายนี้เป็นหนึ่งในข้อท้าทายสิทธิอำนาจของพิพิธภัณฑ์โดยองค์รวม     4. วิถีการทำงานของนักอนุรักษ์ นักอนุรักษ์ในอเมริกาเหนือ ซึ่งต่างไปจากนักอนุรักษ์นิวซีแลนด์ โดยปกติแล้วจะไม่เริ่มต้นการอนุรักษ์โดยปราศจากวิธีการที่เหมาะสม และคำปรึกษาของเจ้าของวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุที่มีความศักดิ์สิทธิหรือมีข้อคำนึงทางวัฒนธรรม     ประเด็นทั้งสี่ประเด็นนี้ส่งผลต่อการปฏิบัติของนักอนุรักษ์ แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ส่งผลต่อกรอบการมองงานอนุรักษ์ ข้อเรียกร้องจากชนพื้นถิ่น และพัฒนาการของพิพิธภัณฑ์ในฐานะที่เป็นสถานที่รับใช้ต่อชุมชนหรือเจ้าของวัฒนธรรม ท้าทายต่อกรอบความคิดเดิมที่วางเอาไว้ว่า พิพิธภัณฑ์คืออะไร กรอบความคิดเหล่านี้เน้นถึงสมมติฐานพื้นฐานของงานอนุรักษ์ เช่น คุณค่าของการอนุรักษ์วัตถุในลักษณะที่ออกไปจากวัฒนธรรมเดิม คุณค่าของการอนุรักษ์วัตถุโดยมองว่าเป็นองค์รวมของสิ่งของมากกว่าที่จะเป็นองค์รวมทางวัฒนธรรม ความสำคัญของการย้อนกลับมามองการผนวกระหว่างสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน การให้คุณค่ากับวิทยาศาสตร์ในฐานะหนทางแรกของการหาคำตอบเกี่ยวกับการเก็บ การดูแลรักษา และในบางกรณีการปฏิบัติการต่อวัตถุ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้อท้าทายต่อพิพิธภัณฑ์เหล่านี้เป็นบททดสอบกรอบความรู้งานอนุรักษ์ "ซึ่งเคยฝังแน่นอยู่ในผู้ปฏิบัติ" คำถามเหล่านี้จะทำให้เราเห็นว่าสิ่งใดสำคัญ ชอบธรรม และมีเหตุมีผล และสิ่งใดที่ผู้ปฏิบัติจะต้องทำต่อไป     คำถามต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นข้อขัดแย้งทางคุณค่าที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ทุกวันนี้         สิ่งใดที่ควรอนุรักษ์เมื่อมีเพียงลักษณะทางกายภาพของวัตถุที่ควรได้รับการอนุรักษ์เท่านั้น         ความสำคัญของวัตถุเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตลอดในกรอบการทำงาน ไม่ใช่เป็นเพียงรูปลักษณ์ทางกายภาพ แนวคิดนี้ได้รับการขยายความโดยปรัชญา Mabel McKay ที่กล่าวไว้ว่า คนจักสานตระกร้าของชนเผ่า Pomo "ไม่สามารถแบ่งแยกทำความเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับวัสดุที่เธอใช้จักสานออกไปจากการพูดถึงความฝัน การเยียวยา การทำนายทายทัก และกฎของเครื่องจักสานจากอดีต ด้วยเหตุนี้ สำหรับ Mabel แล้ว สิ่งที่กล่าวถึงจึงไม่สามารถที่จะแยกประเด็นทำความเข้าใจได้แต่อย่างใด" (Sarris 1993, 51)         ระบบคุณค่าของใครมีความสำคัญมากกว่ากัน         โดยปกติแล้ว พิพิธภัณฑ์นิยาม "ความสำคัญและลักษณะเฉพาะ" (AIC 1995, 23) ของวัตถุตามความหมายที่มาจากการวิจัยของภัณฑารักษ์สำหรับวัตถุที่บริบทต่างๆ ในระบบค่านิยมของพิพิธภัณฑ์ (หายาก สภาพ ของจริง ความสำคัญ และอื่นๆ) พิพิธภัณฑ์ "ชีวิต" ในช่วงหลังสมัยใหม่พยายามอย่างยิ่งในการให้ความสำคัญกับระบบคุณค่าทางวัฒนธรรมของกลุ่มวัฒนธรรมเจ้าของวัตถุ (หรือเรียกได้ว่า เป็นไปตามข้อประนีประนอมทางวัฒนธรรมสำหรับวัตถุศักดิ์สิทธิ์หรือมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมบางประการ) ดังนั้น ในพิพิธภัณฑ์เช่นที่กล่าวมา ความต้องการทางวัฒนธรรมที่ต้องการใช้วัตถุสักชิ้น และการดูแลวัตถุด้วยความเหมาะสมทางวัฒนธรรมกลายเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นลำดับต้นๆ มากกว่ากระบวนการมาตรฐานงานอนุรักษ์ของพิพิธภัณฑ์ นักอนุรักษ์ควรจะให้ความเคารพต่อความหมายทางวัฒนธรรม ด้วยการปรับเปลี่ยนการทำงาน และเรียนรู้วิธีการที่ Mabel McKay ดูแลเครื่องจักสานของเธอในลักษณะ "เธอบอกกับฉันถึงวิธีการหล่อเลี้ยงเครื่องจักสานด้วยการให้น้ำ 1 ครั้งต่อเดือน และเธอยังบอกกับฉันด้วยว่าจะต้องมีการสวด และเพลงใดบ้างที่จะต้องร้อง" (Sarris 1993, 61)? วิธีการปฏิบัติเช่นนี้ควรได้รับการบันทึกหรือเป็นความเหมาะสมทางวัฒนธรรมหรือไม่?         ควรตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่า นักอนุรักษ์ในที่นี้ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นงานสะสมที่มาจากหลายหลากชาติและเงื่อนไขในเรื่องเวลา งบประมาณ และระยะทาง เหล่านี้คือเงื่อนไขที่อาจจะไปด้วยกันได้ไม่ดีนัก พิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องพิจารณางานพิพิธภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับชนพื้นถิ่น ในขณะเดียวกันกับการทำความเข้าใจต่อความต้องการและการตัดสินใจของชนพื้นถิ่น ที่ไม่ใช่เฉพาะความต้องการของพิพิธภัณฑ์ ควรเข้ามาอยู่ในกระบวนการทำงานโครงการต่างๆ นอกจากนี้ การพิจารณาถึงนัยสำคัญของเครื่องจักสานมิได้มองเพียงแต่ว่าวัตถุนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์หรือมีเรื่องที่ควรระวังทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาไปถึงพิธีกรรมที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่านักอนุรักษ์จะตัดสินโดยอยู่บนพื้นฐานทางทฤษฎีหรือการปฏิบัติไปในลักษณะใด การตัดสินและกระบวนการจะสะท้อนว่านักอนุรักษ์สามารถผนวก "ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแนวคิด" ได้หรือไม่ นั่นคือ คุณค่าของวัฒนธรรมโปโมที่นักอนุรักษ์ได้รับทราบ พร้อมไปกับการอนุรักษ์ลักษณะทางกายภาพ ที่เป็นคุณค่าพื้นฐานของงานอนุรักษ์ที่นักอนุรักษ์ได้รับการถ่ายทอดมา         คุณภาพของวัตถุที่นักอนุรักษ์ต้องการรักษาและทำนุบำรุงมีความสอดคล้องต่อวัตถุนั้นหรือความสำคัญในคุณค่าทางวัฒนธรรมนั้นหรือไม่         จรรยาบรรณสำหรับนักอนุรักษ์ของรัฐในประเทศแคนาดากล่าวไว้ว่า "ทุกอย่างที่นักอนุรักษ์ทำต้องเป็นไปตามการเคารพต่อองค์รวมของสิ่งนั้น ทั้งลักษณะทางกายภาพ ประวัติศาสตร์ กรอบความคิด และความงาม (IIC-CG and CAPC 1989, 5) Guidance for Conservation Practice (1981) ซึ่งจัดพิมพ์โดยสถาบันเพื่อการอนุรักษ์แห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่า "การอนุรักษ์เป็นวิธีการที่ใช้เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติที่แท้จริงของวัตถุนั้น" (UKIC 1981, 1) ในกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ องค์รวมที่แสดงให้เห็นความจริงเกี่ยวกับวัตถุเป็นการคำนึงถึงสภาพปัจจุบันและวัสดุที่ใช้ทำ และรวมถึงเวลาและเครื่องหมายบางอย่าง โดยปกติ การให้เหตุผลของภัณฑารักษ์เกี่ยวกับองค์รวมจะเน้นที่หลักฐานทางกายภาพที่ปรากฏในหรือบนวัตถุพอๆ กับงานบันทึก แต่มีคนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าองค์รวมสาระสำคัญอยู่ที่การตีความมากกว่าคุณลักษณะที่ยึดติดกับตัววัตถุ ตัวอย่างเช่นข้อเท็จจริงที่มีการพิสูจน์ถึงเวลาและร่องรอยไม่ใช่ความจริงที่สำคัญกับตัววัตถุ ความหมายของวัตถุจึงไม่ปรากฏหากปราศจากการตีความ (Handler 1992; Pearce 1992) การตีความหมายถึงการเพิ่มเติมคุณค่าทางวัฒนธรรม และผลของการตีความปรากฏในฐานะของความจริง         ตัวอย่างต่อไปนี้จะสะท้อนให้เห็นความคิดดังกล่าว ในปี 1993 พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัย บริติชโคลัมเบีย (MOA) ยินยอมให้ครอบครัวของชนพื้นถิ่นครอบครัวหนึ่งยืมหน้ากากเพื่อใช้ในพิธีพอทแลท์ช เพราะวัตถุนั้นๆ มีความแข็งแรงและมีอายุตั้งแต่กลางศตวรรษที่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากเป็นกลุ่มวัตถุที่มาจากพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือเดียวกัน และมีสภาพที่ใช้การได้ดีเช่นเดียวกัน แต่กลับเป็นวัตถุที่สร้างขึ้นในช่วง 1825 หรือ 1790 วัตถุนั้นจะถูกมองเป็นสิ่งหายากที่เหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน ตรงนี้ คงเป็นเรื่องอาจตั้งข้อสงสัยได้ว่า พิพิธภัณฑ์จะยินยอมให้ยืมวัตถุเหล่านั้นเพื่อการร่ายรำ เวลาในกรณีที่ยกตัวอย่างมานี้แสดงให้เห็นคุณค่าที่สัมพัทธ์มากกว่าการยึดติดที่ข้อเท็จจริง         คำถามเกี่ยวกับธรรมชาติของ "องค์รวม" สะท้อนให้เห็นถึงคำถามที่ใหญ่ไปกว่านั้นว่านักอนุรักษ์ควรทำอย่างไรต่อวัตถุชิ้นหนึ่งที่มาจากวัฒนธรรมอื่น ขณะที่คุณที่ผูกโยงกับวัตถุตัวนั้นขัดกับค่านิยมบางประการในงานอนุรักษ์         แล้วนักอนุรักษ์ในสายอาชีพจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด     จุดหมายใหม่สำหรับงานพิพิธภัณฑ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบางทีเป็นการเพิ่มความยากลำบากที่ต้องยอมรับมากขึ้นในวิชาชีพการอนุรักษ์ โดยภารกิจสำคัญคือการอนุรักษ์ที่ต้านทานการเปลี่ยนแปลง ("การอนุรักษ์ที่ต้านทางการเปลี่ยนแปลง" เป็นคุณค่าพื้นฐานของขนบพิพิธภัณฑ์วิทยา การอนุรักษ์ดังกล่าวนำเสนอวัฒนธรรมในกรอบเวลาหนึ่งและสัมพันธ์กับ "การปรากฏตัวของข้อมูลทางชาติพันธุ์" ซึ่งแสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่ "แท้จริง")     อย่างไรก็ตาม ความหมายทางวัฒนธรรมนั้นเปลี่ยนแปลงไป และควรให้คุณค่าต่อองค์รวมทางวัฒนธรรมที่หมายรวมถึงการยอบรับต่อ "ความจริง" ซึ่งแตกต่างกันในเวลาที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่นเรือแคนนูที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์การใช้งาน แต่ในปัจจุบัน คุณค่าและความหมายเปลี่ยนไปเรือกลายเป็นสิ่งตกทอดที่เหลืออยู่ (Phillips 1991, อ้างใน Clavir 1992 และ Feest 1995)     ด้วยการยอมรับความหมายทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป นักอนุรักษ์กำลังถูกตั้งคำถาม ไม่ใช่เพียงคุณค่าที่จับต้องได้ยากของวัตถุ แต่ยังต้องตระหนักและยอมรับกระบวนการที่ต่อเนื่อง และสิ่งที่เป็นนามธรรมมากกว่า อันหมายถึงการคำนึงถึงบริบทที่เปลี่ยนแปลงมากกว่าที่คุ้นเคยในงานอนุรักษ์ แนวคิดใหม่นี้ส่งผลต่อนักอนุรักษ์ในหลายๆ ทาง ทั้งธรรมชาติที่เปลี่ยนไปของงานพิพิธภัณฑ์ และบทบาทของงานสะสมในพิพิธภัณฑ์     การสังเกตการณ์     บริบทที่ท้าทายสำหรับจริยธรรมและการปฏิบัติในงานอนุรักษ์นำไปสู่คำถามพื้นฐาน ได้แก่ การอนุรักษ์วัตถุทางชาติพันธุ์ ปัจจัยที่กำหนดเหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับงานสะสมในทุกวันนี้ ไม่ว่าวัตถุเหล่านั้นจะได้รับการเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ทั่วไป หรือหลังสมัยใหม่ หรือพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวิถีชีวิต? คำตอบจะปรากฏอยู่กับการทำงานที่จะยอมรับหรือปฏิเสธพัฒนาการเหล่านี้ และการประยุกต์ใช้จริง     ข้อท้าทายต่อกรอบการทำงานพื้นฐานมักออกมาในลักษณะที่ขัดแย้งต่อคนที่เชื่อในคุณค่าตามกรอบการทำงาน อันที่จริงแล้ว นักอนุรักษ์ควรทำตัวเป็นผู้ท้าทายต่อระบบ การถกเถียงทั้งด้วยอารมณ์ ความเชื่อ และเหตุผลเป็นสิ่งที่จะต้องการขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานทุกคน นี่เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ว่านักอนุรักษ์ควรเผชิญหน้ากับชนพื้นถิ่นเจ้าของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อถกเถียงในประเด็นการอนุรักษ์ คนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทัศนะเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจร่วมกัน     ทางออกหรือจรรยาบรรณที่เหมาะสมเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ และปรับเปลี่ยนไปต่อสถานการณ์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ การลงมือกระทำขึ้นอยู่กับการพัฒนาด้านอื่นๆ ไปพร้อมกัน เช่นในด้านกฏหมายและข้อเรียกร้องเชิงศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของ และการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของชนพื้นถิ่นอย่างในแคนาดา นอกจากความซับซ้อนที่กล่าวถึง และการหาทางออกจากข้อกังขาเกี่ยวกับจรรยาบรรณ ข้อสังเกตที่กล่าวถึงนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ปัจจุบันและที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป         การสังเกตการณ์ประการแรก : การตัดสินใจของพิพิธภัณฑ์         ในความเป็นจริง พิพิธภัณฑ์ต้องตัดสินใจทุกวันเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัตถุสะสม เราต้องพึงระลึกเสมอว่าประโยชน์จะเกิดขึ้นได้ไม่ใช่เพียงการใส่ใจเฉพาะวัตถุของวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เราจะต้องปฏิบัติการด้วยเท่านั้น แต่ข้อท้าทายนี้ยังผลต่อการทำงานอนุรักษ์โดยรวม ตัวอย่างเช่น เราอาจจะมีวัตถุที่สามารถแตะต้องได้ในพิพิธภัณฑ์ การให้ยืมวัตถุบางชิ้นไปในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม การเปิดพื้นที่ให้เช่าที่สามารถนำอาหาร เครื่องดื่ม หรือดอกไม้เข้าในไปส่วนนิทรรศการ หรือแม้แต่การขาดแคลนเงินทุนหรือการริเริ่มที่จะจัดสภาพคลังวัตถุในลักษณะที่เหมาะสม จากความเป็นมา ไม่มีพิพิธภัณฑ์ใดในทวีปอเมริกาเหนือที่สามารถเป็นตัวอย่างของมาตรฐานการดูแลที่สอดคล้องกับวัตถุวัฒนธรรมของชนอเมริกันและแคนาเดียนพื้นถิ่น         อนึ่ง การอนุญาตให้มีการใช้วัตถุของพิพิธภัณฑ์มิใช่ปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดมาจากการเรียกร้องของชนพื้นถิ่นที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเท่านั้น พิพิธภัณฑ์มากมายได้รับการเรียกร้อง "การสัมผัส" วัตถุที่กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างทั่วไป ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์วิคเตอเรียแอนด์อัลเบริต์ที่จัดแสดงแจกันราชวงศ์หมิง ศตวรรษที่ 16 ที่ผู้ชมสามารถสัมผัสได้ในนิทรรศการที่ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี และแจกันเองกลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด (Kerr 1995) หากให้ยกตัวอย่างอื่นเพิ่มเติม นักอนุรักษ์ยอมรับการใช้กลุ่มหนังสือเก่าและจดหมายเหตุในหอสมุด หรือการที่พิพิธภัณฑ์ให้ยืมวัตถุในการประกอบพิธีกรรม ในลักษณะเช่นนี้ มีการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในอาคารและอยู่ภายใต้ข้อแนะนำเพื่อการอนุรักษ์         นักอนุรักษ์ผลงานศิลปะร่วมสมัยยอมรับการจัดแสดงผลงานของศิลปินที่มีชีวิตอยู่ในลักษณะที่เสี่ยงต่อความเสียหาย ระหว่างการจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งถือเป็นความจงใจของศิลปินเอง และกฎหมายลิขสิทธิ์ในหลายๆ ประเทศยอมรับการกระทำดังกล่าว นักอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมยอมรับความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นต่อองค์รวมของอาคารเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและแบบแผนการใช้งานใหม่ พิพิธภัณฑ์ทางการทหารเป็นตัวอย่างที่ดีแต่อาจไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ในอังกฤษและแคนาดา มีตัวอย่างการให้ยืมใช้วัตถุชั่วคราว เช่นเหรียญที่ระลึกให้ยืมชั่วคราวในพิธีรำลึกถึงอดีต ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับพิพิธภัณฑ์ที่จะให้ยืมข้าวของในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการสู้รบประจำปี         คำสำคัญในที่นี้ ได้แก่ พิธีกรรม การใช้ การให้ยืมเพื่อใช้งาน การต่อรองกับผู้สร้างสรรค์งาน ผู้สร้างสรรค์ (เจ้าของ) มีสิทธิ์ไม่ใช่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่ตัดสินใจในขณะที่เข้าไปใช้ประโยชน์จากวัตถุ         การสังเกตการณ์ประการที่สอง : ปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์         หลักฐานที่เห็นได้จากการปฏิบัติงานได้แก่ ฐานการคิดที่ปรับเปลี่ยนเนื่องจากการท้าทายชนพื้นถิ่นต่อพิพิธภัณฑ์ ณ วันนี้ เฉกเช่นในอดีต ปฏิบัติการในพิพิธภัณฑ์ยังคงมีลักษณะที่แตกต่างจากทฤษฎีงานพิพิธภัณฑ์ คำถามง่ายที่สามารถยกขึ้นมาเช่น ทำไมห้องคลังจึงมีสภาพที่แน่นมากเกินไป ทำไมชื่อชนพื้นถิ่นที่ใช้เรียกบ้านเกิดหรือผู้คนจึงไม่ปรากฎในนิทรรศการถาวรหรือทะเบียนวัตถุ ทำไมแมลงที่เข้ามาเป็นเหลือบไรต่อวัตถุยังคงมีอยู่ แม้จะมีกระบวนการป้องกันที่เหมาะสม ทำไมพิพิธภัณฑ์ที่รู้จักกันดีและมีชื่อเสียงจึงยังไม่สามารถรักษาสภาพที่ดีสำหรับวัตถุสะสม หรือไม่สามารถสร้างมาตรการที่จะลดผลกระทบของแผ่นดินไหวในบริเวณที่จำเป็น หากพิพิธภัณฑ์ยังไม่สามารถใช้ความรู้ความชำนาญการจากความรู้ที่ตนเองสะสมตลอดหลายปี ทำไมใครสักคนจะต้องเชื่อการเติบโตขององค์กรพิพิธภัณฑ์ เมื่อชนพื้นถิ่นจากชุมชนแห่งหนึ่งเข้ามาชมวัตถุในพิพิธภัณฑ์ที่มาจากมรดกของชุมชน เขาอาจมีโอกาสพบข้อผิดพลาดในสิ่งที่พิพิธภัณฑ์ปฏิบัติต่อวัตถุนั้นๆ         การสังเกตการณ์ประการที่สาม : ฐานร่วมกัน         แม้ว่าเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์หรือนักอนุรักษ์จะแตกต่างจากเป้าหมายของชุมชนคนพื้นถิ่นหรือปัจเจกชน แต่ฐานที่ร่วมกันสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน เราไม่ควรสรุปความไม่ลงรอยโดยการวางการอนุรักษ์วัตถุไว้ตรงข้ามกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม         Deborah Doxtator ชาวแคนาเดียนพื้นถิ่นแสดงความคิดเห็นว่า จุดร่วมระหว่างชนพื้นถิ่นและพิพิธภัณฑ์แคนาเดียนที่ไม่ใช่ของชนพื้นถิ่นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องมาจาก "ความจริงที่ว่าแต่ละฝ่ายมีจุดหมายที่ต่างกัน นั่นคือ จุดหมายที่คู่ขนานกันไป" (Doxtator 1994, 22) จริงๆ แล้ว แม้จุดหมายจะเดินทางคู่ขนานกันไป แต่ผลกลับเป็นบวกได้ หากผลนั้นตอบสนองต่อผู้ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นในห้องคลังสำหรับวัตถุที่มีเงื่อนไขเชิงวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์นิวเม็กซิโก แสดงให้เห็นความเคารพต่อวัตถุและผู้ชม ขณะที่ยังสามารถสะท้อนค่านิยมของงานอนุรักษ์ หรืออย่างศูนย์วัฒนธรรม U’mista อัลเบริต์ เบย์ ในบริติช โคลัมเบีย จัดแบ่งเครื่องประกอบพิธีกรรมพอทแลท์ชเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กลุ่มวัตถุอายุเก่าและกลุ่มวัตถุร่วมสมัยที่สมาชิกในชุมชนสามารถยืมไปใช้ในพิธีกรรมได้ นักอนุรักษ์เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิบัติดังกล่าว         สุดท้าย ชนพื้นถิ่นยอมรับต่อมาตรฐานการดูแลและอนุรักษ์วัตถุที่อยู่พิพิธภัณฑ์ (Matlas 1993) ในจุดนี้ นักอนุรักษ์ยินยอมพร้อมใจ ลีโอนา สปาร์โร ที่ปรึกษากลุ่ม Masqueam ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาของพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย เห็นด้วยกับข้อตกลงดังกล่าว และได้เพิ่มเติมข้อพึงปฏิบัติด้วยว่า มาตรการใดๆ ที่ใช้ดำเนินการอนุรักษ์จะต้องไม่ขัดต่อองค์รวมทางวัฒนธรรมของวัตถุ หรือความต้องการของชุมชนที่จะเข้าไปใช้วัตถุ (Sparrow 1995)         การสังเกตการณ์ประการที่สี่ : กฎจรรยาบรรณ     อย่างน้อยที่สุด หนึ่งในกฎจรรยาบรรณของนักอนุรักษ์กล่าวไว้ว่า ชนพื้นถิ่นมีสิทธิ์ตัดสินใจต่อมรดกวัฒนธรรมของตนเอง แม้ว่าเขาจะมิได้มีสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมาย ข้อความที่จะยกมาต่อไปนี้มาจากการอนุญาตของสภาอนุสรณ์สถานและแหล่งมรดกระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites - ICOMOS) ตามกฎบัตรนิวซีแลนด์สำหรับการอนุรักษ์สถานที่และคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม     "มรดกของชนพื้นถิ่นเมารีและเมาริโอริ…ไม่สามารถแยกออกได้จากตัวตนและความรุ่งเรือง และกอปรขึ้นเป็นความหมายทางวัฒนธรรมจำเพาะ     ข้อตกลงไวแทนกิเป็นเอกสารก่อร่างชาติของเรา และเป็นฐานรองรับการคุ้มครองชนพื้นถิ่นในลักษณะที่ชนพื้นถิ่นมีส่วนรับผิดชอบต่อสมบัติ สถานที่สำคัญ และศักดิ์สิทธิ์ของตนเอง เนื้อหาขยายขอบเขตความเป็นเจ้าของตามกฎหมายที่มีอยู่ ความรู้ในคุณค่าของมรดกเฉพาะเป็นปัจจัยในการเลือกผู้ที่ดูแลรักษา การอนุรักษ์สถานที่ที่กอปรด้วยคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมมีลักษณะที่เชื่อมโยงกับการตัดสินใจของชุมชนคนพื้นถิ่น และควรที่จะเป็นไปในบริบทเช่นนี้เท่านั้น ข้อพึงระลึกในงานอนุรักษ์ที่เกี่ยวข้องกับชนพื้นถิ่นเลื่อนไหลและปรับเปลี่ยนไปตามความสืบเนื่องของชีวิต และความต้องการตามแต่ละปัจจุบันขณะ พร้อมไปกับความรับผิดชอบของการคุ้มครอง และความสัมพันธ์กับผู้คนที่จากไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากกล่าวถึงข้อปฏิบัติต่อการเข้าถึง สิทธิอำนาจ และพิธีกรรมที่ยังคงปฏิบัติกันอยู่ในระดับท้องถิ่น หลักพื้นฐานโดยทั่วไปของจรรยาบรรณและความเคารพทางสังคมย้ำให้เห็นว่าการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่เราจะต้องใส่ใจอยู่เสมอ (ICOMOS 1993, Sec. 2)"     สรุป สิ่งที่จะได้กล่าวต่อไปนี้สะท้อนทัศนะต่อการทำงานอนุรักษ์แบบที่เคยปฏิบัติกันมา และไม่ต้องสงสัยเลยว่าความคิดเช่นนี้เป็นที่ยอมรับของนักอนุรักษ์วิชาชีพในช่วงเวลาที่ได้รับการบัญญัติขึ้นในปี 1986 "หน้าที่ของนักอนุรักษ์คือการทำทุกวิถีทางที่จะลดหรือเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดกับงานสะสม และต้านทานต่อทุกสถานการณ์ที่อาจเป็นสาเหตุหรือนำไปสู่การเสื่อมหรือทำลาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งเชิงรุกหรือตั้งรับ สภาพที่ดีของวัตถุเป็นข้อคำนึงเบื้องต้นเหนือการพิจารณาประเด็นอื่นใด (Ward 1986, 9) ในช่วงทศวรรษสั้นๆ จากนั้น สายอาชีพงานอนุรักษ์ในพิพิธภัณฑ์ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่คำนึงถึงบริบททางวัฒนธรรม ข้อตกลงที่สร้างขึ้นร่วมกับเจ้าของวัตถุทางวัฒนธรรม "หน้าที่ของนักอนุรักษ์คือการทำทุกวิถีทางที่จะเลี่ยงหรือลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับวัตถุสะสมในบางสถานการณ์ หน้าที่ของนักอนุรักษ์ได้แก่การให้ข้อมูล (เช่น ความเลี่ยง ทางเลือกในการปฏิบัติ จรรยาบรรณการอนุรักษ์ และกระบวนการ) และเสนอการปฏิบัติต่อสถานการณ์ที่อาจจะเสี่ยงต่อความเสียหายของวัตถุ ไม่ว่าเชิงรุกหรือรับ ขณะที่ข้อมูลและปฏิบัติการอนุรักษ์ดำเนินไปด้วยการพิจารณาสภาพของวัตถุที่เหมาะสมและเป็นการปฏิบัติการเชิงวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ควรดำเนินการคู่ขนานกันไปคือ การคำนึงถึงบริบทที่ใหญ่กว่าซึ่งเจ้าของวัตถุทางวัฒนธรรมหรือผู้สืบทอดควรเข้ามามีบทบาทหลักในการทำงานดังกล่าวด้วย" กรอบความคิดข้างต้นไม่ใช่การลบล้างกระบวนการทำงานของนักอนุรักษ์ที่เห็นว่าสิ่งใดสำคัญในการตัดสินใจอนุรักษ์ แต่เป็นการพยายามเปลี่ยนจุดเน้นไปที่บริบทที่ใหญ่กว่า ความคิดเช่นนี้ยอมรับคณะทำงานที่ควรมาจากหลายสาขาเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการอนุรักษ์ คณะทำงานที่กล่าวถึงควรประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มเจ้าของวัฒนธรรมและวิชาชีพอื่นๆ กรอบความคิดที่ว่านี้พยายามจัดวางวิชาชีพนักอนุรักษ์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์และเทคนิควิทยาในการอนุรักษ์สมบัติทางวัฒนธรรม แต่ความรับชอบของเขาและเธอควรเป็นการใช้ความรู้เพื่อคำนึงถึงบริบทแวดล้อมอื่นในแต่ละกรณี มากกว่าจะเป็นการใช้ความรู้จัดการทุกอย่างด้วยความเชื่อที่ว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด

เขาสร้าง "พิพิธภัณฑ์ชุมชน" กันอย่างไร ในเคปทาวน์

20 มีนาคม 2556

พิพิธภัณฑ์เขตหกใน Central Methodist Mission Church เปิดทำการในเดือนธันวาคม 1994 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สืบเนื่องจากโครงการศึกษาประวัติศาสตร์ในเขตหก ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากโครงการได้ผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากความทรงจำที่ได้เก็บรวบรวม และกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์และความเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง ผลงานดังกล่าวเป็นผลมาจากความเพียรพยายามของแผนงาน 5 ปีในการจัดตั้งมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เขตหก โดยเริ่มต้นจากการจัดตั้งคณะกรรมการ Hands Off District Six (HODS) คณะกรรมการดังกล่าวมาจากนโยบายการเมืองท้องถิ่นภาคประชาชน และจัดตั้งขึ้นในแถบกลางเมืองเคป ทาวน์ เมื่อปี 1989 ในครั้งนั้น มีการรณรงค์ต่อต้านการพัฒนาเมืองโดยนายทุน ผลของการรณรงค์ในครั้งดังกล่าวนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเขตหกเพื่อคนชนชั้นกลางที่มาจากกลุ่มเชื้อชาติที่หลากหลาย ความพยายามเช่นนี้ถือเป็น "การปฏิรูป" การเลือกปฏิบัติทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่เคยเป็นมา มูลนิธิมีรูปแบบเป็นองค์กรโดยเอกชนและดำเนินการเป็นโครงการวัฒนธรรม ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ถึง 1990 โดยวัตถุประสงค์หลักคือ การเก็บรักษาความทรงจำของเขตหก อันเป็นพื้นที่ชั้นในของเมืองเคป ทาวน์ และตั้งอยู่ใกล้กับเทเบิล เมาท์เทน (Table Mountain) บริเวณดังกล่าวมีการย้ายถิ่นของประชากรไม่ต่ำกว่า 60,000 คน ในปี 1992 มูลนิธิจัดนิทรรศการภาพถ่ายณ โบสถ์เซ็นทรัล เมโธดิสท์ มิซซัง (Central Methodist Mission Church) เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ผู้ที่เคยอาศัยในพื้นที่ได้รวมตัวกันในโบสถ์ และใช้ที่นั่งไม้แถวยาวจัดแสดงภาพถ่ายที่ทรงคุณค่า ภาพขยายใหญ่ฉายผ่านสไลด์ รวมทั้งภาพยนตร์เก่าบางส่วน นำพาทุกคนย้อนกลับไปยังอดีต กิจกรรมดังกล่าวเป็นไปเพื่อการรวบรวมและการย้อนหาเอกภาพของเขตหกผ่านความทรงจำ จนในที่สุด พิพิธภัณฑ์เขตหกได้ถือกำเนิดในอีกสองปีต่อมา งานวัฒนธรรมของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เขตหกยังรวมถึงการเรียกร้องพื้นที่จากเทศบาล ภายใต้รัฐบัญญัติสิทธิที่ดิน การเรียกร้องดังกล่าวมาจากการรวมตัวของคนที่เคยอาศัยในเขตหกและสมาคมภาคประชาชนเขตหก จุดประสงค์สำคัญคือการรวบรวมผู้คนและผนึกความเป็นชุมชนเขตหกขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากในปี 1950 ชุมชนได้รับผลกระทบจากรัฐบัญญัติจัดการพื้นที่ กลุ่ม "คนขาว" ได้เรียกร้องการเข้าครอบครองพื้นที่ในเขตหกเมื่อปี 1966 การเคลื่อนย้ายของผู้คนออกจากพื้นที่ในช่วงทศวรรษ 1970 ถึงต้นทศวรรษ 1980 ได้ทำลายสายใยทางสังคมที่มีมา หรือทำลายกระทั่งอาคารและภูมิทัศน์ สิ่งที่เหลือไว้ก็เพียงมัสยิดและโบสถ์เท่านั้น ในระหว่างกระบวนการเรียกร้องที่ดิน พิพิธภัณฑ์ได้ตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องว่า การฟื้นฟูความเป็นชุมชนและพัฒนาพื้นที่ทางสังคมและกายภาพขึ้นอีกครั้งจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร ทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพื้นที่เมือง รวมถึงประวัติศาสตร์ความทรงจำ พิพิธภัณฑ์เขตหกยังเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสมานฉันท์และสัจจะ (Truth and Reconciliation Commission) ที่ต้องการบันทึกประสบการณ์อันเจ็บปวด แต่กิจกรรมเช่นนี้ไม่ได้ดำเนินไปด้วยแนวคิดของการ "ฝังใจเจ็บ" หากแต่เป็นการใช้มุมมองเชิงศีลธรรมเพื่อการเยียวยาและการให้อภัย พิพิธภัณฑ์ชุมชน (A community-based museum) พิพิธภัณฑ์เขตหกมีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการพิพิธภัณฑ์ชุมชนอื่นๆ ในเมืองเคป ทาวน์ ไม่ว่าจะเป็น ลเวนเดิล, ซอมเมอร์เซ็ท เวสท์, ครอสโรดส์ และ โปรที วิลเลจ หรือ อิสแบงก์ในอีสต์ลอนดอน และ เซ้าท์ แอนด์ในพอร์ต อลิสเบธ โครงการเหล่านี้อยู่ชายขอบหรือนอกอาณาจักรของโครงสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและมรดกของชาติ หรือกระทั่งการสนับสนุนของงบประมาณแผ่นดินสำหรับงานศิลปะ วัฒนธรรม และมรดก แต่ด้วยลักษณะที่มิได้พึ่งพิงต่อทรัพย์สินและงบประมาณของมรดกแห่งชาติ และอาศัยทุนบริจาค โครงการพิพิธภัณฑ์ชุมชนกลับเป็นเวทีวัฒนธรรมอิสระ และท้าทายต่อวัฒนธรรมประชาในระดับกว้าง ในประเทศแอฟริกาใต้ พิพิธภัณฑ์ชุมชนได้สถาปนาตนขึ้นมาในฐานะดังกล่าว ด้วยงานวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์เขตหกอย่างแข็งขัน จริงๆ แล้ว พิพิธภัณฑ์ชุมชนปรากฏมากขึ้นในส่วนต่างๆ ของประเทศแอฟริกาใต้ เนื่องเพราะต้นแบบพิพิธภัณฑ์เขตหกที่ทำให้พวกเขาเห็นความสำคัญของ "พิพิธภัณฑ์ชุมชน" และเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะแบบ การทำความเข้าใจต่อข้อถกเถียงและข้อขัดแย้งที่สัมพันธ์กับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประเภท "ชุมชน" จะทำให้เราเห็นเหตุผลและลำดับของการขยายตัวขององค์กรดังกล่าวในภูมิทัศน์วัฒนธรรมของประเทศแอฟริกาใต้ ด้วยเหตุนี้ เราจะกลับไปสำรวจสิ่งที่เรียกว่า "ชุมชน" รวมถึงกระบวนการ รูปแบบ และการสร้างอัตลักษณ์ และวิธีการสร้างโครงการทางวัฒนธรรม การสืบค้นดังกล่าวไม่ใช่เพียงการพยายามนิยามประเภทองค์กรในวงศ์วานพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่การริเริ่มสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองเคป ทาวน์ พิพิธภัณฑ์เขตหกมีสถานภาพที่เป็นอิสระ นั่นหมายถึง พื้นที่ที่สามารถตั้งคำถามและหาคำตอบของสิ่งต่างๆ ในยุคหลังการเลือกปฏิบัติในทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์และกรอบแนวคิด รวมทั้ง พิพิธภัณฑ์ได้กลายเป็นพื้นที่ของการวิจัย การจัดแสดง และการให้ความรู้ ด้วยชุดความรู้และแบบแผนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย นิทรรศการที่เปิดตัวพร้อมกับการเปิดประตูพิพิธภัณฑ์สู่สาธารณชนในปี 1994 ได้แก่ "ถนนหลายสายสู่การย้อนมองเขตหก" เศษซากและสิ่งที่เหลืออยู่ของพื้นที่เขตหก ยังรวมถึงการใช้เอกสาร รูปถ่าย บันทึกความทรงจำ และวัตถุที่หลากหลาย แทรกสลับแผนที่อันสีสรรร้อนแรงในนิทรรศการ ป้ายชี้เส้นทางเก่าแขวนตามเสาในตำแหน่งเดิม ป้ายเหล่านี้มาจากทีมงานที่เคยทำหน้าที่ทำลายอาคารในเขตหก หากแต่พวกเขาเก็บไว้ส่วนตัว ป้ายที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัตถุที่ทำให้เราย้อนพินิจถึงเขตหกอย่างเป็นรูปธรรม ทิวแถวของภาพถ่ายผู้คนที่เคยอาศัยขนาดใหญ่พิมพ์ลงพลาสติกขาวขุ่น และแขวนตามเสาที่เรียงราย ผู้ชมจึงเฝ้ามองตามจังหวะที่ต่างกันไปบนแผนที่ ห้องย่อยต่างๆ จัดแสดงภาพถ่ายจากการบริจาคของผู้อาศัยเดิม เนื้อหาของภาพทำหน้าที่เป็นปากคำของวิถีชีวิตทางสังคมและการแสดงออกทางวัฒนธรรมในเขตหก และเมื่อเดินทางถึงปลายทางของแผนที่ ตู้ใสขนาดใหญ่บรรจุดินและหินจากเขตหก กลับเผยให้เห็นชิ้นส่วนจากการขุดค้นที่สัมพันธ์กับชีวิตในครัวเรือน ทั้งขวด เศษหม้อ ไห แก้ว เครื่องครัว และของเล่นเด็ก เมื่อพิจารณาสิ่งจัดแสดงเหล่านี้ ทั้งวัตถุและเอกสารสร้างที่กู้พื้นที่เขตหกกลับคืนมา พิพิธภัณฑ์สถาปนาตนขึ้นในฐานะ "โบราณคดีของความทรงจำ" ซึ่งถือเป็นการขุดค้นสายใยของสิ่งที่จับต้องเข้ากับภูมิทัศน์ทางสังคมวัฒนธรรมของเขตหกในห้วงภาษาแห่งจินตนาการ การลงรากปักฐานใน "พื้นที่ที่ไม่ได้ถูกทำลาย" ของโบสถ์แห่งอิสรภาพเดิม (Freedom Church) สถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปฏิบัติศาสนพิธีของทายาททาสและทาสี และต่อมา ในฐานะฐานที่มั่นของผู้เรียกร้องสิทธิทางการเมือง ยังให้ชี้เห็นถึงชั้นทับถมของประสบการณ์ ทั้งความหมายและการตีความ กระทั่งเป็นโอกาสการเยียวยา "ชุมชนที่มล้างไป" ของเขตหก ฉะนั้น คงไม่ต้องแปลกใจแต่ประการใด หากเมื่อผู้ชมจำนวนมากเรียกพิพิธภัณฑ์ด้วยชื่อ "เขตหก" ซึ่งมีความหมายถึงกระบวนการสร้างความทรงจำและการรำลึกถึง พิพิธภัณฑ์ได้สร้างพื้นที่สำหรับชุมชนในการรวมตัวและแบ่งปันประสบการณ์และความทรงจำร่วมกัน การกระทำและกระบวนการเช่นนี้ดำเนินไปเพียงชั่วยาม หากแต่เสียงของการเล่าขานจะติดตรึงอยู่ในห้องต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ หรือเรียกว่า "พยานของเรื่องเล่าที่ทรงคุณค่าแต่กลับไม่มีใครพูดถึง" เสียงที่เปล่งออกเช่นนี้ได้มอบนัยสัมพันธ์กับถิ่นที่ของเขต พิพิธภัณฑ์จึงแสดงตัวตนเฉกเช่น "พื้นที่สาธารณะของการปฏิสัมพันธ์" สถานที่ "ของผู้คนที่ตอบสนองต่อเขตหก" ให้ก่อเกิดเป็น "เรื่องราวและสายใย" ของตัวมันเอง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้กลายเป็นปฐมบทของขบวนการพิพิธภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ และการเมืองของความทรงจำ พื้นที่ต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์จะมีข้อถกเถียงและข้อโต้แย้ง อันถือเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์สังคม และชีวิตทางการเมืองในเขตหก ประว้ติศาสตร์ท้องถิ่นกลับสะท้อนอดีตของชาติในการจัดการทางสังคมของเคป ทาวน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์ของ "การเคลื่อนย้ายถิ่นแกมบังคับ" พิพิธภัณฑ์เขตหกกลายเป็นสัญลักษณ์อ้างอิงประสบการณ์ของการย้ายพื้นที่ในบริเวณอื่นๆ ของเคป ทาวน์ และของประเทศแอฟริกาใต้ และยังหมายความถึงกระบวนการเรียกร้องที่ดินของเขตหก พิพิธภัณฑ์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทุ่มเถียงถึงอนาคตของเมืองเคป ทาวน์ อันถือเป็นกระบวนการภาคประชาชนและปฏิบัติการทางสังคมในพื้นที่เมือง การดำเนินการที่ทรงพลังมากที่สุดของพิพิธภัณฑ์เขตหกได้แก่ การสร้างเวทีประชาชนเกี่ยวกับการจัดการที่ดิน ในปี 1997 ศาลการเรียกร้องที่ดิน (Land Claims Court) จัดการพิจารณาคดีเป็นพิเศษในพิพิธภัณฑ์เพื่อการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างแผนการพัฒนาที่ดินของรัฐบาลท้องถิ่นและเอกชน นั่นหมายถึง การทำให้ข้อเรียกร้องของเอกชนเป็นที่รับรู้ และอยู่ในการพิจารณาของรัฐบาลท้องถิ่น ในปีถัดมา อาคารพิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่เป็นพยานของการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกลาง เมือง และคณะกรรมการผลประโยชน์ (Beneficiary Trust) สาระสำคัญคือ กระบวนการแก้ปัญหากรณีพิพาทในการจัดการที่ดินจะต้องเปิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนมีส่วนร่วม พิพิธภัณฑ์เขตหก พื้นที่สายพันธุ์ใหม่ การจะทำความเข้าใจพิพิธภัณฑ์เขตหกจะต้องมองเป็น "พื้นที่สายพันธุ์ใหม่" พื้นที่ที่มีความเป็นวิชาการ งานวิจัย คลังสะสมและสุนทรียะของพิพิธภัณฑ์ ขั้นตอนการทำงานอยู่ภายใต้การทำงานร่วมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการและผลตอบแทน รวมไปถึงความเป็นพื้นที่ทางการเมืองในการเรียกร้องที่ดิน ทั้งเชิงสัญลักษณ์และปฏิบัติการ พิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมเอาพลังความคิดและพละกำลังของผู้คนที่หลากหลาย นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ชาวชุมชนบางคนที่มองตนเองเป็น "นักเรียกร้องระดับหัวเรือใหญ่" ที่ไม่ชอบพิธีรีตองอย่างนักวิชาการ และคนอีกจำนวนมากที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ ผู้ทำหน้าที่เรียกร้องอย่างค่อยเป็นค่อยไปอยู่นับทศวรรษ ด้วยรากเหง้าของพวกเขาในองค์กรทางการเมืองและวัฒนธรรมในเขตหก โครงสร้างส่วนต่างๆ และกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง การแลกเปลี่ยนและส่งผ่านความรู้และการแสดงออกทางวัฒนธรรม และร้อยรัดเอาผู้คนไปในจังหวะของการทำงาน ขุมพลังทางปัญญาจากสมาชิกที่หลากหลายได้ฝังลึกอยู่ในหัวใจของปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์และการวิพากษ์วิจารณ์ของพิพิธภัณฑ์เขตหกแห่งนี้ นิทรรศการเรื่อง ขุดให้ถึงรากเหง้า (Digging Deeper) เปิดแสดงในโบสถ์แห่งเสรีภาพ (Freedom Church) ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ ในปี 2000 นำไปสู่วิธีการจัดแสดงและนัยสำคัญต่อวัฒนธรรมประชาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นิทรรศการดังกล่าวตั้งคำถามต่อผู้ที่เข้าชมด้วยความไม่ชัดเจนและซับซ้อนในการพูดถึงเขตหก เพื่อนำไปสู่ความรู้สึกอึดอัดและคลางแคลงใจ จนปรารถนาที่จะบอกเล่าเรื่องเกี่ยวกับเขตหกด้วยตนเอง แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างนิทรรศการทั้ง 2 ชุด คือ "ถนนหลายสาย" เน้นการพูดถึงพื้นที่ต่างๆ และชีวิตของผู้คนในความเป็นชีวิตสาธารณะ ในขณะที่ "ขุดให้ถึงรากเหง้า" กลับมุ่งไปยังเรื่องส่วนตัวและพื้นที่เฉพาะของบุคคล ในการออกแบบ ขุดให้ถึงรากเหง้า พิพิธภัณฑ์เลือกเจาะลึกไปในรายละเอียดของคลังสะสม และเลือกตั้งคำถามที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเขตหก ณ ทางเข้าของนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ "ยิง" ประเด็นคำถามที่สร้างความอึดอัดต่อให้กับผู้ที่เข้าชม "เราปรารถนาที่จะค้นหาและทำความเข้าใจกับความทรงจำของเรา ความสำเร็จ และความอัปยศ ทั้งห้วงเวลาแห่งชัยชนะ ความกล้าหาญ และความรัก แต่ขณะเดียวกัน ช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวดที่อัดแน่นอยู่ในใจเรา" เมื่อกล่าวถึงการออกแบบ คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์และผู้ออกแบบ เพ็กกี้ เดลพอร์ต (Peggy Delport) กำหนดแนวคิดในการออกแบบโดยใช้ความละเอียดอ่อนและความหยาบของวัสดุในงานภาพ ภาพที่ขยายใหญ่ติดตั้งบนกำแพงฟื้นบรรยากาศชีวิตในอดีต ขณะที่ป้ายอธิบายประวัติศาสตร์ ระยะเวลา ลำดับแผนที่ และข้อความชีวประวัติที่มาจากการวิจัยประวัติศาสตร์คำบอกเล่า เหล่านี้สะท้อนพัฒนาการทางวัฒนธรรม วิถีคิด และการเมืองที่ซับซ้อนของเขตหก ป้ายผ้าที่เขียนขึ้นเองอย่างง่ายเชื่อมโยงสถาบันของชีวิตสาธารณะ ทั้งศาสนาและการเมือง การศึกษาและวัฒนธรรม เสียงปล่อยตามโดมเสียงหลายจุดสะท้อนเสียงของผู้เล่า อันถือเป็น "สาระถัตหลักและแหล่งชีวิตของพิพิธภัณฑ์" การจัดสรรห้องเฉพาะในนาม "ห้องโนมวูโย" (Nomvuyo’s Room) สำรองไว้เพื่อการวิจัยชีวประวัติ ซึ่งเป็นพื้นที่เอนกประสงค์ที่ยังชีวิตให้แก่คนมากมายจากความยากจน แผนที่ เสื้อผ้า ป้ายบอกทางตามท้องถนน และภาพบุคคลที่ขยายใหญ่ ยังคงเป็นเนื้อความสำคัญของนิทรรศการ ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ประเด็นการพูดคุยเพื่อการอนุรักษ์และการจัดสรรพื้นที่ นอกไปจากงานวิจัยและงานภัณฑารักษ์ที่ได้กำหนดไว้ พิพิธภัณฑ์ยังเปิดโอกาสให้ศิลปิน นักวิจัย อาสาสมัคร กลุ่มจัดตั้ง และผู้คนที่เคยอาศัยในเขตหกเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ กรอบการทำงานคือ การสร้างนิทรรศการมาจากประสบการณ์เชิงประจักษ์ และทำหน้าที่ร้อยรัดส่วนต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน พิพิธภัณฑ์จะเป็นพื้นที่ของการวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถาม จนเกิด "พื้นที่ของชีวิตและพลังสร้างสรรค์" ในขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์ปฏิเสธความเป็น "วัตถุที่แน่นิ่ง รอเพียงการโลมเลียจากการเฝ้ามอง หากแต่ห่างไกล" ฉะนั้น พิพิธภัณฑ์ต้อง "วิวัฒน์อย่างต่อเนื่องด้วยผู้ชมของพิพิธภัณฑ์" ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์เขตหกจึงมิใช่พื้นที่ที่เดียงสา และไม่ใช่พื้นที่ที่สร้างความจริงเดี่ยวๆ หากแต่พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่อิสระของการปรับเปลี่ยนด้วยกระบวนการ "ไป-กลับ" ระหว่างพิพิธภัณฑ์ ผู้ชม และเจ้าของวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ตรงนี้คือสาระของพิพิธภัณฑ์ ผลที่จะตามมาคือ ความเป็นชุมชนในพิพิธภัณฑ์จะปรากฏขึ้นเพื่อสานต่อการพูดคุย ตีความ และถกเถียงอย่างไม่จบสิ้น จุดนี้สำคัญอย่างยิ่งต่อสถานภาพของพิพิธภัณฑ์ เพราะกรอบการดำเนินงานเช่นนั้นจะสนับสนุนให้กระบวนการฟื้นฟูที่ดิน หรือเรียกว่า "การกลับสู่บ้าน" ในเขตหกดำเนินไปอย่างลุล่วง เมื่อเขตหกได้วางแผนการพัฒนาและฟื้นฟูชุมชน พิพิธภัณฑ์ก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการทำงานทางวัฒนธรรมและการเมือง เพื่อ "ฟื้นคืนชีวิตชุมชน" ให้กับผู้ที่เคยจากถิ่นที่ในช่วงเวลาของอดีตที่มีการเลือกปฏิบัติ พิพิธภัณฑ์คาดหวังอย่างมากในการทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดทิศทางของชุมชนในอนาคต ข้อท้าทายในงานพิพิธภัณฑ์ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของวัฒนธรรมมีส่วนร่วมในทุกด้าน แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การศึกษาและเผยแพร่ความทรงจำ และการบันทึกสิ่งเหล่านี้ไว้สัมพันธ์โดยตรงต่อการฟื้นคืนภูมิทัศน์ทางกายภาพและทางสังคม ทิศทางขององค์กรและพันธะสัญญาต่อสังคม แม้จะมีการทำงานที่ยากลำบากและซับซ้อนปรากฏในงานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์เขตหกนี้ แต่การทำงานเช่นนี้เองคือ "กระบวนการทำให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์" (museumization) ที่วางเอาไว้ตั้งแต่แรกก่อตั้ง การก่อตัวของพิพิธภัณฑ์ได้กำหนดลักษณะการดำเนินการแบบองค์กร มีการจัดแบ่งส่วนงานอย่างชัดเจน งานคลังสะสม งานนิทรรศการ และงานการศึกษา รวมถึงการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครไปในขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์พัฒนาไปสู่ความเป็นสถาบัน สร้างพื้นที่สาธารณะที่ให้เกิดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และนำไปสู่การสร้างสรรค์งานวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เพื่อตอกย้ำต่อการสร้างพื้นที่สำหรับความเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมอย่างจริงแท้ ฉะนั้น พิพิธภัณฑ์เขตหกมองตนเองว่าเป็น "พิพิธภัณฑ์ของกระบวนการ" นั่นหมายถึง พื้นที่ที่จะต้องการความสร้างสรรค์และการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะด้วยการบันทึก โต้แย้ง และตรวจสอบในหลากรูปแบบ ผลลัพธ์คือ สาระของพิพิธภัณฑ์ที่มาจากการจัดการอย่างเป็นขั้นตอน ความเป็นศูนย์กลางของพิพิธภัณฑ์อยู่ที่การรวบรวมความรู้ และแสดงออกผ่านการออกแบบนิทรรศการ การบันทึกและจัดเก็บเรื่องเล่าและดนตรี รวมถึงภาพถ่ายอย่างเป็นระบบ อนึ่ง การทำงานทั้งหมดนี้มาจากสมาชิกที่เคยอยู่อาศัยในชุมชน ความเชี่ยวชาญของพิพิธภัณฑ์เพิ่มพูนขึ้น ด้วยการใช้ความรู้เชิงวิชาการเข้าไปกับสถานการณ์ของการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิพิธภัณฑ์เล็กๆ แห่งนี้ได้สถาปนาตนเองในฐานะขององค์กรเพื่อสาธารณะกิจ ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์จึงมีลักษณะที่โดดเด่นมิใช่น้อย จากมุมมองต่างๆ ที่ได้กล่าวถึง "พิพิธภัณฑ์ชุมชน" สามารถใช้อธิบายลักษณะของพิพิธภัณฑ์เขตหก และยังเป็นแนวคิดที่ใช้กำหนดการทำงานของพิพิธภัณฑ์ในเรื่องการเมืองทางวัฒนธรรมสำหรับการศึกษาความทรงจำ พิพิธภัณฑ์มิได้ใช้แนวความคิด "ชุมชน" อย่างดาดๆ หากกลับเป็นความพยายามผลักดันให้การทำงานของพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบและการเคลื่อนไหวทางสังคม นิยามประเภทพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวสร้างกรอบการทำงานอย่างมีส่วนร่วมและนำไปปฏิบัติได้จริง ทั้งการตีความ การสร้างความแข็งแกร่งของชุมชน และการมองงานพิพิธภัณฑ์ว่าเป็นกระบวนการที่เดินหน้าต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด พิพิธภัณฑ์ในฐานะโครงการจะดำเนินไปชั่วชีวิตของพิพิธภัณฑ์ ด้วยความสามารถและความเชี่ยวชาญของการจัดการภายในองค์กร และด้วยขบวนการโต้แย้งและโต้ตอบที่เคียงคู่ แนวคิดชุมชนของพิพิธภัณฑ์เขตหกมีลักษณะเชิงกลยุทธ์ และแสดงออกถึงความประสงค์ในการฟื้นฟูโครงสร้างสังคม ชุมชนด้วยตัวของมันเองเป็นจินตนาการมีที่ผลประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทั้งนิทรรศการ กิจกรรม และการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งกระบวนการเจรจาต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์เขตหกจะวิวัตน์ต่อเนื่องด้วยการนิยามและการกำหนดกรอบของแนวคิด "ชุมชน" เรื่อยไป พิพิธภัณฑ์จะเป็นสถานที่ของการนิยามตัวตนของคนในสังคมภายหลังยุคการเลือกปฏิบัติ พิพิธภัณฑ์จะไม่ใช่สิ่งตายตัวเหมือนดั่งที่การเลือกปฏิบัติมักเลือกกระทำ **แปลและเรียบเรียงจาก Ciraj Rassol, "Making the District Six Museum in Cape Town," Museum International, No. 229-230 (vol. 58. No. 1-2, 2006), pp. 9 – 18. *** Ciraj Rassol ดำรงตำแหน่งอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เคป และเป็นผู้ดำเนินโครงการแอฟริกันในสาขาวิชาพิพิธภัณฑ์และมรดกศึกษา ท่านยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของพิพิธภัณฑ์เขตหก และประธานคณะกรรมการวิชาการของสภาการพิพิธภัณฑ์แอฟริกาสากล (International Council of African Museums - AFICOM) และมีงานวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษา มรดก ประวัติศาสตร์สื่อทัศน์ และประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับการต่อสู้

พิพิธภัณฑ์กับชีวิตของเมือง กลยุทธ์สำหรับการทำงานร่วมกับชุมชนเมือง

22 มีนาคม 2556

(ตอนที่ 1) บทความที่จะปรากฏต่อไปนี้มาจากการเก็บความจากหนังสือ "Museums in the Life of a City" Strategies for community partnerships. Washington D.C.: American Association of Museum, 1995. หนังสือดังกล่าวได้รวบรวมข้อเขียนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา ปี 1992 บทเรียนจากความร่วมมือระหว่างชุมชนและพิพิธภัณฑ์น่าจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานหลายแห่งในประเทศไทยในการริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์เมือง เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นและทำหน้าที่ต่อสาธารณชนในการให้การศึกษาอย่างแท้จริง มากไปการสร้างห้องนิทรรศการที่มีแต่ภาพ ป้ายบรรยาย หรือวัตถุจัดแสดงเล็กน้อย แล้วกลับนิยามสถานที่ดังกล่าวนั่นว่า "พิพิธภัณฑ์" ปฐมบท การริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์กับชีวิตของเมืองมิได้ดำเนินการสะดวกและง่ายดายตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ระยะกลาง จนกระทั่งปิดโครงการ โครงการดังกล่าวเป็นการทดลองหรืออาจจะเรียกว่าการพิสูจน์ให้เห็นถึงบริบทขนาดใหญ่ของความเป็นไปในสังคมอเมริกันและทัศนคติที่เปลี่ยนไป ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 คำว่า "เชื้อชาตินิยม" (racism) ยังเป็นประเด็นเล็กๆ ที่พูดคุยกันในพิพิธภัณฑ์ ฉะนั้นเมื่อเราเริ่มเขียนเค้าโครงการทำงานในปี 1989 เราได้ตั้งเป้าหมายไว้แต่ต้นว่า "โครงการจะพยายามสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และลดอคติและการเลือกปฏิบัติไปพร้อมกัน" เราได้เน้นย้ำถึง "การสร้างความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์และชุมชนและความภาคภูมิใจในความเป็นพลเมือง รวมไปถึงความเข้าใจเกี่ยวผู้คนและวัฒนธรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น และเชื้อเชิญให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับการทำงานของพิพิธภัณฑ์เมืองมากยิ่งขึ้น" เอกสารฉบับนี้เป็นการย้อนรอยการทำงานในทุกๆ ขั้นตอนจากแนวคิดจนถึงการประเมินการทำงาน รวมไปถึงข้อคิดเห็นต่างๆ ที่มีต่อการทำงานของเรา โครงการเริ่มต้นมาจากการพูดคุยระหว่างตัวแทนของพิพิธภัณฑ์ในเมืองฟิลาเดลเฟีย เมื่อฤดูร้อนปี 1988 จากการริเริ่มของโจแอล แอน. บลูม (Joel N. Bloom) ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานสมาคมพิพิธภัณฑ์สหรัฐอเมริกาและประธานพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สถาบันแฟรงคลิน ความคิดในขณะนั้นคือการริเริ่มโครงการที่จะเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์กับชุมชนที่รายล้อม ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสมาคมพิพิธภัณฑ์อเมริกาและความร่วมมือกับเครือข่ายสถานที่เพื่อการพำนักอาศัย (Partners for Livable Places) คณะทำงานได้รับเงินสนับสนุนเมื่อปี 1990 จาก The Pew Charitable Trusts for Museums in the Life of a City: The Philadelphia Initiative for Cultural Pluralism หรือกองทุนสำหรับการสร้างความเข้าใจ้เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมในเมืองฟิลาเดลเฟีย การทำงานในโครงการนำร่องมาจากหลายฝ่าย ตั้งแต่สถาบันวัฒนธรรมและองค์กรงานเพื่อสังคมและศิลปะชุมชน โดยมีสำนักงานเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ประสานงานในเมือง ช่วงปีแรกเป็นห้องเวลาของการเก็บข้อมูล พัฒนาโครงสร้างการจัดการ และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในเมืองฟิลาเดลเฟียและองค์กรชุมชน เรานิยาม "ชุมชน" ที่กลุ่มคนที่ไม่ได้จัดว่าเป็นกลุ่มคนหลักตามที่มีการระบุไว้ในการสำรวจสำมโนประชากรสหรัฐอเมริกาปี 1990 (nonmajority categories used in the 1990 U.S. Census) ผู้ที่ถูกกระทำและเลือกปฏิบัติจากชนอเมริกันกระแสหลัก อันได้แก่ แอฟริกันอเมริกัน ลาติโนส์ เอเชียนอเมริกัน และชนพื้นเมืองอเมริกัน ส่วน "พิพิธภัณฑ์" กินความกว้างไปถึงห้องสมุด สวนสัตว์ และองค์กรทางประวัติศาสตร์ ระหว่างสองปีถัดมา เราได้ทำกิจกรรม 11 ครั้งเพื่อการนำร่องในการประสานความร่วมมือ ด้วยการสร้างศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอกิจกรรมกับสาธารณชน การผลิตจดหมายข่าว และการจัดประชุมความร่วมมือเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมในอนาคต หน่วยงานต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือพันธมิตรเพื่อที่พำนัก (Partners for Livable Places) ได้จัดประชุมระดับชาติในฟิลาเดลเฟียโดยเน้นประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในสหรัฐอเมริกาและที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ จากการเริ่มต้น คณะกรรมการที่ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์และองค์กรชุมชนรวม 14 แห่งได้วางแนวทางปฏิบัติทั่วไป โดยมีโรเบริต์ ซอร์เรลล์ (Robert Sorrell) ประธานสันนิบาตเมืองฟิลาเดลเฟีย และโจแอล บลูม (Joel Bloom) เป็นประธานคณะกรรมการ ในช่วงปลายปี 1994 สองปีหลังจากโครงการนำร่องสำเร็จลง ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของพวกเขาระหว่างที่มีการประชุมร่วมกับสมาคมพิพิธภัณฑ์สหรัฐอเมริกา ข้อคิดแสดงถึงการริเริ่ม ความเสี่ยงและผลที่ได้รับ ความผิดหวังและความพึงพอใจ ความสนุกและความกังวล เพื่อเป็นข้อคิดให้กับองค์กรทางวัฒนธรรมและชุมชนในเมืองอื่นๆ เช่นฟิลาเดลเฟียได้ทดลองลงแรงในทิศทางเดียวกันบ้าง ความคิดริเริ่มของพวกเรางอกเงยมาจากการสนทนา ทั้งการรู้จักที่จะรับฟัง รับผิดชอบ และการโต้ตอบ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถามหรือการแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้ง นั่นหมายถึง ความเคารพต่อผู้อื่นและการแสดงความคิดเห็นในบรรยากาศที่ไว้ใจซึ่งกัน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการสนทนา ถ้อยคำเหล่านี้มาจากผู้ที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการระหว่างโครงการนำร่องพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมือง เริ่มต้นสำรวจความเป็นไปได้ โดย แอนน์ มินท์ซ (Ann Mintz) พิพิธภัณฑ์สามารถแสดงบทบาทในการเชื่อมสายใยของชุมชนได้อย่างไร? ประเด็นทางสังคมใดที่พิพิธภัณฑ์สามารถช่วยในการเปิดสู่สาธารณะ? โครงการนำร่องพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมืองออกเดินด้วยคำถามข้างต้นนี้ เมื่อตัวแทนของพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในฟิลาเดลเฟียจัดการประชุมในระยะแรกๆ พวกเรามีจุดมุ่งหมายสำคัญอยู่สองประการ ได้แก่ การบ่งบอกถึงปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองกำลงเผชิญอยู่ และอภิปรายแนวทางที่พิพิธภัณฑ์สามารถเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาเหล่านั้น ด้วยการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย เราได้พูดคุยกันให้ประเด็นที่หลากหลายแม้จะต้องใช้เวลานาน ทั้งเรื่องของยาเสพติดและอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่อง การเคหะและปัญหาการเร่ร่อน เด็กๆ ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยง การตกงาน การแบ่งแยกทางเชื้อชาติและการเมือง ปัญหาความร่ำรวยของเมืองแต่ขาดความใส่ใจต่อลักษณะพหุวัฒนธรรม ทุนสนับสนุนที่ลดลง การให้ความสำคัญกับการศึกษา ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความรับผิดชอบของพิพิธภัณฑ์ต่อชุมชนและครอบครัว รวมไปถึงการสร้างความตระหนักในความภาคภูมิของการเป็นพลเมืองและความรับผิดชอบต่อพื้นที่ด้วยการลงมือต่อต้านความยุ่งเหยิง เราได้อภิปรายถึงจุดแข็งของพิพิธภัณฑ์ที่เรามีและเราจะสร้างความแตกต่างอย่างไร "พิพิธภัณฑ์ไม่ใช่งานสังคมสงเคราะห์" ใครคนหนึ่งในการประชุมกล่าวขึ้นมา เราเห็นด้วย แต่ปัญหาของเมืองอีกจำนวนไม่น้อยที่พิพิธภัณฑ์ไม่สามารถจะช่วยได้ พิพิธภัณฑ์กลับจะต้องผลักดันให้ตนเองเป็นหน่วยงานที่มีบทบาททางสังคม (social agencies) ตัวอย่างเช่น ขอบเขตการทำงานบางประเภทอยู่ในวิสัยที่พิพิธภัณฑ์ชำนาญการ การศึกษาและการสร้างความภาคภูมิใจของชุมชน หรือประเด็นอื่นอย่างการแบ่งแยกเชื้อชาติและชาติพันธุ์ ที่เราสามารถเข้าไปเล่นบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี ใครอีกคนหนึ่งในที่ประชุมกล่าวว่า "วัฒนธรรมเป็นจุดศูนย์กลางของการเยียวยาประเทศ" เราสำรวจความเป็นไปได้ต่างๆ และสรุปจุดแข็งของพิพิธภัณฑ์ที่เป็นแบบฉบับคือ การจัดแสดง การตีความ และการสดุดีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ฟิลาเดลเฟียอยู่ในข่ายของเมืองที่มีชุมชนหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม แต่ความแตกต่างและหลากหลายเช่นนี้สามารถนำไปสู่การแบ่งแยก และหลายๆ ครั้ง ก็หมายถึงความขัดแย้ง เราจึงตัดสินใจว่า พิพิธภัณฑ์ควรสำรวจตนเองเพราะเหตุใดจึงมีกำแพงระหว่างเราและชุมชน แล้วเราจะสามารถสร้างเชื่อมต่อได้อย่างไร เราควรหาวิธีที่จะสดุดีความหลากหลาย เมื่อเรามองออกไปยังภายนอกคือ ชุมชนต่างๆ ในฟิลาเดลเฟีย แลมองกลับเข้ามาในระบบการทำงานของเรา เราควรพยายามเรียนรู้ว่าเหตุใดพิพิธภัณฑ์ไม่เคยจะสะท้อนความหลากหลายของวัฒนธรรม เราควรที่จะมีโอกาสเรียนรู้กันและกัน และเชื่อมโยงให้พิพิธภัณฑ์ต่างๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้อย่างไม่เป็นอย่างทางการ รวมถึงรู้จักใช้ "มนต์มายา" ที่ตนมี สิ่งที่เราเรียนรู้ในเบื้องต้นนี้สามารถสรุปได้ 3 คำ คือ ขบวนการ ความอดทน และการเป็นหุ้นส่วนซึ่งกัน ขบวนการมีความสำคัญ เพราะเราจะต้องทำงานไปด้วยกัน เมื่อเราต้องใช้เวลาและความใส่ใจ ความอดทนก็เป็นสิ่งที่จะต้องมีในลำดับต้นๆ และในแต่ละขั้นตอนของการตัดสินใจ ทั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือการพัฒนาโครงการ หุ้นส่วนที่แท้จริงก็คือกุญแจสำคัญ เราเริ่มออกเดินทาง โดย พอร์เทีย ฮามิลตัน-สเปียร์ (Portia Hamilton-Sperr) ในการเริ่มต้นโครงการพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมืองเมื่อปี 1990 เรามองไปที่ลักษณะประชากร การเมือง และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของฟิลาเดลเฟีย รวมถึงบริบททางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 เมืองมีแต่ความวุ่นวาย รัฐบาลท้องถิ่นเผชิญกับปัญหาการเงิน ศีลธรรมของพลเมืองตกต่ำจนขีดสุด ไม่ใช่เพียงเท่านั้น ค่านิยมดั้งเดิมกลายเป็นประเด็นไปทั่วประเทศ ประเด็นพหุนิยม ความหลากหลาย และพหุวัฒนธรรมนิยม และ "จริยธรรมการเมือง" กลายเป็นประเด็นร้อน เมื่อพิจารณาไปที่ประชากรในเมืองของอเมริกา เราไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นพหุนิยมที่เพิ่มมากขึ้นในฟิลาเดลเฟีย ตั้งแต่ 1980 ตามข้อมูลการสำรวจล่าสุด กลุ่มประชากรเอเชียที่อยู่ในเมืองมากขึ้นเป็นสองเท่า หรือมากกว่า 43,000 คน และประชากรกลุ่มละตินเพิ่มมากขึ้นมากกว่า 90,000 คน ตามข้อมูลที่อ้างอิงของบทความหนึ่งใน ฟิลาเดลเฟีย อินเควอรี เดือนมีนาคม 1991 "เมื่อต้นศตวรรษนี้ ประชากรในขณะนั้นประมาณ 1.6 ล้านคน ประกอบด้วยคนขาวร้อยละ 54 และคนดำร้อยละ 40 แต่ในยามนี้ 3 ใน 4 คือประชากรคนดำอาศัยในกลุ่มประชากรที่ 9 ใน 10 คนเป็นคนดำ" และอีกบทความหนึ่งพูดไปในทำนองเดียวกัน "ดังจะเห็นได้ว่าการแบ่งแยกมีมากขึ้นในเมืองต่างๆ อย่างฟิลาเดลเฟีย คนดำจำนวนหนึ่งขาดความสัมพันธ์กับคนดำชนชั้นกลางที่ย้ายไปยังชุมชนใหม่… จากเครือญาติระหว่างครอบครัวและเพื่อนที่เคยอยู่ในลักษณะข้อมูลช่องทางการทำงาน หรือวาระโอกาสอื่น กลายมาเป็นทะเลาะแบ่งแยก ชุมชนกลายสภาพเป็นโดดเดี่ยวมากขึ้น" เมื่อพิจารณาถึงบทบาทขอสถาบันทางวัฒนธรรมที่ควรจะมีหรือจะเป็นเพื่อการพัฒนาเมืองในยามที่ปัญหาแย่ลงเรื่อยๆ สถาบันควรคิดที่จะเข้าหามวลชนโดยตรงมากกว่าที่จะตระหนักถึงประเด็นทางสังคมบางประการ นั่นหมายถึง การคำนึงถึงการอยู่รอดทางการเงิน พิพิธภัณฑ์หลายแห่งคิดถึงความต้องการทางสังคมในลักษณะกว้างๆ หลายแห่งสนับสนุนการเข้าชมของเด็กที่มีรายได้ต่ำ หลายแห่งทำงานกับโรงเรียนรัฐหรือมีการจัดรายการท่องเที่ยว ในขณะที่อีกหลายแห่งจัดนิทรรศการที่ดึงดูดกลุ่มคนที่ไม่ใช่ผู้เข้าชมหลักของพิพิธภัณฑ์ แต่มีพิพิธภัณฑ์น้อยแห่งมากที่ใคร่ครวญถึงปัญหาสังคมให้ตรงมากกว่านี้ จากเงื่อนไขที่กล่าวมาทั้งหมด การเริ่มต้นโครงการพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมืองจึงเป็นความกล้าหาญจะทำสิ่งที่ต่าง และด้วยเจตนารมย์ที่ดี ข้าพเจ้าจำได้ดีว่าเมื่อเริ่มต้นการทำงาน ตัวแทนพิพิธภัณฑ์หลายแห่งกลับแสดงทีท่าที่ถ่อมตนหรือแอบระแวงสงสัย บางคนแสดงความไม่กระตือรือร้นแต่เริ่มแรก แล้วกล่าวกับพวกเราว่า "ก็ลองดูเพื่อความอยู่รอด" และอีกหลายคนแสดงความวิตกจริตเมื่อพวกเขาได้รับมอบหมายบางประการ เสมือนว่าเป็นความรับผิดชอบที่เขาหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกไปจากนี้ เรายังต้องคอยที่จะอธิบายให้เข้าใจถึงผลการทำงานที่จะแตกต่างไปจากกิจกรรมเพิ่มจำนวน "ผู้เข้าชมที่ไม่ใช่กลุ่มผู้ชมหลัก" ในพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ดี เราคงยืนยันถึงการทำงานแบบเข้าหามวลชนว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและการศึกษาของชุมชนต่างๆ ในเมือง กุญแจสำคัญคือ พยายามรั้งเด็กๆ ไว้ที่โรงเรียน สอนให้พวกเขาเข้าใจความหมายของการทำงาน กิจกรรมสร้างสรรค์ การต่อสู้กับยาเสพติดและความรุนแรง และการฟันฝ่าเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยและบริการสุขภาพ เราจึงเสนอแนะว่าในกระบวนการศึกษา พิพิธภัณฑ์ที่มีส่วนร่วมควรย้อนสำรวจทรัพยากรที่จะเชื้อเชิญให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ในความพยายามครั้งใหม่นี้ คณะกรรมการวางแผนวางเป้าหมายสำหรับโครงการนำร่องไว้ ดังนี้     โครงการจะพัฒนาการสื่อสารระหว่างชุมชนและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในฟิลาเดลเฟีย ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การสร้างความเข้มแข็งในคุณค่าของชุมชน และความต้องการอื่นๆ     โครงการจะสาธิตให้เห็นวิธีการและช่องทางในการรับใช้ต่อพลเมืองซึ่งมีวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กระแสหลัก เช่น อเมริกันแอฟริกัน เอเชียนแอฟริกัน ลาติน และชนพื้นถิ่นอเมริกัน     โครงการจะก่อร่างรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างคู่สัมพันธ์ (ชุมชนและพิพิธภัณฑ์) พร้อมไปกับหัวหน้าชุมชนและคนทำงานพิพิธภัณฑ์สามารถตัดสินใจดำเนินการต่างๆ ร่วมกัน     โครงการจะเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑ์และชุมชนในการเข้าไปแก้ปัญหาร่วมสมัยด้วยกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่     โครงการจะผลักดันให้ชุมชนเข้ามาร่วมงาน และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์และกรรมการคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเมือง     โครงการมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นเพียงโครงการนำร่องเท่านั้น     กิจกรรมจำนวน 41 กลุ่มเข้าร่วมในโครงการ 11 กลุ่มได้รับเงินสนับสนุนจากข้อแนะนำของผู้นำต่างๆ ของข่ายงานวัฒนธรรมที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วม อันประกอบด้วย     โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 โครงการ ด้านหนึ่งเป็นงานวิทยาศาสตร์และอีกด้านหนึ่งเป็นทัศนศิลป์ โครงการให้เด็กในวัยเรียนเข้ามามีส่วนร่วม     โครงการประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า โครงการหนึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเคหะสาธารณะ และอีกโครงการหนึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของกลุ่มเพื่อนบ้านที่ต่างกันสองกลุ่ม     โครงการวิจัยในการสำรวจแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมกัมพูชา     โครงการสำรวจประเด็นทางวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์การเดินเรือที่จะให้เด็กและครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม     โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวัฒนธรรมแอฟริกาและกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อนักเรียนระดับประถมศึกษา     โครงการกิจกรรมปฏิบัติการอำนวยความสะดวกในการเข้าใช้ศูนย์บริการชุมชน สวน และห้องสมุด     โครงการปฏิบัติการละครและทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการภาพวาดโดยศิลปินแอฟริกันอเมริกันที่มีชื่อเสียง รวมถึงการจัดอบรมศิลปะการแสดงให้กับกลุ่มวัยรุ่น     โครงการกิจกรรมครอบครัวเพื่อสร้างความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมในกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติที่หลากหลาย (ตอน 2) บทความที่จะปรากฏต่อไปนี้มาจากการเก็บความจากหนังสือ "Museums in the Life of a City" Strategies for community partnerships. Washington D.C.: American Association of Museum, 1995. หนังสือดังกล่าวได้รวบรวมข้อเขียนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา ปี 1992 บทเรียนจากความร่วมมือระหว่างชุมชนและพิพิธภัณฑ์น่าจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานหลายแห่งในประเทศไทยในการริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์เมือง เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นและทำหน้าที่ต่อสาธารณชนในการให้การศึกษาอย่างแท้จริง มากไปการสร้างห้องนิทรรศการที่มีแต่ภาพ ป้ายบรรยาย หรือวัตถุจัดแสดงเล็กน้อย แล้วกลับนิยามสถานที่ดังกล่าวนั่นว่า "พิพิธภัณฑ์" การสนับสนุนเครือข่าย ซินเธีย พริมาส์ (Cynthia Primas) เมื่อมีการรวมตัวเป็นองค์กรใหม่ๆ องค์กรในเครือข่ายอภิปรายถึงความหวังและความคาดหวัง แน่นอนฟังดูน่าตื่นเต้นและในบางครั้งกลับกระตือรือร้นจนเกินจริง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการให้ความช่วยเหลือวัยรุ่นให้มีความภูมิใจในตนเองและการฝึกฝนอาชีพ การสร้างเครือข่ายงานพิพิธภัณฑ์ การรณรงค์ค่านิยมของชุมชน การทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมในระดับที่ลึก หรืออะไรก็ตามแต่ จริงๆ แล้วเมื่อเราจะต้องทำงานร่วมกัน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่บุคลิกภาพส่วนบุคคล และของกลุ่มเอง จากนั้นเป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มในระดับต่างๆ กลุ่มที่ทำงานร่วมกันได้ดีย่อมมีวิญญาณเป็นของกลุ่มเอง เมื่อนั้นบรรยากาศของการทำงานจะนำพาให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างแต่ละคนที่เข้ามาทำงาน เราค่อนข้างตื่นเต้นในยาแรกเห็นการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นระหว่างคนในชุมชนและคนพิพิธภัณฑ์ ประสบการณ์ดังกล่าวไม่เคนเกิดขึ้นมาก่อน ทีมงานไม่ได้กำหนดการทำงานตามที่ได้วางแผนไว้แล้ว หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างแท้จริง ทั้งทรัพยากรที่มีอยู่และความร่วมมือ สิ่งนี้เองที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ในระยะยาว เราตระหนักได้ถึงอิสระในการลงมือทำและการตั้งคำถามที่มาจากสมาชิกที่เข้าร่วมงาน แม้เราจะเล็งเห็นถึงอุปสรรคที่เกิดมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม แต่เรายังคงยืนยันที่จะไม่ทำงานภายใต้การวางแผน ซึ่งอาจจะทำให้งานลุล่วงไปได้มากกว่า เรากลับใช้ระบบที่เรียกว่า "วิจัยเชิงปฏิบัติการ" (action research) นั่นหมายถึง กระบวนการเก็บข้อมูลที่มาจากมุมมองของสมาชิกในกลุ่มที่เกิดขึ้นภายใต้การทำงานจริง ในกระบวนการเช่นนี้ สมาชิกแต่ละคนสามารถใช้ข้อมูลที่พวกเขาได้สังเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ตามแนวคิดที่กล่าวไว้นี้ ผลลัพธ์ที่เราปรารถนาคือ กระบวนการมาจากกลุ่มที่ทำงานเอง และจะส่งผลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจ ผู้ปฏิบัติงานในขั้นริเริ่มได้ทำหน้าที่ในการผลักดัน แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไปบอกให้สมาชิกในทีมงานทำเช่นนั้นเช่นนี้ ในการทำงาของเรา เราเน้นที่ความเท่าเทียมและนำเอาคนที่มีค่านิยมและการมองโลกที่แตกต่างมาเสริมการทำงานซึ่งกัน ข้าพเจ้ารู้สึกอิ่มใจไม่น้อยเมื่อได้รับข้อความหนึ่งจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการ "ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และความพยายามในการผลักดันการทำงานไปในกระแสของสายน้ำต่างวัฒนธรรม เพื่อให้กลายเป็นความร่วมมือที่เข้มแข็งและความร่วมมือที่มีพลวัต" คำตอบที่ข้าพเจ้าได้มานี้ย้ำความจริงหนึ่งที่ว่าผลงานและกระบวนการจะต้องดำเนินไปด้วยกัน เพื่อให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จอังที่ตั้งหวังไว้   การทำงานร่วมกัน   โครงการวีดิทัศน์ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าของบ้านจอห์นสัน (Johnson Homes Oral History Video Project) โดยสภาผู้อยู่อาศัยในบ้านจอห์นสัน สมาคมเคหะสถานของวาล์เลย์เดอลาแวร์ และห้องสมุดสาธารณะฟิลาเดลเฟีย (Johnson Homes Tenant Council, Housing Association of Delaware Valley, Free Library of Philadelphia) โครงการวีดิทัศน์ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าเป็นกิจกรรมสำคัญของโครงการเคหะสถานเจมส์ เวลดอน จอห์นสัน (James Weldon Johnson Homes) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยโครงการแรกในฟิลาเดลเฟียเมื่อ 50 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยความร่วมมือจากตัวแทนจากห้องสมุดสาธารณะฟิลาเดลเฟียและสมาคมเคหะสถานของวาล์เลย์เดลลาแวร์ ผู้ที่อาศัยในบ้านจอห์นสันเข้ารับการอบรมการวิจัยประวัติศาสตร์คำบอกเล่า การผลิตวีดิทัศน์ และภาวะผู้นำ ผู้ที่ร่วมโครงการวางแผนการผลิตวีดิทํศน์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวและความทรงจำจากผู้อยู่อาศัยอาวุโสเกี่ยวกับช่วงปีแรกๆ เข้ามาอยู่ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งวันหนึ่งข้อมูลเหล่านี้จะสูญหายไป แม้ว่าในช่วงแรกโครงการบ้านจัดสรรจะมีสวัสดิการสังคมและกิจกรรมพักผ่อนไม่น้อย แต่งบประมาณกลับถูกตัดและกิจกรรมหลายอย่างงดไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะผู้นำที่มีพลังจากสมัยของ แนลลี่ เรย์โนลด์ส (Nellie Reynolds) ซึ่งต่อมาประธานได้เป็นประธานสภาผู้อาศัย ทำให้บ้านในโครงการหลีกพ้นหลุมพลางจากโครงการพัฒนาอื่นๆ ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าเป็นเรื่องราวของพวกเขา เรื่องราวที่บ่งบอกความสำเร็จ การต่อสู้กับความขัดแย้ง และความเคลื่อนไหวในสิทธิของการตัดสินใจที่จะจัดการการพำนักอาศัยในสถานที่ดังกล่าวด้วยตนเอง ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการ ลินดา โชเปส (Linda Shopes) นักประวัติศาสตร์คำบอกเล่าจากคณะกรรมการประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์เมืองฟิลาเดลเฟีย ได้จัดการอบรมการสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์บอกเล่า และตัวแทนจากศูนย์สคริปววิดีโอ (Scribe Video Center) ได้สอบเทคนิคการผลิต รวมไปถึงความร่วมมือจากตัวแทนของห้องสมุดสาธารณะและที่ปรึกษาจากสาขาต่างๆ ชาวบ้านได้เรียนรู้เทคนิคการทำวิจัยประวัติศาสตร์บอกเล่า เรียกได้ว่าเป็นทักษะที่มีคุณค่าที่เปิดประตูให้พวกเขาได้สร้างสรรค์แผนที่และข้อมูลอื่นๆ ซึ่งได้สร้างความภาคภูมิใจเกี่ยวกับพื้นที่ที่เขาพำนักอาศัย คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้เข้าสมุดเลยหลังจากออกจากรั้วโรงเรียนกลับพบความน่าสนใจและส่งผลให้พวกเขากลับไปอีกหลายต่อหลายครั้ง     การเข้าหาชุมชนด้วยมุมมองทางศิลปะและการถ่ายทอดความรู้     โดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย, Taller Puertorriqueno, Congresso de Lqtinos Unidos โครงการนี้ใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนในการทำกิจกรรมกับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 5 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกโดย Taller Puertorriqueno และ Congresso de Lqtinos Unidos และนักเรียนในระดับวิทยาลัย ผู้ได้รับการคัดเลือกโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย การอบรมดังกล่าวมีระยะเวลา 8 สัปดาห์ที่จะจัดกิจกรรมให้กับเด็กจำนวนหลายพันคนตามค่ายในเมืองและศูนย์พักผ่อนและกีฬาต่างๆ ในสามอาทิตย์แรกเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ เข้ารับการอบรม พวกเขาจะได้เรียนรู้ว่าพิพิธภัณฑ์ดำเนินการอย่างไรด้วยการพบปะภัณฑารักษ์และผู้บริหาร ได้สังเกตการการจัดรายการกิจกรรมต่างๆ ได้สำรวจแง่มุมต่างๆ จากงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ และได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นที่ตั้งอยู่ในฟิลาเดลเฟียและนิวยอร์ก เอมมี่ ยาเรด (Amy Jared) และเจ้าหน้าที่ในแผนกการศึกษาบรรยายและสาธิตการใช้ประโยชน์ในห้องจัดแสดงและห้องปฏิบัติงานศิลป์ และบอกเล่าถึงวิธีการวางแผนกิจกรรมเพื่อการศึกษา ในระหว่าง 5 สัปดาห์ที่เหลือ เด็กๆ จะได้รับผิดชอบอยู่ในทีมการสอนอย่างเป็นอิสระ แต่ละคนจะมีโอกาสได้สังเกตการณ์ซึ่งกันและกัน และประเมินผลการทำงาน เด็กมีห้องที่ใช้เตรียมบทเรียนที่จะนำกลับไปยังชุมชนของตนเอง พวกเขาได้จัดอบรมการพิมพ์ให้กับเด็กๆ ในโครงการภาคฤดูร้อนเทเลอร์จำนวน 45 คน ส่วนในช่วงเปิดเทอม เด็กจากโรงเรียนทั้ง 5 แห่งจะพบกันที่ Taller Puertorriqueno เพื่อเตรียมการและสอนกิจกรรมให้กับชุมชน จากนั้นพวกเขาได้เตรียมงานศิลปะบนกำแพงสำหรับฤดูใบไม้ผลิ อัลแบร์โต แบร์เซอรา (Alberto Becerra) ศิลปินเชื้อสายลาตินผู้ที่เป็นที่รู้จัก ทำหน้าที่ผู้ประสานงานของโครงการ เขาได้นำนักเรียนเข้าเยี่ยมชมวิทยาลัยบริน มอร์ และเฮเวอฟอร์ด (Bryn Mawr and Haverford Colleges) ทั้งผลงานศิลปะ การตระเวนในวิทยาเขต และการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับนักเรียนเชื้อสายสเปน จุดประสงค์สำคัญอยู่ที่การเพิ่มความตระหนักของนักเรียนต่อช่องทางการทกำงานในอนาคต เมื่อพิจารณาโครงการในมิติของความร่วมมือ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ได้สร้าง "สะพาน" ที่เชื่อต่อไปยังชุมชนในระดับที่กว้างมากขึ้น โครงการพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมืองผลักดันให้ส่วนงานที่รับผิดชอบกิจกรรมความร่วมมือนอกองค์กรจัดทำโครงการที่หลากหลายมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสานต่อไปในอนาคต กิจกรรมหนึ่งที่ทำให้พันธกิจเกี่ยวกับการเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นไปได้ดีคือการจัดพิมพ์จดหมายข่าว เนื้อหาสาระที่ปรากฎในจดหมายข่าวเกี่ยวข้องกับการสำรวจศิลปินเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันที่มีงานสะสมในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อสานสร้างความสัมพันธ์กับองค์ชุมชนแอฟริกัน-อเมริกัน กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน และเอเชีย     เสียงจากชุมชนพอยต์ บรีซ โดยพิพิธภัณฑ์ แอทวอเตอร์ เคนท์ (Atwater Kent Museum) ศูนย์การเรียนระหว่างชั่วคน มหาวิทยาลัยแทมเปิล สมาพันธ์พอยต์ บรีซ และศูนย์ศิลปะการแสดงพอย์ต บรีซ ความร่วมมือดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากความพยายามในการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์บอกเล่าในย่านพอยต์ บรีซ เมืองฟิลาเดลเฟีย ตั้งแต่ช่วงปี 1920 จนถึงปัจจุบัน ทีมงานที่เป็นคู่จะได้รับการอบรมให้สัมภาษณ์ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ทั้งคนที่เคยอาศัยอยู่และยังที่พำนักอยู่ในปัจจุบัน ผู้คนเหล่านี้มาจากกลุ่มเชื้อสายและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ได้รับการถ่ายทอดในเอกสารเพื่อใช้พัฒนาเป็นดนตรี ละคร และการแสดงสำหรับการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนในอนาคต จุดประสงค์ของโครงการคือ การช่วยให้คนรุ่นใหม่เกิดความภาคภูมิใจในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยด้วยการสำรวจเรื่องราวของชุมชนด้วยตนเอง สิ่งที่ผู้จัดโครงการย้ำต่อคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ "พวกเธอทั้งหลายเป็นเจ้าของเรื่องราวของตนเอง ไม่มีใครที่จะแย่งชิงไปได้… สิ่งเหล่านี้สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบันทึกและแบ่งปันเรื่องราวให้กับผู้คนรุ่นต่อไปที่จะเกิดขึ้นมา" กลยุทธ์อักประการหนึ่งของโครงการคือ การจับคู่ระหว่างคนรุ่นใหม่และผู้ใหญ่ให้ทำงานเคียงคู่กันไป คนสองชั่วอายุจะเรียนรู้การทำงานซึ่งกันและกัน และพัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ่งมากขึ้นตลอดการทำงาน ตัวอย่างเช่น เราให้ทั้งคู่มาปฏิบัติการร่วมกันในการสร้าง "แผนภาพในจินตนาการ" ของพอย์ต บรสที่แตกต่างไปในแต่ละชั่วอายุคน นั่นหมายความว่าคนในพื้นที่รับรู้ต่อพื้นที่แตกต่างกันไปอย่างไร พวกเขาจะได้เรียนรู้เทคนิคการสัมภาษณ์กับลินดา โชเปส คือผู้ที่เคยดำเนินโครงการในแบบเดียวกันนี้ที่บัลติมอร์ 4 ใน 8 คณะได้เข้าร่วมการอบรมตลอดโครงการ และได้สัมภาษณ์มีจำนวนถึง 45 ชุด เทปจากการสัมภาษณ์ได้รับการถอดเป็นเอกสารการสนทนาเพื่อใช้จัดพิมพ์ต่อไป แม้ว่าคนที่ให้สัมภาษณ์จะมีความแตกต่างในเรื่องขออายุ แต่ผู้จัดก็ดูจะผิดหวังเล็กน้อยกับกลุ่มชาติพันธุ์ของคนที่ให้สัมภาษณ์กลับไม่หลากหลายเท่าไร คนขาวผู้เคยอาศํยในพอย์ต บรีซกลับไม่ยินดีมากนักในการร่วมมือสัมภาษณ์ และผู้ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันที่เป็ยเชื้อสายเอเชียก็ไม่ได้ใส่ใจต่อโครงการมากเช่นกัน แต่งานยังคงดำเนินต่อไป กิจกรรมและความตั้งใจเช่นนี้ต้องการเวลา อย่างน้อยๆ ข่าวคราวที่ได้ยินมาล่าสุดนี้ก็ดูจะพัฒนามาจากการทำงานก่อนหน้านั้น ผู้คนในย่านดังกล่าวเริ่มเคลื่อนไหวจะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชุมชนเล็กๆ ของตนเอง     เราเคยเป็นใคร เราคือใครในปัจจุบัน โครงการฝึกปฏิบัติงานนี้พัฒนาขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลายประการ ทั้งการสร้างฐานความร่วมมือสำหรับการวิจัยระหว่างองค์กรที่เข้าร่วมการทำงาน การจัดอบรมให้กับนักเรียนในระดับมัธยมปลายในการเขียนและการตรวจแก้ไข รวมไปถึงทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และการเริ่มต้นสำรวจประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้เคยมีการเก็บรวบรวมมาก่อนในย่านเยอรมันทาวน์-ลีไฮในตอนเหนือของกลางฟิลาเดลเฟียกลาง ข้อมูลจากการสำรวจและบันทึกเน้นไปที่พื้นที่โรงเรียน ย่านธุรกิจ และโครงการบ้านจัดสรร ผู้ที่อาศัยมาเป็นเวลานานจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับกลุ่มเชื้อสายต่างๆ โรงเรียน ก๊วน และความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างอเมริกันเชื้อสายยิวและอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันในช่วงทศวรรษที่ 1960 ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะเขียนบทความและจัดพิมพ์ในจดหมายข่าวของชุมชนหรือ Community Messenger พวกเขาจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อการใช้งานของชุมชนในอนาคต เนื้อหาได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปในกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เลน เซงวิลล์ (Len Zengwill) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์จัดทำรายชื่อผู้ที่อาศัยในพื้นที่ระยะเวลายาวนานจำนวน 20 คน นอกจากนี้ เขาได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในพื้นที่อื่นๆ เข้ามาร่วมโครงการด้วย เซงวิลล์และ คาเรน มิทเทลแมน (Karen Mittleman) จากพิพิธภัณฑ์ทำงานร่วมกับเด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการในการบรรณาธิการบทสัมภาษณ์ จับกลุ่มเนื้อหาในประเภทเดียวกัน และเสนอแนะคำถามใหม่ๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเก็บข้อมูล เมื่อเด็กๆ ที่เข้

มองหาการเรียนรู้จากบทสนทนาของผู้เยี่ยมชม : การสำรวจอย่างเป็นกระบวนการ

20 มีนาคม 2556

เมื่อศูนย์แห่งการสำรวจ(Exploratorium) มอบหมายการศึกษาการนำไปสู่การสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ (Leinhart & Crowley, 1998) ข้าพเจ้ามองว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยากในการจะทำวิจัยแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนวิชาชีพที่ข้าพเจ้าให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้   ในฐานะที่เป็นนักวิจัยด้านการศึกษา ข้าพเจ้าใช้โอกาสของการศึกษาอย่างลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ในพื้นที่สาธารณะ ของศูนย์แห่งการสำรวจ เป้าหมายหนึ่งที่ข้าพเจ้าดำเนินการอย่างต่อเนื่องคือ การค้นหาและปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ซึ่งเรียกได้ว่ามีความท้าทายมากจากมุมมองของการวิจัย นอกจากนี้ ข้าพเจ้าต้องการใช้การวิเคราะห์บทสนทนาของผู้เข้าชมเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ชม ได้เรียนรู้ในระหว่างการเยี่ยมชมนิทรรศการสักชุดหนึ่งของศูนย์แห่งการสำรวจ ในขณะนี้มีนิทรรศการเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้ใช้วิธีการศึกษาดังที่ กล่าวมา และนิทรรศการใหม่ของศูนย์ฯ มีความน่าสนใจอย่างมากในการพัฒนาทฤษฎี เพราะนิทรรศการได้ปรับใช้วิธีการต่างๆ จากการนำเสนอในพิพิธภัณฑ์ที่ผ่านมา เช่น นิทรรศการเรื่อง กบ ใช้กระบวนการ"ลงมือทำ" เช่น เดียวกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ การนำเสนอสิ่งมีชีวิตเช่นในสวนสัตว์ และการนำเสนอวัตถุทางวัฒนธรรม อาทิ เครื่องในแบบของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และสิ่งจัดแสดงประเภทสองมิติเพื่อการอ่านหรือการพินิจเช่นแผนที่และตัวอย่าง คติที่เกี่ยวข้องกับกบ ความหลากหลายเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นง่ายนักในงานพิพิธภัณฑ์ และแน่นอนยังเป็นโอกาสสำหรับการศึกษาเชิงเปรียบเทียบประสบการณ์เรียนรู้ที่ แตกต่างกันไปตามประเภทของสิ่งจัดแสดง ในฐานะที่เป็นผู้ประเมินนิทรรศการในการศึกษาผู้ชม ข้าพเจ้ามีเป้าหมายเพิ่มเติมมากขึ้น เป็นการพยายามสำรวจวิธีการในการเก็บข้อมูลเพื่อวัดผลการเรียนรู้ในฐานะที่ เป็นสถาบันทางการศึกษา ในทุกวันนี้การประเมินที่เป็นsummative ปฏิบัติ กันมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งของการประมินจะเกี่ยวข้องกับการเดินตามและศึกษาการใช้เวลาจาก พฤติกรรมของผู้ชม จากนั้น เป็นการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถามเมื่อเดินออกจากนิทรรศการ แต่การประเมินผลในระหว่างการชมน่าจะให้ประโยชน์มากกว่า และข้อมูลจากการวิจัยสามารถนำไปสู่แนวทางการประเมินเพื่อเข้าใจเงื่อนไขทาง สังคมวัฒนธรรมของการเรียนรู้ ความเป็นมา ในปัจจุบัน ผู้ประเมินมักจะมีพื้นความรู้ทางการศึกษาในโรงเรียน และอาจจะไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของสถาบันการศึกษาในแบบไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ ในพิพิธภัณฑ์ยังเป็นพื้นที่ของการเรียนรู้ที่อิงกับความเป็นกลุ่มสังคม ดังนั้นการประเมินจึงประยุกต์ใช้มุมมองเชิงสังคมวัฒนธรรมเข้ามาเป็นปัจจัยในการอธิบายการเรียนรู้ อย่างไรก็ดี วิธีการทำงานในขณะนี้กลับเน้นที่การประเมินปัจเจกบุคคลมากกว่ากลุ่ม ภายหลังการชมนิทรรศการ แต่จริงแล้วๆ วิธีการหนึ่งคือ การวิเคราะห์บทสนทนาตลอดการชมพิพิธภัณฑ์ แต่วิธีการดังกล่าวมักจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินดังที่ปฏิบัติกัน อยู่ในปัจจุบัน  นอกจากนี้ การศึกษานิทรรศการเป็นส่วนสำคัญในการเข้าใจกรอบการทำงานของภัณฑารักษ์ที่จะ สัมพันธ์กับการทำงานของผู้เข้าชม ด้วยเหตุนี้ การศึกษาบทสนทนาในนิทรรศการจึงมีความน่าสนใจ เพราะจะมีพฤติกรรมของผู้ชมเกิดซ้ำๆ ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าเราจะต้องทุ่มเวลาทั้งวันกับการศึกษาครอบครัวๆ เดียว ดังที่มักปฏิบัติกันในการศึกษาตลอดการชม ในท้ายที่สุด มักมีโครงการพัฒนาการจัดแสดงที่จะต้องดำเนินการในลักษณะsummative ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถอาศัยโอกาสดังกล่าวในการทำวิจัยและการประเมินผลไปพร้อมๆ กัน  การวิเคราะห์บทสนทนาเป็นการพยายามทำความเข้าใจวาทกรรมและการกระทำทางสังคม ในความเห็นของผู้เขียน บทสนทนามีความซับซ้อน เพราะเนื้อหาเป็นสิ่งที่ครอบคลุมสถานการณ์ ความรู้ การกระทำ และภาษา ทั้งนี้Stubbs จัดแบ่งการกระทำในสองลักษณะคือ  Stubbs (1980) ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์วาทกรรมที่จะต้องไปสัมพันธ์กับทฤษฎีทางสังคม บทสนทนาสะท้อนให้เห็นปัจจัยที่ซับซ้อนแต่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งสถานการณ์ ความรู้ การกระทำ และภาษา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องทำความเข้าใจสิ่งที่ปรากฏและวัตถุประสงค์ที่อยู่เบื้องหลัง เช่น ความแตกต่างระหว่างหน้าที่ของ discourse act ที่หมายถึงหน้าที่ในตัวเองการสร้าง สืบต่อ และสิ้นสุดการแลกเปลี่ยน ในขณะที่ speech acts สัมพันธ์กับหน้าที่ทางจิตวิทยาและสังคม เช่น การเรียกนาม ขอบคุณ สัญญา แต่ในงานวิจัยนี้จะเน้นที่ speech acts ที่ผลักดันไปสู่การเรียนรู้ของผู้ชม ผู้วิจัยยังมองต่อไปอีกว่า ผู้ชมแต่ละคนในกลุ่มมีลักษณะส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  กรอบการทำงานและคำถามของการวิจัย เป้าหมายการทำงานอยู่ที่การค้นหาหลักฐานที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้จากการสนทนา ที่เกิดขึ้นระหว่างการชมนิทรรศการ นอกจากนี้ การพูดคุยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งจัดแสดงที่แตกต่างกันมีลักษณะที่ หลากหลายไปด้วยเช่นกัน หรือการสนทนาในลักษณะใดที่จะสร้างการมีส่วนร่วมหรือแยกเด็กออกไป คราวนี้ ลองมานิยาม 1. เราสามารจัดแบ่งประเภทการเรียนรู้ได้ในสามระดับได้แก่ สะเทือนอารมณ์ (affective) ระลึกรู้ (cognitive) และการสั่งการ (psychomotor) ซึ่งสัมพันธ์กับประสบการณ์ของผู้ชมในพิพิธภัณฑ์ คิด รู้สึก และปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ 2. ปัจจัย ทางสังคมวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนอย่างมากในการวิเคราะห์ และหมายถึงการสร้างความหมายในระดับของกลุ่ม การวิเคราะห์จึงไม่ได้มองไปที่การเรียนรู้ในระดับปัจเจก หากแต่เป็นการเรียนรู้โดยกลุ่ม 3. การ วิเคราะห์และพิจารณาว่า สิ่งใดคือการเรียนรู้ ไม่ได้พิจารณาในกรอบการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ แต่จะรวมเอาความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในระดับของอารมณ์ ส่วนบุคคล สิ่งที่เกิดขึ้นชั่วครั้ง และรูปธรรม ไม่ใช่นามธรรม และมีลักษณะที่สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ มากกว่าตีคลุม 4. เน้นการสนทนาที่เกิดขึ้นในนิทรรศการและสัมพันธ์กับสิ่งจัดแสดง การ เรียนรู้ที่นิยามนี้ไม่ได้พิจารณาไปถึงความตั้งใจไม่ว่าจะมาจากผู้พูดหรือ ผู้เรียน แต่กลับพิจารณาว่า คำพูดเช่นนี้สามารถเป็นหลักฐานของการเรียนรู้ได้หรือไม่ เขาได้ความรู้ใหม่อย่างไรหรือไม่จากสิ่งที่เขาพูด กรอบในการสร้างความหมายร่วมระหว่างสมาชิกที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ ภาพโดยรวมของนิทรรศการ"กบ" นิทรรศการชั่วคราวจัดแสดงที่ Exploratorium ค.ศ. 1999 - 2000 ใน ระหว่างการพัฒนานิทรรศการ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ชมเกี่ยวกับกบ หลายคนเคยเรียนรู้เกี่ยวกับกบจากชั้นเรียน กบร้องในระหว่างใบไม้ผลิตและฤดูร้อน ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนำไปสู่การวางโครงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับ (ก) การนำเสนอความรู้เกี่ยวกับกบในทางวิทยาศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับมนุษย์ (ข) การสร้างความเข้าใจและความเคารพต่อสัตว์ในกลุ่มผู้ชม (ค) สร้างสรรค์บางอย่างที่งดงาม ดึงดูด และตอบสนองต่อการให้ข้อมูลกับผู้ชมต่างวัย  เนื้อหาของนิทรรศการแยกย่อยดังนี้ การนิยามความหมายของกบ คางคก และพัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ การกินและการเป็นเหยื่อ กบและคางคกร้อง การจัดแสดงร่างกายภายใน การสังเกตอย่างใกล้ชิด"การปรับตัวที่น่าประหลาดใจ" สถานภาพ ของกบจากทั่วโลก และการเคลื่อนที่ของกบ สิ่งที่พิเศษของนิทรรศการคือ การพยายามเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของกบและคน และการสร้างสื่อที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย o สิ่งจัดแสดงที่ทดลองได้ 10 จุด o บ่อ/ตู้จัดแสดงกบและคางคกที่มีชีวิต 23 จุด o วัตถุทางวัฒนธรรม 5 กลุ่ม o วัตถุ 2 มิติในการอ่านหรือมอง 18 ชิ้น เช่น แผนที่ หนังสือเด็ก และเรื่องเล่าเกี่ยวกับกบจากวัฒนธรรมต่างๆ  o สิ่งจัดแสดงที่เป็นอินทรีย์ เช่น กบสต๊าฟ และอาหารกบ o วีดิทัศน์ 3 จุดที่ว่าด้วยกิจกรรมของกบ และหน้าต่างสังเกตการณ์พฤติกรรมของกบในระหว่างที่พักผ่อน 2 จุด o สะพานทางเข้านิทรรศการ o ห้องจำลองสถานการณ์ฟังเสียงกบยามค่ำ ข้อท้าทายของการทำงานวิจัย การศึกษาบทสนทนาของExploratorium ต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการ ประการแรก ลักษณะของพิพิธภัณฑ์มีองค์ประกอบของการจัดแสดงที่ใช้เทคโนโลยีเสียงและภาพที่จะ เข้ามารบกวนในการสังเกต และกลุ่มผู้ชมที่หลากหลาย เสียงเด็กที่ตื่นเต้น ประการที่สอง กลุ่มผู้ชมในพิพิธภัณฑ์แบบดังกล่าวจะเลื่อนไหลไปตลอดเวลา การบันทึกบทสนทนาจะต้องอาศัยไมโครโฟนไร้สาย แต่ทั้งนี้ สมาชิกในกลุ่มจะปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา เนื่องจากความสนใจของกลุ่มที่แตกต่างกันไปในแต่ละจังหวะของการชม   ประการที่สาม เมื่อใดก็ตามที่ผู้ชมปฏิสัมพันธ์กับสิ่งจัดแสดงใด คงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเลยหากไม่มีการติดตั้งเครื่องบันทึกภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์  จาก นั้น การถอดเทปมีค่าใช้จ่ายที่สูง และต้องอาศัยความชำนาญมากขึ้น เพราะผู้ชมแต่ละคนมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน แม้คำพูดที่บันทึกจะชัดเจน แต่การเข้าใจในความหมายของการกระทำซับซ้อน เพราะหลายๆ ครั้งความไม่ต่อเนื่องของกรอบการกระทำเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น นอกจากนี้ ความซับซ้อนในบริบทต่างๆ ตัวแปรของผู้ชม(ลักษณะประชากร จิตวิทยา ประสบการณ์ก่อนหน้า ความสนใจ ทัศนคติ ความคาดหวัง ความเคลื่อนไหวกลุ่ม และปัจจุบันขณะของความสบายและ "แรง") ตัวแปรของนิทรรศการ (สถานที่ต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ เสียงที่เซ็งแซ่ และความหนาแน่นของกลุ่มผู้ชม) และตัวแปรอื่นๆ ในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งจัดแสดงแต่ละชิ้น (ความสูง สีสัน ตำแหน่งที่ตั้งและการเข้าถึง ลักษณะที่ปรากฏต่อสายตา รูปแบบการจัดแสดง เนื้อหาในป้ายคำบรรยาย และเสียง) ดังนั้น สิ่งที่สามารถทำได้คือ การมองหาความสัมพันธ์ของสิ่งจัดแสดงแบบใดที่นำมาซึ่งบทสนทนาแบบนั้นๆ การใช้เครื่องมือบันทึกเสียง ในปัจจุบันมีเครื่องมือในการบันทึกเสียงด้วยไมโครโฟนไร้สายที่มีคุณภาพและราคา สมเหตุผล ฉะนั้น ปัญหาของคุณภาพเสียงที่มาจากเสียงสภาพแวดล้อมลดน้อยลงได้  การเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวของผู้ชม การบันทึกภาพเคลื่อนไหวมีความสัมพันธ์กับบทสนทนา แต่เราไม่สามารถติดตั้งกล้องบันทึกมุมได้ทั้งพื้นที่นิทรรศการ ฉะนั้น การใช้ผู้บันทึกภาพติดตามกลุ่มเป็นสิ่งที่ทำได้ ทั้งนี้ อาจไม่จำเป็นต้องบันทึกตลอดเวลา หากแต่สังเกตพฤติกรรมและบันทึกจังหวะนั้นๆ บนแผนผังนิทรรศการ เราอาจต้องใช้ไมโครโฟนถึง 3 ตัว เพื่อกั้นความผิดพลาดของเสียงที่นอกเหนือไปจากไมโครโฟนที่ติดตัวผู้ชม การเลือกผู้ชม การเลือกกลุ่มตัวอย่างจะใช้ผู้ชมที่มาเป็นคู่ หรือที่เรียกว่าdyads เพราะ การตามของผู้ที่บันทึกภาพหรือสังเกตการใช้พื้นที่ในนิทรรศการไม่สามารถทำได้ ในกรณีที่ผู้ชมเป็นกลุ่มใหญ่ การรวมตัวและการแยกตัวเกิดขึ้นง่าย ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องยากในการตามบทสนทนา นอกจากนี้ ผู้ชมที่เป็นกลุ่มมักจะสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นไปก่อนหน้า ประเด็นของการพูดคุยอาจสัมพันธ์กับการหยุดดูหรืออ่านวัตถุจัดแสดงที่อยู่ตรง หน้า  ลักษณะของการเลือกประชาการกลุ่มตัวอย่าง 1. ผู้ชมมาเป็นคู่ 2. ทั้งคู่พูดภาษาอังกฤษในฐานะภาษาแม่ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ถอดความสามารถทำได้สะดวก 3. เราสนใจประสบการณ์ตรงในการเยี่ยมชมสำหรับผู้ที่มาชมนิทรรศการครั้งแรก มากกว่าการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนในการคิดวิพากษ์ของผู้เข้าชม 4. ไม่ว่าจะเป็นผู้ชมที่อายุ 18 ปีขึ้นไป หรือเด็กที่มากับผู้ดูแล พวกเขาจะต้องอนุญาตให้มีการบันทึก   เราลองติดต่อผู้เข้าชม118 คู่ แต่ 38% กลับ ปฏิเสธ โดยเราไม่พยายามให้เขาอธิบายเหตุผล แต่ส่วนหนึ่งมาจากการมีเวลาที่จำกัด การนัดหมาย และการเข้าชมที่มาพร้อมกับเด็กเล็กๆ แต่เราเองก็ปฏิเสธผู้ชมบางกลุ่มเช่นกัน สาเหตุหนึ่งมาจากการที่คนกลุ่มนี้เคยมาชมนิทรรศการแล้ว ดังนั้น 49 คู่ (42%) ที่มีคุณสมบัติและยินดีร่วมในการศึกษา จากที่กล่าวมาเวลาโดยส่วนใหญ่ใช้ไปกับการหากลุ่มประชากรที่เหมาะสม ในจำนวน 49 คู่ เฉลี่ยแล้วเราเก็บข้อมูลจากผู้ชม 3-5 คู่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ และ 0-2 คู่ ในวันธรรมดา นอกจากนี้ ปัจจัยที่ตั้งของนิทรรศการเป็นสิ่งที่ทำให้ต้องใช้เวลามากในการศึกษา เพราะเมื่อผู้ชมดูนิทรรศการมาเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจากทางเข้า ผู้ชมเองไม่อยากที่จะใช้เวลามากในการดูนิทรรศการ นอกจากนี้ เราได้ลองให้ผู้ชมที่เป็นกลุ่มครอบครัวร่วมในการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มถือไมโครโฟนแยกกันอย่างเป็นอิสระ แต่กลับมีข้อจำกัดไม่น้อยเนื่องจากนิทรรศการมีความน่าตื่นตาตื่นใจ และนำไสู่การพูดคุยความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นหรือยังไม่ได้เห็น การทบทวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ประสบการณ์ในบัดนั้น การทำความเข้าใจและแยกกรอบความคิดที่เป็นประสบการณ์แรกกับความคิดเห็น จึงต้องกินเวลาเพิ่มมากขึ้น เราแนะนำว่าผู้ทีต้องการใช้วิธีการดังกล่าวจะต้องมีเวลาการทำงานที่มากพอ การยินยอมเข้าร่วมการศึกษา เรา เลือกกลุ่มประชากรตัวอย่างและแจ้งให้ทราบว่า การศึกษาของเราเพื่อความเข้าใจประสบการณ์ของผู้ชม และมีการบันทึกเสียงสนทนา ทั้งนี้ เราไม่ได้ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกลงนามในหนังสือยินยอม ประการแรก ผู้ชมจะรู้สึกสบายๆ ในการชมมากกว่า และจุดของการคัดเลือกเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ชมสนใจต่อการเข้าชมนิทรรศการ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเด็กรวมอยู่ด้วย ประการที่สอง ในช่วงท้ายของนิทรรศการ ผู้ชมจะรู้สึกสบายมากกว่ากับสิ่งที่ตนเองได้พูดไปในนิทรรศการ เรายังได้ขออนุญาตใช้บทสนทนาในการประชุมหรือเพื่อการศึกษาวิจัยที่ใหญ่ไป กว่านั้น แต่มีเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ไม่ยินยอม ผู้ชมยังได้เทปบันทึกบทสนทนาของตนเองกลับไปบ้านอีกด้วย การติดตามผู้ร่วมการศึกษา เราได้ให้ข้อมูลแก่ผู้ชมแล้วว่า จะมีผู้ติดตามผู้ชมในระหว่างการชม ทั้งนี้ ผู้ติดตามจะอยู่ในระยะห่างเพื่อไม่ให้รบกวนผู้ชม โดยผู้ติดตามจะมีไมโครโฟนอยู่ที่คอเสื้อสำหรับการสังเกตและบันทึกสถานที่ที่ ผู้ชมหยุด วิธีการดังกล่าวใช้ได้ผลดียกเว้นในกรณีที่ผู้คนเริ่มร้างลาไปจากนิทรรศการ ผู้เข้าชมอาจสังเกตผู้ติดตาม ในจุดนี้ เราแก้ปัญหาด้วยการทำให้ผู้ติดตามแตกต่างไปจากผู้ชม ??? สิ่ง ที่พึงระลึกไว้สำหรับผู้ติดตามคือ การบันทึกความเคลื่อนไหวทุกอย่าง ทั้งการหยุด การเดินจากไป การเดินเข้ามาหาของคู่เยี่ยมชม และที่ลืมไม่ได้เลยคือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้เยี่ยมชมคนอื่นๆ แต่เสียงที่เข้าสนทนากับผู้ชมคนอื่นนั้นก็ยากที่จะบันทึกและนำไปสู่การวิ เคราะห์ หากมีจำนวนผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก บทสนทนาของผู้ชมมีความจริงแท้แค่ไหน เรา เองตั้งข้อสังเกตว่า การใช้ไมโครโฟนในการบันทึกบทสนทนาอาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่คาดหวังหรือไม่ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเยี่ยมชมตามปกติ หลายๆ ครั้ง ผู้ร่วมการศึกษากล่าวถึงการมีอยู่ของไมโครโฟน พ่อแม่พยายามยับยั้งไม่ให้เด็กถอดไมโครโฟน แต่บางครั้ง เมื่อเด็กต้องการที่จะทำกิจกรรมที่จะต้องออกแรง การเอาไมโครโฟนออกเกิดขึ้นได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ชมที่ร่วมการศึกษาจะใช้เวลาอันน้อยนิดที่จะคำนึงถึงการมีอยู่ของไมโครโฟน ผู้ชมเองใช้เวลาโดยส่วนมากไปกับการชมนิทรรศการมากกว่า การใช้เวลาโดยเฉลี่ยในการหยุดแต่ละที่ประมาณ9.0 นาที ตรงข้ามกับการสนทนาที่ใช้มากถึง 25 นาที พฤติกรรมเช่นนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติหรือไม่ จริงๆ แล้ว ผู้ชมอาจต้องการเลือกดูเพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น บางทีการสังเกตพฤติกรรมของผู้ชมโดยปกติจะต้องเข้ามาในจุดนี้ นั่นคือ การรักษาระยะห่างระหว่างผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเข้าเรียนรู้อะไร ฉะนั้น บทสนทนาดูจะเป็นคำตอบที่น่าสนใจมากกว่า หรือหากใช้การสนทนาไปตลอดการชมนิทรรศการ สถานการณ์ดังกล่าวอาจสร้างให้ผู้ชมระหว่างตัวตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ เราจึงคิดว่าการศึกษาบทสนทนาน่าจะเป็นช่องทาง "ที่ดีที่สุด" สำหรับการศึกษากระบวนการเรียนรู้ การถอดเทป จากการทำงานที่ผ่านมา เราใช้งบประมาณที่จำกัดในการถอดจำนวน15 บท และขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัครของพิพิธภัณฑ์ ในท้ายที่สุด ได้ทั้งสิ้น 30 บท แต่เรากลับต้องผิดหวังจากบทถอดเทป เพราะความไม่คุ้นชินกับนิทรรศการ เราเองจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบใหม่หมด ฉะนั้น ปัจจัยที่สำคัญของการถอดเทปที่ดีคือ ความคุ้นชินกับนิทรรศการ สำหรับกรณีของเราแล้ว บทบรรยายทั้งหมดในนิทรรศการเป็นส่วนประกอบสำคัญของการวิเคราะห์ และยังเป็นปัจจัยที่ช่วยให้การได้ยิบบทสนทนาของเราสมบูรณ์ขึ้นด้วย ข้อแนะนำของการบันทึกเสียงที่มีคุณภาพ หากไม่มีเครื่องบันทึกวิดีโอ ใช้ไมโครโฟนอย่างน้อย3 ตัว และทดสอบการส่งสัญญาณทั่วทั้งอาคาร เชิญให้คนร่วมโครงการที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และอย่างน้อยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า4 ปี ทำ ความเข้าใจและพรรณนานิทรรศการอย่างละเอียดในเอกสาร เพื่อการอ้างอิงป้ายอธิบายและวัตถุจัดแสดงในภายหลัง คำถามต่างๆ จะเข้ามาเกี่ยวข้อในขั้นตอนการวิเคราะห์ ใช้คนที่ถอดเทปที่มีความคุ้นชินกับนิทรรศการ ปัจจัย หนึ่งที่ทำให้การวิจัยครั้งนี้สำเร็จได้มาจากลักษณะของนิทรรศการที่เป็นการ จัดแสดงสิ่งมีชีวิต มากกว่าจะเป็นสิ่งจัดแสดงที่เน้นการทดลอง ด้วยเหตุนี้ ผู้ชมจึงใช้การสนทนาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มากกว่าการลงมือทดลองอย่างที่พบในนิทรรศการอื่นของExploratorium  การให้รหัสแต่ละตำแหน่งของผู้เข้าชม การ บอกตำแหน่งของผู้ชมมีความสำคัญในการตีความถึงการรับรู้สิ่งจัดแสดง หลายๆ ครั้งผู้ชมกล่าวถึงสิ่งจัดแสดงก่อนที่เขาจะไปหยุดที่นั่น ฉะนั้น ข้อมูลจากการติดตามจะทำให้เราเห็นถึงความดึงดูดใจและการจัดสินใจที่เกิดขึ้น ในกระบวนการเรียนรู้ การให้รหัสที่สัมพันธ์การความสนใจของผู้ชมต่อวัตถุจัดแสดง หรือเรียกว่าobject-related interactions for coding  ราย นามของสิ่งจัดแสดงสำคัญต่อความเข้าใจในการหยุดและการสนทนาในแต่ละช่วงของการ ชม ข้อมูลการติดตามมีความสำคัญอีกประการหนึ่งในการบอกถึงการหยุดที่ไม่ได้มีการ กล่าวออกมา"silent stops" นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากการสนทนาของผู้ชมที่เป็น "คู่" แท้ จะไม่ทำให้การวิเคราะห์สับสนในกรณีที่ทั้งคู่ไม่ได้อยู่หน้าสิ่งจัดแสดงที่ กล่าวถึง ซึ่งจะต่างออกไปจากกลุ่มครอบครัวที่ประเด็นของการพูดคุยถึงของที่ไม่ปรากฏ ที่เกิดต่อหน้าอาจจะปรากฎในลักษณะที่ไกลไปจากวัตถุจัดแสดงชิ้นที่กล่าวถึง มากเกินไป   วิธีการสร้างรหัสเฉพาะ วิธี การดังกล่าวเลือกใช้มุมมองของศาสตร์สังคมวัฒนธรรมและการระลึกรู้ เราได้เลือกใช้การจัดแบ่งประเภทโดยการใช้ศัพท์ด้านการระลึกรู้ มากกว่าเป็นการใช้สำนวนการพูด(สังเกต คิด รู้สึก และแสดงออก) การจัดแบ่งด้วย cognitive concepts : attention, memory, declarative knowledge, inference (การอ้างอิงต่อความจริงที่มาก่อน), planning, metacognition (การรับรู้ในชั้นหลังที่สัมพันธ์กับสิ่งที่รับรู้มาก่อน) นอกจากนี้ ยังความรู้สึกทางอารมณ์และกลยุทธ์  ผู้ให้รหัสและผู้เขียนได้แบ่งการรับรู้ออกเป็น5 ลักษณะโดยแต่ละลักษณะมีคุณสมบัติตามแต่ละกลุ่ม  1. Perceptual Talk การพูดทุกชนิดที่แสดงถึงสิ่งที่ดึงดูดความสนใจรอบตัว คำพูดเช่นนี้อยู่ในระดับของการเรียนรู้ เพราะมีการบ่งชี้ให้ห็น่าสิ่งใดสำคัญ การบ่งชี้ การให้ความสนใจต่อวัตถุหรือบางส่วนของนิทรรศการ"นั่น…" การเรียก การให้ชื่อสิ่งของหรือวัตถุนั้นๆ การบอกลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะของวัตถุ การสร้างความสนใจกับวัตถุด้วยการอ่านป้ายคำบรรยาย หรือเรียกว่า"text echo", McManus 1989.   2. Conceptual Talk อยู่ ในระดับของการคิดวิเคราะห์อาจจะมีลักษณะที่เล็ก แยกเดี่ยว หรือเป็นชุดความคิด ปฏิกิริยามากไปกว่าเพียงการตอบสนองต่อสิ่งจัดแสดงหรือสภาพแวดล้อมอย่างใน ระดับที่ผ่านมา การอ้างอิงระดับพื้นฐานะ เป็นระดับการตีความต่อชิ้นวัตถุการจัดแสดง การอ้างอิงที่ซับซ้อน เป็นข้อสันนิษฐาน ภาพรวมของข้อมูลในนิทรรศการ หรืออยู่ในระดับการมองหาความสัมพันธ์ของวัตถุ การทำนาย ความคาดหวังในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น Matacognition การย้อนคิดต่อสภาพหรือความรู้ที่มีมาก่อนหน้า   3. Connecting Talk การย้อนคิดต่อข้อมูลที่อยู่นอกเหนือออกไปจากนิทรรศการ เรื่องราวในชีวิต ข้อมูลความรู้ Inter-exhibit connection   4. Strategic Talk การกล่าวถึงวิธีการใช้นิทรรศการ ไม่ใช่เฉพาะวัตถุจัดแสดงที่จับต้องได้ แต่หมายถึงการสำรวจ ดู พิจารณาสิ่งที่จะทำต่อไปในนิทรรศการ การใช้ การประเมินนิทรรศการจากมุมมองของตนเอง   5. Affective Talk จับอยู่ทีอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากการชม ความพอใจ ความไม่พอใจ อาจไม่ได้สัมพันธ์กับการวิจารณ์นิทรรศการเสมอไป แต่เป็นปฏิกิริยากับเนื้อหาของนิทรรศการ อารมณ์ที่เกิดมาจากความตกใจ แปลกใจ ใหล่หลง อย่างไรก็ตาม การให้รหัสสัมพันธ์โดยตรงกับเนื้อหาที่ปรากฏในนิทรรศการ และอาจจะเหมาะสมที่จะใช้กับบางสภาพแวดล้อม  การสำรวจความถี่ของข้อมูลและคำถามที่นำไปสู่การวิเคราะห์ การ วิเคราะห์บทสนทนาโดยการพิจารณาแต่ละคู่บทสนทนามีลักณะที่สอดคล้องกับการแบ่ง ประเภทของปฏิกิริยาอย่างไรตามที่ได้กล่าวมา โดยมีคำถามที่เข้ามาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ยของการสนทนาที่เกิดการเรียนรู้ในแต่ละสถานการณ์ที่ผู้ชมเข้าไปสัมพันธ์แตกต่างกันไปอย่างไร ข้อมูลในแต่ละประเภทของการพูดและลักษณะย่อยปรากฏมากน้อยเพียงใด และสัมพันธ์กันอย่างไร กับสิ่งใด ประเภทของสิ่งจัดแสดงแตกต่างกัน นำไปสู่การสนทนาเรียนรู้ที่แตกต่างกันหรือไม่ คู่สนทนาระหว่างผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่-เด็ก แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ในเมื่อนิทรรศการมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้มีความเคารพและเข้าใจต่อกบมากขึ้น ผู้ชมได้แสดงออกจากการสทนาหรือไม่   ผลของการศึกษา การหยุดจะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ของวัตถุจัดแสดง สิ่งมีชีวิต ลงมือปฏิบัติ วัตถุ และป้ายบรรยาย นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาถึงช่วงของการจัดแสดงใดที่เกิดการสนทนา และมีจุดที่หยุดใกล้เคียงกัน แต่ในกรณีของผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่การสนทนาเรียนรู้เกิดขึ้นน้อยกว่า เพื่อการหาข้อมูลในการเสริมกระบวนการคิดของตนเอง  ประเภทของการสนทนาจะอยู่ใน3 ลักษณะ perceptual affective conceptual เมื่อเปรียบเทียบคู่ผู้ชมที่แตกต่างประเภทของการสนทนาในลักษณะของ perceptual affective conceptual และ Strategic ในเด็ก-ผู้ใหญ่ สูงกว่าผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่   แปลและเรียบเรียงจาก  Sue Allen, "Looking for Learning in Visitor: A Methodological Exploration," Learning Conversations in Museums. Gaea Leinhardt et al. (ed.),London: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers, 2002. pp. 259-303.  

  • «
  • 1
  • 2
  • 3
  • »
20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม
2021 © ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
www.sac.or.th

วันจันทร์-ศุกร์ : 08.00-17.00 น.

TELEPHONE
0-2880-9429
E-MAIL
webmaster@sac.or.th
FAX
0-2880-9332

Content Manager

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล
นักวิชาการ

ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น
Application : Smart SAC
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
  • Online Exhibits
  • Research & learning
  • สื่อสิ่งพิมพ์
  • เทศกาล และข่าวสาร
  • ศมส.
  • เพิ่มพิพิธภัณฑ์ใหม่
เกี่ยวกับเว็บไซต์
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ทีมงาน
  • ติดต่อเรา
  • สถิติพิพิธภัณฑ์
  • สถิติเว็บไซต์
ช่วยเหลือ
  • กฎ กติกา และมารยาท
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แนะนำและแจ้งปัญหา
เกี่ยวกับโครงการ
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ทีมงาน
  • ติดต่อเรา
  • สถิติพิพิธภัณฑ์
  • สถิติเว็บไซต์