พิพิธภัณฑ์กับชีวิตของเมือง กลยุทธ์สำหรับการทำงานร่วมกับชุมชนเมือง

(ตอนที่ 1)

บทความที่จะปรากฏต่อไปนี้มาจากการเก็บความจากหนังสือ "Museums in the Life of a City" Strategies for community partnerships. Washington D.C.: American Association of Museum, 1995. หนังสือดังกล่าวได้รวบรวมข้อเขียนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา ปี 1992 บทเรียนจากความร่วมมือระหว่างชุมชนและพิพิธภัณฑ์น่าจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานหลายแห่งในประเทศไทยในการริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์เมือง เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นและทำหน้าที่ต่อสาธารณชนในการให้การศึกษาอย่างแท้จริง มากไปการสร้างห้องนิทรรศการที่มีแต่ภาพ ป้ายบรรยาย หรือวัตถุจัดแสดงเล็กน้อย แล้วกลับนิยามสถานที่ดังกล่าวนั่นว่า "พิพิธภัณฑ์"



ปฐมบท


การริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์กับชีวิตของเมืองมิได้ดำเนินการสะดวกและง่ายดายตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ระยะกลาง จนกระทั่งปิดโครงการ โครงการดังกล่าวเป็นการทดลองหรืออาจจะเรียกว่าการพิสูจน์ให้เห็นถึงบริบทขนาดใหญ่ของความเป็นไปในสังคมอเมริกันและทัศนคติที่เปลี่ยนไป ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 คำว่า "เชื้อชาตินิยม" (racism) ยังเป็นประเด็นเล็กๆ ที่พูดคุยกันในพิพิธภัณฑ์ ฉะนั้นเมื่อเราเริ่มเขียนเค้าโครงการทำงานในปี 1989 เราได้ตั้งเป้าหมายไว้แต่ต้นว่า "โครงการจะพยายามสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และลดอคติและการเลือกปฏิบัติไปพร้อมกัน" เราได้เน้นย้ำถึง "การสร้างความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์และชุมชนและความภาคภูมิใจในความเป็นพลเมือง รวมไปถึงความเข้าใจเกี่ยวผู้คนและวัฒนธรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น และเชื้อเชิญให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับการทำงานของพิพิธภัณฑ์เมืองมากยิ่งขึ้น"

เอกสารฉบับนี้เป็นการย้อนรอยการทำงานในทุกๆ ขั้นตอนจากแนวคิดจนถึงการประเมินการทำงาน รวมไปถึงข้อคิดเห็นต่างๆ ที่มีต่อการทำงานของเรา โครงการเริ่มต้นมาจากการพูดคุยระหว่างตัวแทนของพิพิธภัณฑ์ในเมืองฟิลาเดลเฟีย เมื่อฤดูร้อนปี 1988 จากการริเริ่มของโจแอล แอน. บลูม (Joel N. Bloom) ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานสมาคมพิพิธภัณฑ์สหรัฐอเมริกาและประธานพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สถาบันแฟรงคลิน ความคิดในขณะนั้นคือการริเริ่มโครงการที่จะเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์กับชุมชนที่รายล้อม



ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสมาคมพิพิธภัณฑ์อเมริกาและความร่วมมือกับเครือข่ายสถานที่เพื่อการพำนักอาศัย (Partners for Livable Places) คณะทำงานได้รับเงินสนับสนุนเมื่อปี 1990 จาก The Pew Charitable Trusts for Museums in the Life of a City: The Philadelphia Initiative for Cultural Pluralism หรือกองทุนสำหรับการสร้างความเข้าใจ้เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมในเมืองฟิลาเดลเฟีย การทำงานในโครงการนำร่องมาจากหลายฝ่าย ตั้งแต่สถาบันวัฒนธรรมและองค์กรงานเพื่อสังคมและศิลปะชุมชน โดยมีสำนักงานเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ประสานงานในเมือง

ช่วงปีแรกเป็นห้องเวลาของการเก็บข้อมูล พัฒนาโครงสร้างการจัดการ และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในเมืองฟิลาเดลเฟียและองค์กรชุมชน เรานิยาม "ชุมชน" ที่กลุ่มคนที่ไม่ได้จัดว่าเป็นกลุ่มคนหลักตามที่มีการระบุไว้ในการสำรวจสำมโนประชากรสหรัฐอเมริกาปี 1990 (nonmajority categories used in the 1990 U.S. Census) ผู้ที่ถูกกระทำและเลือกปฏิบัติจากชนอเมริกันกระแสหลัก อันได้แก่ แอฟริกันอเมริกัน ลาติโนส์ เอเชียนอเมริกัน และชนพื้นเมืองอเมริกัน ส่วน "พิพิธภัณฑ์" กินความกว้างไปถึงห้องสมุด สวนสัตว์ และองค์กรทางประวัติศาสตร์

ระหว่างสองปีถัดมา เราได้ทำกิจกรรม 11 ครั้งเพื่อการนำร่องในการประสานความร่วมมือ ด้วยการสร้างศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอกิจกรรมกับสาธารณชน การผลิตจดหมายข่าว และการจัดประชุมความร่วมมือเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมในอนาคต หน่วยงานต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือพันธมิตรเพื่อที่พำนัก (Partners for Livable Places) ได้จัดประชุมระดับชาติในฟิลาเดลเฟียโดยเน้นประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในสหรัฐอเมริกาและที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ จากการเริ่มต้น คณะกรรมการที่ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์และองค์กรชุมชนรวม 14 แห่งได้วางแนวทางปฏิบัติทั่วไป โดยมีโรเบริต์ ซอร์เรลล์ (Robert Sorrell) ประธานสันนิบาตเมืองฟิลาเดลเฟีย และโจแอล บลูม (Joel Bloom) เป็นประธานคณะกรรมการ

ในช่วงปลายปี 1994 สองปีหลังจากโครงการนำร่องสำเร็จลง ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของพวกเขาระหว่างที่มีการประชุมร่วมกับสมาคมพิพิธภัณฑ์สหรัฐอเมริกา ข้อคิดแสดงถึงการริเริ่ม ความเสี่ยงและผลที่ได้รับ ความผิดหวังและความพึงพอใจ ความสนุกและความกังวล เพื่อเป็นข้อคิดให้กับองค์กรทางวัฒนธรรมและชุมชนในเมืองอื่นๆ เช่นฟิลาเดลเฟียได้ทดลองลงแรงในทิศทางเดียวกันบ้าง

ความคิดริเริ่มของพวกเรางอกเงยมาจากการสนทนา ทั้งการรู้จักที่จะรับฟัง รับผิดชอบ และการโต้ตอบ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถามหรือการแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้ง นั่นหมายถึง ความเคารพต่อผู้อื่นและการแสดงความคิดเห็นในบรรยากาศที่ไว้ใจซึ่งกัน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการสนทนา ถ้อยคำเหล่านี้มาจากผู้ที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการระหว่างโครงการนำร่องพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมือง


เริ่มต้นสำรวจความเป็นไปได้
โดย แอนน์ มินท์ซ (Ann Mintz)
พิพิธภัณฑ์สามารถแสดงบทบาทในการเชื่อมสายใยของชุมชนได้อย่างไร? ประเด็นทางสังคมใดที่พิพิธภัณฑ์สามารถช่วยในการเปิดสู่สาธารณะ? โครงการนำร่องพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมืองออกเดินด้วยคำถามข้างต้นนี้
เมื่อตัวแทนของพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในฟิลาเดลเฟียจัดการประชุมในระยะแรกๆ พวกเรามีจุดมุ่งหมายสำคัญอยู่สองประการ ได้แก่ การบ่งบอกถึงปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองกำลงเผชิญอยู่ และอภิปรายแนวทางที่พิพิธภัณฑ์สามารถเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
ด้วยการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย เราได้พูดคุยกันให้ประเด็นที่หลากหลายแม้จะต้องใช้เวลานาน ทั้งเรื่องของยาเสพติดและอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่อง การเคหะและปัญหาการเร่ร่อน เด็กๆ ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยง การตกงาน การแบ่งแยกทางเชื้อชาติและการเมือง ปัญหาความร่ำรวยของเมืองแต่ขาดความใส่ใจต่อลักษณะพหุวัฒนธรรม ทุนสนับสนุนที่ลดลง การให้ความสำคัญกับการศึกษา ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความรับผิดชอบของพิพิธภัณฑ์ต่อชุมชนและครอบครัว รวมไปถึงการสร้างความตระหนักในความภาคภูมิของการเป็นพลเมืองและความรับผิดชอบต่อพื้นที่ด้วยการลงมือต่อต้านความยุ่งเหยิง เราได้อภิปรายถึงจุดแข็งของพิพิธภัณฑ์ที่เรามีและเราจะสร้างความแตกต่างอย่างไร

"พิพิธภัณฑ์ไม่ใช่งานสังคมสงเคราะห์" ใครคนหนึ่งในการประชุมกล่าวขึ้นมา เราเห็นด้วย แต่ปัญหาของเมืองอีกจำนวนไม่น้อยที่พิพิธภัณฑ์ไม่สามารถจะช่วยได้ พิพิธภัณฑ์กลับจะต้องผลักดันให้ตนเองเป็นหน่วยงานที่มีบทบาททางสังคม (social agencies) ตัวอย่างเช่น ขอบเขตการทำงานบางประเภทอยู่ในวิสัยที่พิพิธภัณฑ์ชำนาญการ การศึกษาและการสร้างความภาคภูมิใจของชุมชน หรือประเด็นอื่นอย่างการแบ่งแยกเชื้อชาติและชาติพันธุ์ ที่เราสามารถเข้าไปเล่นบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี ใครอีกคนหนึ่งในที่ประชุมกล่าวว่า "วัฒนธรรมเป็นจุดศูนย์กลางของการเยียวยาประเทศ"
เราสำรวจความเป็นไปได้ต่างๆ และสรุปจุดแข็งของพิพิธภัณฑ์ที่เป็นแบบฉบับคือ การจัดแสดง การตีความ และการสดุดีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ฟิลาเดลเฟียอยู่ในข่ายของเมืองที่มีชุมชนหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม แต่ความแตกต่างและหลากหลายเช่นนี้สามารถนำไปสู่การแบ่งแยก และหลายๆ ครั้ง ก็หมายถึงความขัดแย้ง
เราจึงตัดสินใจว่า พิพิธภัณฑ์ควรสำรวจตนเองเพราะเหตุใดจึงมีกำแพงระหว่างเราและชุมชน แล้วเราจะสามารถสร้างเชื่อมต่อได้อย่างไร เราควรหาวิธีที่จะสดุดีความหลากหลาย เมื่อเรามองออกไปยังภายนอกคือ ชุมชนต่างๆ ในฟิลาเดลเฟีย แลมองกลับเข้ามาในระบบการทำงานของเรา เราควรพยายามเรียนรู้ว่าเหตุใดพิพิธภัณฑ์ไม่เคยจะสะท้อนความหลากหลายของวัฒนธรรม เราควรที่จะมีโอกาสเรียนรู้กันและกัน และเชื่อมโยงให้พิพิธภัณฑ์ต่างๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้อย่างไม่เป็นอย่างทางการ รวมถึงรู้จักใช้ "มนต์มายา" ที่ตนมี

สิ่งที่เราเรียนรู้ในเบื้องต้นนี้สามารถสรุปได้ 3 คำ คือ ขบวนการ ความอดทน และการเป็นหุ้นส่วนซึ่งกัน ขบวนการมีความสำคัญ เพราะเราจะต้องทำงานไปด้วยกัน เมื่อเราต้องใช้เวลาและความใส่ใจ ความอดทนก็เป็นสิ่งที่จะต้องมีในลำดับต้นๆ และในแต่ละขั้นตอนของการตัดสินใจ ทั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือการพัฒนาโครงการ หุ้นส่วนที่แท้จริงก็คือกุญแจสำคัญ

เราเริ่มออกเดินทาง
โดย พอร์เทีย ฮามิลตัน-สเปียร์ (Portia Hamilton-Sperr)
ในการเริ่มต้นโครงการพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมืองเมื่อปี 1990 เรามองไปที่ลักษณะประชากร การเมือง และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของฟิลาเดลเฟีย รวมถึงบริบททางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 เมืองมีแต่ความวุ่นวาย รัฐบาลท้องถิ่นเผชิญกับปัญหาการเงิน ศีลธรรมของพลเมืองตกต่ำจนขีดสุด ไม่ใช่เพียงเท่านั้น ค่านิยมดั้งเดิมกลายเป็นประเด็นไปทั่วประเทศ ประเด็นพหุนิยม ความหลากหลาย และพหุวัฒนธรรมนิยม และ "จริยธรรมการเมือง" กลายเป็นประเด็นร้อน
เมื่อพิจารณาไปที่ประชากรในเมืองของอเมริกา เราไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นพหุนิยมที่เพิ่มมากขึ้นในฟิลาเดลเฟีย ตั้งแต่ 1980 ตามข้อมูลการสำรวจล่าสุด กลุ่มประชากรเอเชียที่อยู่ในเมืองมากขึ้นเป็นสองเท่า หรือมากกว่า 43,000 คน และประชากรกลุ่มละตินเพิ่มมากขึ้นมากกว่า 90,000 คน ตามข้อมูลที่อ้างอิงของบทความหนึ่งใน ฟิลาเดลเฟีย อินเควอรี เดือนมีนาคม 1991 "เมื่อต้นศตวรรษนี้ ประชากรในขณะนั้นประมาณ 1.6 ล้านคน ประกอบด้วยคนขาวร้อยละ 54 และคนดำร้อยละ 40 แต่ในยามนี้ 3 ใน 4 คือประชากรคนดำอาศัยในกลุ่มประชากรที่ 9 ใน 10 คนเป็นคนดำ" และอีกบทความหนึ่งพูดไปในทำนองเดียวกัน "ดังจะเห็นได้ว่าการแบ่งแยกมีมากขึ้นในเมืองต่างๆ อย่างฟิลาเดลเฟีย คนดำจำนวนหนึ่งขาดความสัมพันธ์กับคนดำชนชั้นกลางที่ย้ายไปยังชุมชนใหม่… จากเครือญาติระหว่างครอบครัวและเพื่อนที่เคยอยู่ในลักษณะข้อมูลช่องทางการทำงาน หรือวาระโอกาสอื่น กลายมาเป็นทะเลาะแบ่งแยก ชุมชนกลายสภาพเป็นโดดเดี่ยวมากขึ้น"

เมื่อพิจารณาถึงบทบาทขอสถาบันทางวัฒนธรรมที่ควรจะมีหรือจะเป็นเพื่อการพัฒนาเมืองในยามที่ปัญหาแย่ลงเรื่อยๆ สถาบันควรคิดที่จะเข้าหามวลชนโดยตรงมากกว่าที่จะตระหนักถึงประเด็นทางสังคมบางประการ นั่นหมายถึง การคำนึงถึงการอยู่รอดทางการเงิน พิพิธภัณฑ์หลายแห่งคิดถึงความต้องการทางสังคมในลักษณะกว้างๆ หลายแห่งสนับสนุนการเข้าชมของเด็กที่มีรายได้ต่ำ หลายแห่งทำงานกับโรงเรียนรัฐหรือมีการจัดรายการท่องเที่ยว ในขณะที่อีกหลายแห่งจัดนิทรรศการที่ดึงดูดกลุ่มคนที่ไม่ใช่ผู้เข้าชมหลักของพิพิธภัณฑ์ แต่มีพิพิธภัณฑ์น้อยแห่งมากที่ใคร่ครวญถึงปัญหาสังคมให้ตรงมากกว่านี้
จากเงื่อนไขที่กล่าวมาทั้งหมด การเริ่มต้นโครงการพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมืองจึงเป็นความกล้าหาญจะทำสิ่งที่ต่าง และด้วยเจตนารมย์ที่ดี

ข้าพเจ้าจำได้ดีว่าเมื่อเริ่มต้นการทำงาน ตัวแทนพิพิธภัณฑ์หลายแห่งกลับแสดงทีท่าที่ถ่อมตนหรือแอบระแวงสงสัย บางคนแสดงความไม่กระตือรือร้นแต่เริ่มแรก แล้วกล่าวกับพวกเราว่า "ก็ลองดูเพื่อความอยู่รอด" และอีกหลายคนแสดงความวิตกจริตเมื่อพวกเขาได้รับมอบหมายบางประการ เสมือนว่าเป็นความรับผิดชอบที่เขาหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกไปจากนี้ เรายังต้องคอยที่จะอธิบายให้เข้าใจถึงผลการทำงานที่จะแตกต่างไปจากกิจกรรมเพิ่มจำนวน "ผู้เข้าชมที่ไม่ใช่กลุ่มผู้ชมหลัก" ในพิพิธภัณฑ์

อย่างไรก็ดี เราคงยืนยันถึงการทำงานแบบเข้าหามวลชนว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและการศึกษาของชุมชนต่างๆ ในเมือง กุญแจสำคัญคือ พยายามรั้งเด็กๆ ไว้ที่โรงเรียน สอนให้พวกเขาเข้าใจความหมายของการทำงาน กิจกรรมสร้างสรรค์ การต่อสู้กับยาเสพติดและความรุนแรง และการฟันฝ่าเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยและบริการสุขภาพ เราจึงเสนอแนะว่าในกระบวนการศึกษา พิพิธภัณฑ์ที่มีส่วนร่วมควรย้อนสำรวจทรัพยากรที่จะเชื้อเชิญให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ในความพยายามครั้งใหม่นี้
คณะกรรมการวางแผนวางเป้าหมายสำหรับโครงการนำร่องไว้ ดังนี้

    โครงการจะพัฒนาการสื่อสารระหว่างชุมชนและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในฟิลาเดลเฟีย ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การสร้างความเข้มแข็งในคุณค่าของชุมชน และความต้องการอื่นๆ

    โครงการจะสาธิตให้เห็นวิธีการและช่องทางในการรับใช้ต่อพลเมืองซึ่งมีวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กระแสหลัก เช่น อเมริกันแอฟริกัน เอเชียนแอฟริกัน ลาติน และชนพื้นถิ่นอเมริกัน

    โครงการจะก่อร่างรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างคู่สัมพันธ์ (ชุมชนและพิพิธภัณฑ์) พร้อมไปกับหัวหน้าชุมชนและคนทำงานพิพิธภัณฑ์สามารถตัดสินใจดำเนินการต่างๆ ร่วมกัน

    โครงการจะเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑ์และชุมชนในการเข้าไปแก้ปัญหาร่วมสมัยด้วยกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่

    โครงการจะผลักดันให้ชุมชนเข้ามาร่วมงาน และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์และกรรมการคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเมือง

    โครงการมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นเพียงโครงการนำร่องเท่านั้น
    กิจกรรมจำนวน 41 กลุ่มเข้าร่วมในโครงการ 11 กลุ่มได้รับเงินสนับสนุนจากข้อแนะนำของผู้นำต่างๆ ของข่ายงานวัฒนธรรมที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วม อันประกอบด้วย

    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 โครงการ ด้านหนึ่งเป็นงานวิทยาศาสตร์และอีกด้านหนึ่งเป็นทัศนศิลป์ โครงการให้เด็กในวัยเรียนเข้ามามีส่วนร่วม

    โครงการประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า โครงการหนึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเคหะสาธารณะ และอีกโครงการหนึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของกลุ่มเพื่อนบ้านที่ต่างกันสองกลุ่ม

    โครงการวิจัยในการสำรวจแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมกัมพูชา

    โครงการสำรวจประเด็นทางวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์การเดินเรือที่จะให้เด็กและครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม

    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวัฒนธรรมแอฟริกาและกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อนักเรียนระดับประถมศึกษา

    โครงการกิจกรรมปฏิบัติการอำนวยความสะดวกในการเข้าใช้ศูนย์บริการชุมชน สวน และห้องสมุด

    โครงการปฏิบัติการละครและทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการภาพวาดโดยศิลปินแอฟริกันอเมริกันที่มีชื่อเสียง รวมถึงการจัดอบรมศิลปะการแสดงให้กับกลุ่มวัยรุ่น

    โครงการกิจกรรมครอบครัวเพื่อสร้างความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมในกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติที่หลากหลาย

(ตอน 2)



บทความที่จะปรากฏต่อไปนี้มาจากการเก็บความจากหนังสือ "Museums in the Life of a City" Strategies for community partnerships. Washington D.C.: American Association of Museum, 1995. หนังสือดังกล่าวได้รวบรวมข้อเขียนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา ปี 1992 บทเรียนจากความร่วมมือระหว่างชุมชนและพิพิธภัณฑ์น่าจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานหลายแห่งในประเทศไทยในการริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์เมือง เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นและทำหน้าที่ต่อสาธารณชนในการให้การศึกษาอย่างแท้จริง มากไปการสร้างห้องนิทรรศการที่มีแต่ภาพ ป้ายบรรยาย หรือวัตถุจัดแสดงเล็กน้อย แล้วกลับนิยามสถานที่ดังกล่าวนั่นว่า "พิพิธภัณฑ์"



การสนับสนุนเครือข่าย

ซินเธีย พริมาส์ (Cynthia Primas)

เมื่อมีการรวมตัวเป็นองค์กรใหม่ๆ องค์กรในเครือข่ายอภิปรายถึงความหวังและความคาดหวัง แน่นอนฟังดูน่าตื่นเต้นและในบางครั้งกลับกระตือรือร้นจนเกินจริง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการให้ความช่วยเหลือวัยรุ่นให้มีความภูมิใจในตนเองและการฝึกฝนอาชีพ การสร้างเครือข่ายงานพิพิธภัณฑ์ การรณรงค์ค่านิยมของชุมชน การทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมในระดับที่ลึก หรืออะไรก็ตามแต่



จริงๆ แล้วเมื่อเราจะต้องทำงานร่วมกัน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่บุคลิกภาพส่วนบุคคล และของกลุ่มเอง จากนั้นเป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มในระดับต่างๆ กลุ่มที่ทำงานร่วมกันได้ดีย่อมมีวิญญาณเป็นของกลุ่มเอง เมื่อนั้นบรรยากาศของการทำงานจะนำพาให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างแต่ละคนที่เข้ามาทำงาน เราค่อนข้างตื่นเต้นในยาแรกเห็นการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นระหว่างคนในชุมชนและคนพิพิธภัณฑ์ ประสบการณ์ดังกล่าวไม่เคนเกิดขึ้นมาก่อน ทีมงานไม่ได้กำหนดการทำงานตามที่ได้วางแผนไว้แล้ว หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างแท้จริง ทั้งทรัพยากรที่มีอยู่และความร่วมมือ สิ่งนี้เองที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ในระยะยาว เราตระหนักได้ถึงอิสระในการลงมือทำและการตั้งคำถามที่มาจากสมาชิกที่เข้าร่วมงาน



แม้เราจะเล็งเห็นถึงอุปสรรคที่เกิดมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม แต่เรายังคงยืนยันที่จะไม่ทำงานภายใต้การวางแผน ซึ่งอาจจะทำให้งานลุล่วงไปได้มากกว่า เรากลับใช้ระบบที่เรียกว่า "วิจัยเชิงปฏิบัติการ" (action research) นั่นหมายถึง กระบวนการเก็บข้อมูลที่มาจากมุมมองของสมาชิกในกลุ่มที่เกิดขึ้นภายใต้การทำงานจริง ในกระบวนการเช่นนี้ สมาชิกแต่ละคนสามารถใช้ข้อมูลที่พวกเขาได้สังเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ตามแนวคิดที่กล่าวไว้นี้ ผลลัพธ์ที่เราปรารถนาคือ กระบวนการมาจากกลุ่มที่ทำงานเอง และจะส่งผลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจ ผู้ปฏิบัติงานในขั้นริเริ่มได้ทำหน้าที่ในการผลักดัน แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไปบอกให้สมาชิกในทีมงานทำเช่นนั้นเช่นนี้ ในการทำงาของเรา เราเน้นที่ความเท่าเทียมและนำเอาคนที่มีค่านิยมและการมองโลกที่แตกต่างมาเสริมการทำงานซึ่งกัน



ข้าพเจ้ารู้สึกอิ่มใจไม่น้อยเมื่อได้รับข้อความหนึ่งจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการ "ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และความพยายามในการผลักดันการทำงานไปในกระแสของสายน้ำต่างวัฒนธรรม เพื่อให้กลายเป็นความร่วมมือที่เข้มแข็งและความร่วมมือที่มีพลวัต" คำตอบที่ข้าพเจ้าได้มานี้ย้ำความจริงหนึ่งที่ว่าผลงานและกระบวนการจะต้องดำเนินไปด้วยกัน เพื่อให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จอังที่ตั้งหวังไว้

 

การทำงานร่วมกัน

 

โครงการวีดิทัศน์ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าของบ้านจอห์นสัน (Johnson Homes Oral History Video Project)

โดยสภาผู้อยู่อาศัยในบ้านจอห์นสัน สมาคมเคหะสถานของวาล์เลย์เดอลาแวร์ และห้องสมุดสาธารณะฟิลาเดลเฟีย (Johnson Homes Tenant Council, Housing Association of Delaware Valley, Free Library of Philadelphia)



โครงการวีดิทัศน์ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าเป็นกิจกรรมสำคัญของโครงการเคหะสถานเจมส์ เวลดอน จอห์นสัน (James Weldon Johnson Homes) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยโครงการแรกในฟิลาเดลเฟียเมื่อ 50 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยความร่วมมือจากตัวแทนจากห้องสมุดสาธารณะฟิลาเดลเฟียและสมาคมเคหะสถานของวาล์เลย์เดลลาแวร์ ผู้ที่อาศัยในบ้านจอห์นสันเข้ารับการอบรมการวิจัยประวัติศาสตร์คำบอกเล่า การผลิตวีดิทัศน์ และภาวะผู้นำ ผู้ที่ร่วมโครงการวางแผนการผลิตวีดิทํศน์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวและความทรงจำจากผู้อยู่อาศัยอาวุโสเกี่ยวกับช่วงปีแรกๆ เข้ามาอยู่ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งวันหนึ่งข้อมูลเหล่านี้จะสูญหายไป



แม้ว่าในช่วงแรกโครงการบ้านจัดสรรจะมีสวัสดิการสังคมและกิจกรรมพักผ่อนไม่น้อย แต่งบประมาณกลับถูกตัดและกิจกรรมหลายอย่างงดไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะผู้นำที่มีพลังจากสมัยของ แนลลี่ เรย์โนลด์ส (Nellie Reynolds) ซึ่งต่อมาประธานได้เป็นประธานสภาผู้อาศัย ทำให้บ้านในโครงการหลีกพ้นหลุมพลางจากโครงการพัฒนาอื่นๆ ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าเป็นเรื่องราวของพวกเขา เรื่องราวที่บ่งบอกความสำเร็จ การต่อสู้กับความขัดแย้ง และความเคลื่อนไหวในสิทธิของการตัดสินใจที่จะจัดการการพำนักอาศัยในสถานที่ดังกล่าวด้วยตนเอง



ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการ ลินดา โชเปส (Linda Shopes) นักประวัติศาสตร์คำบอกเล่าจากคณะกรรมการประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์เมืองฟิลาเดลเฟีย ได้จัดการอบรมการสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์บอกเล่า และตัวแทนจากศูนย์สคริปววิดีโอ (Scribe Video Center) ได้สอบเทคนิคการผลิต รวมไปถึงความร่วมมือจากตัวแทนของห้องสมุดสาธารณะและที่ปรึกษาจากสาขาต่างๆ ชาวบ้านได้เรียนรู้เทคนิคการทำวิจัยประวัติศาสตร์บอกเล่า เรียกได้ว่าเป็นทักษะที่มีคุณค่าที่เปิดประตูให้พวกเขาได้สร้างสรรค์แผนที่และข้อมูลอื่นๆ ซึ่งได้สร้างความภาคภูมิใจเกี่ยวกับพื้นที่ที่เขาพำนักอาศัย คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้เข้าสมุดเลยหลังจากออกจากรั้วโรงเรียนกลับพบความน่าสนใจและส่งผลให้พวกเขากลับไปอีกหลายต่อหลายครั้ง



    การเข้าหาชุมชนด้วยมุมมองทางศิลปะและการถ่ายทอดความรู้

    โดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย, Taller Puertorriqueno, Congresso de Lqtinos Unidos

โครงการนี้ใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนในการทำกิจกรรมกับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 5 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกโดย Taller Puertorriqueno และ Congresso de Lqtinos Unidos และนักเรียนในระดับวิทยาลัย ผู้ได้รับการคัดเลือกโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย การอบรมดังกล่าวมีระยะเวลา 8 สัปดาห์ที่จะจัดกิจกรรมให้กับเด็กจำนวนหลายพันคนตามค่ายในเมืองและศูนย์พักผ่อนและกีฬาต่างๆ



ในสามอาทิตย์แรกเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ เข้ารับการอบรม พวกเขาจะได้เรียนรู้ว่าพิพิธภัณฑ์ดำเนินการอย่างไรด้วยการพบปะภัณฑารักษ์และผู้บริหาร ได้สังเกตการการจัดรายการกิจกรรมต่างๆ ได้สำรวจแง่มุมต่างๆ จากงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ และได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นที่ตั้งอยู่ในฟิลาเดลเฟียและนิวยอร์ก เอมมี่ ยาเรด (Amy Jared) และเจ้าหน้าที่ในแผนกการศึกษาบรรยายและสาธิตการใช้ประโยชน์ในห้องจัดแสดงและห้องปฏิบัติงานศิลป์ และบอกเล่าถึงวิธีการวางแผนกิจกรรมเพื่อการศึกษา



ในระหว่าง 5 สัปดาห์ที่เหลือ เด็กๆ จะได้รับผิดชอบอยู่ในทีมการสอนอย่างเป็นอิสระ แต่ละคนจะมีโอกาสได้สังเกตการณ์ซึ่งกันและกัน และประเมินผลการทำงาน เด็กมีห้องที่ใช้เตรียมบทเรียนที่จะนำกลับไปยังชุมชนของตนเอง พวกเขาได้จัดอบรมการพิมพ์ให้กับเด็กๆ ในโครงการภาคฤดูร้อนเทเลอร์จำนวน 45 คน



ส่วนในช่วงเปิดเทอม เด็กจากโรงเรียนทั้ง 5 แห่งจะพบกันที่ Taller Puertorriqueno เพื่อเตรียมการและสอนกิจกรรมให้กับชุมชน จากนั้นพวกเขาได้เตรียมงานศิลปะบนกำแพงสำหรับฤดูใบไม้ผลิ อัลแบร์โต แบร์เซอรา (Alberto Becerra) ศิลปินเชื้อสายลาตินผู้ที่เป็นที่รู้จัก ทำหน้าที่ผู้ประสานงานของโครงการ เขาได้นำนักเรียนเข้าเยี่ยมชมวิทยาลัยบริน มอร์ และเฮเวอฟอร์ด (Bryn Mawr and Haverford Colleges) ทั้งผลงานศิลปะ การตระเวนในวิทยาเขต และการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับนักเรียนเชื้อสายสเปน จุดประสงค์สำคัญอยู่ที่การเพิ่มความตระหนักของนักเรียนต่อช่องทางการทกำงานในอนาคต



เมื่อพิจารณาโครงการในมิติของความร่วมมือ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ได้สร้าง "สะพาน" ที่เชื่อต่อไปยังชุมชนในระดับที่กว้างมากขึ้น โครงการพิพิธภัณฑ์ในชีวิตของเมืองผลักดันให้ส่วนงานที่รับผิดชอบกิจกรรมความร่วมมือนอกองค์กรจัดทำโครงการที่หลากหลายมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสานต่อไปในอนาคต กิจกรรมหนึ่งที่ทำให้พันธกิจเกี่ยวกับการเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นไปได้ดีคือการจัดพิมพ์จดหมายข่าว เนื้อหาสาระที่ปรากฎในจดหมายข่าวเกี่ยวข้องกับการสำรวจศิลปินเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันที่มีงานสะสมในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อสานสร้างความสัมพันธ์กับองค์ชุมชนแอฟริกัน-อเมริกัน กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน และเอเชีย



    เสียงจากชุมชนพอยต์ บรีซ

โดยพิพิธภัณฑ์ แอทวอเตอร์ เคนท์ (Atwater Kent Museum) ศูนย์การเรียนระหว่างชั่วคน มหาวิทยาลัยแทมเปิล สมาพันธ์พอยต์ บรีซ และศูนย์ศิลปะการแสดงพอย์ต บรีซ



ความร่วมมือดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากความพยายามในการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์บอกเล่าในย่านพอยต์ บรีซ เมืองฟิลาเดลเฟีย ตั้งแต่ช่วงปี 1920 จนถึงปัจจุบัน ทีมงานที่เป็นคู่จะได้รับการอบรมให้สัมภาษณ์ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ทั้งคนที่เคยอาศัยอยู่และยังที่พำนักอยู่ในปัจจุบัน ผู้คนเหล่านี้มาจากกลุ่มเชื้อสายและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ได้รับการถ่ายทอดในเอกสารเพื่อใช้พัฒนาเป็นดนตรี ละคร และการแสดงสำหรับการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนในอนาคต จุดประสงค์ของโครงการคือ การช่วยให้คนรุ่นใหม่เกิดความภาคภูมิใจในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยด้วยการสำรวจเรื่องราวของชุมชนด้วยตนเอง สิ่งที่ผู้จัดโครงการย้ำต่อคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ "พวกเธอทั้งหลายเป็นเจ้าของเรื่องราวของตนเอง ไม่มีใครที่จะแย่งชิงไปได้… สิ่งเหล่านี้สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบันทึกและแบ่งปันเรื่องราวให้กับผู้คนรุ่นต่อไปที่จะเกิดขึ้นมา"



กลยุทธ์อักประการหนึ่งของโครงการคือ การจับคู่ระหว่างคนรุ่นใหม่และผู้ใหญ่ให้ทำงานเคียงคู่กันไป คนสองชั่วอายุจะเรียนรู้การทำงานซึ่งกันและกัน และพัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ่งมากขึ้นตลอดการทำงาน ตัวอย่างเช่น เราให้ทั้งคู่มาปฏิบัติการร่วมกันในการสร้าง "แผนภาพในจินตนาการ" ของพอย์ต บรสที่แตกต่างไปในแต่ละชั่วอายุคน นั่นหมายความว่าคนในพื้นที่รับรู้ต่อพื้นที่แตกต่างกันไปอย่างไร พวกเขาจะได้เรียนรู้เทคนิคการสัมภาษณ์กับลินดา โชเปส คือผู้ที่เคยดำเนินโครงการในแบบเดียวกันนี้ที่บัลติมอร์ 4 ใน 8 คณะได้เข้าร่วมการอบรมตลอดโครงการ และได้สัมภาษณ์มีจำนวนถึง 45 ชุด เทปจากการสัมภาษณ์ได้รับการถอดเป็นเอกสารการสนทนาเพื่อใช้จัดพิมพ์ต่อไป



แม้ว่าคนที่ให้สัมภาษณ์จะมีความแตกต่างในเรื่องขออายุ แต่ผู้จัดก็ดูจะผิดหวังเล็กน้อยกับกลุ่มชาติพันธุ์ของคนที่ให้สัมภาษณ์กลับไม่หลากหลายเท่าไร คนขาวผู้เคยอาศํยในพอย์ต บรีซกลับไม่ยินดีมากนักในการร่วมมือสัมภาษณ์ และผู้ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันที่เป็ยเชื้อสายเอเชียก็ไม่ได้ใส่ใจต่อโครงการมากเช่นกัน



แต่งานยังคงดำเนินต่อไป กิจกรรมและความตั้งใจเช่นนี้ต้องการเวลา อย่างน้อยๆ ข่าวคราวที่ได้ยินมาล่าสุดนี้ก็ดูจะพัฒนามาจากการทำงานก่อนหน้านั้น ผู้คนในย่านดังกล่าวเริ่มเคลื่อนไหวจะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชุมชนเล็กๆ ของตนเอง



    เราเคยเป็นใคร เราคือใครในปัจจุบัน

โครงการฝึกปฏิบัติงานนี้พัฒนาขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลายประการ ทั้งการสร้างฐานความร่วมมือสำหรับการวิจัยระหว่างองค์กรที่เข้าร่วมการทำงาน การจัดอบรมให้กับนักเรียนในระดับมัธยมปลายในการเขียนและการตรวจแก้ไข รวมไปถึงทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และการเริ่มต้นสำรวจประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้เคยมีการเก็บรวบรวมมาก่อนในย่านเยอรมันทาวน์-ลีไฮในตอนเหนือของกลางฟิลาเดลเฟียกลาง



ข้อมูลจากการสำรวจและบันทึกเน้นไปที่พื้นที่โรงเรียน ย่านธุรกิจ และโครงการบ้านจัดสรร ผู้ที่อาศัยมาเป็นเวลานานจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับกลุ่มเชื้อสายต่างๆ โรงเรียน ก๊วน และความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างอเมริกันเชื้อสายยิวและอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันในช่วงทศวรรษที่ 1960 ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะเขียนบทความและจัดพิมพ์ในจดหมายข่าวของชุมชนหรือ Community Messenger พวกเขาจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อการใช้งานของชุมชนในอนาคต เนื้อหาได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปในกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม



เลน เซงวิลล์ (Len Zengwill) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์จัดทำรายชื่อผู้ที่อาศัยในพื้นที่ระยะเวลายาวนานจำนวน 20 คน นอกจากนี้ เขาได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในพื้นที่อื่นๆ เข้ามาร่วมโครงการด้วย เซงวิลล์และ คาเรน มิทเทลแมน (Karen Mittleman) จากพิพิธภัณฑ์ทำงานร่วมกับเด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการในการบรรณาธิการบทสัมภาษณ์ จับกลุ่มเนื้อหาในประเภทเดียวกัน และเสนอแนะคำถามใหม่ๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเก็บข้อมูล



เมื่อเด็กๆ ที่เข้
วันที่เผยแพร่ครั้งแรก: 29 ธันวาคม 2554
วันที่แก้ไข: 22 มีนาคม 2556