การตอบโต้ของโลกตะวันออก การท่องเที่ยว เสน่ห์ตะวันออก และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์

นักวิจัยจำนวaนมากให้ความสนใจกับผลกระทบทางสังคมของการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ประกอบด้วยแนวทางการสิวิจัยกระแสหลักๆ มีอย่างน้อย3 แนว ได้แก่ แนวแรกซึ่งพบมากจะกล่าวถึงประเด็นที่สัมพันธ์กับปัญหาต่างๆ เช่น ปริมาณความหนาแน่นของแหล่งมรดก การลดคุณค่าของงานหัตถกรรมท้องถิ่น การขายวัฒนธรรมพื้นถิ่น การสร้างให้คติชนของชนพื้นถิ่นเป็นเรื่องน่าพิศมัย ไปจนถึงภาวะเงินเฟ้อและปัญหาการลักลอบขนถ่ายวัตถุวัฒนธรรม (Cohen 1988; Philo and Kearns 1993; Van der Borg, Costa and Gotti 1996; Watson and Kropachevsky 1994) หรือนักวิชาการบางคนถึงขนาดมองการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่าอาณานิคมและ “การขายตัว” (Mathews 1975: 201)
 
แต่ใช่ว่าผลกระทบทางสังคมของการท่องเที่ยวจะเป็นไปในเชิงลบเสียทั้งหมด การศึกษาจำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นว่าผลกระทบเชิงวัฒนธรรมที่เกิดจากการท่อง เที่ยวกลับได้รับความชื่นชมและการต้อนรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจุดหมายปลาย ทาง(Boissevain 1996; Erb 2000; Martinez 1996; Picard 1995) และนักวิจัยอีกหลายคนพยายามสร้างสรรค์แนวทางการจัดการที่สมดุลย์ในการพัฒนาการท่องเที่ยว (Chang 1997; Jenkins 1997; Newby 1994; Teo and Yeoh 1997)
 
งานวิจัยกระแสที่สองมองไปที่มิติทางการเมืองในการนิยามและจัดการสิ่งที่เรียก ว่าเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่สมดุลย์และให้ความเป็นธรรม ในขณะที่นักวิจัยและผู้ปฏิบัติบางคนกลับไม่เห็นด้วยกับความต้องการที่จะ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสมดุลย์ เพราะคำถามอยู่ที่ว่าแล้วจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร ตัวอย่างเช่นการใช้แนวคิด “ทางเลือกที่สาม” ของกิดเดน ในงานเขียนของเบิร์น (2004) ได้กล่าวถึงมุมมองแบบแยกขั้วของการท่องเที่ยว ในมุมมองหนึ่ง หากมองแบบ “ซ้ายจัด” การพัฒนาต้องมาก่อน (leftist development first) นั่น หมายความว่า “การพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยจะต้องมาจากคนในท้องถิ่นและความรู้จากถิ่นที่นั้น” คำถามหลักของการพัฒนาต้องมองว่า “สิ่งใดบ้างที่การท่องเที่ยวให้กับเราได้โดยไม่ทำร้ายเรา” (Burn 2004: 6) ส่วนมุมมองที่สองมองจาก “ขวาจัด” ที่การท่องเที่ยวต้องมาก่อน (rightist tourism first) มุม มองที่เน้นว่าการตลาดต้องได้ผลประโยชน์อย่างสูงสุด และทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุด ผลิตภัณฑ์จากทุกแหล่งทุกลักษณะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดโดยนักวางแผนภายนอกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (Burns 2004: 26)
 
ทางเลือกที่สามได้หาทางออกให้กับผลประโยชน์และเป้าหมายที่ต่างกันให้เป็น ฉันทามติร่วมกัน ทางเลือกที่สามของเบิร์นส์ยังคงเป็นแนวคิดที่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ สังคมที่เป็นเจ้าบ้านที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว(host society) แต่ละแห่งได้พบทางออกของตนเองในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างเดนมาร์กกับสิงคโปร์ กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของเดนมาร์กเน้นไปที่การป้องกันผลกระทบทาง สังคมอันเกิดจากการท่องเที่ยว ในขณะที่ สิงคโปร์กลับซึมซับผลกระทบและจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยโครงการวิศวกรรมทาง สังคม2  (Ooi 2002a) ทั้งทางการสิงคโปร์และเดนมาร์กกล่าวอ้างถึงโครงการต่างๆ ของตนว่าได้สร้างความสมดุลย์ ระหว่างการท่องเที่ยวและความต้องการของท้องถิ่น (Ooi 2002a) วิถี ทางที่สมดุลย์ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและการเมืองของสังคมที่เป็นเจ้าบ้าน กระบวนการทางการเมืองเข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดผลประโยชน์ว่าจะตกแก่กลุ่ม ใด
 
กระแสการวิจัยที่สามที่ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวมองไปที่ว่า “ตะวันตก” จินตนาการอย่างไรถึงภาพของแหล่งการท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ตะวันตกและที่มีว่า สภาพพัฒนาน้อยกว่า จินตนาการของสังคมตะวันตกส่งผลต่อสังคมเจ้าบ้านและกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง การล่าอาณานิคม นอกไปจากงานเขียนจำนวนน้อยนิด เช่นงานของมอร์แกนและพริตชาร์ด (1998) อุย, คริสเตนเซน และพีเดอเซน (2004) เซวีน (1993) และซิลเวอร์ (1993) แนวทางการวิจัยแนวนี้ยังคงได้รับความสนใจอย่างจำกัด บทความนี้จัดวางตัวเองอยู่ในกระแสการวิจัยสายนี้ด้วยเช่นกัน
 
การศึกษาในกระแสดังกล่าวสนใจศึกษาผลกระทบที่ซับซ้อนของภาพลักษณ์แหล่งท่อง เที่ยวของสังคมเจ้าบ้าน ไม่ใช่เพียงภาพตื้นๆ และภาพที่มองอย่างล้อเล่น แต่เป็นภาพส่งอิทธิพลต่อสังคมเจ้าบ้าน และได้รับผลจากสิ่งที่เรียกว่าอิทธิพลตะวันตกต่อชุมชนเจ้าบ้านที่พัฒนาน้อย กว่า การศึกษาดังกล่าวนี้มาจากมุมมองเชิงวิพากษ์ของเอดเวิร์ด ดับเบิลยู. ซาอิด ที่กล่าวถึงแนวคิดนิยมตะวันออก (Orientalism) (Said 1979)
 
บทความชิ้นนี้จะเปรียบเทียบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์3 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ (SHM) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ (SAM) และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย (ACM) ทั้ง สามแห่งนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นเอเชียและแตกต่างกันไปในแต่ละทิศทาง ผู้เขียนขอกล่าวว่ากระบวนการนี้เป็นการสร้างภาพของความเป็นตะวันออกด้วยตนเอง (self-Orientalization) ใน สิงคโปร์ บทความจะแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเรียกร้องอย่างไรต่อแหล่ง ท่องเที่ยวอย่างสิงคโปร์ให้เป็นมากกว่าเอเชีย จุดเน้นของบทความจะอยู่ที่การพิจารณาว่าหน่วยงานการท่องเที่ยวสิงคโปร์และ รัฐบาลสร้างภาพความเป็นตะวันออกของสิงคโปร์ผ่านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้ง สามแห่งอย่างไร เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวและการสร้างชาติสิงคโปร์ บทความจะย้อนกลับไปตั้งคำถามตามมุมมองของซาอิดเกี่ยวกับอิทธิพลตะวันตกต่อ ตะวันออกในประเด็นที่ว่า สังคมเจ้าบ้านได้ยอมรับและประดิษฐ์สร้างภาพความเป็นตะวันออกในโครงการสร้าง อัตลักษณ์ของตนเองอย่างไร การอภิปรายแนวคิดนิยมตะวันออกไม่ควรจำกัดอยู่เพียงการมองว่าตะวันตกส่ง อิทธิพลต่อตะวันออกที่ “อยู่ใต้อาณัติ” อย่างไร กลุ่มอำนาจในสังคมแหล่งท่องเที่ยวได้เลือกรับและปรับใช้ภาพความเป็นตะวันออก ที่จะยังประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการสร้างภาพอัตลักษณ์ท้อง ถิ่นขึ้นใหม่อย่างไร การสร้างภาพของความเป็นตะวันออกของสังคมเจ้าบ้านจะต้องได้รับการศึกษาและทำ ความเข้าใจจากบริบททางสังคมและการเมืองของท้องถิ่นแห่งนั้น
 
ในลำดับถัดไป ผู้เขียนจะกล่าวถึงการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นรูปแบบของอิทธิพลภายในกรอบการ มองของซาอิด ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์3 แห่งของสิงคโปร์ พิพิธภัณฑสถานสามแห่งนี้จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (STB) เพื่อ สร้างสิงคโปร์ให้เป็นเอเชียมากขึ้น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ได้สร้างให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความโดน เด่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ผลักดันให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านศิลปะของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียได้ขุดรากเหง้าของบรรพชนสิงคโปร์ที่เชื่อมโยง กับจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง
 
จากนั้น เป็นการสำรวจว่าพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งสร้างภาพความเป็นตะวันออกของสิงคโปร์ อย่างไร และแต่ละแห่งสร้างเรื่องเล่าใหม่เพื่อปั้นแต่งจินตนาการสนองการท่องเที่ยว และท้องถิ่นอย่างไร ในทำนองเดียวกัน การจะเข้าใจเรื่องเล่าเหล่านี้จะต้องคำนึงสภาพและเงื่อนไขทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของสิงคโปร์ ส่วนสุดท้ายจะสรุปข้อโต้แย้งและข้อสนับสนุนความเข้าใจที่คลุมเครือของการ ท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นรูปแบบทรงอิทธิพลในการศึกษาการท่องเที่ยวเชิง วิพากษ์
 
การท่องเที่ยวและแนวคิดนิยมตะวันออก
จากแนวทางการวิพากษ์ของฟูโกต์ ซาอิด(1979) ได้ ตั้งคำถามและท้าทายแนวคิดนิยมตะวันออก ซาอิดได้ควบเกลียวของจักรวรรดินิยมทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองเข้าด้วยกัน และได้กล่าวว่า ผู้ที่สร้างภาพของความเป็นตะวันออก ทั้งนักเขียนและนักวิชาการ ‘ตะวันตก’ ผู้ที่ศึกษาความเป็นตะวันออก ได้เคยเสนอภาพที่ผิดพลาด และยังคงนำเสนอภาพที่ผิดพลาดของโลกอิสลามในตะวันออกกลางในลักษณะที่ดูเหมือน ว่าตะวันตกจะครอบงำความเป็นตะวันออกได้ง่ายดาย ซาอิดเชื่อว่าความเป็นตะวันออกไม่ใช่เพียงสาขาวิชา แต่เป็นวาทกรรมเชิงอุดมการณ์ที่ยังคงพันเกี่ยวกับอำนาจของโลกตะวันตกอย่าง ไม่สิ้นสุด ซาอิดให้เหตุผลว่า นักวิชาการตะวันตกที่ศึกษาตะวันออกได้นำเสนอและแพร่ขยายภาพเฉพาะบางอย่างของ โลกตะวันออก โดยเน้นที่ความแตกต่างของจิตวิญญาณของโลกตะวันออกที่ต่างออกไปจากsinvตรง ข้ามกับจิตวิญญาณของโลกตะวันตก ภาพเช่นนั้นได้สร้าง คัดสรร และกล่าวถึงโลกตะวันออกในลักษณะที่เกินจริง และภาพต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามความจริงเชิงประจักษ์ และลดทอนความสำคัญของความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม รูปแบบสังคม และโครงสร้างการเมืองในสิ่งที่เรียกว่าเป็นตะวันออก แนวคิดที่ซ่อนไว้เมื่อกล่าวถึงความเป็นตะวันออก จึงเป็นภาพของความต่ำต้อย การแสดงอำนาจบาทใหญ่ และไร้ซึ่งอารยธรรม
 
ตรรกะและหลักการที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีของซาอิดเกี่ยวกับความเป็นตะวันออก บันดาลใจให้นักวิชาการหลายคนได้ขบคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการที่ผู้คนคิดกับ สังคมอื่นอย่างไร และผู้คนเหล่านั้นจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไรในกิจกรรมต่างๆ การอภิปรายด้วยแนวคิดนิยมตะวันออกได้จับประเด็นการศึกษาในพื้นที่ต่างๆ แอฟริกา(Jeyifo 2000; Mazuri 2000) เอเชียตะวันออก (Clarke 1997; Dirlik 1996; Hill 2000; Hung 2003) และยุโรปตะวันออก (Ash 1989; Kumar 1992; Ooi et al. 2004) การ วิเคราะห์ด้วยมุมมองนิยมตะวันออกยังผลักดันให้นักวิชาการกำหนดกรอบการนำเสนอ ความเป็นอื่นอย่างผิดพลาดและกล่าวอย่างกวาดรวมๆ ไป ทั้งเรื่องเพศและเพศสภาพ (ในงานของ Albet-Mas and Nogue-Font 1998; Lewis 1996; Mann 1997; Prasch 1996) เชื้อชาติและสำนึกชาติพันธุ์ (Jeyifo 2000; Mazrui 2000) และศาสนา (Amstutz 1997; Burke III 1998; Kahani-Hopkins and Hopkins 2002; Zubaida 1995) การ จัดแบ่งระหว่างความเป็นตะวันตกและตะวันออกไม่ได้แตกต่างไปจากการแยกขั้ว ระหว่างเหนือกับใต้และความจนกับความรวย ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการตอบโต้ต่อโลกาภิวัตน์ ทั้งอิทธิพลทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของโลกตะวันตก (Chua 2003; Klein 2000; Shipman 2002) นักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเช่น Clifford (1997) Echtner และ Prasad (2003) Morgan และ Pritchard (1998) Ooi และคณะ (2004) และ Silver (1993) ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจากแนวคิดของซาอิดทั้งสิ้น
 
ข้อท้าทายของซาอิดต่อแนวคิดนิยมตะวันออกมีความสำคัญและมีนัยทางการเมือง มุมมองเชิงวิพากษ์แสดงให้เห็นว่าใครได้ประโยชน์ ใครถูกทำลาย ใครเป็นผู้แพร่ภาพ/ แนว คิดเกี่ยวกับตะวันตก และผลจากการรับภาพนั้น แนวทางในการวิเคราะห์จึงเป็นการมองหาสารที่อยู่ในภาพจากการเผยแพร่และความ หมายเชิงอุดมการณ์ที่อยู่ในสารดังกล่าว สารทั้งหมดถูกพิจารณาในฐานะของความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างกลุ่มที่นำเสนอภาพความเป็นอื่นอย่างผิดพลาดและตัวผู้ที่ “เป็นอื่น” นั้นเอง คำบางคำจะถูกเลือกเพื่อนำเสนอในสาร ความหมายถูกทำให้เข้มข้นขึ้น แต่ขณะเดียวกันมีความหมายหลายอย่างที่ถูกเลือกทิ้งไป อย่างเช่นภาพของสิงคโปร์ที่ถูกกล่าวถึงในสถานีวิทยุอังกฤษเกี่ยวกับรายการ ท่องเที่ยวพักร้อน งานเขียนของ Morgan และ Pritchard (1998: 225-228) แสดงให้เห็นความน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับว่าสิงคโปร์ถูกสร้างขึ้นอย่างไร ภาพอดีตอาณานิคม ยาแผนจีน (สัตว์เลื้อยคลาน ม้าน้ำ และแมงป่องตากแห้ง) และ กฎเกณฑ์ที่เด็ดขาดเข้มงวด วิทยุไม่ได้พูดถึงว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่ขับไล่เจ้า อาณานิคมอังกฤษออกไปในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ มีคนสิงคโปร์จำนวนน้อยมากที่ใช้แพทย์แผนจีนเพื่อการรักษาเป็นทางเลือกแรกใน ปัจจุบัน ส่วนกฎและระเบียบต่างๆ ที่เข้มงวดก็ปรากฏในทุกประเทศรวมทั้งอังกฤษด้วย ฉะนั้น ภาพที่ปรากฏในสื่อจึงเป็นการเสนอว่า สิงคโปร์คือความสำเร็จของอาณานิคมที่ชอบธรรม (ขอบคุณอังกฤษ) สิงคโปร์ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่เปี่ยมด้วยเสนอเอเชียอย่างไม่เสื่อมคลาย และสิงคโปร์ไม่เป็นประชาธิปไตย คนที่มองภาพของสิงคโปร์จะเห็นถึงประสบการณ์ของมรดกอาณานิคมอังกฤษในสิงคโปร์ ได้มองเห็นการเยียวยารักษาของคนเอเชีย และชีวิตที่อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ ภาพและสารประเภทนี้จะเร้าผู้ชม ขายจุดมุ่งหมายการท่องเที่ยว และให้ภาพของสังคมเจ้าบ้านอย่างดาดๆ
 
ภาพเช่นว่านี้มีลักษณะที่เป็นแนวคิดนิยมตะวันออก(การสร้างภาพของเสน่ห์ตะวันออก) ประการ แรกภาพดังกล่าวมีลักษณะที่ผิวเผินและมาจากการนำเสนอภาพที่ผิดพลาด แต่กลับถูกนำเสนอด้วยสื่อที่น่าเชื่อถือและปรากฏในลักษณะที่เป็นข้อเท็จจริง ประการที่สอง ภาพดาดๆ ดังกล่าวมุ่งหมายในการย้ำภาพกว้างๆ ของ “ความเป็นอื่น” อยู่แล้ว ในกรณีของสิงคโปร์ก็คือเป็นมรดกอาณานิคมที่ยังคงมีความเคลื่อนไหว ชาวสิงคโปร์ชอบการรักษา “แปลกๆ” และสิงคโปร์ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเสียทีเดียว ประการที่สาม การนำเสนอภาพที่ผิดพลาดกลับได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางและผ่านสถาบัน ต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชน กิจกรรมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และสิ่งที่ได้ยินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ประการที่สี่ สารที่สร้างความเป็นอื่นถูกสร้างผ่านมุมมองของสังคมตะวันตกสมัยใหม่ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการตัดสินคนอื่นจากสายตาของโลกตะวันตก ผู้เขียนขอชี้แจงดังนี้
 
สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้ว การได้รู้จักกับสังคมที่พวกเขาจะเดินทางไปนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทั้งนี้เพราะการเดินทางมีระยะสั้น พวกเขาขาดความรู้ท้องถิ่น และได้รับข้อมูลที่ผ่านการกรองแล้วจากสื่อการท่องเที่ยวต่างๆ(Ooi 2002b) นัก ท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีภาพที่ฉาบฉวย ซ้ำซาก และคัดสรรมาแล้วเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในต่างประเทศ เพราะภาพเหล่านั้นสร้างขึ้นจากแหล่งข้อมูลจำเพาะ จากบทความแนะนำการท่องเที่ยว เรื่องในข่าว หนังสือท่องเที่ยว และเรื่องเล่าจากครอบครัวและเพื่อน แหล่งข้อมูลเหล่านี้จำนวนมากไม่น่าเชื่อถือ เช่น ภาพยนตร์ที่สร้างความน่าสนใจและสร้างเรื่องเล่าต่างๆ เพื่อกระตุ้นความปรารถนาที่จะไปยังสถานที่นั้นๆ ภาพยนตร์อย่างเรื่อง Braveheart และ Lord of the Ring ทำ ให้สก็อตแลนด์และนิวซีแลนด์กลายเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยว แต่ใช่ว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องจะสร้างเรื่องและภาพในเชิงบวกและถูกต้องตามที่ เป็นจริง ภาพยนตร์ทำเงินของฮอลลีวูด เช่น Tomb Raider ได้ใช้สถานที่บางส่วนของนครวัด (กัมพูชา) และนำไปเชื่อมโยงสถานที่ลึกลับ (ที่ไม่มีจริง) แต่กลับปรากฏอักษรภาพอียิปต์ (ในศาสนสถานทางพุทธศาสนา!) และเป็นสถานที่ของคนพื้นถิ่น (ที่ไปสัมพันธ์กับคนเลว) สำหรับ นักอนุรักษ์ การอ้างอิงเช่นนี้สร้างเรื่องเล่าใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งความพยายามในการอนุรักษ์ศาสนสถานทางพุทธศาสนา และเป็นวิถีทางที่จะชักนำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Winter 2003)
 
ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกมุ่งมองหาภาพเสน่ห์ตะวันออก ภาพเหล่านี้ก็ได้การสร้างอย่างเป็นทางการและส่งเสริมโดยองค์กรในประเทศนั้นๆ เอง ส่วนหนึ่งเพราะจำนวนของนักท่องเที่ยวที่ร่ำรวยมีบทบาทสำคัญยิ่งกับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในท้องถิ่น และการที่นักท่องเที่ยวมีภาพฝังใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเป็นดังที่ว่านี้ จึงกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางดัง กล่าว เช่น สิงคโปร์มีความสะอาด ได้รับการพัฒนา และพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว แต่การโฆษณาที่พูดถึงเฉพาะความทันสมัยกลับไม่เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ มาเยือนสิงคโปร์(Ooi 2002b) ทั้ง ที่ความสะดวกสบายทันสมัยเยี่ยงในทุกวันนี้ ยังมีความสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย คือ ภาพความเป็นเอเชียยังเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอขายการท่องเที่ยวให้กับนักท่อง เที่ยวชาวตะวันตก แน่นอนว่าความทันเสมัยและความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียว (Ooi 2002b: 127) นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนมากที่สนใจไปเยือนสถานที่ที่แตกต่างและไม่ถูกปรับเปลี่ยนไปกับความเป็นสมัยใหม่ (Errington and Gewertz 1989; Jacobsen 2000; MacCannell 1976; Silver 1993; Srrensen 2003) และภาพที่ได้รับการเผยแพร่ยิ่งย้ำเข้าไปใน “ความสำนึกของตะวันตก” (Silver 1993:303)
 
นอกไปจากภาพนำเสนอตามที่นักท่องเที่ยวต้องการ ตัวแทนส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ภาพที่ตรึงอยู่ในความคิดของนักท่อง เที่ยวว่าส่งผลต่อประสบการณ์ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมองหาภาพในจินตนาการระหว่างการท่องเที่ยวของเขา(McLean and Cooke 2003; Prentice 2004; Prentice and Andersen 2000; Waller and Lea 1999) แต่ ภาพในจินตนาการของนักท่องเที่ยวไม่ได้เป็นไปแบบเดี่ยวหรือแข็งทื่อ ตัวแทนส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงพยายามมองหาภาพในจินตนาการที่ชาวตะวันตกหวัง จากแหล่งท่องเที่ยวนั้น ตัวแทนเหล่านี้อาศัยความช่วยเหลือของบริษัทโฆษณาที่มีฐานอยู่ในประเทศตะวัน ตก ดังที่ Pritchard และ Morgan (2000) ได้สำรวจความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวตะวันตก (และมิใช่ตะวันตก) ตัว แทนเหล่านี้ไม่เพียงนำเสนอภาพของเสน่ห์ตะวันออก แต่ยังทำภาพเหล่านั้นให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น นั่นคือการสร้างผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็น “ความจริงแท้” เพื่อนักท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีตั้งแต่การแสดง “วูดู” ในไฮติ (Goldberg 1983) จนถึงการขายวัตถุ “ทางศาสนา” ของยิว (เช่น หมวกครอบศีรษะและเทียน) ในอิสราเอล (Shenhav-Keller 1995) และการเยี่ยมเยือนหมู่บ้านมังกาไร “ดั้งเดิม” ในอินโดนีเซีย (Allerton 2003) ภาพลึกลับและน่าพิศมัย (exotic images) แช่ แข็งสังคมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวไว้กับอดีต และไม่ได้สนใจความเปลี่ยนแปลงและสังคมที่เคลื่อนไปสู่การพัฒนา ภาพและการสร้างให้เป็นรูปธรรมเช่นนี้ได้ย้ำจินตนาการของนักท่องเที่ยวที่ใฝ่ หาเสน่ห์ตะวันออก ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยอย่าง Echter และ Prasad (2003) และ Silver (1993) วิเคราะห์ ให้เห็นว่าภาพตัวแทนที่นำเสนอเกี่ยวกับโลกที่สามในการท่องเที่ยวจัดช่วงชั้น ความสัมพันธ์ของประเทศกำลังพัฒนาไว้ในลักษณะที่ด้อยกว่า สถานที่ต่างๆ มีสภาพที่ล้าหลัง ผู้คนกระตือรือร้นที่จะให้บริการ และแหล่งท่องเที่ยวเช่นนั้นก็เป็นเพียงสนามเด็กเล่นทางวัฒนธรรม
 
แม้กระทั่งพิพิธภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นวิชาการ ยังคงตอกย้ำกับภาพจินตนาการเสน่ห์ตะวันออก พิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่เป็น“บริเวณสัมพันธ์” (contact zones) (Clifford 1997: 188-219) บริเวณสัมพันธ์คือสถานที่ที่ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของกลุ่มถูกแยกออกไปจากกัน ทั้งๆ ที่ยังคงมีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง Clifford (1997) ได้ กล่าวถึงสังคม “ดั้งเดิม” ที่ถูกนำเสนอในพิพิธภัณฑ์ “อารยะ” การจัดแสดงได้ผลิตซ้ำภาพของชนเผ่า “ดั้งเดิม” ตามที่คนในสังคม “อารยะ” รับรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สร้างภาพของความเป็นอื่นด้วยข้อสมมติฐานและโลกทัศน์ของตนเอง และความเป็นอื่นกลับสร้างภาพของตนเองตามสิ่งจัดแสดงนั้น และสนองตอบต่อการจัดแสดงเช่นนั้น พิพิธภัณฑ์กลายสภาพเป็นพื้นที่ที่ผู้คนสร้างจินตนาการว่าเขาเป็นใคร และแม่พิมพ์ที่อยู่เบื้องหลังตัวตนที่จัดแสดงนั้นมาจากจินตนาการที่มีต่อผู้ อื่น
 
โดยสรุปแล้ว นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบของอิทธิพล ไม่ใช่เพียงแค่การปรากฏตัวของนักท่องเที่ยวหรือความต้องการต่างๆ แต่การท่องเที่ยวยังได้สืบทอดวาทกรรมที่ไม่เที่ยงตรงและการนำเสนอภาพที่ผิด เพี้ยนของประเทศด้อยพัฒนาและไม่ใช่ตะวันตก(Morgan and Pritchard 1998; Ooi et al. 2004; Selwyn 1993; Silver 1993)
 
ผลลัพธ์หนึ่งคือ“ตลาดการท่องเที่ยวกลายเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอภาพของโลกที่สาม ซึ่งในบางครั้งเป็นไปอย่างซับซ้อน แต่ไม่จริงจัง ภาพที่สืบทอดและย้ำเน้นภาวะอาณานิคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ” (Echtner and Prasad 2003: 672) ไม่ ทางใดก็ทางหนึ่ง ภาพที่นำเสนออย่างหยาบๆ สร้างแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้แหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ตะวันตกได้จินตนาการ ประดิษฐ์สร้าง และเปลี่ยนแปรตัวพวกเขาเอง (Morgan and Pritchard 1998; Ooi et al. 2004)
 
เมื่อพิจารณาการท่องเที่ยวในรูปแบบของจักรวรรดินิยม แนวโน้มของการวิเคราะห์มักมองอิทธิพลของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อแหล่งท่อง เที่ยว ประหนึ่งว่าสังคมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นฝ่ายตั้งรับและยอมจำนนแต่เพียง แง่เดียว การมองสังคมต้อนรับในลักษณะของฝ่ายตั้งรับและยอมจำนนอาจไม่ถูกต้องนัก ดังที่จะได้แสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสิงคโปร์ได้สร้างเสน่ห์ ตะวันออกให้กับรัฐเมือง(city-state) อย่างไร โลกตะวันออกตอบโต้ในเชิงรุกและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
 
การสร้างความเป็นเอเชียให้กับสิงคโปร์อย่างเป็นรูปธรรม
ในปี1995 ขณะที่สิงคโปร์เผชิญหน้ากับการแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 3  คณะกรรมการสนับสนุนการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Singapore Tourist Promotion Board – STPB) 4  และกระทรวงข่าวสารและศิลปะ (Ministry of Information and the Arts – MITA) แถลงแบบโครงร่างการพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็น “นครแห่งศิลปะ” (Global City for the Arts) หนึ่งในโครงการต่างๆ คือ สิงคโปร์จะมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ 5  พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สิงคโปร์ 6  และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย 7  (Chang 2000; Chang and Lee 2003; STPB and MITA 1995; STPB 1996) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งจะแสดงอัตลักษณ์จำเพาะของรัฐเมืองที่ตั้งอยู่บนเกาะ ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 สิงคโปร์ ค้นพบว่าภาพของความทันสมัยลดความดึงดูดลง นักท่องเที่ยวกลับเดินทางไปดินแดนที่มีความน่าตื่นตาตื่นใจอื่นๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์ (National Tourism Plan Committees 1996) สิงคโปร์จึงกลายเป็นดินแดนที่เคยถูกมองและยังคงได้รับการพิจารณาว่าเป็นเมืองที่ทันสมัยเมืองหนึ่งเท่านั้น
 
แรงผลักของกลยุทธ์การท่องเที่ยวตั้งแต่กลางทศวรรษที่1990 คือการสื่อสารภาพของสิงคโปร์ในฐานะของแหล่งท่องเที่ยวที่ความทันสมัยคลุกเคล้าไปกับความเก่าแก่ ตะวันออกกลั้วไปกับตะวันตก (Ooi 2004) แม้ จะพบเห็นความทันสมัยอย่างดาดดื่นทั่วสิงคโปร์ แต่คณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์พยายามสร้างภาพของโลกตะวันออกที่น่าพิศ มัยและฝังอยู่ในการพัฒนาและความก้าวหน้าของสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวจะได้รับการบอกเล่าถึงตึกระฟ้าในสิงคโปร์ในทำนองของการสร้าง ตามหลักฮวงจุ้ยของจีนโบราณ ร้านค้ามากมายที่ให้บริการอาหารตะวันตกกับเครื่องเทศเอเชีย และชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษในแบบฉบับของตนเอง (อย่างที่รู้จักกันว่า Singlish) นอกไปจากภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน ความพยายามอื่นๆ ที่ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเอเชียมากขึ้น ด้วยการอนุรักษ์และส่งเสริมเขตจีน (Chinatown) อินเดียน้อย (Little India) และ หมู่บ้านมาเลย์ รวมไปถึงการขายทัวร์นำเที่ยวไปสัมผัสกับวิญญาณเอเชียท่ามกลางเมืองที่ทัน สมัย รวมไปถึงการผลิตของที่ระลึกซึ่งตอกย้ำความเป็นเอเชีย (Chang and Teo 2001; Leong 1997; Ooi 2002b) การ สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสามแห่งยังเป็นความพยายามในการสร้างสิงคโปร์ที่ มีความเฉพาะตัวและเป็นเอเชียมากขึ้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งได้รับการจัดการโดยคณะกรรมการมรดกแห่งชาติ (National Heritage Board) พิพิธภัณฑ์ เหล่านี้จะกล่าวถึงคนท้องถิ่นและชาวต่างประเทศเกี่ยวกับ “ความเป็นเอเชีย” แบบสิงคโปร์ แต่ละพิพิธภัณฑ์ก่อร่าง ตีความ และสร้างความเฉพาะตัวของความเป็นเอเชียที่แตกต่างกันไปสำหรับสิงคโปร์
 
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อคณะกรรมการมรดกแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติLim Siok Peng กล่าวในรายงานประจำปีขององค์กรของเธอ ดังนี้
 
ในเดือนพฤษภาคม2003 มีโรคซาร์ (Severe Acute Respiratory Syndrome) ระบาด จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 177,808 คน หรือมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนในปี 2002 สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์มีจำนวนลดลงตามไปด้วย คือมีจำนวนผู้เข้าชมเพียง 17,073 คนในเดือนพฤษภาคม จำนวนดังกล่าวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือน (NHB 2004: 4)
 
เธอยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการตลาดของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติและการประสานงาน กับกรมการคมนาคมสื่อสารที่ร่วมมือกับหน่วยงานการท่องเที่ยวอื่น ได้พยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นในช่วงวิกฤต
 
เราได้ร่วมมือกับคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์ด้วยโปรแกรม ก้าวสู่! สิงคโปร์ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากองค์กรต่างๆ สายการบินสิงคโปร์มีข้อเสนอพิเศษสำหรับเที่ยวบิน เทศกาลสินค้าลดราคา และโปรแกรมการท่องเที่ยวต่างๆโดยสมาคมแหล่งท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Association of Singapore Attractions - ASA) (NHB 2004: 4)
 
และนอกไปจากนี้คณะกรรมการมรดกแห่งชาติยังพยายามตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ เช่น ตลาดนักท่องเที่ยวจากเมืองจีน
 
เพื่อการทำตลาดกับนักท่องเที่ยวชาวจีน เราได้ผลิตแผ่นพับทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เอกสารหนึ่งแสนชุดได้รับการจัดพิมพ์และแจกไปยังสมาคมแหล่งท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม แหล่งท่องเที่ยวประเภทต่างๆ และศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ตามจุดต่างๆ แผ่นพับยังส่งไปยังศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงคโปร์ทั่วทั้งทวีปเอเชีย(NHB 2004:4)
 
บททบทวนในรายงานประจำปีที่เขียนโดยเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงท่านนั้นยังเน้นถึงการท่องเที่ยวอย่างมาก(NHB 2004: 4-5) นอกจากนี้ยังมีเงินทุนสนับสนุนองค์กรต่างๆ สำหรับการจัดนิทรรศการด้วย
 
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์เป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแบบนีโอ-คลาสสิค พิพิธภัณฑ์มีประวัติที่ยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่การเริ่มตั้งเมื่อปี 1887 และเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายใต้ชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อปี 1965 ภายหลังจากที่สิงคโปร์ได้รับอิสรภาพ ต่อมาจึงปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ในปี 1996 และในปี 2006 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับการขนานนามอีกครั้งว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนและขยายรูปทรงอาคาร (SHM 2005)
 
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ตอบโต้ต่อภาพที่ผู้คนมักคิดถึงสิงคโปร์ในลักษณะที่ เหมือนๆ กับประเทศอื่นในเอเชีย พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์แสดงแนวโน้มและพัฒนาการสร้างบุคลิกภาพและ ส่งอิทธิพลต่อความเป็นสิงคโปร์ ด้วยการเน้นย้ำถึงสิงคโปร์ร่วมสมัย(STPB and MITA 1995: 17) อดีตอาณานิคมของสิงคโปร์ (ค.ศ. 1819 – ค.ศ. 1963) สงครามโลกครั้งที่ 2 และ การต่อสู้เพื่อการปกครองตนเองจากเจ้าปกครองอาณานิคมอังกฤษ ประวัติศาสตร์ที่ผันผวนกับประเทศมาเลเซียและการเรียกร้องอิสรภาพของสิงคโปร์ เมื่อปี 1965 เรื่อง ราวเหล่านี้เป็นจุดเน้นของพิพิธภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์อีกสองแห่ง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์มีส่วนร่วมในโปรแกรมการศึกษาแห่งชาติมากที่ สุด พิพิธภัณฑ์ได้ต้อนรับกลุ่มนักเรียนจำนวนมาก นิทรรศการทำหน้าที่เป็นบทเรียนเสริมประวัติศาสตร์ที่สอนกันในโรงเรียน
 
อัตลักษณ์เฉพาะของสิงคโปร์ถูกไล่เรียงไปตามลำดับ ดังนี้ สิงคโปร์ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤษไม่สามารถปกป้องสิงคโปร์ได้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่2 สิงคโปร์ ตกอยู่ในสภาพที่หดหู่ระหว่างการครอบงำของญี่ปุ่น และดิ้นรนเพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของอังกฤษ จนเปลี่ยนสถานภาพของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์รัฐมาเลเซีย (1963-1965) แต่ การณ์กลับไม่ดีขึ้น ในท้ายที่สุด แนวคิดของการเป็นรัฐสิงคโปร์เบิกบาน และนำไปสู่การสร้างประเทศให้มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง นี่เองแสดงให้เห็นว่า สิงคโปร์ไม่ใช่ทั้งของอังกฤษ ญี่ปุ่น หรือมาเลเซีย แต่มีองค์อธิปัตย์เป็นของตนเอง ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์บอกกับผู้เข้าชมเกี่ยวสถานการณ์ของสิงคโปร์ในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 ว่า
 
ญี่ปุ่นก้าวล่วงมายังดินแดนแห่งนี้และประกาศตนเป็นผู้ปลดปล่อยเอเชียจากชาติเจ้า อาณานิคม แต่พวกเขากลับทำตนเป็นปฏิปักษ์ด้วยเช่นกัน กระทั่งปฏิบัติต่อราษฎรเลวร้ายยิ่งไปกว่าที่อังกฤษเคยกระทำเสียอีก(NHB 1998: 31)
 
ข้อมูลที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ย้ำเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในอุษาคเนย์ คือ ความไม่กลมกลืนและไม่เป็นเนื้อเดียวกันของภูมิภาคแห่งนี้ มาเลเซียเกิดขึ้นในปี1963 ด้วย การรวมมาลายา ซาบา ซาราวัค และสิงคโปร์ ประเทศที่เกิดใหม่นี้ไม่ได้รับการต้อนรับจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ยังคงอ้างสิทธิอำนาจเหนือซาบาเมื่อปี 1962 อินโดนีเซีย ไม่ต้องการให้มาเลเซียมีอิทธิพลเหนือเกาะบอร์เนียว ความรุนแรงและการจับตัวประกันเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของมาเลเซียรวมทั้ง สิงคโปร์ เมื่อมีการสถาปนาสหพันธรัฐใหม่เมื่อกันยายน 1963 ความรุนแรงทั้งหลายยุติลงเมื่อซูฮาร์โตก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อตุลาคม 1965 (NHB 1998: 70-71)
 
พิพิธภัณฑ์บอกกับผู้ชมเกี่ยวกับเรื่องราววุ่นวายต่างๆ ของสิงคโปร์ และขณะเดียวกัน ได้เฉลิมฉลองความสำเร็จทางสังคมและเศรษฐกิจ และภาวะผู้นำของพรรคกิจประชาชน พรรคการเมืองนี้ปกครองสิงคโปร์ตั้งแต่ช่วงปกครองตนเองภายใต้การปกครองของ อังกฤษในปี1959
 
นโยบายสิงคโปร์เพื่อคนสิงคโปร์เป็นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมต่อคนสิงคโปร์โดยไม่ เลือกชาติพันธุ์ สนับสนุนให้คนสิงคโปร์ยังคงรักษาความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการสร้างรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมให้กับพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม เหล่านี้เองที่ก่อให้เกิดอัตลักษณ์เฉพาะของสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ยังมองว่าที่สิงคโปร์ก้าวหน้าและพัฒนาไปได้มากกว่าเพื่อนบ้านเช่น นี้ เป็นผลมาจากรัฐบาลที่เข้มแข็งและมีความซื่อสัตย์
 
โดยสรุป เรื่องราวที่บอกเล่าในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์บอกกับผู้ชมว่า ชาวสิงคโปร์มีอัตลักษณ์ของตนเอง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ได้อวดอ้างความสำเร็จทางเศรษฐกิจของรัฐ เมือง และกล่าวกระทบกระเทียบถึงเพื่อนบ้านที่พัฒนาไปได้น้อยกว่า สิ่งที่ท้าทายต่อไปคือการพยายามบอกเล่าให้เห็นว่าสิงคโปร์ก็เหมือนกับประเทศ เพื่อนบ้านในอุษาคเนย์
 
พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์
ด้วยลักษณะที่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์แสดงอัตลักษณ์ของภูมิภาคอุษาคเนย์ พิพิธภัณฑ์เปิดเมื่อปี1996 และจัดแสดงงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยของอุษาคเนย์
 
พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งแรกๆที่มีการจัดการในระดับ มาตรฐานสากลในภูมิภาคอุษาคเนย์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้สร้างคลังสะสมและจัดแสดงงานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย ของศิลปินในสิงคโปร์และอุษาคเนย์ นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ยังเข้าร่วมกับพิพิธภัณฑ์กระแสใหม่ในการสร้างสรรค์นิทรรศการและ การทำกิจกรรมที่ออกไปพบปะกับชุมชน พิพิธภัณฑ์ได้ดูแลคลังศิลปะของชาติสิงคโปร์และเรียกได้ว่ามีคลังศิลปะศตวรรษ ที่20 ของภูมิภาคนี้ที่ใหญ่ที่สุด และดำเนินการโดยองค์กรสาธารณะอันเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ (SAM 2005)
 
พิพิธภัณฑ์ศิลปะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้สิงคโปร์เป็นเมืองแห่งศิลปะและเป็นศูนย์ กลางกิจกรรมทางวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ นอกจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ยังมีโรงละครแห่งใหม่ หรือEsplanade – Theatres on the Bay (ศูนย์ครบวงจรขนาดมหึมาริมทะเลและอยู่ใจกลางเมือง) สถาบัน แห่งนี้แสดงบทบาทสำคัญในการผลักดันให้สิงคโปร์เป็นแหล่งศิลปะร่วมสมัย รวมไปถึงทัศนศิลป์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์วางแผนขยายงาน นอกไปจากการใช้โรงเรียนเก่าของมิชชันนารี พิพิธภัณฑ์จะขยายไปยังศาลาว่าการและอาคารเก่าของศาลสูงสุด
 
สารที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ส่งไปยังผู้ชมแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ สิงคโปร์ในประเด็นลักษณะเฉพาะของสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์นำเสนอสิงคโปร์ในแง่ของความสัมพันธ์ที่ร้อยรัดภูมิ ภาคอุษาคเนย์เอาไว้อย่างมั่นคง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ผูกร้อยอุษาคเนย์ไว้เป็นองค์รวมเชิงสุนทรียะ อุษาคเนย์คือความหลากหลายและไม่ได้มีอัตลักษณ์ที่กลั่นรวมเป็นหนึ่งเดียว แม้ผู้คนมากมายจะมองอุษาคเนย์ในฐานะที่เป็นภูมิภาคหนึ่ง และด้วยเหตุที่ประเทศต่างๆ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันในทางภูมิศาสตร์ จึงทำให้ผู้คนเหมารวมเอาว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม รวมไปถึงการตั้งสมาคมอาเซียน อันประกอบด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เพื่อผนึกรวมกันในการต่อต้านคอมมิวนิสต์เมื่อปี1967 ต่อมาภายหลังบรูไน พม่า (เมียนมา) กัมพูชา ลาว และเวียดนามได้เข้าร่วมสมทบ ในปัจจุบันประเทศสมาชิก 10 ประเทศ นับถือศาสนาที่แตกต่างกัน พูดภาษาที่แตกต่างกัน และเคยตกเป็นอาณานิคมของเจ้าอาณานิคมที่ต่างกันเมื่อหลายศตวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่บางประเทศเพิ่งกลายสภาพจากคู่อริกันเมื่อไม่นานมานี้เอง อย่างกรณีเวียดนามที่เข้าครอบครองกัมพูชาระหว่างปี 1979 – 1989 และ ยังเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศก่อตั้งสมาคมอาเซียนเดิม ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์จึงได้สร้างอัตลักษณ์ของอุษาคเนย์ขึ้นอีกประการ หนึ่งคือ ภูมิภาคแห่งสุนทรียะ
 
พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์สร้างการรับรู้ว่าชุมชนศิลปะในอุษาคเนย์และประสบการณ์ของชุมชนมีทั้งความหลากหลายและรุ่มรวย(Sabapathy 1996) พิพิธภัณฑ์ จึงใช้ยุทธศาสตร์ของความกลมกลืนในความหลากหลายในการสร้างอุษาคเนย์เป็นองค์ รวมสุนทรียะ ประเด็นที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานอย่างเอกอุร่วมกันคือ “ชาตินิยม ปฏิวัติ และความคิดทันสมัย” “ประเพณีของความจริง” “วิถีนามธรรม” “เทพปกรณัมและศาสนา : ประเพณี ในความอัดอั้น” “ฉันและความเป็นอื่น” และ “ความเป็นเมืองและวัฒนธรรมสามัญนิยม” ประเด็นเหล่านี้เชื่อมต่อนิทรรศการหลากหลายในพิพิธภัณฑ์ ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์พึงระลึกว่า พวกเขาจะต้องนำเสนอลักษณะเฉพาะของพิพิธภัณฑ์ด้วยการกล่าวถึงอัตลักษณ์อุษา คเนย์ในนิทรรศการ
 
อย่างไรก็ตาม การสร้างความเป็นภูมิภาคแห่งสุนทรียะเช่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง แม้จะมีการประกาศถึงมิตรภาพที่สนิทชิดเชื้อระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ตัวอย่างเช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอาเซียนประกาศว่า“ด้วยความเคารพต่ออธิปไตยและสิทธิทรัพย์สินแห่งชาติของประเทศสมาชิก สมาคมอาเซียนเห็นพ้องให้มรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติของประเทศสมาชิก สถาปนาเป็นมรดกของอุษาคเนย์ที่จะได้รับการปกป้องจากอาเซียนในฐานะของความ ร่วมมือที่เป็นหนึ่งเดียวกัน” (ASEAN 2000: point1) แต่ กิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ดำเนินการ กลับแสดงให้เห็นถึงจักรวรรดิทางวัฒนธรรมของสิงคโปร์ที่ครอบงำประเทศอื่นๆ ในอุษาคเนย์ แต่ละประเทศต้องการเก็บสมบัติศิลปะไว้ที่ประเทศของตน และประเทศอื่นๆ ในอุษาคเนย์ก็ต้องการเป็นศูนย์กลางศิลปะร่วมสมัยด้วยเช่นกัน หากกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประเทศอื่นในภูมิภาคนี้มีสิทธิ์เช่นเดียวกันในการที่จะสร้างอัตลักษณ์อุษา คเนย์ และเป็นคู่แข่งในการเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของภูมิภาค
 
พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย
พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย(ACM) เป็น พิพิธภัณฑ์แห่งแรกในภูมิภาคที่นำเสนอมุมมองที่กว้างแต่เป็นอันหนึ่งอันเดียว กันของอารยธรรมและวัฒนธรรมเอเชีย ในฐานะที่เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในกำกับของคณะกรรมการมรดกแห่ง ชาติ เราพยายามสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่มากและหลากหลาย ซึ่งประกอบขึ้นเป็นสังคมสิงค-โปร์ที่หลากชาติพันธุ์ (ACM 2005b).
 
ปีกแรกของพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียเปิดขึ้นเมื่อปี1997 ที่อาคารโรงเรียนเถ้าหนานบนถนนอารเมเนียน และได้ขยายไปยังอาคารยุคอาณานิคมที่เอมเพรส เพลส (Empress Place) ด้วยพื้นที่ 14,000 ตารางเมตร เมื่อปี 2003 สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำสิงคโปร์ ใจกลางของพื้นที่ด้านธุรกิจการเงิน
 
ขณะที่บรรพบุรุษของสิงคโปร์จากหลายๆ พื้นที่ในเอเชีย ได้เข้ามาตั้งรกรากบนเกาะสิงคโปร์ในช่วง200 ปี ที่ผ่านมา วัฒนธรรมนั้นถูกนำเข้ามายังดินแดนแห่งนี้โดยผู้คนหลากหลายมีความเก่าแก่ อย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ในแง่นี้จึงเป็นจุดรวมความสนใจของพิพิธภัณฑ์อารยธรรม เอเชีย งานสะสมของพิพิธภัณฑ์จึงเน้นไปที่วัตถุทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่างๆ ที่มีรากเหง้ามาจากจีน อุษาคเนย์ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตก (ACM 2005b).
 
นอกเหนือจากการเป็นชาวสิงคโปร์ พลเมืองชาวสิงคโปร์ยังถูกกำหนดอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ พวกเขาถูกวางตัวแบบชาติพันธุ์(ethnic model) ให้เป็นชาวจีน (Chinese) มาเลย์ (Malay) อินเดีย (Indian) และอื่นๆ (Others) หรือ CMIO ประชากรสิงคโปร์จำนวน 99% ได้รับการพิจารณาว่าเป็นชาวจีน (77%) มาเลย์ (14%) หรืออินเดีย (8%) และยังมีประเภทเบ็ดเตล็ด (1%) ตัวแบบชาติพันธุ์ CMIO มีนัยทางการเมืองและเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเป็นรัฐชาติ และโครงการจัดการวิศวกรรมทางสังคม (Benjamin 1976; Chua 1995; Pereira 1997; Rudolph 1998; Siddique 1990) บรรพบุรุษของชุมชนจีน มาเลย์ และอินเดียได้รับการนิยามกว้างๆ ว่ามาจากพื้นที่ต่างๆ ของทวีปเอเชีย จีน มาเลเซีย/อินโดนีเซีย และอินเดีย ตามลำดับ การกำหนดตัวแบบชาติพันธุ์กลายเป็นการมองแบบแผนการอพยพและวัฒนธรรมของ บรรพบุรุษอย่างง่ายๆ เกินไป เพราะอันที่จริงแล้ว ประเทศหรือภูมิภาคทั้งสามไม่ได้มีความเป็นเนื้อเดียวกันในตัว พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียใส่ใจต่อความหลากหลาย แต่ไม่ได้พิถีพิถันนัก ตัวอย่างเช่น
 
จีนเป็นภาคส่วนที่กอปรด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างในแต่ละภูมิภาค และได้รับการร้อยรัดด้วยระบบต่างๆ เช่น ระบบปกครองจักรพรรดิ ระบบการเขียนร่วมกัน และการจัดช่วงชั้นทางสังคมที่มาจากแนวคิดของลัทธิเต๋า จีนมิได้เป็นประเทศที่มีกำเนิดเป็นหนึ่งเดียวที่อารยธรรมถูกครอบงำด้วย วัฒนธรรมฮั่น(ACM 2005b)
 
ด้วยการย้ำแนวคิดกว้างของการเป็นจีน อินเดีย มาเลย์มุสลิม พิพิธภัณฑ์เสนอว่าชาวสิงคโปร์ควรภูมิใจกับอดีตของบรรพบุรุษ เพราะอดีตเหล่านั้นเป็นแหล่งของการสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์เอเชียของชาว สิงคโปร์ กรอบการมองสิงคโปร์ดังกล่าวต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ที่มอง สิงคโปร์ในฐานะของประเทศเกิดใหม่ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียอ้างอิงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ขณะที่สิงคโปร์ตั้งอยู่ท่ามกลางโลกมุสลิมมาเลย์ แต่พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียเลือกย้อนรอยประชากรสิงคโปร์ที่เป็นมุสลิมมา เลย์ไปยังตะวันออกกลาง มาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง การย้ำอัตลักษณ์ของสิงคโปร์โดยผูกโยงกับอดีตของประเทศอื่นนั้นเป็นเหมือนดาบ สองคม ขณะที่ชาวสิงคโปร์เชื่อมโยงตัวเขาเองกับอดีตของประเทศต่างๆ ตามที่พิพิธภัณฑ์ได้เสนอไว้ พวกเขากลับเชื่อมโยงตัวเองกับสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองในปัจจุบันของ ประเทศนั้นๆ ได้ง่ายกว่า ด้วยเหตุที่มาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด รัฐบาลสิงคโปร์ยอมรับอย่างชัดแจ้งว่า ชาวสิงคโปร์มาเลย์สามารถละทิ้งสำนึกรัฐชาติไปได้ ในกรณีที่สิงคโปร์เกิดขัดแย้งกับประเทศใดในสองประเทศนั้น(Ooi 2003: 82-83) ด้วยเหตุว่ามาเลย์ทั้งหมดในสิงคโปร์เป็นมุสลิม พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียจึงมุ่งมองประชากรสิงคโปร์มาเลย์โดยเชื่อมโยงกับตะวันออกกลาง
 
พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียได้รวบรวมมรดกวัตถุที่ประเมินค่ามิได้จากสถานที่ที่กล่าวไว้ แล้ว และนำเสนอให้ผู้ชมได้เห็น “มรดกบรรพบุรุษ” ของชาวสิงคโปร์ (STPB and MITA 1995: 17) วัตถุจัดแสดงบางชิ้นหมายรวมถึง วัตถุที่ปรากฏลายมือเขียนศตวรรษที่ 18 จากอิหร่านและตุรกี ประติมากรรมราชวงศ์ถังศตวรรษที่ 7 จาก จีน และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมจากวัดนาคหลายแห่งในอินเดีย ในการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ได้จัดส่วนที่เรียกว่านิทรรศการยอดนิยมเพื่อดึงดูดผู้ชมให้มาก ขึ้น นิทรรศการเหล่านี้รวมถึงพุทธศิลป์จากอินโดจีนและสมบัติจากวาติกัน
 
ดังนั้น พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียจึงเป็นแหล่งที่แสดงมรดกเอเชียเก่าอันยิ่งใหญ่ ความยิ่งใหญ่และชัยชนะของบรรพบุรุษสิงคโปร์ได้รับการกล่าวขวัญ และคุณค่าที่บอกเล่าผ่านมรดกวัตถุได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคนสิงคโปร์ทุก วันนี้ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ที่เน้น ความแตกต่างของสิงคโปร์จากประเทศเพื่อนบ้าน ต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ที่พยายามนำเสนอความเป็นอุษาคเนย์ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเซียกลับสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของสิงคโปร์ด้วยการ อ้างอิงสายสัมพันธ์บรรพบุรุษกับช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่คัดเลือกกับ บางกลุ่มประเทศและบางชุมชน สายสัมพันธ์เหล่านี้คือรากลึกของความเป็นเอเชียของสิงคโปร์
 
กระบวนการการสร้างนักท่องเที่ยวและเสน่ห์ตะวันออกในบริบท (Touristification and Orientalization processes in context)
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย เป็นสถาบันในระดับประเทศที่สร้างความเป็นเอเชียของสิงคโปร์ สถาบันเหล่านี้ไม่ได้เพียงแสดงบทบาทตามโครงการวิศวกรรมทางสังคม(social engineering programmes) แต่ ยังแสดงบทบาทสำคัญต่อการสร้างสิงคโปร์ให้เป็นเอเชียมากขึ้นสำหรับนักท่อง เที่ยวชาวตะวันตก อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า สิงคโปร์ได้พัฒนาสู่เมืองที่ทันสมัย และกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงคโปร์ตระหนักว่า สิงคโปร์ได้สูญเสียเสน่ห์ตะวันออกซึ่งเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวคาดหวังและ เรียกร้อง พิพิธภัณฑ์จึงพยายามสร้างเสน่ห์ตะวันออกให้กับสิงคโปร์เสียเอง
 
Adorno และ Horkheimer (1972) วิเคราะห์ ไว้ว่ามีแนวโน้มของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในการแทรกความหมายที่สองอย่างเป็นระบบ และเข้าไปแทนที่ความหมายเดิม กระบวนการสร้างเสน่ห์ตะวันออกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์สามารถทำความเข้าใจได้ในบริบทนี้ ผู้เขียนขออธิบายดังต่อไปนี้ ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เรื่องราวจะถูกนำเสนอ และความหมายจะถูกผนวกเข้าไปในวัตถุทางวัฒนธรรม การตีความใหม่และความหมายใหม่นี้เกิดขึ้นในการจัดแสดง ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์สก็อตแลนด์บอกเล่าเรื่องราวและนำเสนอนิยายปรัมปราของสก็อตแลนด์ใน สภาพแวดล้อมของความเข้าใจทางวัฒนธรรมการเมืองร่วมสมัยของประเทศ (Cooke and McLean 2002; Mclean and Cooke 2003; Newman and McLean 2004) ความหมายและบริบทเบื้องหลังสิ่งจัดแสดงถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ นักวิชาการอย่าง Hudson (1987) และ O’Doherty (1986) ชี้ ให้เห็นว่าสิ่งจัดแสดงชิ้นหนึ่ง เช่น ภาพเขียนเก่าหรือประติมากรรม มักมีหน้าที่บางอย่างในความหมายแวดล้อมเดิม เช่น โบสถ์ วัด หรือบ้าน เพื่อสร้างศรัทธาและอารมณ์ร่วม แต่เมื่อกลายมาเป็นสิ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ วัตถุกลับถูกถอนรากและเข้ามาอยู่ใน “บรรยากาศว่างเปล่าและไม่เป็นธรรมชาติ ในพื้นที่ท่ามกลางงานศิลปะอื่นๆ และแข่งขันกันดึงดูดความสนใจ ในสภาพและเงื่อนไขเช่นนั้น ความรู้สึกกลับหมดความหมาย ความรู้เข้ามาแทนที่และพิพิธภัณฑ์กลายเป็นอารามแห่งความเป็นวิชาการ (temple of scholarship)” (Hudson 1987: 175) พิพิธภัณฑ์ ในฐานะพื้นที่ที่นำเสนอภาพตัวแทน ได้เข้าไปตีความและสร้างบริบทให้กับวัตถุจัดแสดงใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียได้สร้างและสอดใส่เรื่องราวและคำบรรยายเข้าไปใน วัตถุจัดแสดง เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสน่ห์ตะวันออกของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในกระบวนการสร้างเสน่ห์ตะวันออกในพิพิธภัณฑ์ ทั้งสามแห่งนี้
 
ประการแรกและสำคัญยิ่ง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียใช้กระบวน “การสร้างเอเชียใหม่” (‘reasianization’ process) (Hein and Hammond 1995) กระบวน การนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับสิงคโปร์ กระบวนการสร้างเอเชียใหม่พบได้ในประเทศต่างๆ ของเอเชียที่ต้องการค้นหาและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในเอเชีย (Hein and Hammond 1995) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เมื่อ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลายประเทศในเอเชีย อย่างญี่ปุ่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ พยายามแสดงอิทธิพลของตน นักวิชาการและนักวิจัยหลายคนทำนายถึงเศรษฐกิจของตะวันออกไกลที่จะเข้ามามี อิทธิพลเหนือเศรษฐกิจตะวันตก มุมมองดังกล่าวบันดาลใจให้เกิดกระบวนการสร้างเอเชียใหม่ ดังจะเห็นได้จากหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิกเข้ามามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการ เมืองในศตวรรษที่ 21 กระบวนการสร้างเอเชียใหม่เป็นกระบวนการ “เสน่ห์ตะวันออกแบบย้อนกลับ”
 
กระบวนการ(เสน่ห์ตะวันออกย้อนกลับ) นี้ นำมาซึ่งคุณค่าทางวัฒนธรรมชุดใหม่ให้กับสังคมในเอเชียตะวันออกและอุษาคเนย์ โดยนักสังคมศาสตร์ชาวตะวันตก เพื่อเทียบให้เห็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นล่าสุดในเอเชียกับความนิ่งสนิทและ ความไร้ระเบียบของระบบเศรษฐกิจและสังคมตะวันตกร่วมสมัย การเปรียบดังกล่าวสร้างความชอบธรรมให้กับนโยบายการสร้างชาติของผู้นำทางการ เมืองในประเทศเหล่านั้น เช่น สิงคโปร์ และนำไปสู่ความพยายามในการนิยามและสร้างความเป็นสถาบันให้กับคุณค่าหลัก (Hill 2000).
 
ผู้คนจำนวนมากมองว่าความสำเร็จทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเหมือนการแตก กิ่งก้านจากลัทธิเต๋า คุณค่าของเต๋าอย่างที่ปรากฏในญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเสือเอเชีย(ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฮ่องกง) ได้สร้างชุดจริยธรรมของการทำงานคือ การทำงานหนัก คิดถึงกลุ่มร่วมงาน สะสมทรัพย์ เรียกได้ว่ามีความใกล้ชิดกับลัทธิทุนนิยม (Hofheinz and Calder 1982; Kahn and Pepper 1979; Vogel 1979) ลัทธิเต๋าและคุณค่าแบบเต๋าได้รับการยอมรับในเชิงบวกขึ้นมาในบัดดล
 
คุณค่าเหล่านี้เคยถูกมองว่าต่อต้านความก้าวหน้าและต่อต้านการพัฒนา(Hill 2000) เมื่อทศวรรษ 1980 นี้เองที่รัฐบาลสิงคโปร์เริ่มให้ความสำคัญกับรากความเป็นเอเชียของสิงคโปร์ และเริ่มกระบวนการสร้างเสน่ห์ตะวันออกแบบย้อนกลับ (Hill 2000) กระบวนการไม่เคยหยุด ลัทธิเต๋าเบ่งบานขึ้นมาจากวาทกรรมตะวันออกอีกชุดหนึ่ง (Chua 2005) คุณ ค่าแบบเต๋ากลายความหมายมาเป็นคุณค่าแบบเอเชียของสิงคโปร์ การเน้นที่ลัทธิเต๋าเพียงประการเดียวในสิงคโปร์ ได้มอบสิทธิพิเศษให้กับชาวจีน และกันชาวมาเลย์และอินเดียให้อยู่ชายขอบ โดยมิได้ตระหนัก รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างโปรแกรมวิศวกรรมสังคม ที่ได้กลายรูปไปตามแนวคิดของเต๋า เพื่อให้ชาวสิงคโปร์ได้เรียนรู้วินัยทางสังคม เอกภาพของสังคม และความรับผิดชอบต่อชุมชน (Chua 1995; Hill 2000; Lam and Tan 1999) ความภาคภูมิใจในความเป็นเอเชียได้รับการถ่ายทอดไปสู่การท่องเที่ยว ตามแบรนด์ของการประชาสัมพันธ์สิงคโปร์ “เอเชียใหม่” เมื่อปี 1996 (Ooi 2004) ทั้งแบรนด์นั้นและแบรนด์ปัจจุบัน “สิงคโปร์ที่เป็นหนึ่ง” (Uniquely Singapore) ต้องการสื่อสารให้เห็นว่าสิงคโปร์อยู่ในภูมิภาคที่มีพลวัตทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Ooi 2004)
 
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเอเชียใหม่เพื่อฉลองการผงาดขึ้นของเอเชีย สิงคโปร์สร้างเสน่ห์ตะวันออกอย่างภาคภูมิใจ เพราะภาพลักษณ์ในสายตาโลกกำลังเป็นไปในทางที่ดีขึ้น รัฐบาลสิงคโปร์รู้จักเลือกใช้ส่วนดีของวาทกรรมตะวันออกในการวางโครงการสร้าง ความคล้อยตาม และเชิญชวนชาวสิงคโปร์ให้เป็นประชากรที่ทำงานหนักและเคารพต่อฝ่ายบ้านเมือง(Chua 1995) แต่กลยุทธ์ในการสร้างเสน่ห์ตะวันออกก็แตกต่างกันไปในพิพิธภัณฑ์ทั้งสามแห่ง
 
ขณะที่ให้ความสำคัญกับความเป็นสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ได้พยายามถอดภาพเดิมของตะวันออกจากสายตาของ ผู้มาเยือนที่มีต่อสิงคโปร์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ภาพลักษณ์ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กล่าวถึงสิงคโปร์คือภาพจำเพาะเจาะจงและลงลึก ในรายละเอียด พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์มุ่งแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของสิงคโปร์ในอุษา คเนย์ สิงคโปร์มีความแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ให้ตัวอย่างประวัติศาสตร์ทั้งของสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเชีย และประเทศเพื่อนบ้านอื่นซึ่งมีความไม่ลงรอยและความขัดแย้งอย่างรุนแรง นิทรรศการยังมีส่วนที่บอกเล่าความแตกต่างของชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์ ด้วยการแสดงให้เห็นว่าชาวจีนเหล่านั้นพูดภาษาที่ต่างกัน และมีแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ และการปฏิบัติที่แตกต่างกัน นอกไปจากนี้ สิงคโปร์ได้รับการนำเสนอถึงความพิเศษ เพราะได้พัฒนาเป็นสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเนื่องด้วยมีรัฐบาลที่ ดี ไม่เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ หรือกล่าวได้ว่าสิงคโปร์ทั้งเป็นเอเชียและทั้งทันสมัยด้วยวิถีทางของตนเอง
 
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ท้าทายภาพของเสน่ห์ตะวันออกที่นักท่องเที่ยวอาจมีอยู่ เกี่ยวกับสิงคโปร์ ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย พิพิธภัณฑ์อวดอ้างความสำเร็จทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐเมืองทั้งที่ต้อง เผชิญหน้ากับความขัดแย้งและสถานการณ์ที่คลุมเครือของเอเชีย
 
พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์มีลักษณะที่แย้งกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์กลับสร้างวาทกรรมเสน่ห์ตะวันออกขึ้นใหม่ พิพิธภัณฑ์ได้สร้างภาพของตะวันออกให้กับสิงคโปร์และภูมิภาค พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์พยายามยืนยันการเป็นผู้นำในอุษาคเนย์และสร้างเรื่อง เล่าแบบเสน่ห์ตะวันออก ด้วยการสร้างให้อุษาคเนย์เป็นภูมิภาคแห่งสุนทรียะ(aesthetic region) ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ภูมิภาคมีความหลากหลาย และมีประชากรมากกว่า 500 ล้านคนในปัจจุบัน ภูมิภาคประกอบด้วย 10 ประเทศ ที่ต่างกัน และในแต่ละแห่ง มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม หากกล่าวถึงศิลปะร่วมสมัย ก็มีรูปแบบที่หลากหลายในทำนองเดียวกัน ตั้งแต่ภาพเขียนหมึกจีนจนถึงผ้าบาติกชวา ภาพอิมเพรสชั่นนิสม์เวียดนามจนถึงประติมากรรมเชิงนามธรรมของสิงคโปร์ ด้วยเหตุที่การสร้างลักษณะของศิลปะที่เรียกว่าเป็นของอุษาคเนย์โดยแท้ ไม่ใช่เรื่องง่าย พิพิธภัณฑ์จึงนำเสนอความหลากหลายของรูปแบบทัศนศิลป์ที่ปรากฏในภูมิภาคอย่าง ตรงไปตรงมา แล้วจึงจัดแบ่งกลุ่มของผลงาน
 
คณะกรรมการมรดกแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ยังต้องทำงานไปตามแผนงานของพิพิธภัณฑ์อีกด้วย(STPB and MITA 1995) ด้วย เหตุนี้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์จึงเชิดชูกับความหลากหลายในอุษาคเนย์ พร้อมกันนั้นก็ต้องสร้างภาพของภูมิภาคที่มีความกลมกลืนทางศิลปะ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ได้ประดิษฐ์สร้างอัตลักษณ์ภูมิภาคอุษาคเนย์ ไปอีกลักษณะหนึ่ง เรื่องเล่าที่นำเสนอดังกล่าวสถาปนาให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางศิลปะของภูมิภาค ฉะนั้น พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์จึงพยายามเข้ามาลบภาพเสน่ห์ตะวันออกเก่าที่มีต่อ อุษาคเนย์ ซึ่งปฏิเสธศิลปะในภูมิภาค และทดแทนด้วยภาพในมุมมองใหม่ที่สร้างให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางศิลปะและ วัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์สร้างภาพตะวันออกใหม่ให้กับสิงคโปร์และภูมิภาคด้วยเรื่องเล่าของ ตนเอง
 
พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียย้ำภาพเสน่ห์ตะวันออกบางภาพ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียมีความใฝ่ฝันที่ยิ่งใหญ่กว่าพิพิธภัณฑ์ศิลปะ สิงคโปร์ ด้วยการนำเสนอวัตถุทางวัฒนธรรมของอารยธรรมใหญ่ของเอเชีย พิพิธภัณฑ์ไม่ได้อ้างถึงรากทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ร่วมกัน ระหว่างจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง แต่เป็นการสร้างกรอบของภาพร่วมระหว่างจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง
วันที่เผยแพร่ครั้งแรก: 29 ธันวาคม 2554
วันที่แก้ไข: 20 มีนาคม 2556