จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพ่อขุนรามคำแหง

จารึก

จารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 4

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2555 17:17:48

ชื่อจารึก

จารึกพ่อขุนรามคำแหง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย, ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พุทธศักราช 1835

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1835

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 4 ด้าน มี 127 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 35 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 35 บรรทัด, ด้านที่ 3 มี 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มี 27 บรรทัด

ผู้อ่าน

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2521), (พ.ศ. 2526)

ผู้ปริวรรต

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2521), (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2521)
2) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ยอร์ช เซเดส์ : “กาว” = ชนชาติไทยในจังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน ดังปรากฏในจารึกหลักที่ 45 พ.ศ.1935 เรียกผีบรรพบุรุษ รางวงศ์น่านว่า ด้ำพงศ์กาว
2. ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี : เดิมอ่านว่า “ฟ้าฎ…”
3. ยอร์ช เซเดส์ : “ชาวอูชาวของ” = ผู้ที่อยู่ตามริมแม่น้ำอูและน้ำของ (แม่น้ำโขง)
4. ยอร์ช เซเดส์ : “มาออก” = มาขึ้น
5. ยอร์ช เซเดส์ : “1207 ศกปีกุน” = ที่จริงมหาศักราช 1207 เป็นปีระกา = พุทธศักราช 1828 ถ้าเป็นปีกุนต้องเป็นมหาศักราช 1209 = พุทธศักราช 1830
6. ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี : เดิมอ่านว่า “จิ่แล๋ว”
7. ยอร์ช เซเดส์ : “เวียงผา” = กำแพงหิน
8. ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี : เดิมอ่านว่า “จิ่งแล้ว”
9. ยอร์ช เซเดส์ : “ลายสือ” = ตัวหนังสือ
10. ยอร์ช เซเดส์ : “1205 เป็นมหาศักราช” = ตรงกับ พุทธศักราช 1826
11. ยอร์ช เซเดส์ : “หา” = หาก โบราณใช้เน้นข้อความคล้ายกับ นั่นเอง หรือพระองค์เอง หรือ ที่, ผู้, ซึ่ง
12. ยอร์ช เซเดส์ : “ใคร่ใจในใจ” = คิดในใจ, ใคร่ครวญ, ไทยอาหมแปล ใคร่ใจดู = คิดในใจ
13. ยอร์ช เซเดส์ : “แคะ” = เรียว, เปรียว, ว่องไว
14. ยอร์ช เซเดส์ : “รอด” = ถึง
15. ยอร์ช เซเดส์ : “สระหลวง” = เดิมสันนิษฐานกันมาว่า ได้แก่เมืองพิจิตร แต่ศิลาจารึกหลักที่ 8 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 7-8 ออกชื่อเมืองไว้ว่า “สระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) ปากยม (พิจิตร) พระบาง (นครสวรรค์)… แสดงว่า สระหลวงอยู่เหนือหรือติดกับพิษณุโลกไม่ใช่พิจิตร (ปากยม)
16. ยอร์ช เซเดส์ : “สองแคว” = คือ เมืองพิษณุโลก
17. ยอร์ช เซเดส์ : “ลุมบาจาย” = น่าจะเป็นเมืองในลุ่มน้ำป่าสัก
18. ยอร์ช เซเดส์ : “สคา” = น่าจะเป็นเมืองในลุ่มน้ำป่าสัก
19. ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี : เดิมอ่านว่า “วยงคำ”
20. ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี : เดิมอ่านว่า “เบี๋อง”
21. ยอร์ช เซเดส์ : “คนที” = บ้านโคน อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
22. ยอร์ช เซเดส์ : “พระบาง” = เมืองนครสวรรค์
23. ยอร์ช เซเดส์ : “แพรก” = เมืองสรรค์บุรี ซึ่งต่อมายุบเป็นอำเภอสรรค์บุรี
24. ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี : เดิมอ่านว่า “ฟงง”
25. ยอร์ช เซเดส์ : “สมุทรหาเป็นแดน” = สมุทรนั่นเองเป็นแดน, สมุทรที่เป็นแดน
26. ยอร์ช เซเดส์ : “เมืองพลัว” = อำเภอปัว จังหวัดน่าน
27. ยอร์ช เซเดส์ : “เมืองชวา” = เมืองหลวงพระบาง