จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 310/2523

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 310/2523 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 16:32:42

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 310/2523

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 51, 310/2523

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2437

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 11 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : จุลศักราช 1256 ตรงกับ พ.ศ. 2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ครองเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2436-2461)
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “ภิขุ” แต่เมื่อพิจารณาจากภาพจารึกพบว่าเป็น “ภิกฺขุ”
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “ไช” แต่เมื่อพิจารณาจากภาพจารึกพบว่าเป็น “ไชฺย”
4. เทิม มีเต็ม : “ปีกาบสง้า” คือ ปีมะเมีย ฉศก
5. เทิม มีเต็ม : “เค้า” หมายถึง ประธาน, หัวหน้า
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “คน” แต่เมื่อพิจารณาจากภาพจารึกพบว่าเป็น “ฅฺน”
7. เทิม มีเต็ม : “ชู่ตน” หมายถึง ทุกคน
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทยใช้หลักการปริวรรตโดยถ่ายถอดตามตัวอักษรดังนั้นจึงใช้เป็น “บฺรกาฺน” คือ พยัญชนะ “บ” ตามที่ปรากฏในจารึก แล้วจึงใช้ “ประการ” ในส่วนของคำอ่าน
9. เทิม มีเต็ม : “สุข 3 ประการ” ในที่นี้ได้แก่ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
10. เทิม มีเต็ม : “ดีหลี” หมายถึง เที่ยงแท้, ดีจริงๆ
11. เทิม มีเต็ม : “เนรพาน” = นิพพาน
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทยใช้หลักการปริวรรตโดยถ่ายถอดตามตัวอักษรดังนั้นจึงใช้เป็น “เยา” คือ รูป “เ - า” ตามที่ปรากฏในจารึก แล้วจึงใช้ “โย” ในส่วนของคำอ่าน
13. เทิม มีเต็ม : “นิจฺจํ……ธุวํ ธุวํ ปจฺจโย โหตุ เม โน นิจฺจํ ปรมํ สุขํ” เป็นคำปรารถนาที่ให้ได้ถึงแก่พระนิพพาน