จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 2

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 2 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 16:25:04

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 33, จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2428

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ปริวรรต

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศักราชได้ 1247 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2428 ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ครองเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2395-2434) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
2. เทิม มีเต็ม : “ปีดับเล้า” คือ ปีระกา สัปตศกศก
3. เทิม มีเต็ม : “เดือนยี่” คือ เดือน 2
4. เทิม มีเต็ม : “เพ็ง” คือ วันขึ้น 15 ค่ำ
5. เทิม  มีเต็ม : “เม็ง” หมายถึง มอญ
6. เทิม  มีเต็ม : “วัน 7” ตามจันทรคติได้แก่ วันเสาร์
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “มูล” แต่เมื่อพิจารณาจากภาพจารึกพบว่าเป็น “มูลฺล”
8. เทิม มีเต็ม : “ไทกดสี” คือ ชื่อวันแบบหนึ่งที่ใช้ในสมัยโบราณ
9. เทิม มีเต็ม : “ฤกษ์ 2 ตัว” ได้แก่ “ภรณี” ประเภทมหัธโนฤกษ์
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “คน” แต่เมื่อพิจารณาจากภาพจารึกพบว่าเป็น “ฅนฺ”
11. เทิม มีเต็ม : “เค้า” หมายถึง ประธาน, ผู้ริเริ่ม
12. เทิม มีเต็ม : “ชู่คน” หมายถึง ทุกคน
13. เทิม มีเต็ม : “พุทธาภิเษก” คือ พิธีเบิกพระเนตรพระพุทธรูป
14. เทิม มีเต็ม : “โชตก” หมายถึง เจริญ, รุ่งเรือง
15. เทิม มีเต็ม : “วัสสา” (พรรษา) หมายถึง ปี