จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 96/2523

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 96/2523 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 16:18:33

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 96/2523

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 46, 96/2523

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2416

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศักราชได้ 1235 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2416 ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ครองเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2395-2434) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัตศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “มโน” แต่หลักการปริวรรตของโครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย จะถ่ายถอดตามรูปพยัญชนะและสระที่ปรากฏดังนั้น ในที่นี้จึงใช้เป็น “มเนา” แล้วจึงเปลี่ยนเป็น “มโน” ในส่วนของคำอ่าน
3. เทิม มีเต็ม : “ปีกาเล้า” คือ ปีระกา เบญจศก
4. เทิม มีเต็ม : “ศรัทธา” เป็นคำนำหน้าชื่อผู้ประกอบการกุศลหรือใช้นำหน้าชื่ออุบาสกอุบาสิกา
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “หนาน” คือ ผู้ที่สึกขณะเป็นพระสงฆ์
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัตศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “คฺน” แต่เมื่อ พิจารณาจากภาพจารึกพบว่าใช้รูปพยัญชนะ “ฅ” อย่างชัดเจน ในที่นี้จึงขอเปลี่ยนเป็น “ฅฺน”
7. เทิม มีเต็ม : “สัมพันธวงศา” หมายถึง บรรดาญาติทั้งหลาย
8. เทิม มีเต็ม : “ชู่คน” หมายถึง ทุกคน
9. เทิม มีเต็ม : “ไว้ค้ำชูศาสนา” หมายถึง ไว้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
10. เทิม มีเต็ม : “5000 วัสสา” หมายถึง ห้าพันปี
11. เทิม มีเต็ม : “ดีหลี” หมายถึง เที่ยงแท้, ดีจริง
12. เทิม มีเต็ม : “นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ” หมายถึง เที่ยงแท้แน่นอน