จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 14:19:39

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 19

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2132

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศักราชได้ 951 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2132 ในรัชกาลมังนรธาช่อ (พ.ศ. 2122-2140) แห่งราชวงศ์ตองอู ครองเมืองเชียงใหม่ในช่วงเวลาที่พม่าปกครองล้านนา โดยมีพระยาหน่อคำเสถียรชัยสงครามเป็นเจ้าเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2103-2134)
2. เทิม มีเต็ม : “ปีสลู” = ปีฉลู
3. เทิม มีเต็ม : “ขอมภิไสย” (ขอมพิสัย) หมายถึง ตามธรรมเนียมขอม, ตามแบบอย่างขอม
4. เทิม มีเต็ม : “ปีกัดเป้า” คือ ปีฉลู เอกศก
5. เทิม มีเต็ม : “เพ็ง” คือ ขึ้น 15 ค่ำ อย่างที่เรียกกันว่า วันเพ็ญ หรือ วันเพ็ง
6. เทิม มีเต็ม : “เม็ง” หมายถึง มอญ
7, 9. เทิม มีเต็ม : “แสนทอง” หากเป็นคำคุณศัพท์หมายถึง พระพุทธรูปองค์ที่สร้างขึ้นมีน้ำหนักทองโลหะ ถึงแสนทอง แต่หากใช้เป็นคำนาม คำว่า”แสนทอง” จะต้องสนธิกับ “มหาวนวาสี” ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งขุนนางสมัยโบราณ อย่างไรก็ตาม คำว่า “มหาวนวาสี” ดูจะเป็นสมณศักดิ์ของพระสงฆ์มากกว่า
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “แลฺก” คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “และ” ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาพจารึกแล้วปรากฏรูปพยัญชนะตัวเชิง “ก” อย่างชัดเจน อีกทั้งในส่วนของคำอ่านในหนังสือดังกล่าวก็พิมพ์เป็น “แลก” ในที่นี้จึงขอเปลี่ยนเป็น “แลฺก” ตามรูปอักษรที่ปรากฏในจารึก
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “โก” แต่หลักการปริวรรตที่ใช้ในโครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย จะถ่ายถอดตามรูปอักษร ดังนั้นทางโครงการฯ จึงพิมพ์เป็น “เกา” ตามรูปอักษรที่ปรากฏในภาพจารึก แล้วจึงใช้เป็น “โก” ในส่วนของคำอ่าน
11. เทิม มีเต็ม : “ประไจยไทยธรรม” (ปัจจัยไทยธรรม) หมายถึง สิ่งของสำหรับถวายพระสงฆ์, สิ่งของที่ได้มาโดยชอบ
12. เทิม มีเต็ม : “แปง” หมายถึง สร้าง
13. เทิม มีเต็ม : “โกรา” ยังไม่ทราบความหมายของคำดังกล่าว
14. เทิม มีเต็ม : “เจ้า 4 พันตน” น่าจะได้แก่การสร้างพระพุทธรูปจำนวนถึงสี่พันองค์
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกในบรรทัดที่ 6 ไม่สามารถใส่สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น จุดใต้พยัญชนะหรือสระได้ เนื่องจาก ภาพจารึกในส่วนดังกล่าวลบเลือนมาก
16. เทิม มีเต็ม : “อุปฐาก” หมายถึง การดูแล, การปรนนิบัติรับใช้