จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช 4 (จ. 46)

จารึก

จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช 4 (จ. 46) ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2564 22:04:54

ชื่อจารึก

จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช 4 (จ. 46)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช, จารึกแผ่นทอง จ. 46

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา, ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2192

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

ผู้อ่าน

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2537)

ผู้ปริวรรต

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2537)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ศุภมัสดุ มาจากภาษาสันสฤกตคำว่า ศุภํ+อัสตุ หมายถึง ความดี, ความงามจงมี
2. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : คือวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือน 3
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เอกศก หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 1 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1011 (พ.ศ. 2192)
4. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : พัน 1011 = พันสิบเอ็ด
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สังขยา หมายถึง การนับ
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สัปปุรุษ หมายถึง ผู้ที่มีศรัทธาในพระศาสนา
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เป็นมาตราสมัยโบราณ คือ 20 ชั่ง
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คณะวินัยธร คือ คณะสงฆ์ผู้ชำนาญในพระวินัย
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ป่าแก้ว เป็นคณะสงฆ์ที่มีการตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา ตำนานโยนก กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 1965 พระเถระชาวเชียงใหม่ 7 รูป พระเถระชาวอยุธยา 2 รูปและพระเถระชาวเขมร 1 รูป เดินทางไปลังกาและบวชในสำนักพระวันรัตนมหาเถระ ขากลับนิมนต์พระเถรชาวลังกามาด้วย 2 รูป เมื่อถึงอยุธยาแล้วก็แยกย้ายกันไปเผยแผ่ ตั้งนิกายขึ้นมาใหม่เรียกว่า “ป่าแก้ว” (วน-ป่า รัตน-แก้ว)