จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดกานโถมเวียงกุมกาม 4

จารึก

จารึกวัดกานโถมเวียงกุมกาม 4 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 16:03:10

ชื่อจารึก

จารึกวัดกานโถมเวียงกุมกาม 4

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 60, จารึก ชม. 60

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

ผู้อ่าน

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2550)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : จารึกกลุ่มนี้ประกอบด้วย ชม. 59, ชม. 60 และ ชม. 61 พิจารณาจากลักษณะของรูปอักษรในกลุ่มนี้ ประกอบกับมีรูปวรรณยุกต์ปรากฏใช้อยู่ด้วย ลักษณะของเส้นอักษรเช่นนี้เหมือนกับรูปอักษรที่ใช้อยู่ในจารึกวัดพระยืน หรือเรียกตามเลขที่ในทะเบียนว่า  จารึก ลพ. 38 พบที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน รูปอักษรที่ใช้เป็นรูปอักษรไทยสุโขทัย ซึ่งปรากฏครั้งแรกในอาณาจักรล้านนา อีกทั้งมีหลักฐานข้อความในจารึกวัดพระยืน  กล่าวว่า พระมหาสุมนเถรแห่งอาณาจักรสุโขทัยได้เดินทางไปสู่อาณาจักรล้านนาและสร้างวัดพระยืนพร้อมทั้งจารึกไว้เมื่อพุทธศักราช 1913 ในช่วงเวลาเกือบครึ่งศตวรรษต่อมา อาณาจักรล้านนาได้ใช้รูปอักษรที่วิวัฒนาการไปจากรูปอักษรไทยแบบที่ใช้ในจารึกวัดพระยืน โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพธรรมและมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นรูปอักษรไทยอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า อักษรไทยล้านนา หรือ อักษรไทยฝักขาม ได้แก่ จารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ลพ. 9 จารึกขึ้นในพุทธศักราช 1954 ซึ่งห่างจากเวลาที่สร้างวัดพระยืน 41 ปี