จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2

จารึก

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 15:15:26

ชื่อจารึก

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2329

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

ผู้อ่าน

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2505)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยา” หมายถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ครองราชย์ พ.ศ. 2325-2352
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่” หมายถึง พระเจ้าเกาจง กษัตริย์ราชวงศ์ชิง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2279-2338
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อัฐศก” หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 8 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1148 ตรงกับ พ.ศ. 2329
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เจ้ากรุงรัตนบุรอังวะ” ในที่นี้หมายถึง พระเจ้าปดุง (โบดอพญา หรือ โพธิพญา) กษัตริย์พม่า ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2325-2362
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สมเด็จพระมหาอุปราชอนุชาธิราชเจ้า กรมพระราชวังบวรฯ” คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เรือนตรุ” หมายถึง เรือนจำ, คุก
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เหตุการณ์ที่ปรากฏในจารึกคือ สงครามเก้าทัพ ซึ่งเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2328 โดยพระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าได้ยกทัพซึ่งมีจำนวน 9 ทัพ เข้ามาตีหัวเมืองต่างๆของไทยตั้งแต่เหนือจรดใต้แล้วบรรจบกันเข้าตีกรุงเทพมหานครตามยุทธวิธีที่เคยใช้ในสมัยอยุธยา รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังทหารมากกว่าฝ่ายไทยมากและยกทัพมาจากทุกทิศทาง พระองค์จึงไม่ทรงใช้การตั้งรับในพระนครเหมือนสมัยอยุธยา แต่โปรดให้จัดทัพออกไปรบ ไม่ให้พม่ามีโอกาสเข้ามาประชิดกรุง โดยไปรับศึกในจุดสำคัญก่อนเมื่อชนะแล้วจึงนำทหารไปโจมตีจุดอื่นๆจนสามารถชนะกองทัพพม่าได้ทั้งหมดโดยมีกำลังเพียง 4 ทัพเท่านั้น อย่างไรก็ตาม พระเจ้าปดุงได้ยกกองทัพกลับมาตีไทยอีกครั้งใน พ.ศ. 2329 (สงครามท่าดินแดง) และพ่ายแพ้ไปอีก