จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกที่เสาวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 10 (พญานกกาเหว่าลาย)

จารึก

จารึกที่เสาวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 10 (พญานกกาเหว่าลาย) ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2563 14:55:50

ชื่อจารึก

จารึกที่เสาวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 10 (พญานกกาเหว่าลาย)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

ผู้อ่าน

สัจจรัตน์ สุขในมณี (พ.ศ. 2543)

ผู้ตรวจ

รศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม (พ.ศ. 2543)

เชิงอรรถอธิบาย

1. สัจจรัตน์ สุขในมณี : “สุระมุข” คือ ปุณณมุขะ ในกุณาลชาดก ซึ่งมีเรื่องย่อดังนี้ พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญานกกาเหว่าลาย ครั้งหนึ่งกาเหว่าขาวชื่อ ปุณณมุขะ ซึ่งเป็นสหายของพระองค์ป่วยใกล้ตาย ดังนั้นบริวารจึงพากันไปภักดีต่อพญากาเหว่าลาย ปุณณมุขะด่าว่าบริวารเหล่านั้น พญากาเหว่าลายได้ช่วยหายามารักษาแต่เมื่อปุณณมุขะ หายดีแล้วก็ไม่ยอมรับบริวารกลับมา พระโพธิสัตว์จึงแสดงพระเทศนา บรรดาสัตว์ในป่าหิมพานต์พากันมาฟังเป็นจำนวนมาก
2. สัจจรัตน์ สุขในมณี : “สังขพราหมณ์” จากสังขพราหมณชาดก เนื้อเรื่องย่อ คือ สังขพราหมณ์ผู้ใจบุญ ได้ออกไปค้าขายยังสุวรรณภูมิ เวลาเที่ยงนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเสด็จมาแล้วเดินไปบนหาดทราย สังขพราหมณ์จึงถวายร่มและรองเท้า เมื่อเรือแล่นออกไป 7 วันก็ล่ม สังขพราหมณ์กับคนรับใช้คนหนึ่งกระโดดจากเรือแล้วว่ายน้ำเข้าฝั่งจนถึง 7 วัน นางมณีเมขลาได้เหาะมาช่วยและเนรมิตสำเภาให้สังขพราหมณ์
3. สัจจรัตน์ สุขในมณี : “เฃากระวิก” คือ เขากรวีก หนึ่งในเขาสัตตบริภัณฑ์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ เป็นชั้นที่ 3 ถัดจากเขายุคันธรและอิสินธร เขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของนกการวีกจำนวนมาก