จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเจ้ามหาเทวีสร้างพระพุทธรูป

จารึก

จารึกเจ้ามหาเทวีสร้างพระพุทธรูป ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:15

ชื่อจารึก

จารึกเจ้ามหาเทวีสร้างพระพุทธรูป

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกแผ่นทองจั๋งโก๋ พระพุทธรูปคอระฆัง พระธาตุหริภุญชัย ด้านทิศเหนือ, ลพ. 46

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2525)

ผู้ปริวรรต

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2525)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2525)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : พิจารณาจากรูปอักษร และอักขรวิธีที่ปรากฏในแแผ่นทองจั๋งโก๋ประจำพระพุทธรูปด้านทิศเหนือนี้แล้ว “เจ้ามหาเทวี” ที่กล่าวในจารึกน่าจะเป็นพระนางจิตราเทวี พระมเหสีพระเจ้าผายู เหตุที่กล่าวว่า “เจ้ามหาเทวี” น่าจะเป็น พระนางจิตราเทวี และ “เจ้าพระญาทั้ง 2 พี่น้อง” น่าจะเป็น พระเจ้ากือนา และท้าวมหาพรหมนั้น ได้อาศัยหลักฐานประกอบด้วยเหตุผลดังนี้
(1) คำว่า “มหาเทวี” คือ นางผู้ผู้ยิ่งใหญ่ โดยความหมายได้แก่ กษัตริย์ผู้เป็นสตรีหรือสตรีของพระเจ้าแผ่นดิน
(2) คำว่า “พระญา-พญา-พระยา” แต่ครั้งโบราณใช้เป็นคำนำหน้าพระนามของกษัตริย์ อย่าง “พญามังราย พญาคำฟู พญาผายู” หรือ “พระยาศรีนาวนำถม”
(3) จากการพิจารณารูปลักษณะอักษร และการใช้อักขรวิธีที่ปรากฏในจารึกฯ พระพุทธรูปฯ ด้านทิศเหนือ (จารึกเจ้ามหาเทวีสร้างพระพุทธรูป) มีรูปอักษรและอักขรวิธีแบบเดียวกันกับศิลาจารึกวัดพระยืน จารึกในปี พ.ศ. 1913 อยู่ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนา
(4) ลำดับกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ นับแต่ปี พ.ศ. 1913 (นับตามอายุศิลาจารึกวัดพระยืน) จนถึงปี พ.ศ. 2069 (กษัตริย์องค์สุดท้าย คือพระเกษเกล้า) ยังค้นไม่พบว่ามีกษัตริย์ที่เป็นพี่น้องร่วมพระชนกและพระชนนีเดียวกัน ได้เสวยราชย์ร่วมสมัยเดียวกันนอกจากพระเจ้ากือนา และท้าวมหาพรหม
2. เทิม มีเต็ม : “เจ้าพระญาทั้งสอง” ในที่นี้ เห็นจะเป็นพระเจ้ากือนาผู้เป็นพระเชษฐา และเจ้าท้าวมหาพรหม ผู้เป็นพระอนุชา ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรสพระเจ้าผายูและพระนางจิตราเทวี หลังจากที่พระเจ้าผายูสวรรคตแล้ว พระเจ้ากือนาได้ครองเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1899 แล้วโปรดให้เจ้าท้าวมหาพรหมผู้เป็นพระอนุชาไปครองเมืองเชียงราย ซึ่งในช่วงระยะดังกล่าวนี้จึงปรากฏมีกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่และเมืองเชียงรายที่เป็นพี่น้องกัน
3. เทิม มีเต็ม : “หรก” ที่ปรากฏในจารึก เข้าใจว่าน่าจะใช้ในความว่า “หาก”
4. เทิม มีเต็ม : “มหาอุบาสิกา” คือ ผู้นับถือพระพุทธศาสนา (ในที่นี้ได้แก่ พระนางจิตราเทวี) ที่ประกอบด้วยองค์คุณสมบัติ 5 ประการ คือ มีศรัทธา มีศีล เชื่อกรรม ไม่แสวงบุญนอกศาสนา บำรุงพุทธศาสนา
5. เทิม มีเต็ม : แก่ฝูงสงฆ์ทั้งหลาย = แก่คณะสงฆ์ทั้งหลาย
6. เทิม มีเต็ม : “อันกู” น่าจะได้แก่พระนางจิตราเทวี
7. เทิม มีเต็ม : รังคทำ (กระทำ) = ได้สร้างได้กระทำ
8. เทิม มีเต็ม : รูปพระพุทธสุวรรณปติมา = แผ่นทองจั๋งโก๋ที่สร้างเป็นพระพุทธรูป
9. เทิม มีเต็ม : ตราบว่า = เมื่อว่า
10. เทิม มีเต็ม : ยังอันโทล = ยังที่ท่องเที่ยว
11. เทิม มีเต็ม : ไพมา = ไปมา
12. เทิม มีเต็ม : สงสาร = การเวียนว่ายตายเกิด
13. เทิม มีเต็ม : จุ่งให้คงเบงจศีล = ขอให้มั่นอยู่ในศีล 5 (เบง - เบญจ = 5)
14. เทิม มีเต็ม : อัษฏางคิกศีล = ศีล 8
15. เทิม มีเต็ม : เบงจสาทารันนะ = เบญจสาธารณะ ซึ่งน่าจะได้แก่ ศาลา นารี คงคา นารี วิถี คงคา บ่อน้ำ สวนดอกไม้ โรงทาน
16. เทิม มีเต็ม : เท่าเถิง = ตราบถึง
17. เทิม มีเต็ม : “บรดํโมส” น่าจะได้แก่ ปถโมกษ์ คือ การถึงพระนิพพานอันเป็นเลิศ
18. เทิม มีเต็ม : มหาเนียรพาน = มหานิพพาน
19. เทิม มีเต็ม : เจ้าอาริยไมตรย = พระศรีอาริยเมตไตรย หรือ พระศรีอารย์
20. เทิม มีเต็ม : แด = นั้น มักใช้ว่า แดเทอญ หรือ แดเทือ = นั้นเทอญ