จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 316/2523

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 316/2523 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:13

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 316/2523

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 49

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2430

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สกฺราศ” คำจารึกที่ตีพิมพ์เป็น “สกกราศ” แต่เมื่อพิจารณาจากจารึกแล้วพบพยัญชนะตัวเต็ม “ก” เพียงตัวเดียว
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศักราชได้ 1249” ตรงกับ พ.ศ. 2430 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นมี เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ครองเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2395-2434)
3. เทิม มีเต็ม : “ปีเมิงไก๊” คือ ปีกุน นพศก
4. เทิม มีเต็ม : “เดือนยี่” หมายถึง เดือน 2
5. เทิม มีเต็ม : “เพ็ง” คือ วันขึ้น 15 ค่ำ ชาวล้านนาออกเสียงเป็น “เป็ง”
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สธฺา” คำจารึกที่ตีพิมพ์เป็น “สทธา” แต่ในจารึกไม่ปรากฏรูปพยัญชนะ “ท”
7. เทิม มีเต็ม : “หมายมี” ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า “ได้มี”
8. เทิม มีเต็ม : “มูลศรัทธา” หมายถึง ผู้ริเริ่มชักชวนผู้อื่นให้ร่วมกระทำการกุศล
9. เทิม มีเต็ม : “สวาธุเจ้า” หรือ สาธุเจ้า เป็นคำที่แสดงความเคารพ (ใช้กับพระสงฆ์)
10. เทิม มีเต็ม : “เค้า” หมายถึง ประธาน, หัวหน้าคณะ
11. เทิม มีเต็ม : “ชู่คน” หมายถึง ทุกคน
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กับ” ไม่ปรากฏคำนี้ในคำจารึกที่ตีพิมพ์ แต่ในจารึกปรากฏอย่างชัดเจน
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เปฺน” ข้อความตั้งแต่คำนี้เป็นต้นไปไม่ตรงกับจารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เลขทะเบียน 145/2523
14. เทิม มีเต็ม : “ทาน” ในที่นี้หมายถึง มาถวายไว้ (ชาวล้านนาออกเสียงเป็น “ตาน”)
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกและคำอ่านที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์และศิลปะ” เหมือนกับจารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เลขทะเบียน 154/2523 ในเล่มเดียวกันแทบทุกประการ รวมถึงลำดับบรรทัดของจารึกทั้ง 2 ด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาพจารึกแล้วพบว่ามีความใกล้เคียงกันอย่างมากจริง แต่มีหลายตำแหน่งที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการตัดคำในแต่ละบรรทัด และคาดว่าจารึกนี้น่าจะมีจำนวน 9 บรรทัด ไม่ใช่ 8 บรรทัด ซึ่งในส่วนการการตัดคำในแต่ละบรรทัด ทางโครงการฯ ได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามที่ปรากฏในจารึก ยกเว้นบรรทัดที่ 7-9 ซึ่งไม่สามารถทำได้เนื่องจากอักษรลบเลือนมาก สำหรับสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นจุดใต้พยัญชนะหรือสระ จะยึดตามจารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีคำจารึกใกล้เคียงกันเพราะภาพจารึกนี้ไม่ชัดเจน