โพสต์เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2550 13:30:40 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 15:47:56 )
ชื่อจารึก |
จารึกเขาพระนารายณ์เมืองตะกั่วป่า |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 26 ศิลาจารึกเขาพระนารายณ์เมืองตะกั่วป่า, จารึกที่ 26 จารึกที่เขาพระนารายณ์ (ตะกั่วป่า) |
อักษรที่มีในจารึก |
ทมิฬ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 12 |
ภาษา |
ทมิฬ |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานเทวรูปนารายณ์ |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 50 ซม. ยาว 55 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พง. 1” |
ปีที่พบจารึก |
2445 |
สถานที่พบ |
เขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอกะปง (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอตะกั่วป่า) จังหวัดพังงา |
ผู้พบ |
มิสเตอร์ เบอร์ค (M.H.W. Bourke) |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
เขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอกะปง (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอตะกั่วป่า) จังหวัดพังงา |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472), 45-46. |
ประวัติ |
เมื่อปีพุทธศักราช 2445 มิสเตอร์เบอร์ค (M.H.W. Bourke) ที่ปรึกษากรมราชโลหกิจ กระทรวงเกษตราธิการ ได้เป็นผู้พบศิลาจารึกบนเขาพระนารายณ์ อำเภอตะกั่วป่า (ปัจจุบันได้แยกเป็น อำเภอกะปง) จังหวัดพังงา ต่อมาได้มีการเคลื่อนย้ายศิลาจารึกดังกล่าวมาไว้ที่ วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี และย้ายต่อไปที่ วัดหน้าเมือง อำเภอตลาดใหญ่ ราษฎรชาวตะกั่วป่ามีความเคารพเชื่อถือศิลาจารึกหลักนี้มาก จึงได้ขออนุญาตนำศิลาจารึกกลับไปยังเขาพระนารายณ์ตามเดิม และได้อยู่ ณ ที่นั้นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน พระสารศาสตร์พลขันธ์ (Gerini) ได้กล่าวถึงศิลาจารึกหลักนี้เป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2447 ในเรื่อง Siamese archaeology ในวารสาร Journal of the Royal Asiatic Society (JRAS) ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) หน้า 242 และ วารสารของสยามสมาคม ค.ศ. 1905 หน้า 56 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2453 ภายหลังที่ นายหลุยส์ ฟิโนต์ (L. Finot) ได้พิจารณากระดาษคัดลอกจารึก ซึ่งพันตรี เดอ ลาช็องกีแอร์ (de Lajonquière) นำมาให้ดู ก็ได้เขียนไว้ในวารสาร BCAI ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2456) หน้า 151 ว่า “ตัวอักษรนั้นเป็นภาษาอินเดียที่เก่าแก่ แต่ยังไม่สามารถอ่านจารึกหลักนี้ออก” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2456 ศ. ฮูล์ช (Hultzsch) ได้พยายามอ่านและแปลจารึกนี้เป็นครั้งแรกและนำไปตีพิมพ์ใน วารสาร JRAS ค.ศ. 1913 (พ.ศ. 2456) หน้า 337 ว่า “ภาษาในจารึกนี้ เป็นภาษาทมิฬ และตัวอักษรก็เป็นอักษรทมิฬแบบโบราณ ข้าพเจ้าคิดว่าจารึกนี้ สลักขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 หรือ 14” แต่อย่างไรก็ตาม ในปีต่อมาท่านก็ได้แก้ไขคำอ่านและคำแปลให้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น ดังนั้น ศ. ฮูล์ช จึงเป็นผู้สมควรได้รับเกียรติว่าเป็นผู้ที่อ่านจารึกนี้ออกเป็นคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 เมื่อมีการตีพิมพ์หนังสือประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 2 ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้นำผลงานอ่านและแปลที่ปรับปรุงแล้วของ ศ. ฮูล์ช มาตีพิมพ์รวมไว้ด้วย และ ได้พิมพ์ซ้ำอีกในปี พ.ศ. 2504 ซึ่งในการพิมพ์ซ้ำนี้ ได้ใช้ชื่อว่า ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความจารึกกล่าวถึงสระชื่อ ศรีอวนินารณัม ซึ่งมีผู้ขุดไว้ ใกล้เมืองนงคูร โดยมีสมาชิกในหมู่บ้านและชาวนาช่วยกันดูแลรักษา |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ศิลาจารึกบนเขาพระนารายณ์นี้ มีลักษณะเป็นแผ่นศิลา ยาว 55 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร มีอักษรจารึกด้านเดียว จารึกด้วยรูปอักษรปัลลวะ ภาษาทมิฬ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ในหนังสือประชุมศิลาจารึกสยามภาคที่ 2 กล่าวว่า ศาสตราจารย์ ฮูล์ช แห่งเมืองฮัลเล ประเทศเยอรมัน เป็นคนแรกที่ทราบว่าศิลาจารึกเขาพระนารายณ์เมืองตะกั่วป่าจารึกเป็นภาษาทมิฬ และได้อ่านแปลเป็นภาษาอังกฤษ พิมพ์เผยแพร่ในจดหมายเหตุของสโมสรรอแยลเอซียติค กรุงลอนดอน เมื่อ ค.ศ. 1913-1914 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรฉัตรชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-21, ไฟล์; Phng_0100_c) |