โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 17:15:01 )
ชื่อจารึก |
จารึกบนตราประทับจากควนลูกปัด 7 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
5/5 ตราประทับหิน |
อักษรที่มีในจารึก |
พราหมี |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ยังไม่เป็นที่ยุติ |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินสีน้ำตาล |
ลักษณะวัตถุ |
ตราประทับ (seals) รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเป็นลักษณะของหินประดับหัวแหวน |
ขนาดวัตถุ |
ยาว 1.6 ซม. กว้าง 0.9 ซม. หนา 0.2 ซม. |
สถานที่พบ |
บ้านควนลูกปัด ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 177. |
ประวัติ |
ข้อมูลรวมทั้งคำอ่าน-คำแปลของจารึกนี้ปรากฏในวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” ของ อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ ซึ่งเป็นการศึกษาความหมายและลักษณะทางประติมานวิทยาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตราประทับที่พบในเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีกับเมืองโบราณอื่นๆ ตราประทับที่พบมีทั้งที่ปรากฏตัวอักษรและเป็นรูปภาพต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตราประทับ (seals) คือตราที่ต้องนำไปประทับบนวัสดุอื่นจึงจะได้ภาพหรืออักษรที่เกิดจากการกดประทับในด้านกลับกัน และตรา (sealings) ซึ่งมีรูปหรืออักษรในด้านที่สามารถอ่านได้โดยไม่ต้องกดประทับ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ระบุชื่อบุคคลผู้หนึ่งในลักษณะที่แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งคำแปลมีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ “ของวิฐีตูกรฺ” และ “ของวิรเถนธุ” (คำแปลทั้ง 2 แบบยังไม่เป็นที่ยุติ) |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ลักษณะของจารึกเป็นรูปรอยที่เป็นหลุมลึก (บุ๋ม) ลงไปจากพื้นผิว เป็นตัวอักษรพราหมี อายุของตัวอักษรยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2549) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2556), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547) |