โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
วันที่: 29 กันยายน 2563
ชาวผู้ไทยเรณูนครถือว่าเป็นชาวผู้ไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง และมีการแสดงออกเพื่อรักษาอัตลักษณ์ความเป็นชาวผู้ไทยไว้อย่างชัดเจน การเรียกชาวผู้ไทยบางครั้งก็จะมักเรียกว่า “ชาวภูไท” (ในทางวิชาการเรียกผู้ไท) ในที่นี้ขอเรียกผู้ไทยตามที่ชาวบ้านเรียกตัวเอง เล่ากันว่าบรรพบุรุษชาวผู้ไทยเมืองเรณูนครมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองนาน้อยอ้อยหนู (หรือเมืองเดียนเบียนฟู ในเวียดนาม) ต่อมาบ้านเมืองเกิดการอัตคัดอดยาก ไร่นาไม่อุดมสมบูรณ์และมีพวกฮ่อรุกราน ท้าวก่า หัวหน้าชาวผู้ไทยจึงได้อพยพลูกหลานชาวผู้ไทยลงมาทางใต้ ซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์กว่า เข้ามาอยู่ในเขตปกครองของเจ้าอนุรุธ กษัตริย์หลวงพระบาง และเจ้าอนุรุธได้ให้ชาวผู้ไทยไปอยู่ที่เมืองวัง ซึ่งเป็นเขตปกครองของพวกข่า ชาวผู้ไทยและพวกข่าเมื่ออยู่ด้วยกันก็เกิดการแย่งชิงกันเป็นใหญ่ สุดท้ายพวกข่ายอมแพ้และได้ยอมให้ชาวผู้ไทยเป็นใหญ่ได้ปกครองเมืองวัง
ต่อมาเจ้าอนุรุธแต่งตั้งให้ท้าวก่าเป็น “พระศรีวรราช” เจ้าเมืองวัง ภายหลังเมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นพระยาแก้วลูกชายของท้าวก่า พร้อมด้วยเจ้าเพชรและเจ้าสาย บุตรชายทั้ง ๒ คน ญาติสนิทและบริวาร ได้รวบรวมชาวผู้ไทยส่วนหนึ่งแยกตัวออกไปตั้งบ้านเมืองใหม่ และตั้งชื่อว่า “เมืองเว” มีพระยาแก้วเป็นเจ้าเมืองและขึ้นตรงต่อเมืองวัง เมืองเวเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากชาวผู้ไทยส่วนใหญ่จากเมืองวังที่นิยมนับถือพระยาแก้ว ได้พากันอพยพลูกหลานไปอาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดความขัดแย้งกับเมืองวัง เจ้าเพชรและเจ้าสายจึงได้นำชาวเมืองเวและลูกหลานชาวผู้ไทยจากเมืองวัง อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เพื่อตั้งบ้านแปงเมืองใหม่ และเพื่อความปลอดภัยของชีวิต
เจ้าเพชรและเจ้าสายได้นำชาวผู้ไทยล่องเรือข้ามแม่น้ำโขงมาขึ้นฝั่งที่บ้านโพธิ์สามต้น (ปัจจุบันคือบ้านพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม) แต่เห็นว่าที่ตรงนั้นยังไม่มีความเหมาะสมในการตั้งบ้านเมือง จึงได้อพยพนำชาวผู้ไทยไปตั้งบ้านเมืองอยู่ที่ริมหนองหาร (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร) อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ปรากฏว่าชาวเมืองต่างเจ็บไข้ได้ป่วยเสียชีวิตไปหลายคน เจ้าเพชรและเจ้าสายจึงได้อพยพครัวชาวผู้ไทยมาตั้งบ้านเมือง อยู่ทางทิศเหนือองค์พระธาตุพนมซึ่งเป็นดงว่างเปล่า โดยเจ้าเพชรและเจ้าสายได้เรียกให้ควาญช้างนำช้างบักเอก (ช้างงาเดียว) เดินทางนำ เมื่อเดินทางถึงและพิจารณาดูพื้นที่ภูมิประเทศแล้ว อุดมสมบูรณ์ดีนัก จึงตั้งชื่อบ้านเมืองใหม่ว่า “บ้านดงหวายสายบ่อแก” แต่ชาวเมืองมักเรียกสั้นๆ ว่า “บ้านดงหวาย” หรือ “เมืองเว” เมื่อราวปี พ.ศ.2369
ชาวผู้ไทยบ้านดงหวายเป็นชาวผู้ไทยที่มีนิสัยรักความสงบ ชอบความอิสระ สตรีชอบทำการฝีมือทอผ้า เย็บปักถักร้อย บุรุษชอบทำการค้าขาย โดยเป็นพ่อค้านำสินค้าไปขายยังต่างเมือง ต่างแดน เป็นนายฮ้อยนำฝูงคาราวานควายไปขายยังกรุงเทพมหานคร และบางคณะจะนำฝูงคาราวานควายไปขายถึงเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ดังนั้น จึงได้พบเห็นความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองอื่นๆเสมอ พร้อมกลับได้แลกเปลี่ยนสินค้าใหม่ๆกลับเข้ามาสู่ หมู่บ้านอีกด้วย ประกอบกับชาวผู้ไทยจากเมืองวัง (อยู่ฝั่งซ้าย) ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาสมทบอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก บ้านดงหวายจึงเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นเป็นลำดับ
พ.ศ.2373 พระสุนทรราชวงษา เจ้าเมืองยโสธร ได้มาจัดราชการอยู่ ณ เมืองนครพนม และมีใบบอกขอตั้งบ้านดงหวายเป็น “เมืองเรณูนคร” และเมื่อ พ.ศ.2381 เจ้าเพชร ท้าวบุตร ท้าววอ ได้เดินทางเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นครั้งแรก เพื่อรับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัตยา ต่อมา พ.ศ.2387 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านดงหวาย แขวงเมืองนครพนม เป็น “เมืองเรณูนคร” ขึ้นเมืองนครพนม และพระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เจ้าสายเป็น “พระแก้วโกมล” เจ้าเมืองเรณูนคร
โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยจึงมีความพยายามที่จัดจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น เพื่อเป็นที่รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ของชาวผู้ไทยในอดีตและเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น นายสุพจน์ อบรมชอบ และนางอุชนี อบรมชอบ ซึ่งเป็นชาวผู้ไทยเรณูนครได้บริจาคเงินเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ จำนวน 80,000 บาท ต่อมาก็ประสานงานจัดหาทุนมีผู้บริจาคสมทบในการก่อสร้างเพิ่มเติมเรื่อยๆ เป็นเงิน 123,000 บาท ส่วนหนึ่งมาจากเงินบริจาคจากประชาชนในโอกาสเดินทางไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศ อียิปต์ เป็นเงินจำนวน 20,375 บาท การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ได้สร้างเป็นอาคารไม้ จำลองมาจากแบบบ้านดั้งเดิมของชาวผู้ไทยเรณูนคร โดยใช้ไม้ที่เหลือจากอาคารกิจกรรมค่ายลูกเสือภายในโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูลที่มีสภาพทรุดโทรม โดยเรียกอาคารนี้ว่า “บ้านผู้ไทย”
บ้านผู้ไทยได้จำลองแบบการก่อสร้างมาจากลักษณะของบ้านชาวผู้ไทยเรณูนครในสมัยโบราณ เริ่มการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2535 ลักษณะของบ้าน เป็นไม้ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้อง พื้นไม้เนื้อแข็ง ใต้ถุนเทคอนกรีต ภายในเป็นห้องโถง ใช้จัดตกแต่งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน รวบรวมวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ของชาวผู้ไทยตั้งแต่โบราณ เพื่อให้นักเรียนและผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ โดยมีการประกาศขอรับบริจาควัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จากประชาชนชาวเรณูนคร ต่อมาเมื่ออาคารทรุดโทรมโรงเรียนพยายามบูรณะซ่อมแซม โดยระดมเงินจากการทำผ้าป่าศิษย์เก่า และได้แรงงานจากชาวบ้านมาช่วยซ่อมแซม
ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2538 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเรณูนครจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้อำนวยการโรงเรียนแต่ละสมัย ทำให้บ้านผู้ไทยอยู่ในความดูแลของนางอุชนี อบรมชอบ ซึ่งเป็นเลขาศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเรณูนคร และได้ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น เผยแพร่สู่ชุมชน โดยใช้ห้องหมวดภาษาไทย โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล เป็นที่ตั้งศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเรณูนคร
ปัจจุบันบ้านผู้ไทยถูกแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนใต้ถุนและส่วนบนบ้าน โดยส่วนใต้ถุนได้มีการปรับปรุงเป็นห้องพักครูผู้ที่รับผิดชอบดูแลอาคารบ้านผู้ไทย และส่วนบนบ้านเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ และนิทรรศการต่างๆ
การจัดแสดงส่วนบนบ้านผู้ไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนระเบียงกับส่วนในตัวบ้าน ส่วนระเบียงใช้เป็นที่รับแขก ในขณะที่ภายในตัวบ้านใช้เป็นห้องจัดแสดง โดยการจัดแสดงโบราณวัตถุและสิ่งของเครื่องใช้ได้แบ่งการจัดแสดงเป็นหมวดหมู่ ได้แก่
หมวดหนังสือ เช่น คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย หนังสือและเอกสารที่เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวผู้ไทยและเรณูนครศึกษา เป็นต้น
หมวดอาวุธโบราณ เช่น ดาบโบราณ มีดสั้นด้ามทำด้วยงาช้าง เป็นต้น
หมวดเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น โปงลาง พิณ แคน โหวต พังฮาด ฆ้อง กลองหาง เป็นต้น
หมวดผ้า เช่น ผ้าไหมเงิน ไหมมัดหมี่ ซิ่นเข็น เสื้อพระราชทานของขุนนางท้องถิ่นสมัยรัชกาลที่ 5 ชุดฟ้อนพื้นเมือง เป็นต้น
หมวดเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น สลังใส่เสื้อผ้า (หีบใส่ผ้า) ตะเกียงประเภทต่างๆ เครื่องอัดกลีบเสื้อผ้า เตารีดถ่าน หม้อดิน ไหเคลือบโบราณ หีบเหล็ก หีบไม้น้ำอ้อย เครื่องทองเหลือง คณโฑน้ำ น้ำเต้าดิน เป็นต้น
หมวดเครื่องใช้ที่มีค่าและเครื่องประดับ เช่น โถเบญจรงค์ กำไลข้อมือ แอบเงิน (ตลับเงิน) กระบอกปูนเงิน ตุ้มหู เข็มขัดเงิน เงินโบราณ ซองพลู พานขันเงิน พานทองเหลือง เป็นต้น
หมวดอุปกรณ์จักสานและงานไม้ เช่น กระพ้อมใส่ข้าว กระบุง กระติ้บข้าว ก่องข้าว มวยนึ่งข้าว กระสวยทอผ้า กระโตกไม้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ภายในโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูลยังมีอนุสาวรีย์เจ้าเพชร เจ้าสาย ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษและผู้นำชาวผู้ไทยเรณูนครที่ได้นำพาชาวผู้ไทยมาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้อีกด้วย
ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ทางศูนย์ฯ จะร่วมกับชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลเรณูนคร จัดงานวันผู้ไทยขึ้น จัดมาตั้งแต่ปี 2540 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวผู้ไท และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว งานวันผู้ไทยเรณูนครเรียกได้ว่าเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ
ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยเรณูนคร โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล จึงถือเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวผู้ไทยที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เป็นทั้งห้องรับแขกและเป็นที่ดูงานของหน่วยงานต่างๆ เหมาะต่อการเข้ามาศึกษาเรียนรู้และเยี่ยมชมของนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป
เอกสารอ้างอิง
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย-เรณูนคร”. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สืบค้นจาก https://museum.msu.ac.th/esanmuseum/data/np_ thairenu.htm, วันที่ 19 กรกฎาคม 2563.
ชัยวัฒน์ โกพลรัตน์. “ดุริยลักษณ์กลองตุ้มในพิธีกรรมของชาวอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม”. ใน วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561.
ประวัติผู้ไทยเมืองเรณูนคร. ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระครูเรณูนครภิรักษ์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระรัตนวิมล" ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2542.
“ประวัติชาวผู้ไทยเมืองเรณูนคร”. สวัสดีนครพนม. สืบค้นจาก https://www.sawasdeenakhonphanom. com/406, วันที่ 19 กรกฎาคม 2563.
สัมภาษณ์บุคคล
นางไข่มุก พรมดี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม, สัมภาษณ์วันที่ 13 มิถุนายน 2563.
นางสุญาณี วงษ์ชาชม ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม, สัมภาษณ์วันที่ 13 มิถุนายน 2563.
นายชัยวัฒน์ โกพลรัตน์ นักวิชาการท้องถิ่นด้านเรณูนครศึกษา อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม, สัมภาษณ์วันที่ 13 มิถุนายน 2563.
จ. นครพนม
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยเรณูนคร โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล
ชาวผู้ไทยเรณูนครถือว่าเป็นชาวผู้ไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง และมีการแสดงออกเพื่อรักษาอัตลักษณ์ความเป็นชาวผู้ไทยไว้อย่างชัดเจน การเรียกชาวผู้ไทยบางครั้งก็จะมักเรียกว่า “ชาวภูไท” (ในทางวิชาการเรียกผู้ไท) ในที่นี้ขอเรียกผู้ไทยตามที่ชาวบ้านเรียกตัวเอง เล่ากันว่าบรรพบุรุษชาวผู้ไทยเมืองเรณูนครมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองนาน้อยอ้อยหนู (หรือเมืองเดียนเบียนฟู ในเวียดนาม) ต่อมาบ้านเมืองเกิดการอัตคัดอดยาก ไร่นาไม่อุดมสมบูรณ์และมีพวกฮ่อรุกราน ท้าวก่า หัวหน้าชาวผู้ไทยจึงได้อพยพลูกหลานชาวผู้ไทยลงมาทางใต้ ซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์กว่า เข้ามาอยู่ในเขตปกครองของเจ้าอนุรุธ กษัตริย์หลวงพระบาง และเจ้าอนุรุธได้ให้ชาวผู้ไทยไปอยู่ที่เมืองวัง ซึ่งเป็นเขตปกครองของพวกข่า ชาวผู้ไทยและพวกข่าเมื่ออยู่ด้วยกันก็เกิดการแย่งชิงกันเป็นใหญ่ สุดท้ายพวกข่ายอมแพ้และได้ยอมให้ชาวผู้ไทยเป็นใหญ่ได้ปกครองเมืองวัง
ต่อมาเจ้าอนุรุธแต่งตั้งให้ท้าวก่าเป็น “พระศรีวรราช” เจ้าเมืองวัง ภายหลังเมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นพระยาแก้วลูกชายของท้าวก่า พร้อมด้วยเจ้าเพชรและเจ้าสาย บุตรชายทั้ง ๒ คน ญาติสนิทและบริวาร ได้รวบรวมชาวผู้ไทยส่วนหนึ่งแยกตัวออกไปตั้งบ้านเมืองใหม่ และตั้งชื่อว่า “เมืองเว” มีพระยาแก้วเป็นเจ้าเมืองและขึ้นตรงต่อเมืองวัง เมืองเวเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากชาวผู้ไทยส่วนใหญ่จากเมืองวังที่นิยมนับถือพระยาแก้ว ได้พากันอพยพลูกหลานไปอาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดความขัดแย้งกับเมืองวัง เจ้าเพชรและเจ้าสายจึงได้นำชาวเมืองเวและลูกหลานชาวผู้ไทยจากเมืองวัง อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เพื่อตั้งบ้านแปงเมืองใหม่ และเพื่อความปลอดภัยของชีวิต
เจ้าเพชรและเจ้าสายได้นำชาวผู้ไทยล่องเรือข้ามแม่น้ำโขงมาขึ้นฝั่งที่บ้านโพธิ์สามต้น (ปัจจุบันคือบ้านพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม) แต่เห็นว่าที่ตรงนั้นยังไม่มีความเหมาะสมในการตั้งบ้านเมือง จึงได้อพยพนำชาวผู้ไทยไปตั้งบ้านเมืองอยู่ที่ริมหนองหาร (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร) อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ปรากฏว่าชาวเมืองต่างเจ็บไข้ได้ป่วยเสียชีวิตไปหลายคน เจ้าเพชรและเจ้าสายจึงได้อพยพครัวชาวผู้ไทยมาตั้งบ้านเมือง อยู่ทางทิศเหนือองค์พระธาตุพนมซึ่งเป็นดงว่างเปล่า โดยเจ้าเพชรและเจ้าสายได้เรียกให้ควาญช้างนำช้างบักเอก (ช้างงาเดียว) เดินทางนำ เมื่อเดินทางถึงและพิจารณาดูพื้นที่ภูมิประเทศแล้ว อุดมสมบูรณ์ดีนัก จึงตั้งชื่อบ้านเมืองใหม่ว่า “บ้านดงหวายสายบ่อแก” แต่ชาวเมืองมักเรียกสั้นๆ ว่า “บ้านดงหวาย” หรือ “เมืองเว” เมื่อราวปี พ.ศ.2369
ชาวผู้ไทยบ้านดงหวายเป็นชาวผู้ไทยที่มีนิสัยรักความสงบ ชอบความอิสระ สตรีชอบทำการฝีมือทอผ้า เย็บปักถักร้อย บุรุษชอบทำการค้าขาย โดยเป็นพ่อค้านำสินค้าไปขายยังต่างเมือง ต่างแดน เป็นนายฮ้อยนำฝูงคาราวานควายไปขายยังกรุงเทพมหานคร และบางคณะจะนำฝูงคาราวานควายไปขายถึงเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ดังนั้น จึงได้พบเห็นความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองอื่นๆเสมอ พร้อมกลับได้แลกเปลี่ยนสินค้าใหม่ๆกลับเข้ามาสู่ หมู่บ้านอีกด้วย ประกอบกับชาวผู้ไทยจากเมืองวัง (อยู่ฝั่งซ้าย) ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาสมทบอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก บ้านดงหวายจึงเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นเป็นลำดับ
พ.ศ.2373 พระสุนทรราชวงษา เจ้าเมืองยโสธร ได้มาจัดราชการอยู่ ณ เมืองนครพนม และมีใบบอกขอตั้งบ้านดงหวายเป็น “เมืองเรณูนคร” และเมื่อ พ.ศ.2381 เจ้าเพชร ท้าวบุตร ท้าววอ ได้เดินทางเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นครั้งแรก เพื่อรับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัตยา ต่อมา พ.ศ.2387 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านดงหวาย แขวงเมืองนครพนม เป็น “เมืองเรณูนคร” ขึ้นเมืองนครพนม และพระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เจ้าสายเป็น “พระแก้วโกมล” เจ้าเมืองเรณูนคร
โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยจึงมีความพยายามที่จัดจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น เพื่อเป็นที่รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ของชาวผู้ไทยในอดีตและเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น นายสุพจน์ อบรมชอบ และนางอุชนี อบรมชอบ ซึ่งเป็นชาวผู้ไทยเรณูนครได้บริจาคเงินเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ จำนวน 80,000 บาท ต่อมาก็ประสานงานจัดหาทุนมีผู้บริจาคสมทบในการก่อสร้างเพิ่มเติมเรื่อยๆ เป็นเงิน 123,000 บาท ส่วนหนึ่งมาจากเงินบริจาคจากประชาชนในโอกาสเดินทางไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศ อียิปต์ เป็นเงินจำนวน 20,375 บาท การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ได้สร้างเป็นอาคารไม้ จำลองมาจากแบบบ้านดั้งเดิมของชาวผู้ไทยเรณูนคร โดยใช้ไม้ที่เหลือจากอาคารกิจกรรมค่ายลูกเสือภายในโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูลที่มีสภาพทรุดโทรม โดยเรียกอาคารนี้ว่า “บ้านผู้ไทย”
บ้านผู้ไทยได้จำลองแบบการก่อสร้างมาจากลักษณะของบ้านชาวผู้ไทยเรณูนครในสมัยโบราณ เริ่มการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2535 ลักษณะของบ้าน เป็นไม้ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้อง พื้นไม้เนื้อแข็ง ใต้ถุนเทคอนกรีต ภายในเป็นห้องโถง ใช้จัดตกแต่งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน รวบรวมวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ของชาวผู้ไทยตั้งแต่โบราณ เพื่อให้นักเรียนและผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ โดยมีการประกาศขอรับบริจาควัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จากประชาชนชาวเรณูนคร ต่อมาเมื่ออาคารทรุดโทรมโรงเรียนพยายามบูรณะซ่อมแซม โดยระดมเงินจากการทำผ้าป่าศิษย์เก่า และได้แรงงานจากชาวบ้านมาช่วยซ่อมแซม
ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2538 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเรณูนครจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้อำนวยการโรงเรียนแต่ละสมัย ทำให้บ้านผู้ไทยอยู่ในความดูแลของนางอุชนี อบรมชอบ ซึ่งเป็นเลขาศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเรณูนคร และได้ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น เผยแพร่สู่ชุมชน โดยใช้ห้องหมวดภาษาไทย โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล เป็นที่ตั้งศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเรณูนคร
ปัจจุบันบ้านผู้ไทยถูกแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนใต้ถุนและส่วนบนบ้าน โดยส่วนใต้ถุนได้มีการปรับปรุงเป็นห้องพักครูผู้ที่รับผิดชอบดูแลอาคารบ้านผู้ไทย และส่วนบนบ้านเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ และนิทรรศการต่างๆ
การจัดแสดงส่วนบนบ้านผู้ไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนระเบียงกับส่วนในตัวบ้าน ส่วนระเบียงใช้เป็นที่รับแขก ในขณะที่ภายในตัวบ้านใช้เป็นห้องจัดแสดง โดยการจัดแสดงโบราณวัตถุและสิ่งของเครื่องใช้ได้แบ่งการจัดแสดงเป็นหมวดหมู่ ได้แก่
หมวดหนังสือ เช่น คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย หนังสือและเอกสารที่เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวผู้ไทยและเรณูนครศึกษา เป็นต้น
หมวดอาวุธโบราณ เช่น ดาบโบราณ มีดสั้นด้ามทำด้วยงาช้าง เป็นต้น
หมวดเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น โปงลาง พิณ แคน โหวต พังฮาด ฆ้อง กลองหาง เป็นต้น
หมวดผ้า เช่น ผ้าไหมเงิน ไหมมัดหมี่ ซิ่นเข็น เสื้อพระราชทานของขุนนางท้องถิ่นสมัยรัชกาลที่ 5 ชุดฟ้อนพื้นเมือง เป็นต้น
หมวดเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น สลังใส่เสื้อผ้า (หีบใส่ผ้า) ตะเกียงประเภทต่างๆ เครื่องอัดกลีบเสื้อผ้า เตารีดถ่าน หม้อดิน ไหเคลือบโบราณ หีบเหล็ก หีบไม้น้ำอ้อย เครื่องทองเหลือง คณโฑน้ำ น้ำเต้าดิน เป็นต้น
หมวดเครื่องใช้ที่มีค่าและเครื่องประดับ เช่น โถเบญจรงค์ กำไลข้อมือ แอบเงิน (ตลับเงิน) กระบอกปูนเงิน ตุ้มหู เข็มขัดเงิน เงินโบราณ ซองพลู พานขันเงิน พานทองเหลือง เป็นต้น
หมวดอุปกรณ์จักสานและงานไม้ เช่น กระพ้อมใส่ข้าว กระบุง กระติ้บข้าว ก่องข้าว มวยนึ่งข้าว กระสวยทอผ้า กระโตกไม้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ภายในโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูลยังมีอนุสาวรีย์เจ้าเพชร เจ้าสาย ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษและผู้นำชาวผู้ไทยเรณูนครที่ได้นำพาชาวผู้ไทยมาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้อีกด้วย
ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ทางศูนย์ฯ จะร่วมกับชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลเรณูนคร จัดงานวันผู้ไทยขึ้น จัดมาตั้งแต่ปี 2540 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวผู้ไท และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว งานวันผู้ไทยเรณูนครเรียกได้ว่าเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ
ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยเรณูนคร โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล จึงถือเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวผู้ไทยที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เป็นทั้งห้องรับแขกและเป็นที่ดูงานของหน่วยงานต่างๆ เหมาะต่อการเข้ามาศึกษาเรียนรู้และเยี่ยมชมของนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป
เอกสารอ้างอิง
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย-เรณูนคร”. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สืบค้นจาก https://museum.msu.ac.th/esanmuseum/data/np_ thairenu.htm, วันที่ 19 กรกฎาคม 2563.
ชัยวัฒน์ โกพลรัตน์. “ดุริยลักษณ์กลองตุ้มในพิธีกรรมของชาวอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม”. ใน วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561.
ประวัติผู้ไทยเมืองเรณูนคร. ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระครูเรณูนครภิรักษ์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระรัตนวิมล" ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2542.
“ประวัติชาวผู้ไทยเมืองเรณูนคร”. สวัสดีนครพนม. สืบค้นจาก https://www.sawasdeenakhonphanom. com/406, วันที่ 19 กรกฎาคม 2563.
สัมภาษณ์บุคคล
นางไข่มุก พรมดี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม, สัมภาษณ์วันที่ 13 มิถุนายน 2563.
นางสุญาณี วงษ์ชาชม ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม, สัมภาษณ์วันที่ 13 มิถุนายน 2563.
นายชัยวัฒน์ โกพลรัตน์ นักวิชาการท้องถิ่นด้านเรณูนครศึกษา อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม, สัมภาษณ์วันที่ 13 มิถุนายน 2563.
รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยเรณูนคร
เนื่องจากโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรม อำเภอเรณูนครจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2538 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้อำนวยการโรงเรียนแต่ละสมัย และอยู่ในความดูแล ของ นางอุชนี อบรมชอบ ซึ่งเป็นเลขาศูนย์วัฒนธรรม ได้ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น เผยแพร่สู่ชุมชน โดยใช้ห้องหมวดภาษาไทย เป็นที่ตั้งศูนย์วัฒนธรรม
ต่อมานายวิจิตร สายธนู ได้เข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ได้มีความคิดที่จะสร้างบ้านผู้ไทยเพื่อเป็นที่ทำการของศูนย์วัฒนธรรมเรณูนคร จัดเก็บวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ของชาวผู้ไทย จึงได้มอบหมายให้ นางอุชนี อบรมชอบ ดำเนินการจัดหาทุนก่อส้รางโดยได้รับเงินบริจาคจากประชาชนในโอกาสเดินทางไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศ อียิปต์ เป็นเงินจำนวน 20,375 บาท จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโดยใช้ไม้เก่าที่ได้มาจากการรื้ออาคารค่ายลูกเสือเก่า และจากโรงเรียนบางส่วน
ที่ทำการของศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเรณูนคร โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล เป็นแหล่งข้อมูลแหล่งสืบค้น แหล่งศึกษาค้นคว้าของบุคลทั่วไป จัดเก็บรวบรวมข้อมูล สิ่งของ เครื่องใช้ ในวิถีชีวิตของชาวผู้ไทย จัดกิจกรรมชุมนุมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เปิดให้นักเรียนมาศึกษาค้นคว้า เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำรายงาน/โครงงาน บริการการศึกษาดูงานขององค์กรต่างๆ
วัตถุเหล่านี้ได้มาจากการบริจาคจากครู–อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชน ชาวผู้ไทย และส่วนหนึ่งได้มาจากการจัดซื้อ โดยงบประมาณอุดหนุนจาก สวช . โดยอาจารย์สุพจน์ – อาจารย์อุชนี อบรมชอบ เป็นผู้จัดทำโครงการเพื่อขอบริจาค และรวบรวมจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบและมีนักเรียนชุมนุมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ร่วมบำรุงรักษาเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาเพื่อการสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวผู้ไทย ให้คงอยู่ต่อไป
ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยเรณูนครนั้น ต้องการที่จะนำเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวผู้ไทยซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมือง ในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในแถบอำเภอเรณูนครเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมนั้นได้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตและเอกลักษณ์เฉพาะ ของชาวผู้ไทย ในอำเภอเรณูนคร นอกจากนั้นชาวผู้ไทยยุคใหม่ยังได้มีส่วนร่วมในการที่จะสืบทอดวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทต่อไป ด้วยการนำองค์ความรู้ที่จัดแสดงอยู่ภายในบ้านผู้ไทย โดยศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยเรณูนครไปเผยแพร่ให้กับเยาวชน รุ่นต่อๆไป เพื่อเป็นการสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทยอีกด้วย
ข้อมูลจาก: http://www.museum.msu.ac.th/museum/data/np_thairenu.htm [accessed 20090305]
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ไท เรณูนคร
ภูมิ-มูนมัง ชุมชนท่าอุเทน ศูนย์ข้อมูลย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน
จ. นครพนม
พิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทญ้อ วัดคามวาสี บ้านโพน
จ. นครพนม
หอเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี
จ. นครพนม