พิพิธภัณฑ์หมอลำ


ที่อยู่:
โรงเรียนนครขอนแก่น 228 ถนนมะลิวัลย์ 9.บ้านทุ่ม อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000
โทรศัพท์:
0-4338-2338
โทรสาร:
0-4338-2339
วันและเวลาทำการ:
วัน-เวลาราชการ (โปรดติดต่อก่อนการเข้าชม)
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2554
ของเด่น:
เก็บรวมรวมฮีตฮอยหมอลำทุกอย่างที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ม.ข่อนแก่นตั้ง'พิพิธภัณฑ์หมอลำ'

ชื่อผู้แต่ง: สมโภชน์ สมบัติ | ปีที่พิมพ์: 26 กันยายน 2554

ที่มา: คม ชัด ลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หมอลำ:หัวใจอีกห้องของอีสาน

ชื่อผู้แต่ง: สินีพร มฤคพิทักษ์ | ปีที่พิมพ์: 10 ส.ค. 2556;10-08-2013

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 สิงหาคม 2556


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์หมอลำ

มหาวิทยาลัยขอนแก่นเตรียมระดมพลังหมอลำผุด "พิพิธภัณฑ์หมอลำ" พร้อมแยกข้อมูลประวัติศิลปินหมอลำกลอนลำเครื่องใช้ ผลงานหมอลำทุกยุคอย่างละเอียดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

อาจารย์มนูญ สอนเอี่ยม ครูชำนาญการด้านภูมิญาลัยอีสาน กลุ่มสาระสังคมศึกษา โรงเรียนนครขอนแก่น กล่าวกับผู้สื่อข่าว "คม ชัด ลึก" ถึงแนวคิดการตั้ง "พิพิธภัณฑ์หมอลำ" เพื่อรวบรวมเรื่องราวของหมอลำที่มากที่สุดว่า

"การคิดก่อตั้งพิพิธภัณฑ์หมอลำ เป็นแนวคิดของผม และสำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอยแก่น โดยมี ผศ.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ ที่คุยกันว่าอยากจะร่วมกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์หมอลำขึ้น เพื่อเก็บรวมรวมฮีตฮอยหมอลำทุกอย่างที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเก็บไว้ ในพิพิธภัณฑ์หมอลำแห่งนี้ และผมเองก็ทำเฮือนอีสานอยู่แล้วที่โรงเรียนนครขอนแก่น ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ 10 กิโลเมตร ออกไปทาง อ.ชุมแพ และอยู่ภายในรั้วของโรงเรียน โดยใช้เงินส่วนตัวไปซื้อ เลยมองว่าเราเอามาตั้งตรงนี้ดีไหม เพราะสถานที่พร้อมอยู่แล้ว พอเรื่องนี้ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้รับรู้ข้อมูลก็เลยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ตอนนี้สถานที่ทุกอย่างพร้อม ข้อมูลก็พร้อม รอเพียงงบประมาณที่จะมาดำเนินการเท่านั้น และแต่ทุกภาคส่วนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ก็พร้อมจะผลักดันให้โรงเรียนนครขอนแก่นก่อตั้งพิพิธภัณฑ์หมอลำให้ได้"

ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงสิ่งต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์หมอลำว่าจะมีการเก็บรวบรวมอะไรบ้าง อาจารย์มนูญ แจกแจงทุกส่วนของพิพิธภัณฑ์หมอลำแห่งนี้อย่างละเอียดทันทีว่า

"ขณะนี้มีเรือนโบราณที่สื่อถึงความเป็น อยู่ของชาวอีสานในอดีต โดยเรือนทุกหลัง ไม่ว่าจะเป็น เฮือนเกย, เฮือนแฝด, เฮือนโข่ง, หอแจก, เฮือนเหย้า, เฮือนร้านค้า, โฮงคำ, เล้าข้าวและตูบต่อเล้า ต่างๆ จำพวกนี้จะใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หมอลำทั้งหมด โดยภายในเฮือนแต่ละหลังที่ก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์หมอลำจะแยกเป็นเฮือนเกย ภายในจะประกอบไปด้วย ประวัติความเป็นมาของหมอแคน, หมอลำในยุคต้นๆ ยุคก่อตั้งหมดลำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในยุคที่มีเครื่องบันทึกเสียง หรือยุคที่มีเครื่องขยายเสียงกับหมอลำต่างๆ ล้วนแล้วจะเก็บรวบรวมมาไว้ในพิพิธภัณฑ์หมอลำแห่งนี้ทั้งหมดเช่นกัน"

ส่วนเฮือนแฝดนั้น อาจารย์มนูญบอกว่า "ภายในเฮือนแฝดก็จะจำแนกออกเป็นชีวะประวัติ และความเป็นมาของหมอลำในแต่ละรุ่น เช่น หมอลำยุคโบราณ หมอลำรุ่นแรก หมอลำรุ่นกลาง หมอลำรุ่นปัจจุบัน ซึ่งเฮือนแฝดหลังนี้จะมีทุกอย่างเกี่ยวกับหมอลำใน แต่ละยุค ตั้งแต่เครื่องแต่งกายไปจนถึงศิลปะการแสดง ในส่วนของเฮือนโข่ง หอแจก เฮือนเหย้า เฮือนจำพวกนี้จะมีลักษณะโอ่โถง ทางพิพิธภัณฑ์หมอลำจะใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาเรื่องชีวะประวัติของหมอลำทุก ท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งเก็บผลงานของหมอลำแต่ละท่านเอาไว้ รวมไปถึงกลอนลำต่างๆ ของหมอลำแต่ ละประเภทที่เก็บรวบรวมมา ทั้งรสทิพย์ของกลอนลำ ประเภทของกลอนลำ ทั้งลำสั้น ลำทางยาว หรือลำล่อง ลำเต้ย ซึ่งลำเต้ยนั้นจะมีจำแนกแตกต่างกันไป เช่น ลำเต้ยธรรมดา ลำเต้ยโข่ง ลำเต้ยพม่า ลำเต้ยโนนตาล หรือเต้ยหัวดอนตาลด้วย 

ส่วนเฮือนร้านค้า และโฮงคำนั้น อาจารย์มนูญอธิบายเพิ่มเติมว่า "จะทำเป็นสถานที่เก็บแผ่นเสียงของหมอลำรุ่น เก่าที่เคยบันทึกลงแผ่นเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกทุกอัลบั้มที่หลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ก็จะเก็บกลอนลำจำพวกกลอนลำผญา ลำชิงชู้ ลำผู้ไทยและลำตั้งหวาย กลอนลำจำพวกจากลำกลอนสู่ลำเพลิน ถึงลำเต้ยยุคใหม่ด้วย หรือแม้กระทั่งเรื่องรวมของมนต์เสียงแคนที่มีความหมายต่อหมอลำมาก ที่สุดแบบขาดไม่ได้ เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งล้ำค่าทางภูมิปัญญาที่จะหาดูได้ยาก เพราะกลอนลำเป็นลิขสิทธิ์ของใครของมันที่แต่งขึ้น หรือซื้อมาเป็นสมบัติของหมอลำแต่ ละท่าน ซึ่งยากมากที่จะได้มา แต่การก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์นั้น เป็นการขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อร่วมอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอีสาน เอาไว้"

ด้าน ผศ.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้อยู่เบื้องหลังและร่วมผลักดันและตั้งเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะกลุ่มก้อนเครือข่ายหมอลำ บอกว่า 

"สำหรับพิพิธภัณฑ์หมอลำ เป็นโครงการที่รอการผลักดันอยู่ ซึ่งจะสำเร็จได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วนใน จ.ขอนแก่น ร่วมกันผลักดัน เพราะโครงการนี้ยังขาดงบประมาณและบุคลากรที่จะมาผลักดันร่วมกัน ซึ่งหากมีการตั้งพิพิธภัณฑ์หมอลำขึ้นที่ จ.ขอนแก่น ก็จะถือเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทยที่จะมี แต่หากจังหวัดอื่นพร้อมอยากจะตั้งก็สามารถดำเนินการได้ เพื่อจะได้เก็บเอาความรู้ประวัติศาสตร์และข้อมูลต่างๆ เอาไว้ให้ลูกหลานได้ดูและสืบทอดต่อในอนาคต 

“พิพิธภัณฑ์หมอลำ” อยู่ในช่วงดำเนินการ ข้อมูลข้างต้นมาจาก (คมชัดลึก วันที่ 26 กันยายน 2554)


ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ:

พิพิธภัณฑ์หมอลำ: หัวใจอีกห้องของอีสาน

คราวที่ไปเยี่ยมชมฟาร์มจิมทอมป์สัน ปลายปี 2555 สิ่งหนึ่งที่แปลกตาคือมีนิทรรศการเล็กๆ เกี่ยวกับ "หมอลำ" จัดแสดงไว้ที่ศาลากลางน้ำ ทั้งยังมีการจัดแถลงข่าวประกวดหมอลำระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งทีมงานจิมฯ เกริ่นให้ฟังว่าบริษัทมีโครงการจะจัดทำพิพิธภัณฑ์หมอลำ ผ่านมากว่าครึ่งปีแล้ว "คม ชัด ลึก" จึงขอชวนไปอัพเดทกับโครงการดังกล่าว ฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน เล่าถึงความเป็นมาว่า ปี 2555 ผู้บริหารจิม ทอมป์สัน ไปรับรางวัลจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งให้กับองค์กรหรือบุคคลที่อนุรักษ์วัฒนธรรมอีสาน และได้พูดคุยกับผู้ใหญ่ของกระทรวงวัฒนธรรมและมหาวิทยาลัยขอนแก่นทราบว่า มีดำริจะทำพิพิธภัณฑ์หมอลำแต่ติดขัดที่งบประมาณ
ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ:

ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ: